คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ม. 110

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1835/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนนอกราชอาณาจักร: ประมวลกฎหมายอาญาไม่ขัดแย้งกับ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
การที่พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ซึ่ง เป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังมีบทบัญญัติในมาตรา 110(1) ประกอบด้วยมาตรา 108 บัญญัติให้เฉพาะการเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรเท่านั้นเป็นความผิดทางอาญาเป็นเพราะเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนในราชอาณาจักรจะได้รับความคุ้มครอง สำหรับสินค้าที่จดทะเบียนไว้ตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเฉพาะในเขตพื้นที่ภายในราชอาณาจักรเท่านั้นผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักรแต่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนในราชอาณาจักร ไม่อาจฟ้องคดีเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนหรือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดสิทธิดังกล่าวได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 46 วรรคแรก เว้นแต่จะเป็นกรณีที่มีบุคคลอื่นเอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นตามมาตรา 46 วรรคสอง
บทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273 ซึ่งออกมาใช้บังคับก่อนพระราชบัญญัติเครื่องหมาการค้า พ.ศ. 2534 ให้ความคุ้มครองสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักรที่จะดำเนินคดีอาญาแก่ผู้เสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวปลอมได้ด้วย แม้พระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา 110(1)ประกอบด้วยมาตรา 108 มิได้คุ้มครองสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้า ที่ได้จดทะเบียนนอกราชอาณาจักรไว้เช่นนั้นกรณีก็ไม่อาจถือได้ว่าบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญาขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
เมื่อพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 อันเป็นบทกฎหมายเฉพาะซึ่งใช้บังคับในภายหลัง มาตรา 3 วรรคแรก บัญญัติให้ยกเลิกเฉพาะพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 และพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2504 เท่านั้น มิได้บัญญัติให้ยกเลิกความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273 ด้วยทั้งไม่อาจถือได้ว่าบทบัญญัติมาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเป็นบทกฎหมายซึ่งขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติมาตรา 110(1) ประกอบด้วยมาตรา 108 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบทบัญญัติมาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273 แห่งประมวลกฎหมายอาญา จึงมิได้ถูกยกเลิกไปโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 การที่จำเลยเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าซึ่งมีผู้ทำปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักรจึงเป็นความผิดและต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275ประกอบด้วย มาตรา 273

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5823/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมใช้เครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้า: สัญญาที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นเหตุยกฟ้อง
โจทก์ทำสัญญายินยอมให้ ก. จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามที่โจทก์ฟ้องเป็นของ ก. ได้ กับยอมให้ ก. ดำเนินการผลิตและจำหน่ายหนังสือพิมพ์ภายใต้เครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าดังที่ระบุไว้ในสัญญาได้ทันที โจทก์ยอมให้ ก. โอนสิทธิตามสัญญาให้จำเลยที่ 1 หรือบุคคลอื่นได้และยินยอมให้ ก. ให้บุคคลอื่นร่วมใช้สิทธิตามสัญญาได้ ส่วน ก. ยอมรับลูกจ้างของโจทก์ 274 คน เข้าทำงานในบริษัทของจำเลยที่ 1 ต่อไปโดยไม่ต้องปลดออก แสดงว่าโจทก์ให้ความยินยอมแก่ ก. ตลอดจนจำเลยที่ 1 ให้ใช้เครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นชื่อและหัวหนังสือพิมพ์ของจำเลยที่ 1 ได้ การกระทำของจำเลยทั้งสิบห้าเป็นการอาศัยสิทธิตามข้อตกลงในสัญญา จึงไม่อาจถือว่าจำเลยทั้งสิบห้ามีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าตามฟ้องของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1779/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าจนอาจทำให้ประชาชนทั่วไปหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าเดียวกัน
เครื่องหมายการค้าตามที่ปรากฏบนตัวสินค้าของโจทก์และจำเลยทั้งสองมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกัน กล่าวคือ ส่วนกลางมีคำว่า "SUPER GLUE" ในกรอบสี่เหลี่ยม ส่วนล่างเป็นสีดำมีคำบรรยายเป็นตัวหนังสือภาษาอังกฤษสีขาวว่า " for WOOD - RUBBER - PLASTICS - METAL - PAPER & LEATHER Cyanoacrylate Adhesive NET. 3 g " และส่วนบนมีแถบสีดำ แม้คำว่า "SUPER GLUE" และคำบรรยายที่อยู่ในส่วนล่างทั้งหมดเป็นคำสามัญ ซึ่งในการขอจดทะเบียนโจทก์ได้แสดงปฏิเสธสิทธิว่า ไม่ให้สิทธิแก่ผู้ขอจดทะเบียนแต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรคำว่า "SUPER GLUE" และคำบรรยายทั้งหมดก็ตาม แต่รูปลักษณะ ขนาด การจัดวาง ตำแหน่งและทิศทางของตัวอักษร ทั้งหมดดังกล่าว ตลอดจนการให้สีสันของตัวอักษรและสีพื้นเหมือนหรือคล้ายกันจนเกือบจะเป็นเครื่องหมายการค้าเดียวกัน คงแตกต่างกันแต่คำว่า "ALTECO" กับ "GIANT" ในแถบสีดำส่วนบน ซึ่งแม้จำเลยทั้งสองจะมีสิทธิใช้คำว่า "GIANT" เพราะเป็นคำสามัญก็ตาม แต่เนื่องจากตัวอักษรมีขนาดเล็ก จำนวนตัวอักษรก็ใกล้เคียงกันคือคำว่า "ALTECO" ประกอบด้วยตัวอักษร 6 ตัว ส่วนคำว่า "GIANT" ประกอบด้วยตัวอักษร 5 ตัว ต่างกันเพียง 1 ตัว และสีของตัวอักษรเป็นสีขาวจัดวางอยู่ในแถบสีดำส่วนบนทำนองเดียวกัน บุคคลธรรมดาทั่ว ๆ ไป ซึ่งไม่คุ้นเคยกับภาษาต่างประเทศอาจหลงเข้าใจผิดไปได้ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าเดียวกัน ส่อแสดงว่าเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้าของจำเลยทั้งสองมีเจตนาที่จะทำให้เหมือนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ประกอบกับหลอดกาวมีขนาด รูปร่าง และอยู่ในแผงบรรจุภัณฑ์ลักษณะเช่นเดียวกัน ทั้งยังถูกใช้กับสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าของโจทก์ ดังนั้นย่อมถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้าของจำเลยทั้งสองเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6991/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอในคดีละเมิดเครื่องหมายการค้า ศาลฎีกาแก้ไขโทษให้ถูกต้องตามฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลียนเครื่องหมายการค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮ.ผู้เสียหาย ที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าซอสหอยนางรมที่จำเลยผลิตขึ้นโดยติดเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายดังกล่าว ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา109, 110 และ ป.อ. มาตรา 90 แสดงว่า โจทก์บรรยายฟ้องยืนยันว่าการกระทำความผิดของจำเลยดังกล่าวจำเลยมีเจตนาเดียวคือเจตนามีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่ติดเครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายอันเป็นความผิดกรรมเดียวกัน โจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่างกรรมกันโดยจำเลยมีเจตนาต่างกันไม่ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่า การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องเป็นการกระทำหลายกรรมต่างกันและให้เรียงกระทงลงโทษจำเลยมาเป็น 2 กระทง จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา192 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 26 แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย และแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา195 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ พ.ศ. 2539มาตรา 45 เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534มาตรา 109 และมาตรา 110 (1) ประกอบด้วยมาตรา 109 อันเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ.มาตรา 90 ความผิดทั้งสองบทดังกล่าวมีระวางโทษเท่ากัน จึงให้ลงโทษจำเลยฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบุคคลอื่น ตามมาตรา 110 (1) ประกอบด้วยมาตรา 109

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6991/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอในคดีละเมิดเครื่องหมายการค้า ศาลฎีกาแก้ไขโทษปรับและยืนยันความผิดฐานมีสินค้าละเมิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลียนเครื่องหมายการค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัดฮ. ผู้เสียหาย ที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าซอสหอยนางรมที่จำเลยผลิตขึ้นโดยติดเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายดังกล่าว ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 109,110 และ ป.อ. มาตรา 90 แสดงว่า โจทก์บรรยายฟ้องยืนยันว่าการกระทำความผิดของจำเลยดังกล่าวจำเลยมีเจตนาเดียวคือเจตนามีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่ติดเครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายอันเป็นความผิดกรรมเดียวกันโจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่างกรรมกันโดยจำเลยมีเจตนาต่างกันไม่ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าการกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องเป็นการกระทำหลายกรรมต่างกันและให้เรียงกระทงลงโทษจำเลยมาเป็น 2 กระทง จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้องไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย และแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญา พ.ศ. 2539 มาตรา 45เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 109 และมาตรา 110(1)ประกอบด้วยมาตรา 109 อันเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ความผิดทั้งสองบทดังกล่าวมีระวางโทษเท่ากันจึงให้ลงโทษจำเลยฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบุคคลอื่น ตามมาตรา 110(1) ประกอบด้วยมาตรา 109

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3616/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนเครื่องหมายการค้าเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้มีเจตนาผลิตและจำหน่ายสินค้าเดียวกัน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 109,110,114 และ 115 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32,33,83,91,273 และ 274 จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสามแต่ละข้อหาตามฟ้องเป็นการกระทำโดยมีเจตนาในการกระทำผิดแยกต่างหากจากกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ประกอบกับจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดทั้งสามข้อหาตามฟ้องโดยมีเจตนาต่างกัน จำเลยจะฎีกาโต้เถียงว่า การกระทำผิดของจำเลยตามคำฟ้องโจทก์เป็นการกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียว โดยจำเลยมีเจตนาเพียงต้องการผลิตสินค้าแล้วใช้เครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายเพื่อการจำหน่าย ซึ่งเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวหาได้ไม่ ดังนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำเลยจึงถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3616/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการใช้เครื่องหมายการค้าเลียนแบบ: ศาลล่างพิพากษาถูกต้องตามเจตนาจำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 109, 110, 114 และ 115 ป.อ.มาตรา 32, 33,83, 91, 272 และ 274 จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสามแต่ละข้อหาตามฟ้องเป็นการกระทำโดยมีเจตนาในการกระทำผิดแยกต่างหากจากกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ประกอบกับจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดทั้งสามข้อหาตามฟ้องโดยมีเจตนาต่างกัน จำเลยจะฎีกาโต้เถียงว่า การกระทำผิดของจำเลยตามคำฟ้องโจทก์เป็นการกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียว โดยจำเลยมีเจตนาเพียงต้องการผลิตสินค้าแล้วใช้เครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายเพื่อการจำหน่าย ซึ่งเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวหาได้ไม่ ดังนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำเลยจึงถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4764/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเครื่องหมายการค้าและน้ำมันเชื้อเพลิง: ศาลแก้ไขคำพิพากษาข้อหาปลอมเครื่องหมายการค้าเนื่องจากคำฟ้องไม่ชัดเจน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534มาตรา108และศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษายืนแต่ปรากฎตามคำฟ้องว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำการปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรตามมาตรา108ดังกล่าวคงบรรยายฟ้องว่าจำเลยมีน้ำมันหล่อลื่นที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมตามมาตรา108ไว้เพื่อจำหน่ายและเสนอจำหน่ายอันเป็นความผิดตามมาตรา110ซึ่งมีระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา108เท่านั้นกรณีจึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา108แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534ได้ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4764/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าต้องระบุการกระทำต่อเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 และศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนแต่ปรากฎตามคำฟ้องว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำการปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรตามมาตรา108 ดังกล่าว คงบรรยายฟ้องว่า จำเลยมีน้ำมันหล่อลื่นที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมตามมาตรา 108 ไว้เพื่อจำหน่ายและเสนอจำหน่ายอันเป็นความผิดตามมาตรา 110 ซึ่งมีระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 108 เท่านั้น กรณีจึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 108 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ได้ ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
of 2