พบผลลัพธ์ทั้งหมด 404 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2189/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อมูลจากจำเลยที่นำไปสู่การตรวจค้นและยึดของกลาง ไม่ถือเป็นข้อมูลสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
หลังจากจับกุมจำเลยที่ 1 ได้แล้ว จำเลยที่ 1 ยอมรับว่ารับเมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามี และจำเลยทั้งสองพักอาศัยอยู่ที่ห้องพักในอพาร์ตเมนต์ ทั้งได้ให้ข้อมูลต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่ายังมีเมทแอมเฟตามีนซุกซ่อนอยู่ที่ห้องพักดังกล่าวพร้อมกับพาเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยที่ 2 ที่อพาร์ตเมนต์และตรวจยึดเมทแอมเฟตามีนมาเป็นของกลางอีก 4,000 เม็ด แต่ของกลางดังกล่าวถูกซุกซ่อนอยู่ในกระเป๋ากางเกงที่แขวนอยู่และที่ตู้เสื้อผ้าภายในห้องนอนของจำเลยทั้งสองเอง ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าเจ้าพนักงานตำรวจต้องติดตามไปจับกุมจำเลยที่ 2 กับตรวจค้นที่ห้องพักของจำเลยทั้งสองและตรวจพบของกลางได้โดยไม่ยาก ดังนี้ กรณีดังกล่าวจึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจหรือพนักงานสอบสวนอันจะเป็นเหตุให้ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำเลยที่ 1 น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 869/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามชิงทรัพย์ด้วยอาวุธปืน: การกระทำไม่สำเร็จเพราะเจตนาแค่ค้นหาสินค้า
จำเลยใช้อาวุธปืนจี้ขู่เข็ญผู้เสียหายว่าอย่าส่งเสียงและให้ส่งของมีค่าให้ เมื่อผู้เสียหายส่งกระเป๋าสะพายให้และพูดว่า จะเอาอะไรก็เอาไปขอบัตรประจำตัวประชาชนไว้ จำเลยค้นกระเป๋าสะพายแล้วเห็นว่าไม่มีของมีค่าจึงส่งกระเป๋าสะพายคืนให้ และคลำที่คอผู้เสียหายเพื่อหาสร้อยคอ ผู้เสียหายบอกจำเลยว่าไม่มีของมีค่าติดตัวมา จำเลยจึงปล่อยตัวผู้เสียหายแล้วเดินหนีไป แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้ประสงค์จะแย่งเอากระเป๋าสะพายของผู้เสียหายไปเป็นของตน เพียงแต่ต้องการค้นหาของมีค่าในกระเป๋าสะพายเท่านั้น มิฉะนั้นเมื่อจำเลยได้กระเป๋าสะพายแล้วก็ต้องหลบหนีไปทันทีโดยไม่ต้องเปิดดูและคืนกระเป๋าสะพายให้ผู้เสียหาย ดังนั้น เมื่อจำเลยยังไม่ได้ของมีค่าตรงตามเจตนาของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นการชิงทรัพย์สำเร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 852/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่, การผ่อนชำระหนี้, และความรับผิดของลูกหนี้ร่วม/ผู้ค้ำประกัน
สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่เพียงกำหนดเงื่อนไขการผ่อนชำระหนี้และระยะการชำระหนี้ใหม่เท่านั้น ส่วนข้อตกลงอื่นๆ ยังคงเป็นไปตามสัญญาเดิมและไม่มีข้อตกลงใดแสดงว่าโจทก์กับจำเลยมีเจตนาให้หนี้กู้ยืมตามสัญญาเดิมระงับแล้วมาบังคับกันใหม่ตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จึงมิใช่การแปลงหนี้ใหม่
เมื่อสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ข้อ 4 ให้นำเงื่อนไขและข้อตกลงตามสัญญากู้มาใช้บังคับ และเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงินและหนังสือกู้เงิน ข้อ 2 วรรคสาม ตกลงให้โจทก์เรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก่อนถึงกำหนดได้ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควร และโดยมิพักต้องชี้แจงให้ผู้กู้ทราบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ได้ก่อนครบกำหนดเวลาตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้
โจทก์นำคดีมาฟ้องก็เป็นการใช้สิทธิของโจทก์เองโดยที่จำเลยที่ 1 มิได้ผิดนัด โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดได้ จำเลยที่ 1 คงรับผิดชำระเงินต้น พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 9.5 ต่อปี แม้ปัญหานี้จำเลยที่ 1 จะมิได้ให้การต่อสู้ใว้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
เมื่อสัญญาค้ำประกันการกู้เงิน ข้อ 1 มีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 2 ยอมผูกพันรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ และข้อ 3 มีข้อตกลงว่า "ธนาคารยอมผ่อนเวลาการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ โดยจะแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบหรือไม่ให้ทราบก็ตาม ผู้ค้ำประกันตกลงด้วยในการผ่อนเวลานั้นทุกครั้งไป และยังผูกพันรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันและลูกหนี้ร่วมอยู่ตลอดไป" แสดงว่าจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการกู้เงินตกลงยกเว้นบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 700 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะผ่อนเวลาให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ก็ยังคงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันแก่โจทก์
เมื่อสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ข้อ 4 ให้นำเงื่อนไขและข้อตกลงตามสัญญากู้มาใช้บังคับ และเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงินและหนังสือกู้เงิน ข้อ 2 วรรคสาม ตกลงให้โจทก์เรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก่อนถึงกำหนดได้ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควร และโดยมิพักต้องชี้แจงให้ผู้กู้ทราบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ได้ก่อนครบกำหนดเวลาตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้
โจทก์นำคดีมาฟ้องก็เป็นการใช้สิทธิของโจทก์เองโดยที่จำเลยที่ 1 มิได้ผิดนัด โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดได้ จำเลยที่ 1 คงรับผิดชำระเงินต้น พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 9.5 ต่อปี แม้ปัญหานี้จำเลยที่ 1 จะมิได้ให้การต่อสู้ใว้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
เมื่อสัญญาค้ำประกันการกู้เงิน ข้อ 1 มีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 2 ยอมผูกพันรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ และข้อ 3 มีข้อตกลงว่า "ธนาคารยอมผ่อนเวลาการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ โดยจะแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบหรือไม่ให้ทราบก็ตาม ผู้ค้ำประกันตกลงด้วยในการผ่อนเวลานั้นทุกครั้งไป และยังผูกพันรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันและลูกหนี้ร่วมอยู่ตลอดไป" แสดงว่าจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการกู้เงินตกลงยกเว้นบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 700 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะผ่อนเวลาให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ก็ยังคงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12123/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี ไม่ถือเป็นการพรากตัว หากเด็กมาบ้านจำเลยโดยสมัครใจ
ผู้เสียหายทั้งสองเป็นญาติกับจำเลย บ้านของผู้เสียหายที่ 1 และบ้านของจำเลยอยู่ติดกัน ผู้เสียหายที่ 2 พักอยู่อาศัยกับผู้เสียหายที่ 1 ได้ไปที่บ้านจำเลยเป็นประจำเพื่อให้บุตรของจำเลยสอนการบ้าน การที่จำเลยฉวยโอกาสที่ผู้เสียหายที่ 2 มาที่บ้านจำเลยเพื่อให้ ธ. สอนการบ้านตามปกติ ในวันเกิดเหตุ เมื่อ ธ. สอนการบ้านเสร็จแล้วจำเลยบอกให้ ธ. ออกจากบ้าน จากนั้นจำเลยได้เรียกให้ผู้เสียหายที่ 2 เข้าไปในห้องแล้วพยามยามกระทำชำเราและกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 เช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปจากบิดามารดา อันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9203/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับโอนทรัพย์มรดกจากคำพิพากษาคดีอาญา - ถือกรรมสิทธิ์แทนทายาท
ก. และ ส. เป็นทายาทของ ป. ผู้ตาย ได้ยื่นฟ้องโจทก์และจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในข้อหายักยอกทรัพย์มรดกที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ ซึ่งเป็นทรัพย์สินเดียวกับที่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายนำมาฟ้องเป็นคดีนี้ขอให้บังคับจำเลยโอนให้แก่โจทก์เพื่อแบ่งปันทายาทอื่นต่อไป เมื่อความปรากฏแก่ศาลว่า ในคดีอาญาศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า การที่จำเลยที่ 2 (จำเลยคดีนี้) มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพาณิชย์พิพาท น่าเชื่อว่าเป็นเพียงผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนทายาทอื่น เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ยอมโอนหรือแบ่งทรัพย์มรดกโดยอ้างว่าเป็นของตน จึงมีเจตนาทุจริต เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 353 เช่นนี้ ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 และแม้โจทก์และจำเลยจะเป็นจำเลยในคดีอาญาด้วยกันก็ตาม แต่เมื่อโจทก์และจำเลยต่างเป็นทายาทของผู้ตาย ทั้งโจทก์ยังเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายอีกด้วย คำพิพากษาคดีอาญาจึงย่อมผูกพันโจทก์และจำเลย เมื่อข้อเท็จจริงในคดีอาญาถึงที่สุดโดยฟังว่า จำเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพาณิชย์พิพาทแทนทายาทอื่น ดังนี้ จำเลยจึงต้องไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์พิพาทคืนแก่โจทก์ผู้จัดการมรดก เพื่อแบ่งปันทายาทอื่นต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7790/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างจากการประมูลงานก่อสร้างที่ยังไม่ได้เริ่มงาน และการยินยอมของลูกหนี้
แม้ขณะจำเลยทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าจ้างที่จะได้รับจากองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงชัยให้แก่ผู้ร้อง จำเลยเพียงแต่เป็นผู้ชนะการประมูลงานรับเหมาก่อสร้างได้ โดยยังมิได้ทำสัญญาจ้างและเริ่มทำงาน ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้สิทธิในการดำเนินงานก่อสร้างและรับเงินค่าก่อสร้างเมื่อทำงานเสร็จแล้ว สิทธิดังกล่าวอยู่ในสภาพเปิดช่องให้โอนกันได้แล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 และเมื่อ ป. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงชัยเขียนข้อความในหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องว่า "ได้รับทราบและยินยอมในการโอนสิทธิดังกล่วแล้ว" พร้อมกับลงลายมือชื่อและประทับตรา ถือว่าองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงชัยลูกหนี้ได้ยินยอมด้วยในการโอนนั้นแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง สิทธิที่จะได้รับเงินค่าจ้างก่อสร้างจึงตกเป็นของผู้ร้องแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าขณะโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าว ผู้ร้องได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นทางให้โจทก์ต้องเสียเปรียบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขออายัดเงินดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7541/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีข่มขืนขาดอายุความ ผู้เสียหายไม่แจ้งความเกิน 3 เดือน ศาลฎีกายกฟ้อง
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก เป็นความผิดอันยอมความได้ตาม ป.อ. มาตรา 281 ปรากฏตามฟ้องของโจทก์ระบุว่า เหตุเกิดเมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม 2539 และเดือนมิถุนายน 2539 ทั้งตามคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายเอกสารหมาย จ.5 ระบุว่า จำเลยข่มขืนกระทำชำเราครั้งแรกเมื่อกลางเดือนพฤษภาคม 2539 ครั้งที่สองห่างจากครั้งแรกประมาณ 2 ถึง 3 วัน โดยให้การเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2539 ดังนี้จะเห็นได้ว่านับตั้งแต่จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องจนถึงวันที่ผู้เสียหายมาให้การต่อพนักงานสอบสวนเป็นเวลาเกิน 3 เดือนแล้ว และระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ผู้เสียหายรวมทั้งผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเลย คดีจึงขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96 ปัญหาคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7240/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานขัดแย้ง การรับฟังพยาน การกระทำชำเราเด็ก ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
แม้ชั้นพิจารณา โจทก์จะมีผู้เสียหายเบิกความเป็นพยานว่า จำเลยไม่เคยเอาอวัยวะเพศจำเลยสอดใส่เข้าไปในอวัยวะเพศผู้เสียหาย ตาและยายผู้เสียหายเบิกความในทำนองเดียวกันว่า เมื่อถอดกางเกงของผู้เสียหายออกมาดูอวัยวะเพศ ไม่มีรอยช้ำบวมก็ตาม แต่ตามบันทึกคำให้การของผู้เสียหาย ตาและยายผู้เสียหายซึ่งได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนหลังเกิดเหตุไม่นาน โดยผู้เสียหายให้การต่อหน้าพนักงานอัยการและนักสังคมสงเคราะห์ คำให้การของบุคคลทั้งสามต่อเนื่องเชื่อมโยงเหตุการณ์เป็นลำดับขั้นตอนสมเหตุผล นอกจากนี้ ยายผู้เสียหายเบิกความว่า เหตุที่เบิกความแตกต่างจากที่ให้การไว้เนื่องจากไม่ประสงค์ให้จำเลยซึ่งเป็นลุงผู้เสียหายได้รับโทษจำคุก ทั้งจำเลยได้ชดใช้เงินให้จนฝ่ายผู้เสียหายพอใจและไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลย เชื่อว่าผู้เสียหาย ตาและยายผู้เสียหายเบิกความในชั้นพิจารณาเพื่อช่วยเหลือจำเลย คำให้การชั้นสอบสวนของพยานโจทก์มีน้ำหนักน่าเชื่อถือยิ่งกว่าคำเบิกความในชั้นพิจารณา แม้บันทึกคำให้การในชั้นสอบสวนจะเป็นพยานบอกเล่า แต่ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่านั้นน่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 วรรคสอง (1) พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักให้รับฟัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7057/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเก็บรักษาพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง และผลของการทำพินัยกรรมโดยพี่น้องร่วมบิดามารดา
ป.พ.พ. มาตรา 1662 กำหนดหลักเกณฑ์ในการเก็บรักษาพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองว่า ตามปกติจะต้องเก็บไว้ที่ที่ว่าการอำเภอ แต่ถ้าผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะเก็บรักษาเอง กรมการอำเภอก็ต้องส่งมอบให้ แต่ก่อนส่งมอบพินัยกรรมคืนกรมการอำเภอจะต้องคัดสำเนาไว้พร้อมลงลายมือชื่อและประทับตราตำแหน่งเป็นสำคัญ แล้วเก็บสำเนาไว้ที่ที่ว่าการอำเภอ ได้ความจาก ด. เจ้าพนักงานปกครอง 7 หัวหน้าฝ่ายทะเบียนและบัตรอำเภอเมืองสมุทรสงคราม ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองว่า สำเนาสมุดทะเบียนพินัยกรรม ในช่องผู้ซึ่งได้รับมอบพินัยกรรมไป ระบุว่า พินัยกรรมของ พ. และ ส. ซึ่งผู้ทำพินัยกรรมเป็นผู้รับพินัยกรรมกลับไปในวันเดียวกับที่ทำพินัยกรรม หมายความว่า เจ้าพนักงานกรมการอำเภอถ่ายสำเนาพินัยกรรมและเก็บสำเนาพินัยกรรมไว้ที่ที่ว่าการอำเภอ และมอบต้นฉบับพินัยกรรมให้แก่ผู้ทำพินัยกรรม แสดงให้เห็นถึงความประสงค์ของ พ. และ ส. ผู้ทำพินัยกรรมว่าต้องการจะรับพินัยกรรมกลับไปเก็บไว้เอง และเจ้าพนักงานกรมการอำเภอได้คัดถ่ายสำเนาพินัยกรรมดังกล่าวเก็บไว้ที่ที่ว่าการอำเภอ อันเป็นการปฏิบัติถูกต้องตามป.พ.พ. มาตรา 1662 แล้ว การที่พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้เก็บไว้ที่ที่ว่าการอำเภอจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 1662 เป็นบทบัญญัติที่ห้ามกรมการอำเภอเปิดเผยต้นฉบับหรือสำเนาพินัยกรรมเท่านั้น ส่วนการที่ผู้ทำพินัยกรรมขอรับพินัยกรรมกลับคืนไป แล้วนำไปเปิดเผยต่อบุคคลอื่น ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดห้ามไว้ คดีนี้ไม่ปรากฏว่ากรมการอำเภอได้เปิดเผยพินัยกรรมให้แก่บุคคลอื่นทราบ ส่วนการที่ผู้รับพินัยกรรมจะทราบข้อความในพินัยกรรมจากผู้ทำพินัยกรรมหรือบุคคลอื่นก็เป็นเรื่องธรรมดาที่สามารถเกิดขึ้นได้ มิได้ถือว่าเป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยแต่อย่างใด
พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองไม่มีเนื้อความระบุว่าหากฝ่ายใดไม่ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้อีกฝ่าย อีกฝ่ายก็จะไม่ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้นั้น พ. และ ส. เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ต่างไม่มีสามีและบุตร การที่บุคคลทั้งสองมีเจตนาตรงกันและยกทรัพย์สินบางส่วนของตนให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเมื่อตนถึงแก่ความตายไปก่อน หาใช่เป็นการทำพินัยกรรมโดยมีเงื่อนไขบังคับว่าผู้รับพินัยกรรมต้องทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินส่วนของตนให้แก่ผู้ทำพินัยกรรม พินัยกรรมของผู้ทำพินัยกรรมจึงจะมีผลแต่อย่างใดไม่ พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองจึงสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆะ
ป.พ.พ. มาตรา 1662 เป็นบทบัญญัติที่ห้ามกรมการอำเภอเปิดเผยต้นฉบับหรือสำเนาพินัยกรรมเท่านั้น ส่วนการที่ผู้ทำพินัยกรรมขอรับพินัยกรรมกลับคืนไป แล้วนำไปเปิดเผยต่อบุคคลอื่น ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดห้ามไว้ คดีนี้ไม่ปรากฏว่ากรมการอำเภอได้เปิดเผยพินัยกรรมให้แก่บุคคลอื่นทราบ ส่วนการที่ผู้รับพินัยกรรมจะทราบข้อความในพินัยกรรมจากผู้ทำพินัยกรรมหรือบุคคลอื่นก็เป็นเรื่องธรรมดาที่สามารถเกิดขึ้นได้ มิได้ถือว่าเป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยแต่อย่างใด
พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองไม่มีเนื้อความระบุว่าหากฝ่ายใดไม่ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้อีกฝ่าย อีกฝ่ายก็จะไม่ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้นั้น พ. และ ส. เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ต่างไม่มีสามีและบุตร การที่บุคคลทั้งสองมีเจตนาตรงกันและยกทรัพย์สินบางส่วนของตนให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเมื่อตนถึงแก่ความตายไปก่อน หาใช่เป็นการทำพินัยกรรมโดยมีเงื่อนไขบังคับว่าผู้รับพินัยกรรมต้องทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินส่วนของตนให้แก่ผู้ทำพินัยกรรม พินัยกรรมของผู้ทำพินัยกรรมจึงจะมีผลแต่อย่างใดไม่ พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองจึงสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6370/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดเจตนา + บันดาลโทสะ: เหตุยกเว้นความรับผิดอาญา
แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ณ. ตะโกนบอกให้จำเลยที่ 1 หยุด แต่ขณะนั้นจำเลยที่ 1 กำลังยิงต่อสู้กับ อ. โดยบันดาลโทสะ ประกอบกับเกิดเหตุชุลมุนเนื่องจากคนที่มาในงานศพวิ่งแตกตื่น เชื่อว่าจำเลยที่ 1 คงไม่ได้ยิน เมื่อจำเลยที่ 1 เห็น ณ. ซึ่งไม่ได้แต่งเครื่องแบบ ใช้อาวุธปืนยิงจำเลยที่ 1 เช่นนี้ จำเลยที่ 1 ย่อมสำคัญผิดได้ว่า ณ. เป็นพวก อ. และได้ช่วยเหลือ อ. ยิงตน การที่จำเลยที่ 1 ยิงต่อสู้กับ ณ. อันเป็นระยะเวลาต่อเนื่องใกล้ชิดติดพันกับการยิง อ. โดยบันดาลโทสะ ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะเช่นกัน แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ยกเรื่องยิง ณ. โดยบันดาลโทสะขึ้นต่อสู้ ศาลฎีกาย่อมหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ เพราะเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225