พบผลลัพธ์ทั้งหมด 476 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6380/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์หลังการโอนที่ดินมีข้อจำกัด และเจตนาสละการครอบครองของผู้ขาย
ที่ดินพิพาทมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 58 ทวิ นับแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2521 ส. ขายที่ดินและบ้านพิพาทโดยส่งมอบการครอบครองให้ พ. ในเดือนพฤศจิกายน 2526 ยังอยู่ภายในกำหนดเวลาห้ามโอนตามกฎหมาย แม้ในระหว่างนั้น พ. จะยังไม่ได้สิทธิครอบครอง เนื่องจากถูกจำกัดโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว มีผลทำให้การโอนที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ถือว่า พ. ครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทแทน ส. แต่เมื่อ พ. ยังคงครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทตลอดมาจนล่วงเลยระยะเวลาห้ามโอนแล้วเป็นเวลานานประมาณ 6 ปี โดย พ. ถึงแก่ความตายเมื่อกลางปี 2537 และจำเลยที่ 2 เป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินพิพาทตลอดมา และ ส. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2530 ก่อนครบกำหนดเวลาห้ามโอน แต่โจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. เพื่อกล่าวอ้างสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาทในปี 2537 โดยก่อนหน้าที่ พ. จะถึงแก่ความตายนั้น โจทก์และทายาทของ ส. ไม่เคยเข้าไปยุ่งเกี่ยวอ้างสิทธิครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทแต่ประการใด จึงเป็นกรณีที่ พ. ไม่อาจทราบได้ว่าตนยึดถือที่ดินและบ้านพิพาทไว้แทนผู้ใด อันจะต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังผู้นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 พฤติการณ์แห่งคดีแสดงให้เห็นว่าโจทก์และทายาทของ ส. สละเจตนาครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทแล้ว การครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทของ พ. จึงเป็นการยึดถือโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน พ. ย่อมได้ซึ่งสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6372/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: แม้มีทางออกแต่ไม่สะดวก ไม่ถือว่าที่ดินถูกปิดล้อม จึงไม่มีสิทธิขอทางจำเป็น
โจทก์ฟ้องว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นและภาระจำยอม ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือทางภาระจำยอมหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าทางพิพาทมิใช่ทางภาระจำยอมโดยอายุความก็ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ตามที่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ทั้งที่ทางพิจารณาอาจเป็นได้ทั้งทางจำเป็นและทางภาระจำยอมในขณะเดียวกันได้จึงเป็นการไม่ชอบ ดังนี้หากศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นว่า ทางพิพาทไม่ใช่ทางภาระจำยอมโดยอายุความ และข้อเท็จจริงในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยในเรื่องทางจำเป็น ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็มีอำนาจวินิจฉัยในเรื่องทางพิพาทว่าเป็นทางจำเป็นหรือไม่ได้ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น เนื่องจากโจทก์มีคำขอมาตั้งแต่ต้นแล้ว มิฉะนั้น โจทก์คงต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่ ทั้งโจทก์ จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมก็ต้องนำสืบถึงข้อเท็จจริงซ้ำในเรื่องที่เคยนำสืบมาแล้ว จึงหาชอบด้วยความยุติธรรมไม่
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 45810 ของโจทก์และที่ดินโฉนดเลขที่ 45821 ของจำเลยที่ 2 เป็นที่ดินแปลงเดียวกันต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 แปลงดังกล่าว แต่เมื่อทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โดยเป็นทางเดินเท้าซึ่งตามแผนที่พิพาทระบุว่าทางด้านทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์กว้างประมาณ 1.10 เมตร ไม่สามารถใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อผ่านเข้าออกได้นั้น ก็เป็นเรื่องความสะดวกของโจทก์เท่านั้นหาใช่ว่าโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นในที่ดินโฉนดเลขที่ 45821 ของจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 และ 1350 เพราะที่ดินโจทก์ไม่ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมจนไม่สามารถออกไปสู่ทางสาธารณะได้
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 45810 ของโจทก์และที่ดินโฉนดเลขที่ 45821 ของจำเลยที่ 2 เป็นที่ดินแปลงเดียวกันต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 แปลงดังกล่าว แต่เมื่อทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โดยเป็นทางเดินเท้าซึ่งตามแผนที่พิพาทระบุว่าทางด้านทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์กว้างประมาณ 1.10 เมตร ไม่สามารถใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อผ่านเข้าออกได้นั้น ก็เป็นเรื่องความสะดวกของโจทก์เท่านั้นหาใช่ว่าโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นในที่ดินโฉนดเลขที่ 45821 ของจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 และ 1350 เพราะที่ดินโจทก์ไม่ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมจนไม่สามารถออกไปสู่ทางสาธารณะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6334/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ แม้หลังผิดนัดชำระ และผู้รับโอนไม่มีส่วนได้เสียโดยตรง ย่อมทำได้ตามกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306 วรรคหนึ่ง มิได้บัญญัติว่าหนี้ที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระแล้วจะโอนให้แก่กันไม่ได้ และผู้รับโอนจะต้องมีส่วนได้เสียในมูลหนี้ที่รับโอน แม้การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างเจ้าหนี้กับโจทก์จะกระทำภายหลังจำเลยผิดนัดชำระหนี้แล้วและโจทก์มิได้มีส่วนได้เสียในมูลหนี้ดังกล่าว ก็มิใช่เรื่องการซื้อขายความและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อการโอนสิทธิเรียกร้องได้ทำเป็นหนังสือและโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามมาตรา 306 วรรคหนึ่งแล้ว ย่อมมีผลสมบูรณ์และใช้ยันจำเลยได้ โจทก์ผู้รับโอนซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้แทนเจ้าหนี้เดิมย่อมมีสิทธิเรียกร้องตามมูลหนี้ที่มีอยู่จากจำเลยได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระหนี้ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6258/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวกับคำฟ้องเดิม หากไม่เกี่ยว ศาลต้องสั่งให้ฟ้องเป็นคดีต่างหาก
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฟ้องแย้งโดยอ้างว่า ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้งโจทก์แล้วพิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการจะวินิจฉัยดังกล่าวได้ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จะต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมก่อน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันบริษัท ก. ลูกหนี้เงินกู้ของโจทก์รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่าสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันระหว่างบริษัท ก. และจำเลยที่ 1 กับโจทก์เป็นโมฆะ สัญญาทุกฉบับเป็นนิติกรรมอำพรางการที่โจทก์และ ว. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ตั้งจำเลยที่ 1 และบริษัท ก. เป็นตัวแทนลงทุนทำโครงการจัดสรรและพัฒนาที่ดิน และฟ้องแย้งว่าโจทก์และ ว. ตัวการได้สั่งการให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าพัฒนาที่ดินโครงการจัดสรรแทนไปก่อน แต่โจทก์และ ว. ไม่ยอมชำระคืน ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้เงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่จำเลยที่ 1 ตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยที่ 1 คงมีประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาค้ำประกัน แต่ตาม ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องกล่าวอ้างว่า ว. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์มอบหมายให้จำเลยที่ 1 และบริษัท ก. เป็นตัวแทนโจทก์ในการลงทุนจัดทำโครงการจัดสรรและพัฒนาที่ดิน ซึ่งโจทก์ไม่สามารถดำเนินการเองได้เพราะผิดต่อกฎหมาย ปัญหาว่าการกระทำทั้งหลายของ ว. ตามที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างมาในฟ้องแย้งจะผูกพันโจทก์ให้ต้องรับผิดในการที่จำเลยที่ 1 ได้ออกเงินค่าพัฒนาที่ดินไปก่อนหรือไม่ล้วนแต่เป็นการตั้งประเด็นขึ้นใหม่ อันเป็นคนละเรื่องคนละมูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้เงินกู้ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันบริษัท ก. ลูกหนี้เงินกู้ของโจทก์รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่าสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันระหว่างบริษัท ก. และจำเลยที่ 1 กับโจทก์เป็นโมฆะ สัญญาทุกฉบับเป็นนิติกรรมอำพรางการที่โจทก์และ ว. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ตั้งจำเลยที่ 1 และบริษัท ก. เป็นตัวแทนลงทุนทำโครงการจัดสรรและพัฒนาที่ดิน และฟ้องแย้งว่าโจทก์และ ว. ตัวการได้สั่งการให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าพัฒนาที่ดินโครงการจัดสรรแทนไปก่อน แต่โจทก์และ ว. ไม่ยอมชำระคืน ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้เงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่จำเลยที่ 1 ตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยที่ 1 คงมีประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาค้ำประกัน แต่ตาม ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องกล่าวอ้างว่า ว. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์มอบหมายให้จำเลยที่ 1 และบริษัท ก. เป็นตัวแทนโจทก์ในการลงทุนจัดทำโครงการจัดสรรและพัฒนาที่ดิน ซึ่งโจทก์ไม่สามารถดำเนินการเองได้เพราะผิดต่อกฎหมาย ปัญหาว่าการกระทำทั้งหลายของ ว. ตามที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างมาในฟ้องแย้งจะผูกพันโจทก์ให้ต้องรับผิดในการที่จำเลยที่ 1 ได้ออกเงินค่าพัฒนาที่ดินไปก่อนหรือไม่ล้วนแต่เป็นการตั้งประเด็นขึ้นใหม่ อันเป็นคนละเรื่องคนละมูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้เงินกู้ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6258/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ศาลไม่รับฟ้องแย้ง ชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันบริษัท ก. ลูกหนี้เงินกู้ของโจทก์ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 1 ให้การว่าสัญญากู้ยืมเงินสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันระหว่างบริษัท ก. และจำเลยที่ 1 กับโจทก์เป็นโมฆะ เพราะเป็นนิติกรรมอำพรางการที่โจทก์และ ว. ตั้งจำเลยที่ 1 และบริษัท ก. เป็นตัวแทนลงทุนทำโครงการจัดสรรและพัฒนาที่ดิน และฟ้องแย้งว่าโจทก์และ ว. ตัวการได้สั่งการให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าพัฒนาที่ดินโครงการจัดสรรดังกล่าวรวมเป็นเงิน 147,647,250 บาท แทนโจทก์และ ว. ไปก่อนแต่โจทก์กับ ว. ซึ่งเป็นตัวการกลับไม่ยอมชำระเงินคืนให้แก่จำเลยที่ 1 ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยให้แก่จำเลยที่ 1 ตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว คงมีประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาค้ำประกัน แต่ตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างว่า ว. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์มอบหมายให้จำเลยที่ 1 และบริษัท ก. เป็นตัวแทนโจทก์ในการลงทุนจัดทำโครงการจัดสรรและพัตนาที่ดินซึ่งโจทก์ไม่สามารถดำเนินการเองได้เพราะผิดต่อกฎหมาย ปัญหาว่าการกระทำทั้งหลายของ ว. ตามที่จำเลยที่ 1 กล่าวมาในฟ้องแย้งจะพูกพันโจทก์ให้ต้องรับผิดหรือไม่ในการที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างว่าได้ออกเงินค่าพัฒนาที่ดินไปก่อน เป็นค่าก่อสร้างถนนภายในโครงการ ค่าก่อสร้างถนนจากมิตราภาพเข้าโครงการและทำรั้วลวดหนามรอบโครงการ ค่าซื้อที่ดิน ค่าจ้างออกแบบสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม ค่าขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล ปลูกต้นไม้ ก่อสร้างสำนักงานขาย ขุดสระน้ำ นำไฟฟ้าแรงสูงและระบบไฟฟ้าเข้าใช้ในโครงการ การก่อสร้างคอนโดมิเนียม ไทม์ แชร์ริ่ง หรือคอนโดเทล ค่าแบ่งแยกที่ดินเป็นแปลงย่อย ค่าการตลาดและบริหารการขาย กรมสวัสดิการกองทัพบอก ค่าใช้จ่ายในการขาย การบริหารและค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดนั้นล้วนแต่เป็นการตั้งประเด็นขึ้นใหม่อันเป็นคนละเรื่องคนละมูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้เงินกู้ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6146/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ การฟ้องแย้ง และการพิจารณาคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วม
จำเลยนำสืบว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินโจทก์ 2,500,000 บาท ตามสัญญากู้ยืมเงิน ความจริงจำเลยกู้เงินเพียง 2,000,000 บาท แต่โจทก์นำดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2.5 ต่อเดือน ซึ่งเกินอัตราตามกฎหมายรวมเป็นเงินต้นด้วย จึงระบุต้นเงินในสัญญากู้ยืมเงิน 2,500,000 บาท เป็นการนำสืบโต้แย้งเกี่ยวกับจำนวนเงินที่กู้จากโจทก์ว่าไม่ได้รับเงินจำนวนดังกล่าว ถือว่าเป็นการนำสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตาม ป.วิ.พ. 94 วรรคท้าย ไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบได้
เมื่อมีการยื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นจำเลยร่วม ศาลต้องตรวจว่าต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) หรือไม่ หากคำร้องสอดต้องด้วยหลักเกณฑ์ของกฎหมายศาลก็จะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นจำเลยร่วมคือรับคำร้องสอดไว้พิจารณา ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนการสั่งรับหรือไม่รับคำร้องสอดในเบื้องต้น ส่วนเมื่อรับคำร้องสอดไว้พิจารณาแล้วข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจะรับฟังได้ตามที่อ้างในคำร้องสอดหรือไม่เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งซึ่งเป็นขั้นตอนการพิจารณาพิพากษาคดี และแม้ข้อเท็จจริงที่ได้ความในทางพิจารณาจะรับฟังไม่ได้ตามที่อ้างก็ไม่มีผลทำให้ขั้นตอนการสั่งอนุญาตให้เข้าเป็นจำเลยร่วมหรือการสั่งรับคำร้องสอดไว้พิจารณาในตอนแรกกลับกลายเป็นการสั่งโดยไม่ชอบหรือผิดหลง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์แล้วไม่ชำระ ขอให้บังคับจำเลยชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าในการกู้เงินดังกล่าวจำเลยจำนองที่ดินไว้เป็นประกัน จำเลยขอชำระหนี้ส่วนที่ค้างชำระและให้โจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองแล้วแต่โจทก์ผิดนัดไม่ยอมรับชำระ ขอให้ยกฟ้องและบังคับให้โจทก์รับชำระหนี้ส่วนที่ค้างชำระพร้อมจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง จำเลยร่วมยื่นคำร้องสอดอ้างว่า จำเลยร่วมเป็นเจ้าของที่ดินที่จำนองเป็นประกันหนี้จำเลยเป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีในอันที่จะให้โจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินเมื่อจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ขอถือเอาคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยเป็นของจำเลยร่วมด้วย คำร้องสอดของจำเลยร่วมต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) ชอบที่จะรับคำร้องสอดไว้พิจารณา
เมื่อมีการยื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นจำเลยร่วม ศาลต้องตรวจว่าต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) หรือไม่ หากคำร้องสอดต้องด้วยหลักเกณฑ์ของกฎหมายศาลก็จะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นจำเลยร่วมคือรับคำร้องสอดไว้พิจารณา ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนการสั่งรับหรือไม่รับคำร้องสอดในเบื้องต้น ส่วนเมื่อรับคำร้องสอดไว้พิจารณาแล้วข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจะรับฟังได้ตามที่อ้างในคำร้องสอดหรือไม่เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งซึ่งเป็นขั้นตอนการพิจารณาพิพากษาคดี และแม้ข้อเท็จจริงที่ได้ความในทางพิจารณาจะรับฟังไม่ได้ตามที่อ้างก็ไม่มีผลทำให้ขั้นตอนการสั่งอนุญาตให้เข้าเป็นจำเลยร่วมหรือการสั่งรับคำร้องสอดไว้พิจารณาในตอนแรกกลับกลายเป็นการสั่งโดยไม่ชอบหรือผิดหลง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์แล้วไม่ชำระ ขอให้บังคับจำเลยชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าในการกู้เงินดังกล่าวจำเลยจำนองที่ดินไว้เป็นประกัน จำเลยขอชำระหนี้ส่วนที่ค้างชำระและให้โจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองแล้วแต่โจทก์ผิดนัดไม่ยอมรับชำระ ขอให้ยกฟ้องและบังคับให้โจทก์รับชำระหนี้ส่วนที่ค้างชำระพร้อมจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง จำเลยร่วมยื่นคำร้องสอดอ้างว่า จำเลยร่วมเป็นเจ้าของที่ดินที่จำนองเป็นประกันหนี้จำเลยเป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีในอันที่จะให้โจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินเมื่อจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ขอถือเอาคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยเป็นของจำเลยร่วมด้วย คำร้องสอดของจำเลยร่วมต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) ชอบที่จะรับคำร้องสอดไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6121/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตายของจำเลยระหว่างพิจารณาคดี และผลกระทบต่อกระบวนการพิจารณาคดี การดำเนินการเพื่อให้ทายาทเข้ามาเป็นคู่ความ
ก่อนถึงวันนัดฟังคำสั่งศาลฎีกาเรื่องการขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกาของจำเลยที่ 1 ทนายจำเลยที่ 1 ได้แถลงให้ศาลชั้นต้นทราบว่าจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายแล้ว ในกรณีเช่นนี้ ศาลชั้นต้นจะต้องสอบข้อเท็จจริงให้แน่ชัดว่าจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายจริงหรือไม่ และหากเป็นความจริงก็ถือว่าจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นจะต้องจัดให้มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 เสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งศาลฎีกาดังกล่าวโดยมิได้ดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 และการที่ทนายจำเลยที่ 1 มิได้ดำเนินการใด ๆ เพื่อขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวภายในกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันทราบเรื่องผิดระเบียบ แต่กลับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลานำเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกามาวางต่อศาลชั้นต้นตามคำสั่งศาลฎีกาแทนจำเลยที่ 1 นั้นก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 ตัวการ เพราะการกระทำดังกล่าวมิใช่การดำเนินคดีไปในทางปกปักรักษาประโยชน์ของตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 แต่เป็นการกระทำที่มีผลทำให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่เสียหายเสียสิทธิที่จะยกข้อคัดค้านเรื่องผิดระเบียบดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างในภายหลังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง เมื่อทนายจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาแทนจำเลยที่ 1 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินตามขอก็ดี และต่อมามีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเพราะเหตุจำเลยที่ 1 ทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายก็ดี จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบไปด้วย ศาลฎีกาเห็นสมควรเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวแล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6119/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งอนุญาตให้จ่ายเงินจากการขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้พิพากษาคนแรกไม่อนุญาต เหตุจำเลยไม่วางเงินประกันตามกำหนด
จำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ขอให้บังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยที่ 2 แล้วนำออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา ก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะจ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดีและมีคำขอให้งดการบังคับคดีไว้ก่อน การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะจ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดให้แก่โจทก์เป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดให้แก่โจทก์ เป็นคำสั่งงดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 (2) โดยเหตุผลที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนก็เพื่อที่จะรอฟังผลการไต่สวนคำร้องขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดีของจำเลยที่ 2 ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดีของจำเลยที่ 2 แล้วเนื่องจากจำเลยที่ 2 ไม่วางเงินประกันภายในเวลาที่กำหนดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคห้า มูลเหตุที่ทำให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ย่อมสิ้นสุดลง โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอให้ดำเนินการบังคับคดีต่อไปโดยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์ และเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าพฤติการณ์แห่งคดีไม่มีเหตุสมควรที่จะให้งดการบังคับคดีของโจทก์ไว้แล้วก็เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดแก่โจทก์ตามคำร้องของโจทก์ได้ หาเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายแต่ประการใดไม่
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องของโจทก์ที่ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมิใช่คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 (2) แต่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องหรือคำขอที่ยื่นต่อศาลในคดี ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้นเป็นองค์คณะมีอำนาจกระทำได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (1) และมิใช่เป็นการเปลี่ยนผู้พิพากษาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่ากรณีมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้หรือไม่
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องของโจทก์ที่ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมิใช่คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 (2) แต่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องหรือคำขอที่ยื่นต่อศาลในคดี ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้นเป็นองค์คณะมีอำนาจกระทำได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (1) และมิใช่เป็นการเปลี่ยนผู้พิพากษาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่ากรณีมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6054/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีตั๋วแลกเงิน: ธนาคารผู้รับรองไม่มีสิทธิไล่เบี้ยผู้สั่งจ่าย จึงไม่มีอำนาจโอนสิทธิเรียกร้อง
การที่ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้จ่ายได้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วแลกเงินจึงเป็นผู้รับรองตาม ป.พ.พ. มาตรา 927 ต้องผูกพันในอันจะจ่ายเงินจำนวนที่รับรองตามเนื้อความแห่งคำรับรองของตนตามมาตรา 937 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่าย จำเลยที่ 1 ไม่ได้อยู่ในฐานะที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ตามมาตรา 967 วรรคสาม ดังนั้นเมื่อธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ได้จ่ายเงินให้แก่บริษัทโตโยต้ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับเงินตามตั๋วแลกเงินทั้ง 92 ฉบับ ไปแล้ว ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) จึงหามีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายได้ไม่ เมื่อไม่มีสิทธิไล่เบี้ยแล้ว ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ก็ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องที่จะโอนให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองจะได้สละประเด็นข้อพิพาทข้อนี้ไปแล้ว แต่จำเลยทั้งสองก็มีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6054/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีตามตั๋วแลกเงิน: สิทธิไล่เบี้ยและการโอนสิทธิเรียกร้อง
ธนาคาร น. เป็นผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงิน การที่ ธนาคาร น. ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วแลกเงินจึงเป็นผู้รับรองตาม ป.พ.พ. มาตรา 927 ต้องผูกพันในอันจะจ่ายเงินจำนวนที่รับรองตามเนื้อความแห่งคำรับรองของตนตามมาตรา 937 ธนาคาร น. ย่อมอยู่ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน จำเลยที่ 1 ไม่ได้อยู่ในฐานะที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนธนาคาร น. ตามมาตรา 967 วรรคสาม ดังนั้น เมื่อธนาคาร น. ได้จ่ายเงินให้บริษัท ต. ซึ่งเป็นผู้รับเงินไปแล้ว ธนาคาร น. จึงหามีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายได้ไม่ เมื่อไม่มีสิทธิไล่เบี้ยแล้วก็ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องที่จะโอนให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองจะสละประเด็นพิพาทข้อนี้ไปแล้ว แต่จำเลยทั้งสองก็มีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง