คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ม. 110

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5699/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมแปลงและจำหน่ายสินค้าละเมิดเครื่องหมายการค้า: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์บรรยายฟ้อง ข้อ (ก) ว่า จำเลยทั้งห้าร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายทั้งสอง โดยนำน้ำมันหล่อลื่นและน้ำมันเครื่องจากแหล่งผลิตอื่นมาบรรจุในกระป๋องน้ำมันและขวดน้ำมัน ซึ่งเป็นภาชนะผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายทั้งสองที่จำเลยทั้งห้าร่วมกันทำปลอมขึ้นดังกล่าว แล้วปิดผนึกฝากระป๋องหรือฝาขวดด้วยเครื่องผนึกอลูมิเนียม แล้วนำไปบรรจุใส่กล่องหรือลังกระดาษจนสำเร็จเป็นสินค้าน้ำมันหล่อลื่นที่มีเครื่องหมายการค้ายี่ห้อเวลลอย ซุปเปอร์ทู ที โลวส์โม๊ค ขนาด 0.5 ลิตร จำนวน 1,824 ขวด น้ำมันหล่อลื่นยี่ห้อฮาโวลีน ขนาดบรรจุ 0.5 ลิตร จำนวน 40 ขวด และมีสติกเกอร์ยี่ห้อฮาโวลีนจำนวน 4,800 แผ่น แผ่นฟอยล์ปั๊มปิดฝาขวดยี่ห้อคาร์ลเท็กซ์จำนวน 5,000 แผ่น สติกเกอร์ยี่ห้อคาร์ลเท็กซ์จำนวน 300 แผ่น ใบปะหน้าสินค้ายี่ห้อเวลลอยจำนวน 300 แผ่น ฟอยล์ปั๊มปิดฝาขวดน้ำมันหล่อลื่นยี่ห้อเวลลอยจำนวน 1,000 ชิ้น ฝาปิดขวดน้ำมันเครื่องยี่ห้อเวลลอยสีแดงจำนวน 15,000 ฝา ขวดเปล่าน้ำมันหล่อลื่นยี่ห้อเวลลอยสีแดงจำนวน 2,220 ขวด ขวดเปล่าน้ำมันหล่อลื่นยี่ห้อฮาโวลีนสีดำจำนวน 100 ขวด ขวดเปล่าน้ำมันหล่อลื่นยี่ห้อเวลลอยสีขาวจำนวน 50 ขวด กล่องกระดาษบรรจุสินค้ายี่ห้อเวลลอยจำนวน 80 ใบ กล่องกระดาษบรรจุสินค้ายี่ห้อฮาโวลีนจำนวน 115 ใบ ฉลากปิดขวดน้ำมันหล่อลื่นยี่ห้อเวลลอย 2T ภาษาอังกฤษจำนวน 1,050 แผ่น ฉลากปิดขวดน้ำมันหล่อลื่นยี่ห้อเวลลอย ภาษาไทยจำนวน 30,000 แผ่น ภายใต้เครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายทั้งสองที่จำเลยทั้งห้าทำปลอมขึ้นเพื่อจำหน่าย โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายทั้งสอง และโดยจำเลยทั้งห้ารู้อยู่แล้วว่าเป็นการปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายทั้งสอง เพื่อให้ผู้อื่นหรือประชาชนทั่วไปหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าและเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้เสียหายทั้งสอง และขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 และมาตรา 110 ถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 และฐานร่วมกันมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 108 ไว้ครบถ้วนแล้ว และประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าในความผิดฐานดังกล่าวด้วย เมื่อจำเลยทั้งห้าให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยทั้งห้ามีความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษไม่ลงโทษจำเลยทั้งห้าในความผิดฐานร่วมกันมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 108 นั้น ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่เห็นพ้องด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14615/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่างประเทศก่อน การฟ้องร้องละเมิดเครื่องหมายการค้าในไทย
การกระทำของจำเลยทั้งสี่จะมีมูลครบองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 108 และมาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 109 พยานหลักฐานของโจทก์จะต้องมีมูลเพียงพอให้รับฟังได้ว่าสินค้าที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันนำเข้ามาในราชอาณาจักร จำหน่าย เสนอจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายนั้น เป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าที่มีบุคคลใดทำขึ้นโดยปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ในราชอาณาจักรของโจทก์ด้วย เมื่อไม้กอล์ฟอุปกรณ์เล่นกอล์ฟ และถุงกอล์ฟจำนวน 25 ชิ้น ของกลาง เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นโดยบริษัท ค. ซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "KAMUI" ไว้ที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2540 ส่วนโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำดังกล่าวไว้ในราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2553 อันเป็นระยะเวลาภายหลังจากที่บริษัทดังกล่าวได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ที่ประเทศญี่ปุ่นกว่าสิบปี ทั้งในฟ้องอ้างว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศญี่ปุ่น มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทไม้กอล์ฟแต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "KAMUI" ไว้โดยชอบในประเทศญี่ปุ่นด้วย เมื่อสินค้าของกลางทั้งหมด เป็นสินค้าที่ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "KAMUI" ซึ่งมีบริษัทดังกล่าวเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าที่ได้รับการจดทะเบียนไว้อยู่ก่อนแล้วในประเทศญี่ปุ่น จึงหาใช่สินค้าที่มีบุคคลใดจัดทำขึ้นโดยปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้รับการจดทะเบียนไว้ในราชอาณาจักรไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8154/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานเครื่องหมายการค้า: การกระทำกรรมเดียว แม้ติดที่สินค้าและบรรจุภัณฑ์, ไม่ถือเป็นความผิดหลายบท
การกระทำความผิดทั้งสองข้อตามที่โจทก์อ้างถึงในฟ้องดังกล่าวเป็นการกระทำในวันเวลาเดียวกันและสถานที่เดียวกัน สินค้าและผลิตภัณฑ์ก็คือสินค้าและผลิตภัณฑ์เดียวกัน เพียงแต่ตามฟ้องข้อ (ก) กล่าวถึงตัวสินค้า ส่วนฟ้องข้อ (ข) กล่าวถึงหีบห่อที่ใช้ห่อหุ้มสินค้าเพื่อบรรจุสินค้า ซึ่งเป็นเรื่องปกติในการขายสินค้าที่จะมีหีบห่อและบรรจุภัณฑ์มาพร้อมกัน คำบรรยายฟ้องลักษณะนี้จึงไม่ชัดเจนพอฟังว่าเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมแยกออกต่างหากดังที่โจทก์ฟ้องแยกเป็นอีกข้อหาหนึ่งและขอให้ลงโทษหลายกรรมตาม ป.อ. มาตรา 91 และการที่จำเลยนำเครื่องหมายเดียวกันไปติดไว้ที่สิ่งห่อหุ้มสินค้าและที่สินค้าแล้วขายสินค้าไปในวันเวลาและสถานที่เดียวกัน ต้องถือว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวและไม่ถือว่าเป็นความผิดหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5017/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายสินค้าปลอม และการคุ้มครองผู้บริโภคจากสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ
การเอาชื่อ รูป และรอยประดิษฐ์ที่เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้สำหรับสินค้านมข้นหวานในจำพวก 29 มาใช้โดยทำให้ปรากฏที่กล่องหรือลังกระดาษสำหรับบรรจุ ซึ่งเท่ากับเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้านมกระป๋องดังกล่าวโดยมีเจตนาเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าสินค้าที่อยู่ในกล่องกระดาษหรือลังดังกล่าวเป็นสินค้าของโจทก์ร่วมถือได้ว่าเป็นการปลอมเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรตามที่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 บัญญัติไว้เป็นความผิดโดยเฉพาะแล้ว ดังนั้น การเอาชื่อ รูป หรือรอยประดิษฐ์ที่เป็นเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นมาใช้โดยทำให้ปรากฏที่หีบห่อบรรจุสินค้าโดยมีเจตนาเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของผู้อื่นอันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 271 (1) นั้น จึงต้องเป็นการเอาชื่อ รูป หรือรอยประดิษฐ์ที่เป็นเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนในราชอาณาจักรมาใช้เท่านั้น เพราะหากเป็นเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร การกระทำดังกล่าวจะเป็นความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าดังที่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 บัญญัติไว้เป็นบทเฉพาะซึ่งมีระวางโทษหนักกว่า
เมื่อการเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ที่เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ร่วมมาใช้โดยทำให้ปรากฏที่หีบห่อเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของโจทก์ร่วมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงไม่อาจเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) ได้อีก แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้องก็ตาม ไม่ใช่เรื่องการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90
เจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 มีวัตถุประสงค์ในการควบคุมคุณภาพของอาหารเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค ความผิดฐานจำหน่ายอาหารปลอมตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 59 ประกอบมาตรา 25 (2) และ 27 จึงเป็นความผิดต่อรัฐ รัฐเท่านั้นที่เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานนี้ โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานนี้ ไม่อาจอุทธรณ์ในข้อหาความผิดฐานนี้ได้
แม้ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรปลอมได้ ก็ต้องริบนมกระป๋องตรามะลิปลอมของกลางตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 115

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4561/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเครื่องหมายการค้า: การพิสูจน์เจตนาและความยากในการแยกแยะสินค้าเลียนแบบ
แผ่นดิสก์ที่มีเครื่องหมายการค้า "SONY" อันแท้จริงของผู้เสียหายมีลักษณะเฉพาะซึ่งเป็นความลับ 4 จุด ไม่สามารถเปิดเผย มีเฉพาะผู้รู้จุดสังเกตนี้เท่านั้นจึงจะสามารถสังเกตได้ เป็นการยากที่ประชาชนหรือผู้ขายทั่วไปจะรู้ได้ว่าสินค้าแผ่นดิสก์ของกลางที่นำมาจำหน่ายเป็นสินค้าที่แท้จริงของผู้เสียหายหรือมีผู้ทำเลียนแบบขึ้น เมื่อไม่ปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์เลยว่าสินค้าแผ่นดิสก์ของแท้ของผู้เสียหายจำหน่ายในราคาเท่าใดและสินค้าแผ่นดิสก์วัตถุพยานที่จำเลยจำหน่ายนี้จำหน่ายในราคาเท่าไร พยานหลักฐานของโจทก์เท่าที่สืบมายังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยจะรู้หรือไม่ว่าสินค้าแผ่นดิสก์ที่จำหน่ายเป็นสินค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหาย จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 227 ให้พิพากษายกฟ้องโจทก์ แต่เมื่อฟังได้ว่าแผ่นดิสก์ของกลางจำนวน 360 แผ่น มีเครื่องหมายที่เลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหาย อันเป็นสินค้าที่ต้องริบ จึงให้ริบเสีย แม้ว่าจะไม่มีผู้ถูกลงโทษในคดีนี้ก็ตาม ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 115

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 629/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนเครื่องหมายบริการทางธุรกิจ ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้ลงโทษเฉพาะความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
เมื่อเปรียบเทียบรูปและคำของเครื่องหมายในภาพถ่ายแผ่นป้ายหน้าร้านที่เกิดเหตุกับเครื่องหมายบริการของผู้เสียหายจะเห็นว่าแผ่นป้ายดังกล่าวอยู่ในแนวตั้ง มีสีเหลืองและมีตัวอักษรภาษาอังกฤษ (โรมัน) สีแดงเรียงจากด้านบนมาด้านล่างว่า N PHOTO EXPRESS โดยอักษร N ทำเป็นตัวอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้นซึ่งมีลักษณะคล้ายอักษรประดิษฐ์ตัว K ของผู้เสียหาย ส่วนคำว่า EXPRESS ก็มีลักษณะของการวางตัวอักษร ลวดลาย และสีก็คล้ายคลึงกับเครื่องหมายบริการคำว่า K KODAK EXPRESS ของผู้เสียหาย แม้คำว่า PHOTO ของเครื่องหมายในแผ่นป้ายหน้าร้านจะไม่คล้ายคำว่า KODAK ของผู้เสียหาย และผู้เสียหายปฏิเสธสิทธิว่าจะไม่ใช้คำว่า EXPRESS แต่เพียงผู้เดียว แต่การพิจารณาความเหมือนหรือคล้ายต้องพิจารณาป้ายบริการทั้งหมดประกอบกัน มิใช่พิจารณาจากตัวอักษรหรือคำใดคำหนึ่ง จึงเห็นว่าเครื่องหมายบริการในแผ่นป้ายหน้าร้านที่เกิดเหตุมีลักษณะโดยรวมคล้ายกับเครื่องหมายบริการของผู้เสียหายดังกล่าว เป็นการเลียนแบบเครื่องหมายของผู้เสียหาย
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าจำเลยไม่มีความผิดฐานเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม และโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยให้บริการหรือเสนอบริการเลียนแบบเครื่องหมายบริการของผู้เสียหาย จึงไม่ต้องปรับบทว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 และโจทก์ก็มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ วัตถุที่ใช้ห่อหุ้มเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นการค้าของผู้เสียหาย อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272 (1) ด้วย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานนี้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทดังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษา แต่เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวในฐานเลียนเครื่องหมายบริการของผู้เสียหาย อันเป็นความผิดกฎหมายบทเดียว คือ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 109

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนเครื่องหมายการค้าและการจำหน่ายสินค้าละเมิด ศาลแก้ไขโทษปรับให้เหมาะสมกับความเสียหาย
มาตรา 3 วรรคสอง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ ให้ใช้มาตรา 109 และ 110 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวแทนบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการเลียนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนภายในราชอาณาจักรตามมาตรา 274 และการปฏิบัติต่อสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวตามมาตรา 275 แห่ง ป.อ. แล้ว ในการปรับบทกฎหมายจึงไม่ต้องอ้างบทบัญญัติในมาตรา 274 และ 275 แห่ง ป.อ. อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนเครื่องหมายการค้า: ศาลแก้ไขบทลงโทษ โดยใช้เฉพาะ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า แทนการอ้างอิงประมวลกฎหมายอาญา
เมื่อจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 109 และ 110 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 274 และ 275 แต่มาตรา 3 วรรคสอง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ให้ใช้มาตรา 109 และ 110 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแทนบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการเลียนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนภายในราชอาณาจักรตามมาตรา 274 และการปฏิบัติต่อสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวตามมาตรา 275 แห่งประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ในการปรับบทกฎหมายจึงไม่ต้องอ้างบทบัญญัติในมาตรา 274 และ 275 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6513/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นโจทก์ร่วมในคดี พ.ร.บ.อาหาร: ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรงเท่านั้น
ความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 รัฐเท่านั้นที่เป็นผู้เสียหาย โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางอนุญาตให้โจทก์ร่วมที่ 1 เข้าร่วมเป็นโจทก์ ก็หมายถึงอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เท่านั้น เมื่อคดีนี้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 และโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ ความผิดข้อหาดังกล่าวจึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง โจทก์ร่วมที่ 1 ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในข้อหานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3585/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานจำหน่ายสินค้าเครื่องหมายการค้าปลอมและอาหารปลอม ความรับผิดของจำเลยร่วม
ความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 108,110และพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25,27,59 เป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องเกี่ยวพันกันทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง กรุงเทพมหานครและสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบัวทองซึ่งเป็นท้องที่ที่จำเลยที่ 2 ถูกจับจึงมีอำนาจสอบสวนได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19 วรรคหนึ่ง(3) และวรรคสาม(ก)โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 120
โจทก์ร่วมที่ 1 ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการและศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ต้องถือว่าเป็นการอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ได้เฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ซึ่งมีโจทก์ร่วมทั้งสองเป็นผู้เสียหายเท่านั้น เพราะโจทก์ร่วมทั้งสองมิได้เป็นผู้เสียหายในความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
จำเลยที่ 2 มีอาหารปลอมไว้เพื่อจำหน่ายและจำหน่ายโดยที่อาหารดังกล่าวมีเครื่องหมายการค้าปลอมอยู่ด้วยก็ด้วยเจตนาเดียวที่ประสงค์จะจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารปลอม เมื่ออาหารปลอมนั้นมีเครื่องหมายการค้าปลอมและกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไว้ จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
of 2