คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วีระชาติ เอี่ยมประไพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 404 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11149/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินใต้คลอง: แม้ที่ดินถูกน้ำเซาะแต่เจ้าของยังมีสิทธิหวงกันได้
การที่เนื้อที่ดินของโจทก์ถูกน้ำเซาะกลายสภาพเป็นคลอง แต่โจทก์ยังแสดงการหวงกันอยู่ โดยการปักเสาแสดงอาณาเขตไว้ไม่ประสงค์ให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ ที่ดินใต้คลองในส่วนนั้นก็ยังถือเป็นที่ดินของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้ใดมาตักดินหรือทำลายแนวเขตที่ดินของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6840/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงตัวลูกหนี้จากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคล
เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด อันดามัน บิซิเนส แอนด์ เซอร์วิส เป็นนิติบุคคลต่างหากจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการตาม ป.พ.พ. มาตรา 1015 การที่โจทก์มีหนังสือรับรองให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด อันดามัน บิซิเนส แอนด์ เซอร์วิส เป็นตัวแทนของโจทก์ รหัสตัวแทน พีเค 0004 จะถือว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด อันดามัน บิซิเนส แอนด์ เซอร์วิส ตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6605/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องเสียหายโดยตรง การคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติไม่ใช่เหตุให้ฟ้องแทน
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องสรุปความได้ว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุ จำเลยทั้งสองร่วมกันเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินบริเวณหมู่ที่ 6 บ้านเขายายเที่ยงเหนือ ตำบลคลองไผ่ จังหวัดนครราชสีมา เนื้อที่ประมาณ 21 ไร่ ทั้งที่รู้อยู่ว่าเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ มีเจตนาพิเศษที่จะบุกรุกเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และเป็นการยึดถือครอบครอง ทำประโยชน์แผ้วถาง เผาป่า หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ ทำลายป่า โดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมป่าไม้ ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ป.ที่ดิน ป.อ. มาตรา 362 โดยอ้างว่าโจทก์ทั้งห้ามีสิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 67 คำบรรยายฟ้องดังกล่าวได้อ้างถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองที่อ้างว่าเป็นความผิด แต่ไม่มีข้อความตอนใดที่บรรยายโดยชัดแจ้งว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ทั้งห้าได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่งดังกล่าวมาในฟ้อง ซึ่งล้วนแต่เป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐ มิใช่ความผิดที่กระทำต่อโจทก์ทั้งห้าโดยตรง บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่โจทก์ทั้งห้ากล่าวอ้างมา ไม่มีข้อความตอนใดที่ให้สิทธิโจทก์ทั้งห้าฟ้องคดีอาญาได้แม้ไม่ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษจากการกระทำของจำเลยทั้งสอง โจทก์ทั้งห้าจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6509/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสจากสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และการแบ่งมรดก
เมื่อขณะที่ศาลจังหวัดชลบุรีได้พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ ท. กับจำเลยตกลงกันว่า จำเลยจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 11852 เนื้อที่ 3 ไร่ ให้แก่ ท. นั้น ท. กับโจทก์เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ ท. จะถึงแก่ความตายไปก่อนที่จะถึงกำหนดจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความและปัจจุบันยังมิได้มีการจดทะเบียนการได้มาซึ่งที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความกับพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่ก็ไม่ทำให้สิทธิของ ท. ที่จะได้รับที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีอยู่ก่อนแล้วต้องสูญสิ้นไป และสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่ที่ดินตามคำพิพากษาตามยอมเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งที่ ท. กับโจทก์ได้มาในระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) ซึ่งย่อมมีผลทำให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 11852 เนื้อที่ 3 ไร่ ที่ ท. จะได้รับตามสิทธินั้นตกเป็นสินสมรสระหว่าง ท. กับโจทก์ด้วยเช่นเดียวกัน โจทก์จึงมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับ ท. ในที่ดินดังกล่าวคนละครึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6205/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเรียกคืนเงินสะสมและผลประโยชน์ของสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเมื่อถูกไล่ออก
พ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539 มาตรา 54 ไม่ได้กล่าวถึงเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสม และเมื่อพิจารณาบทนิยามคำว่า เงินสะสม ตามมาตรา 3 วรรคแปด ที่ให้ความหมายว่า เงินที่สมาชิกสะสมเข้ากองทุนตาม พ.ร.บ. นี้ แสดงว่าเงินสะสมเป็นเงินของสมาชิก ยิ่งเมื่อพิจารณาประกอบกับบทบัญญัติมาตรา 39 วรรคหนึ่งและวรรคสี่ เห็นได้ว่า เงินสะสมนี้บทมาตราดังกล่าวให้ส่วนราชการหักตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงจากเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับ เงินสะสมจึงเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนของสมาชิก เมื่อกระทรวงคมนาคมลงโทษไล่จำเลยออกจากราชการโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2550 จำเลยจึงต้องคืนเงินเดือนสำหรับการทำงานวันที่ 30 กันยายน 2550 ให้แก่ส่วนราชการเจ้าสังกัดคือ กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ผู้จ่ายเงินเดือนให้จำเลยจึงมีสิทธิเรียกเงินเดือนของวันดังกล่าวเต็มจำนวนก่อนมีการหักเงินสะสม โจทก์ไม่ใช่ส่วนราชการเจ้าสังกัดผู้จ่ายเงินเดือนให้จำเลย และ พ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539 ก็ไม่ได้บัญญัติให้สิทธิโจทก์ไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืนเงินสะสมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนจำเลยและไม่มีสิทธิเรียกคืนผลประโยชน์ของเงินสะสมด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3799/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องหมิ่นประมาททางโทรศัพท์: การระบุสถานที่เกิดเหตุที่ชัดเจน
การกระทำความผิดอาญาบางอย่าง ผู้กระทำผิดอาจกระทำได้โดยลำพังคนเดียว โดยไม่มีพยานรู้เห็น คดีนี้ โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกล่าวข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ทางโทรศัพท์ต่อ ค. บุคคลที่สามซึ่งโทรศัพท์มาจากประเทศญี่ปุ่น ขณะนั้นจำเลยอยู่ในประเทศไทย ทำงานอยู่ที่บริษัท อ. แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าวันดังกล่าวจำเลยอยู่ที่ไหน จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่บริษัท ซ. เห็นได้ว่าโจทก์ได้บรรยายสถานที่เกิดเหตุว่าเหตุเกิดที่ประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย แต่จะเกิดเหตุที่บริษัทที่จำเลยทำงานอยู่หรือเกิดที่ภูมิลำเนาของจำเลยหรือที่ใดในประเทศไทย ไม่ทราบแน่ชัด ซึ่งจำเลยสามารถรู้และเข้าใจได้ถึงข้อที่จำเลยถูกกล่าวหา เพราะคำฟ้องได้กล่าวถึงบุคคลและสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดซึ่งจำเลยทราบอยู่แล้ว คำฟ้องโจทก์ได้กล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำความผิดรวมทั้งบุคคลที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 932/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมจะซื้อจะขายที่ดินเพื่อใช้ในการงดการบังคับคดี หากมีเจตนาลวงย่อมตกเป็นโมฆะ
การที่จำเลยเบิกความตอบศาลถามว่า ที่ น.ส. 3 ก. เลขที่ 371 มีราคาประเมินประมาณ 140,000 บาท ก็เจือสมกับทางนำสืบโจทก์ว่า อ. ได้นำที่ไปตีใช้หนี้ในราคา 104,375 บาท จากข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นการบ่งชี้ว่า ที่ดิน น.ส. 3 ก. เลขที่ 371 มีราคาเพียง 100,000 บาทเศษ การที่โจทก์ทั้งสองกับพวกไปทำสัญญาจะซื้อจะขายในราคาเท่ากับหนี้ที่ อ. ค้างชำระอยู่กับจำเลยจำนวน 939,706.45 บาท จึงเชื่อว่าเป็นการทำสัญญาเพื่อนำไปใช้แสดงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีประกอบการของดการบังคับคดีตามที่โจทก์ทั้งสองฟ้อง โดยคู่สัญญามิได้มีเจตนาผูกพันกันตามนั้น ถือว่านิติกรรมดังกล่าวเกิดจากการแสดงเจตนาลวงย่อมตกเป็นโมฆะ ปัญหาดังกล่าวถือเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ของวัด: เจ้าอาวาสมีอำนาจจัดการศาสนสมบัติและฟ้องคดีได้ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์
พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 31 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.คณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 บัญญัติว่า ...ให้วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกรณีทั่วไป มาตรา 37 บัญญัติว่า เจ้าอาวาสมีหน้าที่ดังนี้ (1) บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี... และมาตรา 40 บัญญัติว่า ศาสนสมบัติแบ่งออกเป็นสองประเภท (1) ศาสนสมบัติกลาง ได้แก่ ทรัพย์สินของพระศาสนาซึ่งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่ง (2) ศาสนสมบัติของวัด ได้แก่ ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่ง ดังนั้น เจ้าอาวาสจึงเป็นผู้แทนของวัด และมีหน้าที่บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี ซึ่งคำว่า จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดนั้น หมายถึง การบริหารจัดการวัดและศาสนสมบัติของวัดนั่นเอง โจทก์โดยเจ้าอาวาสจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ที่อยู่ในที่ดิน ซึ่งเป็นศาสนสมบัติของวัดโจทก์โดยละเมิดได้ ส่วนบทบัญญัติมาตรา 40 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า การดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงนั้น เป็นเรื่องของการกำหนดวิธีการในการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับอำนาจฟ้อง
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นเพียงตัวแทนของโจทก์ในการนำที่ดินศาสนสมบัติของวัดโจทก์ออกให้เช่า ซึ่งการตั้งตัวแทนให้กระทำการต่าง ๆ นั้น หาตัดสิทธิตัวการที่กระทำการนั้นด้วยตนเองไม่ อีกทั้งคดีนี้เป็นการฟ้องให้รับผิดในข้อหาละเมิด เมื่อโจทก์หรือเจ้าอาวาสมีอำนาจฟ้องขับไล่แล้ว โจทก์ย่อมมอบอำนาจให้ พ. หรือ ส. ฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21897/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกคืนที่ดินที่ซื้อด้วยเงินมรดก: อำนาจฟ้องและการขาดอายุความ
โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมและในฐานะผู้จัดการมรดกของมารดาโจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทซึ่งอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของมารดาโจทก์คืนจากจำเลยทั้งสาม จึงเป็นการเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยทั้งสามในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ผู้ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของตนคืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ มิใช่กรณีทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกด้วยกันพิพาทกันด้วยเรื่องสิทธิเรียกร้องส่วนแบ่งทรัพย์มรดกอันจะอยู่ภายใต้บังคับอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสามเกิน 10 ปี นับแต่มารดาโจทก์ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องอ้างว่า ภายหลังจากมารดาโจทก์ถึงแก่ความตาย บิดาโจทก์ได้นำทรัพย์สินอันเป็นทรัพย์มรดกของมารดาโจทก์ไปซื้อที่ดินหลายแปลงรวมทั้งที่ดินพิพาท ตามคำฟ้องดังกล่าวจึงเป็นกรณีของการนำทรัพย์สินกองมรดกไปใช้ประโยชน์ ดังนั้น แม้จะเป็นความจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้าง ที่ดินพิพาทที่บิดาโจทก์ซื้อมาก็หาตกเป็นทรัพย์มรดกของมารดาโจทก์ไม่ แต่ต้องถือว่าเป็นทรัพย์สินของบิดาโจทก์ ส่วนการใช้จ่ายเงินจากกองมรดกนั้น หากเกินส่วนที่ตนควรได้ไปก็เป็นเรื่องที่บิดาโจทก์จะต้องรับผิดต่อทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของมารดาโจทก์ โจทก์หาอาจที่จะมาฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดเป็นคดีนี้ได้ไม่ ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามส่งมอบที่ดินพิพาทคืนหรือไม่ เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21764/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิด: เริ่มนับแต่วันที่ผู้แทนโจทก์รู้ถึงการละเมิด ไม่ใช่วันคำพิพากษาคดีอื่น
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด ย่อมต้องแสดงออกโดยผู้แทนของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง อายุความ 1 ปี จึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ผู้แทนของโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน มิใช่นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 5158/2546 ซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทว่า ร. ต้องชำระค่าใช้บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศแก่โจทก์หรือไม่ อันเป็นคนละประเด็นกับประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้ว่า จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ทั้งคำพิพากษาคดีก่อนก็ไม่ได้วินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองในคดีนี้ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ คำพิพากษาคดีก่อนเพียงแต่วินิจฉัยว่า ร. ไม่ได้เป็นผู้ทำสัญญาการใช้บริการโทรศัพท์ตามฟ้องจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าในวันที่ศาลในคดีก่อนมีคำพิพากษา โจทก์ได้ทราบแล้วว่าจำเลยทั้งสองกระทำละเมิด เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์โดยรักษาการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ฝ่ายบริหาร) ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนจากรายงานของกองนิติการเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2547 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2548 จึงไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
of 41