คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วีระชาติ เอี่ยมประไพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 404 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7890/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีกับสินสมรส: เจ้าหนี้มีสิทธิยึดได้ทั้งแปลง ผู้คัดค้านมีสิทธิขอส่วนแบ่งตามสัดส่วน
แม้ทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดและมีการขายทอดตลาดจะเป็นสินสมรส อันเป็นทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านกับจำเลยเป็นเจ้าของร่วมกันตามที่โจทก์กล่าวอ้าง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธินำยึดและขายทอดตลาดได้ทั้งแปลง ผู้คัดค้านคงมีสิทธิขอกันส่วนของตนจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาด เพราะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหากมิใช่หนี้ร่วม เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับคดีจากสินสมรสได้เพียงในส่วนของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้เท่านั้น มิอาจกระทบกระเทือนสินสมรสในส่วนของคู่สมรสของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ ดังนั้น ปัญหาว่าหนี้เงินกู้ที่จำเลยมีต่อโจทก์เป็นหนี้ร่วมโดยผู้คัดค้านได้ให้สัตยาบันหรือมีหนังสือให้ความยินยอมดังที่โจทก์อ้างหรือไม่ จึงเป็นปัญหาสำคัญที่ศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด หาใช่เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะวินิจฉัยไม่ เมื่อข้อเท็จจริงตามสำนวนไม่ปรากฏในคำฟ้อง คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนคำขอยึดทรัพย์ระบุว่าหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้คัดค้านกับจำเลย กรณีจึงยังไม่มีคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลว่าเป็นหนี้ร่วมตามที่โจทก์กล่าวอ้างเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดกึ่งหนึ่งจ่ายให้แก่ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมไปได้ การที่โจทก์เพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในภายหลังว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นสินสมรสและหนี้ตามคำพิพากษาเป็นหนี้ร่วม ไม่ทำให้การดำเนินการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายดังที่โจทก์กล่าวอ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6747/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมลายมือชื่อเบิกถอนเงิน ความรับผิดของธนาคาร และดอกเบี้ย
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้อง จึงมีผลให้ในการฎีกา โจทก์ต้องกล่าวถึงประเด็นต่าง ๆ ทั้งหมดเช่นเดียวกับในชั้นอุทธรณ์ ข้อความที่โจทก์บรรยายมาในฎีกา ถือเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แล้ว จึงเป็นฎีกาที่ชัดแจ้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6425/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องอ้างเหตุขัดต่อกฎหมาย ไม่ใช่ละเมิดสิทธิเสรีภาพ เพื่อส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา
คำร้องคัดค้านการตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยอ้างว่าการดำเนินการเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 39, 197, 212 ประกอบมาตรา 211 เป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับการกระทำของโจทก์ที่ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อบังคับชำระค่าปรับ จำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับแก่คดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญอันจะต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่ศาลจะต้องส่งคำร้องคัดค้านของจำเลยที่ 1 ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6079/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ร้องทุกข์เอง หากไม่ใช่ ผู้จัดการมรดกไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันครอบครองเงินของ ฮ. และเบียดบังยักยอกเงินจำนวนดังกล่าวไป การกระทำที่โจทก์กล่าวหานี้เกิดขึ้นขณะที่ ฮ. ยังมีชีวิตอยู่ จึงเป็นการกระทำต่อ ฮ. เจ้าของทรัพย์ ฮ.จึงเป็นผู้เสียหายตามมาตรา 2 (4) และมีอำนาจร้องทุกข์ตามมาตรา 3 (1) ประกอบมาตรา 2 (7) แม้ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางจะมีคำสั่งให้ ฮ. เป็นผู้เสมือนคนไร้ความสามารถ แต่ ฮ. ยังสามารถดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เหมือนเช่นบุคคลทั่วไปได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้พิทักษ์ ประกอบกับ ฮ. มิได้ถูกจำเลยทั้งสี่ทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้ อันจะทำให้โจทก์ร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกของ ฮ. มีอำนาจจัดการแทนได้ตามมาตรา 5 (2) เมื่อโจทก์ร่วมซึ่งไม่ได้เป็นผู้เสียหายเป็นผู้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสี่ในความผิดฐานยักยอกซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ จึงถือไม่ได้ว่าคดีนี้มีคำร้องทุกข์ตามระเบียบที่จะทำให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนในความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้และถือเท่ากับว่ายังไม่มีการสอบสวน ย่อมส่งผลให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5803/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีค่าปรับในคดียาเสพติดภายหลัง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับ
ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 โดยในบทเฉพาะกาลตามมาตรา 24 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติว่า "บรรดาคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลใดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ศาลนั้นมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไป และให้บังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติบังคับจนกว่าคดีนั้นจะถึงที่สุด แต่ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 3 เป็นการบังคับโทษปรับหรือการบังคับให้ชำระค่าปรับตามคำพิพากษาเป็นชั้นของการบังคับคดี ซึ่ง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2550 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลงโทษปรับ ให้พนักงานอัยการร้องขอ ให้ศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีของกรมบังคับคดีดำเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องโทษแทนค่าปรับได้" และวรรคสองบัญญัติว่า "การบังคับคดีตามวรรคหนึ่ง ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมีอำนาจตรวจสอบทรัพย์สิน และให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา" เมื่อพิจารณาบทบัญญัติในมาตรา 21 วรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว เห็นว่า บัญญัติไว้ต่างหากในหมวด 5 การบังคับโทษปรับ ส่วนบทเฉพาะกาลตามมาตรา 24 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดของศาลซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลนั้น จึงเป็นคนละขั้นตอนกัน นอกจากนี้ พนักงานอัยการโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ออกหมายบังคับคดีจำเลยที่ 3 เพื่อแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 แทนค่าปรับ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ออกหมายบังคับคดี ซึ่งเป็นเวลาภายหลัง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับแล้ว แม้จำเลยที่ 3 ยื่นฎีกาคำพิพากษาและศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกา เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ชำระค่าปรับตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ พนักงานอัยการโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องยื่นคำร้องขอให้ออกหมายบังคับคดีจำเลยที่ 3 ตาม ป.อ. มาตรา 29 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ออกหมายบังคับคดีจำเลยที่ 3 ตามคำร้องขอของพนักงานอัยการโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4314/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งยกคำร้องปล่อยตัวผู้ต้องขัง: แม้ผู้ร้องไม่อุทธรณ์ ผู้ถูกคุมขังก็มีสิทธิอุทธรณ์ได้
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นบิดาของจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยจำเลยที่ 1 โดยอ้างว่า จำเลยที่ 1 ถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เป็นการใช้สิทธิยื่นคำร้องตามมาตรา 90 (5) เพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ผู้ถูกคุมขัง เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้อง แม้ผู้ร้องไม่อุทธรณ์ แต่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถูกคุมขังเองเป็นผู้มีส่วนได้เสียและได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้อง มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นได้ เนื่องจากไม่มีบทกฎหมายใดห้ามหรือจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์ในกรณีนี้ไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4243/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์/ปลอมแปลง/ฉ้อโกงบัตรเครดิต: การส่งมอบบัตรเครดิตทางไปรษณีย์ไม่ถือเป็นการส่งมอบให้ผู้กระทำผิดโดยสำคัญผิด
การที่ผู้เสียหายที่ 2 ส่งมอบบัตรเครดิตไปให้ผู้เสียหายที่ 1 ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับตามที่อยู่ที่ผู้เสียหายที่ 1 ระบุไว้ในใบสมัครสมาชิกบัตรเครดิต แม้ผู้เสียหายที่ 1 จะย้ายออกไปจากบ้านเช่าหลังดังกล่าวแล้ว แต่ผู้เสียหายที่ 2 ก็มิได้มีเจตนาส่งมอบบัตรเครดิตให้แก่จำเลยกับพวกที่เข้ามาอยู่ในบ้านหลังดังกล่าวต่อจากผู้เสียหายที่ 1 กรณีจึงมิใช่เป็นการส่งมอบบัตรเครดิตให้แก่จำเลยกับพวกโดยสำคัญตัวผิดว่าจำเลยกับพวกคือผู้เสียหายที่ 1 เมื่อจำเลยกับพวกรับบัตรเครดิตไว้และยึดถือเป็นของตนเองเพื่อนำไปใช้ประโยชน์โดยทุจริตเป็นการแย่งการครอบครอง การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
ความผิดฐานลักบัตรเครดิตเป็นความผิดสำเร็จในตัวโดยอาศัยเจตนาแยกต่างหากจากความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ ใช้เอกสารสิทธิปลอม และฐานฉ้อโกง การกระทำตามฟ้องจึงเป็นความผิด 2 กรรม แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเป็น 2 กรรม ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำเลยเป็น 2 กรรมได้เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานฉ้อโกงกฎหมายมุ่งคุ้มครองผู้ถูกหลอกลวง ซึ่งในกรณีนี้คือเจ้าของร้านขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ส่วนที่ผู้เสียหายที่ 2 ต้องจ่ายเงินให้แก่ร้านขายโทรศัพท์เคลื่อนที่แทนจำเลยกับพวกนั้นเป็นไปตามสัญญาที่ผู้เสียหายที่ 2 มีกับร้านขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งเป็นสถานที่รับบริการใช้บัตรเครดิต ความเสียหายที่ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับเป็นความเสียหายในทางแพ่ง ไม่ใช่ความเสียหายที่ได้รับจากการที่ถูกจำเลยกับพวกหลอกลวงหรือปกปิดข้อเท็จจริง การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยตรงต่อสถานที่รับบริการใช้บัตรเครดิต กรณีไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายที่ 2 แม้ผู้เสียหายที่ 2 จะต้องจ่ายเงินให้แก่เจ้าของร้านขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ไม่ทำให้ผู้เสียหายที่ 2 เป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) พนักงานอัยการย่อมไม่มีอำนาจเรียกให้จำเลยคืนเงินแทนผู้เสียหายที่ 2 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ได้ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การติดตามทรัพย์สินคืนจากผู้ถือครองโดยไม่ทราบข้อเท็จจริง กรณีถูกหลอกใช้เอกสารปลอม
คดีนี้ แม้โจทก์จะกล่าวอ้างในฟ้องว่าเป็นเรื่องลาภมิควรได้ในการเรียกให้จำเลยโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่โจทก์ แต่เมื่ออ่านฟ้องทั้งหมดแล้ว จำเลยถูกผู้อื่นแอบอ้างและใช้เอกสารปลอมในการจดทะเบียนรับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยจำเลยไม่มีเจตนารับโอนเป็นของตน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใดโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 ซึ่งในการฟ้องคดีแพ่งโจทก์เพียงแต่บรรยายข้อเท็จจริงและมีคำขอบังคับก็เพียงพอโดยไม่จำต้องยกบทกฎหมายขึ้นกล่าวอ้าง กรณีเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องยกบทกฎหมายขึ้นปรับใช้กับข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความแล้วมีคำวินิจฉัยชี้ขาดไป เมื่อคดีนี้ข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำฟ้องของโจทก์ว่า มีผู้แอบอ้างและใช้เอกสารปลอมขอกู้ยืมเงินจากโจทก์แล้วนำเงินของโจทก์ไปซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เมื่อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทซึ่งซื้อมาด้วยเงินของโจทก์มีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ทั้งจำเลยก็มิได้กล่าวอ้างความเป็นเจ้าของหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องเอาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาท จึงชอบด้วยความเป็นธรรมที่โจทก์จะเรียกเอาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทได้เสมือนเป็นการติดตามเอาทรัพย์สินของตนคืนแทนเงินที่โจทก์ต้องสูญเสียไป เพื่อเยียวยาความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการกระทำอันมิชอบ โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่โจทก์ได้ แต่ไม่อาจเรียกให้จำเลยชดใช้หนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยและเบี้ยประกันภัยตามฟ้องได้เพราะจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ตามสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3712/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากการครอบครองทรัพย์สินหลังการขายทอดตลาด แม้ใช้มาตรา 309 ตรีได้
โจทก์เป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาด แม้โจทก์จะสามารถดำเนินการบังคับขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์ซื้อมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยการยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 309 ตรี แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้บัญญัติห้ามหรือตัดสิทธิของโจทก์ในการที่จะใช้สิทธิทางศาลโดยการฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากผู้ที่อยู่ในทรัพย์สินที่โจทก์ซื้อมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยละเมิด ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ออกคำบังคับตามมาตรา 309 ตรี และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2807/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่า, ค่าเช่าค้างชำระ, การบอกเลิกสัญญา, การขับไล่, ค่าภาษีโรงเรือน, การรับผิดร่วมกัน
สัญญาเช่ากำหนดให้จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ชำระค่าภาษีโรงเรือนให้แก่ทางราชการแทนโจทก์ ซึ่งกำหนดให้ชำระทุกปีตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าภาษีดังกล่าวตามกำหนดย่อมถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิตามสัญญาของโจทก์ โดยหาจำต้องคำนึงว่าโจทก์ได้ชำระค่าภาษีในส่วนดังกล่าวให้แก่ทางราชการก่อนนำคดีมาฟ้องหรือไม่ โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดค่าภาษีโรงเรือนได้
of 41