คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วีระชาติ เอี่ยมประไพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 404 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6088/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำพิพากษาที่ไม่ตรงตามคำขอท้ายฟ้อง การใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาแทนการขอตีความคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นพิพากษาไม่ตรงตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์โดยไม่ได้ระบุว่าให้โจทก์มีสิทธิยึดทรัพย์สินอื่นที่มิใช่ทรัพย์จำนองของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์จนครบถ้วน มิใช่เป็นเรื่องผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลง แต่เป็นเรื่องที่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลชั้นต้นไม่อาจใช้ดุลพินิจแก้ไขคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 โจทก์จึงยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นตีความคำพิพากษาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5995/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดทรัพย์: ประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดิน, การครอบครองปรปักษ์, และขอบเขตการวินิจฉัยของศาล
โจทก์ให้การแก้คำร้องขัดทรัพย์ว่า ที่ดินพิพาทมีชื่อจำเลยที่ 2 โจทก์ให้การแก้คำร้องขัดทรัพย์ว่า ที่ดินพิพาทมีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของ ผู้ร้องไม่ได้จดทะเบียนการได้มาเป็นของผู้ร้อง จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ และผู้ร้องไม่ได้ครอบครองทรัพย์ที่ยึดโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปี จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ไม่ได้ต่อสู้ว่า ผู้ร้องไม่สุจริตหรือคำพิพากษาตามยอมไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การที่ผู้ร้องทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 1 โดยรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีกรรมสิทธิ์ จึงฟังว่าผู้ร้องไม่สุจริต หรือหากผู้ร้องไม่รู้ก็เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้ร้อง และคำพิพากษาตามยอมในคดีที่ผู้ร้องฟ้องจำเลยที่ 1 ให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทนั้น เป็นอุทธรณ์นอกเหนือประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี ถือได้ว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในการที่เชิดจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องชำระเงินครบถ้วนตามสัญญาแล้วและต่อมามีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความจนศาลพิพากษาตามยอม ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นของผู้ร้องมิใช่ของจำเลยที่ 2 เป็นการวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่าเป็นของจำเลยที่ 2 หรือไม่ อันเป็นประเด็นแห่งการร้องขัดทรัพย์ มิใช่เป็นการวินิจฉัยเกินกว่าคำร้องขัดทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5995/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ที่ถูกพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์นอกประเด็นข้อพิพาท
โจทก์ให้การว่า ที่ดินพิพาทที่มีชื่อของจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้ร้องไม่ได้จดทะเบียนการได้มาของผู้ร้อง จึงไม่มีกรรมสิทธิ์และผู้ร้องไม่ได้ครอบครองทรัพย์ที่ยึดโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปี จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ คำให้การดังกล่าวของโจทก์ไม่ได้ต่อสู้ว่า ผู้ร้องไม่สุจริตหรือคำพิพากษาตามยอมไม่มีผลพูกพันจำเลยที่ 2 จึงไม่มีประเด็นพิพาทในเรื่องดังกล่าว ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การที่ผู้ร้องทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทพร้อมตึกแถวกับจำเลยที่ 1 โดยรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีกรรมสิทธิ์ จึงฟังว่าผู้ร้องไม่สุจริตหรือหากผู้ร้องไม่รู้ก็เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้ร้อง และคำพิพากษาตามยอมในคดีที่ผู้ร้องฟ้องจำเลยที่ 1 ให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและตึกแถวพิพาทนั้น เป็นอุทธรณ์นอกเหนือประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี ถือได้ว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในการที่เชิดจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องชำระเงินครบถ้วนตามสัญญาแล้วและต่อมามีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความจนศาลพิพากษาตามยอม ที่ดินและตึกแถวพิพาทจึงตกเป็นของผู้ร้อง มิใช่ของจำเลยที่ 2 เป็นการวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทว่าเป็นของจำเลยที่ 2 หรือไม่ อันเป็นประเด็นแห่งการร้องขัดทรัพย์ หาใช่เป็นการวินิจฉัยเกินกว่าคำร้องขัดทรัพย์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5886/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้พิมพ์-บรรณาธิการในคดีหมิ่นประมาทตาม พ.ร.บ.การพิมพ์ที่ถูกยกเลิก
จำเลยเป็นเพียงผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาและบรรณาธิการ โดยจำเลยไม่ได้ร่วมกับผู้เขียน ผู้ประพันธ์ เขียนข้อความหมิ่นประมาทดังที่โจทก์กล่าวในฟ้องด้วย เมื่อปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไปบัญญัติไว้มาตรา 3 ให้ยกเลิก พ.ร.บ.การพิมพ์ พุทธศักราช 2484 พ.ร.บ.การพิมพ์ (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2485 พ.ร.บ.การพิมพ์ (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2488 คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 5 ลงวันที่ 6 ตุลาคม พุทธศักราช 2519 คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 36 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พุทธศักราช 2519 แต่ความที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 มิได้บัญญัติถึงลักษณะความผิดของผู้พิมพ์ ผู้โฆษณษา บรรณาธิการ และเจ้าของหนังสือพิมพ์ทำนองเดียวกับที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การพิมพ์ พุทธศักราช 2484 มาตรา 48 แต่ประการใด จึงเป็นกรณีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังมิได้กำหนดให้การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดต่อไป การกระทำของจำเลยแม้จะเป็นความผิดดังกล่าว จำเลยก็พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายนี้ขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5876/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการยึดที่ดินสาธารณูปโภคในโครงการจัดสรรที่ดิน ต้องได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในมูลหนี้สัญญาจะซื้อจะขายจำนวน 204,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ โจทก์นำยึดที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นสาธารณูปโภคซึ่งมีราคาประเมิน 13,058,600 บาท และปรากฏในสำนวนว่ามีผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดในราคา 3,920,000 บาท โดยมีการทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินกับเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2547 ตามเอกสารท้ายฎีกา หมายเลข 6 แต่ไม่ปรากฏว่าการยึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง การยึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดจึงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 มาตรา 30 วรรคสอง และมาตรา 33 วรรคหนึ่ง และกรณีไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 มาตรา 41 วรรคท้าย เพราะการยึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดในคดีนี้มิใช่การยึดและขายทอดตลาดที่ดินจัดสรรทั้งโครงการซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจากการขายทอดตลาดต้องรับโอนใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินรวมทั้งรับโอนสิทธิและหน้าที่ที่ผู้จัดสรรที่ดินมีต่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรร โจทก์จึงไม่มีสิทธิยึดที่ดินพิพาทของจำเลยเพื่อนำออกขายทอดตลาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5876/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีแก่ที่ดินสาธารณูปโภคในโครงการจัดสรร ต้องได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
การบังคับคดีแก่ที่ดินส่วนที่เป็นสาธารณูปโภคต้องมีการนำที่ดินส่วนดังกล่าวออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาและต้องมีการทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ประมูลได้ การขายทอดตลาดที่ดินส่วนที่เป็นสาธารณูปโภคจึงถือว่าเป็นการทำนิติกรรมที่ก่อให้เกิดภาวะผูกพันแก่ที่ดิน จึงต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดินฯ มาตรา 33 วรรคหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าการยึดที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นสาธารณูปโภคออกขายทอดตลาดได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง การยึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดจึงต้องห้ามตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5444/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉลต้องฟ้องลูกหนี้และผู้ได้ลาภงอกร่วมกัน มิฉะนั้นขาดอำนาจฟ้อง
การฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 นั้น เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะต้องฟ้องคู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่ทำนิติกรรม คือ ลูกหนี้กับผู้ได้ลาภงอกจากนิติกรรมเป็นจำเลยในคดี จะฟ้องเพียงคนใดคนหนึ่งไม่ได้ เพราะมิฉะนั้นแล้วคำพิพากษาของศาลย่อมไม่ผูกพันลูกหนี้หรือผู้ได้รับลาภงอก
อ. เป็นลูกหนี้ของโจทก์ แต่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรของ อ. และเป็นผู้ได้รับลาภงอกจากการกระทำนิติกรรมกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับจำนองที่ดินและบ้านพิพาทจากจำเลยที่ 1 มิได้ฟ้อง อ. ด้วย แม้จะปรากฏว่า อ. ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้ว โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ อ. ได้ การที่โจทก์บรรยายฟ้องมาว่า ก่อน อ. ถึงแก่กรรมได้พักอาศัยอยู่กับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดูแลรักษา อ. มาโดยตลอด จึงเป็นไปไม่ได้ที่ อ. จะขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 เพราะขัดต่อเหตุผล ถือว่านิติกรรมดังกล่าวทำเพื่อฉ้อฉลทำให้โจทก์เสียเปรียบนั้นเป็นเพียงการบรรยายฟ้องเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า อ. กับจำเลยที่ 1 ร่วมกันทำนิติกรรมเพื่อฉ้อฉลโจทก์เท่านั้น หาใช่การบรรยายฟ้องเพื่อแสดงให้เห็นว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ อ. ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5444/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมต้องฟ้องลูกหนี้และผู้ได้ลาภงอกร่วมกัน มิฉะนั้นขาดอำนาจฟ้อง
การฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ลูกหนี้ได้กระทำโดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 นั้น เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะต้องฟ้องคู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่ทำนิติกรรมคือลูกหนี้และผู้ได้ลาภงอกจากนิติกรรมเป็นจำเลยจะฟ้องเพียงคนใดคนหนึ่งไม่ได้เพราะมิฉะนั้นแล้วคำพิพากษาของศาลก็ไม่มีผลผูกพันลูกหนี้และผู้ได้ลาภงอก
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกจากนิติกรรมที่ทำกับ อ. ลูกหนี้ของโจทก์และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ทำนิติกรรมจำนองที่ดินกับจำเลยที่ 1 เป็นจำเลย มิได้ฟ้อง อ. เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย แม้ อ. ผู้ทำนิติกรรมขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 จะถึงแก่ความตายไปแล้วโจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ อ. เข้ามาเป็นคู่ความในคดี ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อน อ. ถึงแก่ความตายได้พักอาศัยอยู่กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรและเป็นผู้ดูแลรักษา อ. ตลอดมา จึงเป็นไปไม่ได้ที่ อ. จะทำนิติกรรมขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 เพราะขัดต่อเหตุผล ถือว่านิติกรรมดังกล่าวทำขึ้นเพื่อฉ้อฉลโจทก์ ทำให้โจทก์เสียเปรียบนั้น เป็นเพียงการบรรยายข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า อ. กับจำเลยที่ 1 ร่วมกันทำนิติกรรมเพื่อฉ้อฉลโจทก์เท่านั้น มิใช่การบรรยายฟ้องเพื่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ อ. เมื่อโจทก์มิได้ฟ้อง อ. หรือทายาทของ อ. โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5442/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงิน, ดอกเบี้ย, ข้อตกลงชำระหนี้, และการผิดนัดชำระหนี้
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์หลายครั้งรวมเป็นเงิน 50,000 บาท ต่อมาจึงได้ทำหลักฐานการกู้ยืมเงินมอบให้โจทก์ไว้ หลักฐานการกู้ยืมเงินดังกล่าวไม่ปรากฏข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ย การที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยตกลงให้ดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ทุกเดือนจึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมข้อความในเอกสารต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 ฟังไม่ได้ว่าจำเลยตกลงให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ โจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยนับแต่วันทำสัญญาไม่ได้ อย่างไรก็ตามการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยตามหลักฐานการกู้ยืมเงินดังกล่าวมิได้กำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนไว้ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องและจำเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ต้องถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้ครบถ้วน
กรณีข้อตกลงที่ขัดต่อข้อความตาม ป.พ.พ. มาตรา 656 วรรคสอง และตกเป็นโมฆะตามวรรคสามนั้นต้องเป็นเรื่องที่ผู้ให้กู้ยอมรับของอื่นแทนการชำระหนี้ด้วยเงินตรา แต่ข้อตกลงตามหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นเรื่องที่จำเลยตกลงให้บุตรจำเลยนำเงินมาชำระให้แก่โจทก์ จึงหาใช่ข้อตกลงที่ขัดต่อมาตรา 656 วรรคสองไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5383/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งงดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่อุทธรณ์ได้ หากมีการโต้แย้ง และอุทธรณ์ต้องชัดเจน
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี งดสืบพยานจำเลยทั้งสอง และนัดฟังคำพิพากษา เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว แต่การที่จำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2543 ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) แล้ว จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งให้งดสืบพยานของศาลชั้นต้นได้ แต่อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับคำสั่งให้งดสืบพยานของศาลชั้นต้นนั้น มิได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายให้ชัดแจ้งอย่างใด เพียงแต่กล่าวอ้างถึงอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง ฉบับลงวันที่ 20 ธันวาคม 2543 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 225 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองนั้นชอบแล้ว
of 41