คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จรัส พวงมณี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9,202 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5809/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีขับไล่ที่จำเลยปฏิเสธการเช่าและอ้างที่ดินสาธารณะ ศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ตามมาตรา 224 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าออกจากที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยเช่าที่ดินโจทก์ แม้จะให้การมาด้วยว่าจำเลยปลูกบ้านอยู่บนที่ดินสาธารณประโยชน์ แต่คำให้การดังกล่าวเป็นการปฏิเสธนิติสัมพันธ์และนิติเหตุตามฟ้องซึ่งเป็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์อยู่ในประเด็นแห่งคดีตามฟ้องโจทก์ที่ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปพร้อมทั้งรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินพิพาทกับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการนำที่ดินไปให้ผู้อื่นเช่าเดือนละ 1,000 บาท ข้อต่อสู้ดังกล่าวไม่ทำให้คดีมีประเด็นใหม่นอกเหนือจากประเด็นแห่งคดีตามฟ้อง จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาท ซึ่งห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5809/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีขับไล่ที่เข้าข่ายข้อห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง แม้จะอ้างว่าพิพาทเรื่องประเภทที่ดิน
จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่า จำเลยไม่เคยเช่าที่ดินโจทก์ แม้จำเลยจะให้การมาด้วยว่า จำเลยปลูกบ้านตามฟ้องอยู่บนที่ดินสาธารณประโยชน์ แต่คำให้การดังกล่าวเป็นการปฏิเสธนิติสัมพันธ์และนิติเหตุตามฟ้อง ซึ่งเป็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์อยู่ในประเด็นแห่งคดีตามฟ้องโจทก์ที่ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปพร้อมทั้งรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินพิพาท กับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการนำที่ดินไปให้ผู้อื่นเช่าเดือนละ 1,000 บาท ข้อต่อสู้ของจำเลยดังกล่าวไม่ทำให้คดีมีประเด็นใหม่นอกเหนือจากประเด็นแห่งคดีตามฟ้อง ดังนั้น คดีนี้จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาท ซึ่งห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5736/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ต้องเป็นการลดจำนวนลูกจ้างจากเทคโนโลยีใหม่ มิใช่จากการปรับโครงสร้างหรือโยกย้าย
การเลิกจ้างลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 121 และมาตรา 122 ต้องเป็นการเลิกจ้างลูกจ้างเพื่อลดจำนวนลูกจ้างเนื่องจากนำเครื่องจักรมาใช้ หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร หรือนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ทดแทนการใช้แรงงานของลูกจ้าง คดีนี้จำเลยที่ 1 ได้ปรับปรุงโครงสร้างงานฝ่ายสินเชื่อโดยนำระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์คาร์สมาใช้ทำงานปรับปรุงหน่วยงานและบริการ ระบบโปรแกรมคาร์สเป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในงานฝ่ายสินเชื่อธนาคารจำเลยที่ 1 โดยเฉพาะ ใช้งานด้านวิเคราะห์ความเสี่ยงสินเชื่อ ทำรายงานสินเชื่อและใช้แทนแรงงานคนได้ เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีความสามารถเชื่อมโยงกันได้ทั่วโลกโดยได้มีการติดตั้งระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์คาร์สเพื่อทดลองใช้บางจุด เนื่องจากจำเลยที่ 1 คิดว่าอาจได้รับมอบหมายจากสำนักงานใหญ่ให้เป็นศูนย์กลางของการวิเคราะห์สินเชื่อ แต่ต่อมาประเทศอินเดียได้รับการพิจารณาเป็นศูนย์กลางของการวิเคราะห์สินเชื่อ จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้นำระบบโปรมแกรมคอมพิวเตอร์คาร์สมาใช้ แต่จำเลยที่ 1 ได้เปลี่ยนแปลงจอภาพคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกับระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์คาร์ส ทำให้จำเลยที่ 1 ปรับลดพนักงานสินเชื่อและยุบเลิกฝ่ายสินเชื่อในเดือนมีนาคม 2543 แล้วย้าย ก. หัวหน้าฝ่ายสินเชื่อไปประจำที่ประเทศสิงคโปร์และเลิกจ้างโจทก์ในเดือนธันวาคม 2543 โจทก์จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรเลขานุการ ไม่มีความรู้และประสบการณ์งานด้านการตลาดและสินเชื่อโดยตรง แม้โจทก์จะทำงานในฝ่ายสินเชื่อแต่โจทก์มิได้มีตำแหน่งหน้าที่เป็นพนักงานสินเชื่อที่ต้องรับผิดชอบในส่วนงานสินเชื่อโดยตรง โจทก์มีตำแหน่งเป็นเพียงเลขานุการบริหารของ ก. หัวหน้าฝ่ายสินเชื่อ จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นเลขานุการของ ก. เนื่องจาก ก. ได้รับคำสั่งให้ไปประจำที่ประเทศสิงคโปร์ ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์มิใช่เนื่องจากจำเลยที่ 1 ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรภายในฝ่ายสินเชื่อ อีกทั้งไม่ใช่เลิกจ้างโจทก์เนื่องจากจำเลยที่ 1 นำเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีมาใช้ทดแทนการทำงานของโจทก์ตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5490/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากเป็นคดีข้อเท็จจริง เกินอำนาจศาลฎีกาในปัญหาการรับฟังพยานหลักฐานเรื่องสิทธิครอบครองที่ดิน
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีอาณาเขตติดต่อกับที่ดินของจำเลย เมื่อโจทก์ขอรังวัดที่ดินปรากฏว่าสิ่งปลูกสร้างของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปและให้จำเลยชำระค่าเสียหายเดือนละ 15,000 บาท แก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยต่างอ้างว่าตนเองเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้โจทก์จะมีคำขอให้บังคับจำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำออกไปและให้จำเลยชำระคืนค่าเสียหายเดือนละ 15,000 บาท มาด้วย แต่จะบังคับให้ได้หรือไม่เพียงใดนั้น เป็นผลต่อเนื่องมาจากข้อวินิจฉัยในเรื่องสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทอันเป็นประเด็นสำคัญในคดีนี้ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ที่ดินพิพาทตีราคาเป็นเงิน 67,875 บาท ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยรับฟังข้อเท็จจริงว่าพยานหลักฐานโจทก์ทั้งสองรับฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ฎีกาโจทก์ทั้งสองเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5490/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากเกินทุนทรัพย์ที่กฎหมายกำหนด และแก้ไขค่าทนายความเกินอัตรา
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของที่ดินติดต่อกับที่ดินของจำเลย สิ่งปลูกสร้างของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปและให้จำเลยชำระค่าเสียหายเดือนละ 15,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้รุกกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งสอง จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยต่างอ้างว่าตนเองเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้จะมีคำขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำออกไปและให้จำเลยชำระค่าเสียหายเดือนละ 15,000 บาท มาด้วย แต่จะบังคับให้ได้หรือไม่เพียงใดนั้น เป็นผลต่อเนื่องมาจากข้อวินิจฉัยในเรื่องสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทอันเป็นประเด็นสำคัญในคดีนี้ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ที่ดินพิพาทตีราคาเป็นเงิน 67,875 บาท ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5388/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดหลายกรรมจากเช็ค ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษให้เหมาะสมกับจำนวนกรรมความผิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 (1) (3) ป.อ. มาตรา 83, 91 จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพศาลชั้นต้นพิพากษาด้วยวาจาว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 (1) (3) รับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 3 เดือน จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเมื่ออ่านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยตลอดแล้ว ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 เพียงกรรมเดียวและไม่อาจที่จะเข้าใจหรือแปลความหมายเป็นอย่างอื่นไปได้ เพราะหากนำโทษจำคุก 3 เดือน มาเฉลี่ยเป็นโทษสำหรับความผิด 4 กระทงแล้ว ก็เป็นโทษจำคุกกระทงละ 22 วันครึ่ง ซึ่งผิดวิสัยไม่สอดคล้องกับระวางโทษที่กฎหมายบัญญัติ ศาลชั้นต้นจึงมิได้ลงโทษจำเลยที่ 2 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์เมื่อโจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามคำฟ้องที่จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพจึงเป็นการที่โจทก์อุทธรณ์ทำนองขอให้เพิ่มเติมโทษตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิด โดยลงโทษจำคุกกระทงละ 3 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง จำคุกกระทงละ 1 เดือน 15 วัน รวมเป็นจำคุก 4 เดือน 60 วัน จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5269/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทต้องยกขึ้นในคำให้การ การนำสืบเกินเลยคำให้การไม่อาจรับฟังได้
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 37 วรรคสอง บัญญัติว่า "จำเลยจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือก่อนวันเวลาที่ศาลแรงงานนัดให้มาศาลก็ได้" มาตรา 39 บัญญัติว่า "ในกรณีมีประเด็นที่ยังไม่อาจตกลงกันหรือไม่อาจประนีประนอมยอมความกัน ให้ศาลแรงงานจดประเด็นข้อพิพาทและบันทึกคำแถลงของโจทก์กับคำให้การของจำเลย อ่านให้คู่ความฟัง และให้ลงลายมือชื่อไว้ โดยจะระบุให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานมาสืบก่อนหรือหลังก็ได้ แล้วให้ศาลแรงงานกำหนดวันสืบพยานไปทันที
ถ้าจำเลยไม่ยอมให้การ ให้ศาลแรงงานบันทึกไว้ และดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป" บทบัญญัติดังกล่าวหมายความว่า การพิจารณาคดีแรงงานนั้นจำเลยจะให้การต่อสู้คดีเป็นหนังสือหรือแถลงให้การด้วยวาจาต่อหน้าศาลแรงงานก็ได้และจะให้การก่อนวันนัดพิจารณาคดีหรือในวันนัดพิจารณาคดีก็ได้ แต่การให้การก่อนวันนัดพิจารณาคดีนั้นต้องให้การเป็นหนังสือ หากจำเลยไม่ให้การ ศาลก็จะบันทึกไว้และดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป เมื่อคำให้การของจำเลยไม่ได้ให้การว่าโจทก์ลาออกก่อนจะไม่ได้รับคอมมิชชั่น (ค่านายหน้า) แม้จำเลยจะแนบสำเนาสัญญาจ้างมาท้ายคำให้การ ซึ่งมีข้อความว่า "ลูกจ้าง (โจทก์) ทำยอดขายไม่ได้ตามที่บริษัทกำหนด ถ้าลาออกจะไม่ได้รับค่าคอมมิชชั่น (ค่านายหน้า)" ก็มิใช่ประเด็นที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ ไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทที่จำเลยจะนำพยานเข้าสืบได้ จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็นคำให้การไม่อาจรับฟังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5212/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำวินิจฉัยข้อพิพาทแรงงานไม่ขัดกฎหมาย แม้มีการวินิจฉัยเรื่องเงินเดือนและไม่เชิญผู้เชี่ยวชาญ
สหภาพแรงงาน ส. ยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต่อโจทก์ จนกลายเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ แต่กิจการของโจทก์เป็นกิจการขนส่งอันเป็นกิจการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 23 (8) พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานจึงส่งข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เพื่อพิจารณาวินิจฉัย ต่อมาโจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ต่อจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 23 วรรคสอง ดังนี้ มาตรา 23 วรรคสอง เพียงแต่กำหนดเวลาเร่งรัดให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรวดเร็ว มิได้ประสงค์จะจำกัดอำนาจของจำเลยที่ 1 หรือให้คำวินิจฉัยสิ้นผลบังคับแต่อย่างใด แม้จำเลยที่ 1 จะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์และแจ้งให้สหภาพแรงงาน ส. และโจทก์ทราบเกินกำหนด 10 วัน นับแต่วันรับอุทธรณ์ก็ไม่ทำให้อำนาจในการวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 หมดไปหรือทำให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่มีผลใช้บังคับแต่อย่างใด คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และจำเลยที่ 1 วินิจฉัยให้โจทก์ขึ้นเงินเดือนประจำปีแก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อคนในกรณีที่โจทก์มีผลประกอบการตามงบดุลกำไรมากกว่า 20,000,000 บาทนั้น คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นการพิจารณาและวินิจฉัยเพื่อระงับข้อพิพาทแรงงานตามที่ตกลงกันไม่ได้ระหว่างโจทก์กับลูกจ้างตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 23 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการขัดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพในการประกอบกิจการแข่งขันกันโดยเสรีและเป็นธรรม และมิใช่เป็นการแทรกแซงการประกอบกิจการของโจทก์ อีกทั้งคำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยในข้อพิพาทแรงงานระหว่างโจทก์กับลูกจ้าง จึงไม่อาจใช้บังคับแก่สถานประกอบกิจการอื่นที่ไม่มีข้อพิพาทแรงงานได้ คำวินิจฉัยของจำเลยที่ 1 และคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จึงชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 44 ที่บัญญัติว่ากรรมการแรงงานสัมพันธ์หรืออนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะมีหนังสือเชิญผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิมาแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่เกี่ยวข้องก็ได้ หมายความว่า ถ้ากรรมการแรงงานสัมพันธ์หรืออนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ เห็นว่า กรณีมีความจำเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิมาให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาและวินิจฉัยก็อาจเชิญผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิมาแสดงความคิดเห็นก็ได้ โดยบทบัญญัติมาตรานี้มิได้บังคับว่าต้องเชิญบุคคลดังกล่าวมาให้ความเห็นเสมอไป ดังนั้น แม้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะไม่ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิมาแสดงความเห็นก็ไม่ขัดต่อ มาตรา 44
การพิจารณาวินิจฉัยข้อพิพาทแรงงานของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานระหว่างโจทก์กับลูกจ้างตามอำนาจหน้าที่ซึ่งกำหนดไว้ตามกฎหมายดังกล่าว มิใช่เป็นการเข้าไปร่วมบริหารกิจการของโจทก์ จึงไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1144
การที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยข้อพิพาทแรงงานโดยให้โจทก์ปรับเงินเดือนของพนักงานขับรถหัวผ่าที่ได้รับเงินเดือนต่ำกว่าเดือนละ 6,500 บาท เป็นไม่ต่ำกว่าเดือนละ 6,500 บาท มิใช่เป็นการพิจารณากำหนดและประกาศให้ใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ แต่เป็นการวินิจฉัยให้ปรับค่าจ้างตามข้อเรียกร้องของลูกจ้างที่ยื่นต่อโจทก์แล้วกลายเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 23 จึงไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 78, 79 และ 88

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5205/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค่าสินค้ายังไม่สิ้นสุดแม้มีการชำระเงินบางส่วน การออกเช็คจึงเป็นความผิดหลายกระทง
เงินที่โจทก์ได้รับไปจากจำเลยในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นรวม 850,000 บาทนั้น แม้จะมากกว่าจำนวนเงินในเช็คพิพาทฉบับลงวันที่ 27 มิถุนายน 2539 ก็ตาม แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้ค่าซื้อสินค้าที่จำเลยออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับชำระแก่โจทก์ หนี้ดังกล่าวจึงยังมีผลผูกพันจำเลย และไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยได้มีการตกลงให้คดีตามเช็คพิพาทฉบับหนึ่งฉบับใดเลิกกันไปก่อน คดีตามเช็คพิพาทฉบับลงวันที่ 27 มิถุนายน 2539 จึงยังไม่เลิกกันตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 การออกเช็คของจำเลยจึงเป็นความผิดสองกระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5178-5179/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดของบริษัทฟื้นฟูกิจการ, อายุความ, และดอกเบี้ยค่าเสียหาย
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด มีผลประกอบการที่ดีและมีกำไรมาโดยตลอด แต่ต่อมาเมื่อกลางปี 2540 โจทก์เกิดขาดสภาพคล่องกะทันหันจนถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2541 และแต่งตั้งบริษัท พ. เป็นผู้ทำแผน เมื่อมีการตรวจสอบรายการทางการเงินของโจทก์พบว่า การรายงานสินทรัพย์สุทธิและกำไรสุทธิมีความคลาดเคลื่อน และระหว่างเดือนธันวาคม 2537 ถึงกรกฎาคม 2540 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ซึ่งเป็นผู้บริหารงานของโจทก์ได้ร่วมกันชำระเงิน 3,950,000,000 บาทให้แก่บุคคลหรือบริษัทที่เกี่ยวข้องโดยไม่ชอบ โดยโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยแต่ละคนโดยละเอียดถึงวันที่มีการเบิกถอนเงิน จ่ายเงิน และโอนเงินจำนวนเท่าใดจากธนาคารอะไร ให้ใคร ที่บัญชีเลขที่เท่าใด พร้อมรายละเอียดแห่งความเสียหายที่จำเลยแต่ละคนได้ก่อให้แก่โจทก์ตามเอกสารที่แนบมาท้ายฟ้อง เป็นคำฟ้องที่บรรยายว่าจำเลยแต่ละคนทำผิดสัญญาโดยโอนเงินให้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกโดยไม่ชอบ พร้อมทั้งบรรยายว่าจำเลยแต่ละคนทำการอย่างไร เมื่อใด ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เท่าใด โดยแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องมาท้ายฟ้อง จึงเป็นคำฟ้องที่บรรยายโดยชัดแจ้งแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ทำให้จำเลยสามารถเข้าใจและต่อสู้คดีได้แล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ที่แก้ไข มาตรา 90/25 บัญญัติว่า เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้ว ให้อำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ และบรรดาสิทธิตามกฎหมายของผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ ยกเว้นสิทธิที่จะได้รับเงินปันผลตกแก่ผู้ทำแผน และมาตรา 90/24 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้าศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผน ให้ศาลแจ้งคำสั่งนั้นแก่ผู้ทำแผน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้บริหารของลูกหนี้ และผู้บริหารชั่วคราวโดยไม่ชักช้า อำนาจหน้าที่ของผู้ทำแผนให้เริ่มแต่วันที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าว และให้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้บริหารของลูกหนี้ หรือผู้บริหารชั่วคราวสิ้นสุดลง หมายความว่า เมื่อศาลตั้งผู้ทำแผนแล้ว ให้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้บริหารลูกหนี้ และผู้บริหารชั่วคราวเป็นอันสิ้นสุดลง โดยให้ผู้ทำแผนมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผน การฟ้องคดีเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อให้การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้สำเร็จลุล่วง ผู้ทำแผนจึงมีอำนาจแต่งตั้งทนายความเพื่อฟ้องคดีนี้ได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่าได้ร่วมกันทำละเมิดในการทำงานตามหน้าที่ในทางการที่จ้าง อันถือว่าเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานด้วย ซึ่งการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ร่วมทำละเมิดต่อโจทก์ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537 ถึงเดือนกรกฎาคม 2540 โดยนำคดีมาฟ้องในวันที่ 1 กรกฎาคม 2541 ซึ่งไม่พ้นกำหนด 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยอื่นชดใช้ค่าเสียหายจากการทำละเมิดแก่โจทก์ด้วยการเบิกถอนเงินจากบัญชีธนาคารแล้วจ่ายให้แก่บริษัทและบุคคลอื่นโดยไม่ชอบตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537 ถึงเดือนกรกฎาคม 2540 เป็นจำนวนเงิน 3,950,000,000 บาท ซึ่งเป็นการกระทำละเมิดหลายครั้ง แม้โจทก์จะได้นำเช็คและรายการที่เรียกเก็บเงินตามเช็คมาแสดงต่อศาลแรงงานกลาง ซึ่งเป็นยอดรวมหลายครั้งว่าแต่ละครั้งเป็นเงินจำนวนเท่าใด แต่ไม่ได้แยกให้ชัดว่าจำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินตามเช็คแต่ละใบเมื่อใด จำนวนเท่าใด และจ่ายออกไปโดยไม่ชอบเมื่อใด จำนวนเท่าใด และศาลแรงงานกลางก็มิได้รับฟังข้อเท็จจริงโดยละเอียดดังกล่าว โจทก์นำสืบได้เพียงว่าโจทก์ทราบมูลเหตุที่ฟ้องร้องคดีนี้ในวันประชุมคณะกรรมการโจทก์เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2540 ดังนั้น แม้ว่ามูลหนี้จากการทำละเมิดให้ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดนับแต่วันทำละเมิดและต้องคิดดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 ประกอบมาตรา 224 แต่โจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดแต่ละครั้งเมื่อใด จำนวนเท่าใด การที่ศาลแรงงานกลางให้คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องนั้น จึงชอบแล้ว
of 921