พบผลลัพธ์ทั้งหมด 404 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8345/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการบังคับคดีต้องยื่นในคดีที่มีการบังคับคดีนั้น การยื่นในคดีอื่นเป็นไปไม่ได้ตามกฎหมาย
การร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีต้องร้องขอในคดีที่มีการบังคับคดีนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง จะร้องขอในคดีหนึ่งให้เพิกถอนการบังคับคดีอีกคดีหนึ่งไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8330/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ: ผลกระทบของกฎหมายใหม่ และกรอบเวลาในการดำเนินการ
อุทธรณ์ของผู้ร้องที่ว่า คดีของผู้ร้องต้องอยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 แต่ศาลชั้นต้นนำบทบัญญัติของกฎหมายที่ยกเลิกไปแล้วมาปรับใช้แก่คดี คำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการกล่าวอ้างว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องจึงมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 222
ผู้ร้องยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการและคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดในระหว่างที่พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ยังมีผลใช้บังคับ เมื่อผู้ร้องได้ส่งสำเนาคำชี้ขาดให้ผู้คัดค้านทราบแล้ว ผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาด ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลบังคับตามคำชี้ขาดได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้คัดค้านได้รับสำเนาคำชี้ขาดตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530
ในระหว่างที่ผู้ร้องยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 23 มีพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ออกใช้บังคับโดยมาตรา 3 บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 แต่มีบทเฉพาะกาลมาตรา 48 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า "บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์แห่งสัญญาอนุญาโตตุลาการและการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการใดที่ได้กระทำไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้บังคับ" และวรรคสองบัญญัติว่า "การดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการใดที่ยังมิได้กระทำและยังไม่ล่วงพ้นกำหนดเวลาที่จะต้องกระทำตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ก่อนพระราชบัญญัตินี้ ให้ดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการนั้นได้ภายในกำหนดเวลาตามพระราชบัญญัตินี้" เมื่อการยื่นคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเป็นการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการตามความในมาตรา 48 วรรคสอง และยังไม่ล่วงกำหนดเวลาที่จะต้องกระทำตามกฎหมายที่ถูกยกเลิกไป ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการนั้นได้ภายในกำหนดเวลาสามปีนับแต่วันที่อาจบังคับตามคำชี้ขาดได้ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 42
ผู้ร้องยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการและคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดในระหว่างที่พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ยังมีผลใช้บังคับ เมื่อผู้ร้องได้ส่งสำเนาคำชี้ขาดให้ผู้คัดค้านทราบแล้ว ผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาด ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลบังคับตามคำชี้ขาดได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้คัดค้านได้รับสำเนาคำชี้ขาดตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530
ในระหว่างที่ผู้ร้องยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 23 มีพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ออกใช้บังคับโดยมาตรา 3 บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 แต่มีบทเฉพาะกาลมาตรา 48 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า "บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์แห่งสัญญาอนุญาโตตุลาการและการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการใดที่ได้กระทำไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้บังคับ" และวรรคสองบัญญัติว่า "การดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการใดที่ยังมิได้กระทำและยังไม่ล่วงพ้นกำหนดเวลาที่จะต้องกระทำตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ก่อนพระราชบัญญัตินี้ ให้ดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการนั้นได้ภายในกำหนดเวลาตามพระราชบัญญัตินี้" เมื่อการยื่นคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเป็นการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการตามความในมาตรา 48 วรรคสอง และยังไม่ล่วงกำหนดเวลาที่จะต้องกระทำตามกฎหมายที่ถูกยกเลิกไป ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการนั้นได้ภายในกำหนดเวลาสามปีนับแต่วันที่อาจบังคับตามคำชี้ขาดได้ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 42
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8328/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันแยกจากตั๋วสัญญาใช้เงิน, ผลกระทบการฟื้นฟูกิจการ, การไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
สัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นสัญญาอีกอย่างหนึ่งต่างหากจากตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกให้ไว้แก่โจทก์ ความรับผิดของจำเลยทั้งสามในฐานะผู้ค้ำประกันสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปฏิบัติตามวิธีการที่ ป.พ.พ. มาตรา 985 ประกอบมาตรา 941 บังคับให้ผู้ทรงต้องนำตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นเพื่อให้ใช้เงินในวันถึงกำหนด
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของผู้ทำสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน ไม่มีผลกระทบต่อความรับผิดของจำเลยทั้งสาม ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/60 วรรคสอง การที่โจทก์ไม่นำหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ไม่ทำให้หนี้ดังกล่าวระงับ จึงไม่ทำให้จำเลยทั้งสามหลุดพ้นจากความรับผิดของสัญญาค้ำประกัน กรณีไม่อาจปรับบทตาม ป.พ.พ. มาตรา 697
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของผู้ทำสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน ไม่มีผลกระทบต่อความรับผิดของจำเลยทั้งสาม ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/60 วรรคสอง การที่โจทก์ไม่นำหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ไม่ทำให้หนี้ดังกล่าวระงับ จึงไม่ทำให้จำเลยทั้งสามหลุดพ้นจากความรับผิดของสัญญาค้ำประกัน กรณีไม่อาจปรับบทตาม ป.พ.พ. มาตรา 697
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8328/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ค้ำประกันสัญญาซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน แม้ลูกหนี้ฟื้นฟูกิจการ ความรับผิดยังคงอยู่
สัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งสินค้าออกที่จำเลยเป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเป็นสัญญาอีกอย่างหนึ่งต่างหากจากตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัท ป. ออกให้ไว้แก่โจทก์ ความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งสินค้าออกดังกล่าว จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปฏิบัติตามวิธีการที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 985 ประกอบมาตรา 941 บังคับให้ผู้ทรงต้องนำตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นเพื่อให้ใช้เงินในวันถึงกำหนด
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง คำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของบุคคลซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับลูกหนี้หรือผู้รับผิดร่วมกับลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกัน ดังนั้น การยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของบริษัท ป. ซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งสินค้าออกไว้ต่อโจทก์ แม้ต่อมาศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของบริษัทดังกล่าวก็ไม่มีผลกระทบต่อความรับผิดของจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน การที่โจทก์ไม่นำหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งสินค้าออกของบริษัท ป. ไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ไม่ทำให้หนี้ระงับ จึงไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน กรณีนี้ไม่อาจปรับบทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 697
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง คำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของบุคคลซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับลูกหนี้หรือผู้รับผิดร่วมกับลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกัน ดังนั้น การยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของบริษัท ป. ซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งสินค้าออกไว้ต่อโจทก์ แม้ต่อมาศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของบริษัทดังกล่าวก็ไม่มีผลกระทบต่อความรับผิดของจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน การที่โจทก์ไม่นำหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งสินค้าออกของบริษัท ป. ไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ไม่ทำให้หนี้ระงับ จึงไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน กรณีนี้ไม่อาจปรับบทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 697
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8260/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอทรัพย์ชำระหนี้ vs. การปฏิเสธรับชำระหนี้ และข้อตกลงพิเศษในสัญญาจำนอง
แผ่นพับโฆษณาให้บุคคลทั่วไปทราบว่า โจทก์มีโครงการโอนทรัพย์จำนองชำระหนี้ เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีภาระหนี้ค้างชำระสูงและไม่สามารถชำระหนี้ต่อไปได้ ให้สามารถปลดภาระหนี้ที่มีอยู่ด้วยวิธีการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่จำนองให้โจทก์แทนการชำระหนี้ โดยโจทก์กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขซึ่งจะต้องผ่านการพิจารณาของโจทก์ก่อน แผ่นพับโฆษณาดังกล่าวยังไม่ชัดเจนแน่นอน จึงมิใช่คำเสนอ แต่เป็นเพียงคำเชื้อเชิญให้ผู้สนใจทำคำเสนอเข้ามาเท่านั้น คำร้องขอของจำเลยที่แสดงความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ จึงจัดว่าเป็นคำเสนอเมื่อโจทก์มิได้สนองรับย่อมไม่ก่อให้เกิดสัญญา
จำเลยค้างชำระหนี้เงินแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องชำระเงินให้แก่โจทก์โดยปราศจากเงื่อนไขใด ๆ เพราะการชำระหนี้จะให้สำเร็จผลเป็นอย่างใด ลูกหนี้จะต้องขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้เป็นอย่างนั้นโดยตรง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยเสนอขอชำระหนี้แก่โจทก์ โดยให้โจทก์รับโอนทรัพย์จำนองแทนการชำระหนี้ด้วยเงิน จึงมิใช่เป็นการขอปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์โดยชอบ โจทก์ย่อมมีเหตุผลที่จะปฏิเสธการรับชำระหนี้ได้ การที่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้จากจำเลย โจทก์จึงไม่ตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 207 จำเลยต้องชำระหนี้ให้โจทก์ตามฟ้อง
แม้ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองจะเป็นเรื่องที่โจทก์ผู้รับจำนองและจำเลยผู้จำนองตกลงกันเป็นประการพิเศษนอกเหนือจากที่ ป.พ.พ. มาตรา 733 บัญญัติไว้ ซึ่งบทบัญญัติตามมาตรา 733 ดังกล่าว เป็นบทบัญญัติสันนิษฐานถึงเจตนาของคู่กรณีเท่านั้น มิใช่บทกฎหมายซึ่งเกี่ยวด้วยผลประโยชน์ของมหาชนโดยทั่วไปแต่เกี่ยวแก่คู่กรณีโดยเฉพาะ และมิได้เกี่ยวกับศีลธรรมตามที่นิยมกันในหมู่ชนทั่วไปหรือธรรมเนียมประเพณีของสังคมแต่อย่างใด จึงไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์อาจตกลงกับจำเลยเป็นประการอื่นพิเศษนอกเหนือจากที่มาตรา 733 บัญญัติไว้ก็ย่อมกระทำได้ ดังนั้น ในกรณีที่โจทก์ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดแล้วได้เงินไม่พอใช้เงิน โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะยึดทรัพย์อื่นของจำเลยในฐานะผู้จำนองเป็นประกันมาใช้หนี้จนครบ
จำเลยค้างชำระหนี้เงินแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องชำระเงินให้แก่โจทก์โดยปราศจากเงื่อนไขใด ๆ เพราะการชำระหนี้จะให้สำเร็จผลเป็นอย่างใด ลูกหนี้จะต้องขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้เป็นอย่างนั้นโดยตรง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยเสนอขอชำระหนี้แก่โจทก์ โดยให้โจทก์รับโอนทรัพย์จำนองแทนการชำระหนี้ด้วยเงิน จึงมิใช่เป็นการขอปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์โดยชอบ โจทก์ย่อมมีเหตุผลที่จะปฏิเสธการรับชำระหนี้ได้ การที่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้จากจำเลย โจทก์จึงไม่ตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 207 จำเลยต้องชำระหนี้ให้โจทก์ตามฟ้อง
แม้ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองจะเป็นเรื่องที่โจทก์ผู้รับจำนองและจำเลยผู้จำนองตกลงกันเป็นประการพิเศษนอกเหนือจากที่ ป.พ.พ. มาตรา 733 บัญญัติไว้ ซึ่งบทบัญญัติตามมาตรา 733 ดังกล่าว เป็นบทบัญญัติสันนิษฐานถึงเจตนาของคู่กรณีเท่านั้น มิใช่บทกฎหมายซึ่งเกี่ยวด้วยผลประโยชน์ของมหาชนโดยทั่วไปแต่เกี่ยวแก่คู่กรณีโดยเฉพาะ และมิได้เกี่ยวกับศีลธรรมตามที่นิยมกันในหมู่ชนทั่วไปหรือธรรมเนียมประเพณีของสังคมแต่อย่างใด จึงไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์อาจตกลงกับจำเลยเป็นประการอื่นพิเศษนอกเหนือจากที่มาตรา 733 บัญญัติไว้ก็ย่อมกระทำได้ ดังนั้น ในกรณีที่โจทก์ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดแล้วได้เงินไม่พอใช้เงิน โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะยึดทรัพย์อื่นของจำเลยในฐานะผู้จำนองเป็นประกันมาใช้หนี้จนครบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8260/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น และผลของการตกลงพิเศษเรื่องการรับผิดชอบหนี้ที่เหลือหลังบังคับจำนอง
จำเลยค้างชำระหนี้โจทก์ซึ่งเป็นหนี้เงินจำเลยต้องชำระเงินให้แก่โจทก์โดยปราศจากเงื่อนไขใดๆ เพราะการชำระหนี้จะให้สำเร็จผลเป็นอย่างใด ลูกหนี้จะต้องขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้เป็นอย่างนั้นโดยตรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยเสนอชำระหนี้โดยให้โจทก์รับโอนทรัพย์จำนองแทนการชำระหนี้ด้วยเงิน จึงมิใช่เป็นการขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบ โจทก์ย่อมมีเหตุผลที่จะปฏิเสธการรับชำระหนี้ได้โจทก์จึงไม่ตกเป็นผู้ผิดนัดตามมาตรา 207
มาตรา 733 แห่ง ป.พ.พ. เป็นบทบัญญัติสันนิษฐานถึงเจตนาของคู่กรณีโดยเฉพาะ และมิได้เกี่ยวกับศีลธรรมตามที่นิยมกันในหมู่ชนทั่วไปหรือธรรมเนียมประเพณีของสังคม จึงไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์อาจตกลงกับจำเลยเป็นประการอื่นพิเศษนอกเหนือจากที่มาตรา 733 บัญญัติไว้ได้
มาตรา 733 แห่ง ป.พ.พ. เป็นบทบัญญัติสันนิษฐานถึงเจตนาของคู่กรณีโดยเฉพาะ และมิได้เกี่ยวกับศีลธรรมตามที่นิยมกันในหมู่ชนทั่วไปหรือธรรมเนียมประเพณีของสังคม จึงไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์อาจตกลงกับจำเลยเป็นประการอื่นพิเศษนอกเหนือจากที่มาตรา 733 บัญญัติไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7674/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินสินสมรสหลังการขายฝาก: สิทธิการครอบครองของคู่สมรสเมื่อยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรม
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย จำเลยขายฝากที่ดินพิพาทไว้กับโจทก์โดยผู้ร้องไม่ได้ให้ความยินยอม แต่เมื่อศาลยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลย ที่ดินพิพาทก็ยังคงเป็นของโจทก์อยู่ โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารซึ่งรวมถึงผู้ร้องออกไปจากที่ดินพิพาทได้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3) ที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7633/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คผิดนัดชำระหนี้: การคิดดอกเบี้ยเป็นค่าเสียหายโดยความสมัครใจ ไม่ใช่การฉ้อโกง
แม้สัญญาซื้อขายวัสดุก่อสร้างระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยมิได้มีการตกลงไว้ว่าหากผิดสัญญาสามารถกำหนดเบี้ยปรับหรือค่าเสียหายกันได้ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ร่วมจะคิดค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน แก่ลูกหนี้ทุกรายที่ผิดนัด รวมทั้งจำเลยด้วย เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าสินค้าแก่โจทก์ร่วม จำเลยย่อมทราบแล้วว่าโจทก์ร่วมคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน การที่เช็คพิพาทเป็นเช็คค่าสินค้าที่คิดรวมดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวไว้ด้วยจึงเป็นการกำหนดค่าเสียหายโดยสมัครใจของทั้งสองฝ่าย หาใช่เป็นการคิดค่าเสียหายเอาตามอำเภอใจของโจทก์ร่วมแต่อย่างใดไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าหนี้ตามเช็คพิพาทไม่ใช่หนี้กู้ยืม ย่อมไม่ตกอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 7 และมาตรา 224 วรรคหนึ่ง จึงเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7426/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับหนี้ค่าเช่าและหลักฐานการเช่าที่ใช้ฟ้องร้องบังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 538
บันทึกเอกสารหมาย จ.4 มีข้อความว่า "ข้าพเจ้านาง บ. (จำเลย) ขอรับว่าเป็นหนี้ค่าเช่าที่ขายของคุณ อ. (โจทก์) จริงตามคำบอกกล่าวของทนายที่แจ้งมาแล้วนั้น แต่นาง บ. (จำเลย) ขอลดหนี้จะชำระเพียง 70,000 บาท จึงยังตกลงกันไม่ได้ ทนายจึงต้องสอบถามจากคุณ อ. (โจทก์) เจ้าหนี้เสียก่อนว่าจะมีความเห็นประการใด จึงได้ลงชื่อกันไว้ต่อหน้าพยาน" เป็นเรื่องที่จำเลยยอมรับว่าได้เช่าที่ดินโจทก์และยังค้างค่าเช่าอยู่จริง เมื่อจำเลยลงลายมือชื่อในบันทึกดังกล่าวย่อมถือเป็นหลักฐานการเช่าอันจะนำมาฟ้องร้องขอให้บังคับคดีได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 538
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7353/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการทรัพย์สินสามีที่หายตัวไป: ศาลต้องไต่สวนก่อนมีคำสั่ง
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า จำเลยซึ่งเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายได้ออกไปจากภูมิลำเนาและไม่ได้กลับมาอีกเป็นเวลา 1 ปีเศษ โดยไม่ทราบว่าจำเลยเป็นตายร้ายดีประการใด จำเลยไม่อาจยื่นคำให้การต่อสู้คดีได้ ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมโดยผู้ร้องได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีมาพร้อมคำร้อง เป็นกรณีที่ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ โดยมิได้ตั้งตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปไว้ และไม่มีใครรู้แน่ว่าจำเลยยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำร้องก็ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ร้องทำการอย่างหนึ่งอย่างใดไปพลางก่อนตามที่จำเป็นเพื่อจัดการทรัพย์สินของจำเลยตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 48 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนคำร้องของผู้ร้องให้ได้ข้อเท็จจริงเป็นที่แน่ชัดเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยมิได้ไต่สวนคำร้องเสียก่อนเช่นนี้เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ แห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณา ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องของผู้ร้องและมีคำสั่งใหม่ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นจึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ แห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247 ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้