คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จรัส พวงมณี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9,202 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาตัวแทนนายหน้าซื้อขายอสังหาริมทรัพย์มีผลบังคับใช้ได้หากไม่ขัดต่อกฎหมายและความสงบเรียบร้อย
สัญญามีข้อความโดยสรุปว่า จำเลยแต่งตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนในการติดต่อและจัดหาผู้ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลย และให้มีการต่อรองราคากันได้ โดยจำเลยตกลงให้โจทก์ได้รับค่าบำเหน็จในอัตราร้อยละ 3 ของราคาทรัพย์สินที่ขายได้ จำเลยยินยอมให้โจทก์โฆษณาเผยแพร่ข่าวสารด้านการตลาดเพื่อจัดหาผู้ซื้อทรัพย์สินและจำเลยตกลงให้โจทก์มีสิทธิรับเงินประกันการปฏิบัติตามสัญญาจากผู้เสนอซื้อและถือไว้แทนจำเลย เมื่อจำเลยตกลงคำเสนอซื้อแล้ว เงินดังกล่าวให้โจทก์ชำระให้จำเลยและถือเป็นเงินค่ามัดจำส่วนหนึ่ง หากต่อมาผู้เสนอซื้อไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในคำเสนอซื้อ จำเลยมีสิทธิริบเงินประกันการปฏิบัติตามสัญญาจำเลยจะแบ่งให้โจทก์กึ่งหนึ่ง และตามสัญญาข้อ 10 ยังระบุว่าในระหว่างข้อตกลงยังมีผลใช้บังคับ หากมีบุคคลอื่นติดต่อขอซื้อทรัพย์สินตามสัญญา จำเลยตกลงมอบหมายให้โจทก์เป็นผู้ดำเนินการให้การซื้อขายเสร็จสิ้นและตกลงชำระค่าบำเหน็จตามข้อ 2 เห็นได้ว่า ตามสัญญาดังกล่าวนอกจากจำเลยจะตกลงให้โจทก์เป็นนายหน้าจัดหาผู้ซื้อทรัพย์สินของจำเลยแล้วยังมีข้อตกลงแต่งตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนของจำเลยในการจัดการซื้อขาย และดำเนินการเกี่ยวกับการซื้อขายทรัพย์ของจำเลยกับบุคคลภายนอกโดยให้บำเหน็จด้วย ดังนั้น แม้ตอนท้ายของสัญญาข้อ 10 ที่ระบุว่า ส่วนในกรณีจำเลยได้ขายทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นการขายด้วยตัวเอง หรือให้บุคคลอื่นเป็นตัวแทนติดต่อขายให้ก็ตาม จำเลยยังมีหน้าที่จะต้องชำระค่าบำเหน็จให้แก่โจทก์ตามที่ระบุในข้อ 2 ซึ่งข้อตกลงนี้คู่สัญญาสามารถตกลงกันได้ไม่ขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใดย่อมบังคับระหว่างคู่สัญญาได้ และหลังจากทำสัญญา โจทก์ได้ดำเนินการประกาศขายทรัพย์สินของจำเลยตามสื่อต่าง ๆ อันเป็นหน้าที่ของตัวแทนตามข้อตกลงแล้วเมื่อจำเลยายสินทรัพย์สินให้แก่บุคคลภายนอกในระหว่างอายุสัญญายังมีผลใช้บังคับอยู่จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายบำเหน็จให้แก่โจทก์ตามข้อตกลง หาใช่เป็นสัญญาที่เอารัดเอาเปรียบไม่เป็นธรรม หรือโจทก์ไม่ประสงค์จะปฏิบัติตามกฎหมายไม่ สัญญาจึงบังคับได้ตามกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้จำเลยชำระเงิน 27,000 บาทแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย จำเลยฎีกาของให้ยกฟ้อง ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงเป็นเงินจำนวน 27,000 บาท รวมดอกเบี้ยถึงวันฟ้องอีก 693.49 บาท รวมเป็น 27,693.49 บาท จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน 692.50 บาท แต่จำเลยเสียมาเป็นเงิน 2,380 บาท ต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่เกินไป 1,687.50 บาท แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 978/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนระเบียบความปลอดภัยและกฎหมาย ทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น
กรรมการลูกจ้างและ ส. ได้รับมอบหมายให้ผลัดกันขับรถของผู้ร้องบรรทุกสินค้าไปส่งให้แก่ลูกค้าที่ประเทศมาเลเซีย หลังจากส่งสินค้าเสร็จแล้ว ขากลับขณะที่กรรมการลูกจ้างเป็นคนขับ ส. นอนพักผ่อนที่เบาะหลังคนขับ กรรมการลูกจ้างขับรถตกจากถนนลงข้ามทางไปพลิกตะแคงซ้าย ส. เลื่อนตกจากที่นอนมาที่เบาะซ้ายด้านหน้า แล้วถูกกรรมการลูกจ้างหล่นจากที่นั่งคนขับคร่อมทับ ส. เป็นเหตุให้ ส. ได้รับบาดเจ็บสาหัส ส่วนกรรมการลูกจ้างได้รับบาดเจ็บศีรษะแตก ซึ่งขณะเกิดเหตุกรรมการลูกจ้างขับรถโดยไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย อันเป็นการฝ่าฝืนกฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง การที่กรรมการลูกจ้างไม่คาดเข็มขัดนิรภัยนอกจากจะเป็นการฝ่าฝืนกฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องแล้ว ยังเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายที่มีโทษทางอาญาและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ ส. อันเป็นผลมาจากการที่กรรมการลูกจ้างไม่คาดเข็มขัดนิรภัย จึงมีเหตุสมควรที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างได้ ส่วนที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เป็นเพียงการวินิจฉัยให้เหตุผลเกินเลยไปเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 977/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การเพิ่มเติมประเด็นฟ้องซ้อน: อำนาจฟ้องและข้อกฎหมายความสงบเรียบร้อย
จำเลยที่ 2 ขอแก้ไขคำให้การเพิ่มเติมประเด็นฟ้องซ้อนเป็นการขอแก้ไขเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ซึ่งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 2 จึงขอแก้ไขได้ก่อนศาลแรงงานกลางพิพากษาคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คดีอาญาเรื่องก่อนพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ฐานยักยอกทรัพย์และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไป แม้จะถือว่าเป็นการขอแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 แต่ก็เป็นกรณีที่เนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ซึ่งการกระทำของจำเลยที่ 1 นั้นอาจเป็นบ่อเกิดแห่งคดีที่จะใช้สิทธิเรียกร้องได้สองทางคือในมูลละเมิดและสัญญาจ้างแรงงาน แม้คำขอบังคับจะเป็นอย่างเดียวกันแต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหามิได้เป็นอย่างเดียวกัน และคำฟ้องของโจทก์กรณีผิดสัญญาจ้างแรงงานนั้นเป็นอำนาจของคู่สัญญาโดยเฉพาะ พนักงานอัยการไม่อาจนำมาเป็นข้ออ้างในคำขอส่วนแพ่งได้ จึงมิใช่เป็นเรื่องเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 977/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การเพิ่มเติมประเด็นฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: การพิจารณาความแตกต่างระหว่างมูลหนี้จากสัญญาจ้างและมูลหนี้ละเมิด
จำเลยที่ 2 ขอแก้ไขคำให้การเพิ่มเติมประเด็นฟ้องซ้อน เป็นการขอแก้ไขเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ซึ่งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 2 จึงอาจขอแก้ไขได้ก่อนศาลแรงงานกลางพิพากษาคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
กรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานความผิดยักยอกทรัพย์และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไป แม้จะถือว่าเป็นการขอแทนผู้เสียหายตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 43 ก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ความเสียหายนั้นเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ซึ่งการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ทำให้เกิดความเสียหายนั้นอาจเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องได้สองทาง คือในมูลละเมิดและในมูลแห่งสัญญาจ้างแรงงานที่มีต่อกันอยู่ ในคดีอาญาดังกล่าวกับคดีนี้ถึงแม้คำขอบังคับจะเป็นอย่างเดียวกันคือ ขอให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายแต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นมิได้เป็นอย่างเดียวกัน ในคดีอาญานั้นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งนั้น มาจากข้ออ้างเนื่องจากการกระทำผิดทางอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาจ้างแรงงาน และคำฟ้องของโจทก์กรณีของการผิดสัญญาจ้างแรงงานนั้นเป็นอำนาจของคู่สัญญาโดยเฉพาะ พนักงานอัยการที่เป็นโจทก์ในคดีอาญาไม่อาจจะอาศัยสิทธิในเรื่องของสัญญาจ้างแรงงานมาเป็นข้ออ้างในคำขอส่วนแพ่งได้ จึงมิใช่เป็นกรณีที่เป็นการฟ้องคดีในเรื่องเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้อนตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความรับผิดนายจ้างต่อการเสียชีวิตของลูกจ้างระหว่างการเดินทางเพื่อเจรจาค่าเสียหาย
การที่ น. ขับรถยนต์จากกรุงเทพมหานครไปที่จังหวัดชัยนาทตามคำสั่งของ พ. ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท พ. และเป็นนายจ้างของ น. เพื่อพา พ. ไปเจรจาเพื่อชดใช้ความเสียหายกรณีที่ พ. เคยขับรถยนต์ชนกับรถยนต์ของบุคคลอื่นในระหว่างการทำตามหน้าที่ของผู้แทนบริษัท พ. เป็นการไปเพื่อตกลงชดใช้ค่าเสียหายประนีประนอมยอมความหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 850, 852 สำหรับการทำละเมิดของ พ. ที่บริษัท พ. อาจต้องรับผิดในความเสียหายด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 77, 425, 427 การไปเจรจาเพื่อชดใช้ความเสียหายของ พ. เป็นการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่บริษัท พ. ดังนั้น แม้ น. จะไม่ได้ป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างแต่ก็ได้ทำงานตามคำสั่งของนายจ้าง แต่ในระหว่างการเดินทางก่อนการเจรจาเรื่องค่าเสียหาย มีคนร้ายใช้อาวุธปืนยิง น. และ พ. ถึงแก่ความตายโดยไม่ปรากฏสาเหตุการถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงไม่ได้เกิดในระหว่างการเจรจาหรือสืบเนื่องมาจากการเจรจาเรื่องค่าเสียหาย ทั้งไม่ใช่เหตุที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นได้จากการเดินทาง จึงมิใช่ผลโดยตรงจากการทำงาน หรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง หรือตามคำสั่งของนายจ้าง การที่ น. และ พ. ถึงแก่ความตายจึงถือไม่ได้ว่าเนื่องจากการทำงาน หรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่บริษัท พ. ซึ่งเป็นนายจ้าง น. จึงไม่ได้ประสบอันตรายตามความในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความรับผิดนายจ้างต่อการเสียชีวิตของลูกจ้างจากการถูกยิงระหว่างเดินทางไปทำงาน แม้ไม่ใช่ผลโดยตรงจากการทำงาน
การที่ พ. ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการมีฐานะเป็นผู้แทนของบริษัท ท. ขับรถยนต์ชนกับรถยนต์ของ ญ. ในระหว่างไปทำงานให้บริษัท ท. เป็นเหตุให้ ญ. ถึงแก่ความตายรถยนต์ได้รับความเสียหาย นอกจากจะถูกกล่าวหาว่าทำความผิดอาญาฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายแล้ว ยังอาจเป็นการทำละเมิดในระหว่างการทำตามหน้าที่ของผู้แทนของบริษัท ท. ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจะมีผลทำให้บริษัท ท. ต้องร่วมกับ พ. รับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 มาตรา 425 และมาตรา 427 การตกลงชดใช้ค่าเสียหายเป็นการประนีประนอมยอมความมีผลทำให้สิทธิเรียกร้องเดิมระงับสิ้นไป คู่กรณีต้องผูกพันตามที่ตกลงกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และมาตรา 852 ดังนั้น หาก พ. สามารถเจรจาต่อรองให้ ด. ผู้เสียหายยอมลดค่าเสียหายลงได้มากเพียงใดย่อมทำให้บริษัท ท. ได้รับประโยชน์ด้วยเพียงนั้น จึงถือได้ว่าการไปเจรจาตกลงเรื่องค่าเสียหายของ พ. เป็นการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่บริษัท ท. ดังนั้น การที่ พ. สั่งให้ น. ขับรถยนต์ในวันเกิดเหตุ แม้ น. จะไม่ได้ป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง แต่ น. ก็ได้ทำงานตามคำสั่งของนายจ้างด้วย แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า พ. และ น. ถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงถึงแก่ความตายในระหว่างการเดินทางก่อนการเจรจาเรื่อง ค่าเสียหายโดยไม่ปรากฏสาเหตุ ไม่ได้ถูกยิงในระหว่างการเจรจาหรือสืบเนื่องมาจากการเจรจาเรื่องค่าเสียหาย ทั้งการถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงจนถึงแก่ความตายไม่ใช่สาเหตุที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นได้จากการเดินทาง ด้วยเหตุดังกล่าวแม้ พ. จะเดินทางไปทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างและ น. ได้ทำงานตามคำสั่งของนายจ้างแต่ความตายไม่ใช่ผลโดยตรงจากการทำงาน หรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างหรือตามคำสั่งของนายจ้าง จึงถือไม่ได้ว่า พ. และ น. ถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่บริษัท ท. หรือตามคำสั่งของบริษัท ท. ซึ่งเป็นนายจ้าง น. จึงไม่ได้ประสบอันตรายตามความในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.เงินทดแทนฯ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท - การรับของโจรและการใช้เอกสารราชการปลอม - สิทธิในการฟ้องคดีอาญา
ข้อเท็จจริงที่ว่า หลังจากจำเลยทั้งสองถูกจับในความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรคดีนี้แล้วจำเลยทั้งสองยังได้พาเจ้าพนักงานตำรวจไปยึดรถยนต์อีกจำนวน 3 คัน ซึ่งถูกคนร้ายลักเอาไป มิได้เป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองรับของโจรรถยนต์ทั้งสี่คันในคราวเดียวกัน อันจะถือได้ว่าเป็นความผิดกรรมเดียว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการแจ้งเท็จเพื่อขอมีบัตรประจำตัวประชาชน และความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 มาตรา 14 ซึ่งเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 86 ดังนั้น แม้จำเลยทั้งสองเป็นผู้มีสัญชาติไทยก็ไม่ทำให้ขาดองค์ประกอบความผิดเพราะมิได้ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นตัวการกระทำความผิดที่ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทยดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 มาตรา 14 ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 309/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ: ข้อตกลงที่เกิดจากการเรียกร้อง vs. ข้อบังคับการทำงาน
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 20 บัญญัติว่า "เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับแล้ว ห้ามมิให้นายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า" ดังนี้ แม้บทบัญญัติดังกล่าวจะใช้คำว่า ห้ามนายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โดยมิได้บัญญัติว่า ต้องเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากข้อเรียกร้องก็ตาม แต่บทบัญญัติมาตรา 20 ดังกล่าวบัญญัติต่อเนื่องจากมาตรา 13 ถึงมาตรา 19 ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการยื่นข้อเรียกร้องเพื่อขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง แล้วมีการเจรจาต่อรองจนตกลงกันได้มีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง นายจ้างนำไปจดทะเบียนอันมีผลบังคับทั้งสองฝ่ายแล้วต่อด้วยมาตรา 20 ที่ห้ามนายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ดังนั้น ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 20 จึงหมายถึง เฉพาะข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องเท่านั้น นายจ้างจึงสามารถทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างใหม่ให้ขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มิได้เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องได้ เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ เป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 108 ซึ่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 10 วรรคสาม บัญญัติให้ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าในสถานประกอบกิจการนั้นมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือไม่ ให้ถือว่าข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่นายจ้างต้องจัดให้มีขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ. นี้ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ก็ไม่ใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้อง ดังนั้น โจทก์จึงสามารถทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างที่เข้าทำงานใหม่โดยตกลงจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แทนการจ่ายเดือนละ 1 ครั้ง ตามสัญญาจ้างได้ไม่ขัดต่อมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 309/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตมาตรา 20 พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์: ข้อตกลงสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องเท่านั้น
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 20 ที่ห้ามนายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หมายถึงเฉพาะข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องเท่านั้น นายจ้างจึงทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างที่เข้าทำงานใหม่โดยตกลงจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แทนการจ่ายเดือนละ 1 ครั้ง ที่มิใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องได้
of 921