คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จรัส พวงมณี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9,202 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5025/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานในคดีเลิกจ้าง: สั่งให้รับกลับทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายได้ แม้มิได้มีคำขอ
บทบัญญัติ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 ที่ห้ามศาลแรงงานพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เป็นบทบัญญัติที่ใช้ในคดีแรงงานกรณีทั่วไป แต่บทบัญญัติในมาตรา 49 เป็นกรณีให้อำนาจศาลแรงงานเป็นพิเศษเฉพาะคดีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง โดยหากศาลแรงงานเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างไม่เป็นธรรมศาลแรงงานจะสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างผู้นั้นเข้าทำงานก็ได้ แต่หากเห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ศาลแรงงานจะกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้แทนก็ได้ โดยให้ศาลแรงงานพิพากษาไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากทางพิจารณาว่านายจ้างกับลูกจ้างจะทำงานร่วมกันต่อไปได้หรือไม่ บทบัญญัติในมาตรานี้เห็นได้ว่า ศาลแรงงานไม่จำต้องมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ แม้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจะมิได้มีคำขอให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างรับโจทก์กลับเข้าทำงาน คงขอค่าเสียหายจากการเลิกจ้างมาเพียงอย่างเดียว ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าโจทก์กับจำเลยยังสามารถทำงานร่วมกันได้ ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิพากษาหรือมีคำสั่งให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแทนได้ กรณีกลับกันแม้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจะมิได้มีคำขอให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ คงขอให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานเพียงอย่างเดียว ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าโจทก์กับจำเลยไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ศาลแรงงานก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แทนได้เช่นกัน ที่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าโจทก์มิได้กระทำผิดวินัยใด ๆ มาก่อน ทั้งจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ จึงเห็นสมควรให้จำเลยรับโจทก์เข้าทำงานต่อไป แม้โจทก์จะมิได้มีคำขอให้รับโจทก์เข้าทำงาน ก็เป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยมาตรา 49 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5017-5023/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนจัดหางานรับผิดสัญญาจ้าง: ศาลยืนตามเดิม แม้ไม่อุทธรณ์ฐานะนายจ้าง
ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการที่บริษัท ซ. ซึ่งเป็นนายจ้างผิดสัญญาการจ้างแก่โจทก์ทั้งเจ็ดในฐานะที่จำเลยเป็นตัวแทนทำสัญญาการจ้างทำงานแทนบริษัทนายจ้างตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ใช่นายจ้างของโจทก์ทั้งเจ็ด เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการใช้แรงงานให้เป็นไปอย่างเป็นธรรมและคุ้มครองผู้ใช้แรงงานไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ โดยห้ามไม่ให้นายจ้างกระทำการบางอย่างและให้ลูกจ้างมีสิทธิบางอย่างนอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในกฎหมายอื่น หาได้บัญญัติตัดสิทธิของลูกจ้างที่จะพึงมีพึงได้ตามกฎหมายอื่นไม่ คดีนี้โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะที่จำเลยเป็นนายจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ และเป็นตัวแทนทำสัญญาการจ้างแทนบริษัท ซ. ตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ อันเป็นการเรียกร้องให้ได้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 ศาลแรงงานกลางจึงนำ ป.พ.พ. มาตรา 824 มาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4880/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำท้าทางกระบวนพิจารณา: ผลผูกพันตามคำเบิกความพยาน และการพิพากษาโดยไม่ต้องสืบพยาน
การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีตามคำท้า เป็นการยอมรับข้อเท็จจริงที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างโดยมีเงื่อนไขบังคับก่อนเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณา เช่นการสาบาน หรือการเบิกความของพยานปากใดปากหนึ่ง ถ้าดำเนินกระบวนพิจารณาแล้วสมประโยชน์ของคู่ความฝ่ายใด คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะยอมรับข้อเท็จจริงตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้าง อันเป็นผลให้คู่ความฝ่ายที่ได้ประโยชน์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยไม่ต้องมีการสืบพยานเพื่อพิสูจน์ตามประเด็นข้อพิพาท คดีนี้โจทก์และจำเลยท้ากันให้ถือเอาคำเบิกความของนางสาว บ. เป็นข้อแพ้ชนะคดี โดยมีเงื่อนไขบังคับก่อนเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาว่า หากนางสาว บ. เบิกความว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลยอยู่ 700,000 บาทเศษ ให้ถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยเป็นธรรม โจทก์ยอมแพ้คดี และโจทก์ยอมจ่ายเงินจำนวน 792,857.28 บาท ให้แก่จำเลย ถ้านางสาว บ. เบิกความว่า โจทก์ไม่ได้เป็นหนี้จำเลยตามยอดเงินดังกล่าว จำเลยยอมแพ้โดยถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม และจำเลยจะจ่ายค่าชดเชย เงินสะสม เงินสมทบ รวม 318,000 บาท ให้แก่โจทก์ ต่อมานางสาว บ. มาเบิกความว่า โจทก์เป็นหนี้จำเลยจำนวน 700,000 บาทเศษ จริง ตรงตามคำท้าเงื่อนไขบังคับก่อนจึงสำเร็จผลตามคำท้าสมประโยชน์แก่จำเลย คำท้าบังเกิดผลแล้ว โจทก์ต้องยอมรับข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างโดยไม่ต้องสืบพยานเพื่อพิสูจน์ตามประเด็นพิพาท การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้โจทก์แพ้คดีตามคำท้าโดยมิได้วินิจฉัยพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 84 (1) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4880/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำท้าทางคดี: ผลผูกพันตามคำเบิกความพยานและผลต่อการตัดสินคดีแรงงาน
โจทก์และจำเลยท้ากันให้ถือเอาคำเบิกความของ บ. เป็นข้อแพ้ชนะคดี โดยมีเงื่อนไขว่า หาก บ. เบิกความว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลยอยู่ 700,000 บาทเศษให้ถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยเป็นธรรม โจทก์ยอมแพ้คดี และโจทก์ยอมจ่ายเงินจำนวน 792,857.28 บาท ให้แก่จำเลย ถ้าเบิกความว่า โจทก์ไม่ได้เป็นหนี้จำเลยตามยอดเงินดังกล่าว จำเลยยอมแพ้โดยถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและจำเลยจะจ่ายค่าชดเชย เงินสะสม เงินสมทบ รวม 318,000 บาท ให้แก่โจทก์ ต่อมา บ. เบิกความที่ศาลแรงงานกลางว่า โจทก์เป็นหนี้จำเลยจำนวน 700,000 บาทเศษจริง ตรงตามคำท้า ซึ่งเงื่อนไขบังคับก่อนนั้นได้สำเร็จผลตามคำท้าสมประโยชน์แก่จำเลยคำท้าจึงบังเกิดผลแล้ว โจทก์ต้องแพ้คดีตามคำท้าโดยยอมรับข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างโดยไม่ต้องสืบพยานเพื่อพิสูจน์ตามประเด็นพิพาท การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้โจทก์แพ้คดีตามคำท้าโดยมิได้วินิจฉัยพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน จึงเป็นการพิพากษาคดีที่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 (1) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4875/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีแรงงานต้องระบุคู่ความที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเท่านั้น ศาลมีอำนาจตรวจสอบคุณสมบัติคู่ความ
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีแรงงานต้องเป็นบุคคลดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 คำว่า "คู่ความ" หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล และคำว่าบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ซึ่งบุคคลดังกล่าวเท่านั้นที่ถูกฟ้องเป็นจำเลยได้ องค์กรต่างๆ หากมิได้เป็นนิติบุคคล แม้บุคคลในองค์กรนั้นจะก่อให้เกิดความเสียหาย ผู้ที่ได้รับความเสียหายก็ไม่สามารถฟ้ององค์กรนั้นได้ แต่ชอบจะฟ้องบุคคลที่ก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรง ป.วิ.พ. มาตรา 18 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ให้อำนาจศาลแรงงานที่จะตรวจคำคู่ความที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลรับไว้ เมื่อศาลแรงงานกลางตรวจคำฟ้องโจทก์แล้วเห็นว่า จำเลยที่ 1 มิได้เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และไม่ปรากฏว่าเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายใด ศาลแรงงานกลางก็ชอบที่จะให้โจทก์เสนอหลักฐานที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล เพื่อประกอบการพิจารณาสั่งคำฟ้อง เพราะเป็นการตรวจสอบอำนาจฟ้องของโจทก์ ซึ่งหากจำเลยที่ 1 มิได้เป็นนิติบุคคล ศาลแรงงานกลางก็ไม่อาจรับคำฟ้องในส่วนจำเลยที่ 1 ไว้ได้ เมื่อชั้นตรวจคำฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล ศาลแรงงานกลางไม่รับคำฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว
ศาลแรงงานกลางไม่รับคำฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยเห็นว่าไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่าเป็นนิติบุคคล โจทก์อุทธรณ์โต้แย้งว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นนิติบุคคล แต่มิได้อ้างว่าเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศฉบับใด ที่อ้างว่าจำเลยที่ 3 เป็นองค์กรที่ประเทศไทยรู้จักและกฎหมายไทยรับรองให้องค์กรนี้เข้ามาดำเนินการในประเทศไทย มีข้อตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับรัฐบาลแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 2 ได้รับยกเว้นบรรดารัษฎากรและสามารถออกหนังสือเดินทางให้แก่คนชาติตนได้ ก็เป็นเพียงเรื่องที่รัฐบาลไทยปฏิบัติต่อคณะบุคคลขององค์กรเหล่านี้เท่านั้น มิใช่เหตุผลที่แสดงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ ศาลแรงงานกลางไม่รับคำฟ้องของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4875/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: จำเลยต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลตามกฎหมาย
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีแรงงานได้ต้องเป็นบุคคลดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (11) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 คำว่า "คู่ความ" หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล ฯลฯ และคำว่าบุคคล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ดังนั้นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลเท่านั้นที่อาจถูกฟ้องเป็นจำเลยได้ สำหรับนิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น องค์กรต่าง ๆ แม้ประกอบไปด้วยบุคคลหลายคนหากมิได้เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นแล้ว แม้บุคคลในองค์กรเหล่านั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น ผู้ที่ได้รับความเสียจากบุคคลในองค์กรเหล่านั้นก็ไม่อาจฟ้ององค์กรเหล่านั้นได้ แต่ชอบที่จะฟ้องบุคคลที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้โดยตรง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ให้อำนาจศาลแรงงานที่จะตรวจคำคู่ความที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลได้รับไว้ เมื่อศาลแรงงานกลางตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วเห็นว่า จำเลยที่ 1 มิได้เป็นนิติบุคคลอันจะทำให้เห็นได้ในเบื้องต้นว่าจำเลยที่ 1 อาจเข้าเป็นคู่ความหรือถูกฟ้องเป็นจำเลยได้ ก็ชอบที่จะให้โจทก์เสนอหลักฐานที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลต่อศาลเพื่อประกอบการพิจารณาสั่งคำฟ้องของโจทก์ได้เพราะเป็นการตรวจสอบถึงอำนาจฟ้องของโจทก์ หากจำเลยที่ 1 มิได้เป็นนิติบุคคล ศาลแรงงานกลางก็ไม่อาจรับคำฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 1 ไว้ได้ ซึ่งเป็นการตรวจสอบเบื้องต้นในชั้นตรวจรับคำฟ้อง มิใช่ศาลแรงงานกลางไม่มีอำนาจตรวจสอบแต่เป็นเรื่องที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล ที่ศาลแรงงานกลางไม่รับคำฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4830/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าชดเชยแรงงาน: ศาลยืนตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน อัตรา 15% ต่อปี แม้โจทก์มิได้ขอ
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง กำหนดให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยของจำนวนเงินค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงนำอัตราดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปมาใช้บังคับไม่ได้ ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยของจำนวนเงินค่าชดเชยร้อยละ 15 ต่อปี โดยโจทก์มิได้ขอมาในฟ้อง จึงชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4830/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าชดเชย: พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 9 บังคับใช้โดยตรง ไม่ต้องอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยทั่วไป
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ได้กำหนดให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยของจำนวนเงิน ค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ไว้โดยเฉพาะแล้ว จะนำอัตราดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคแรก ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปมาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้ กรณีจึงไม่ใช่ ไม่มีกฎหมายเปิดช่องให้จ่ายดอกเบี้ยของจำนวนเงินค่าชดเชยร้อยละ 15 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4812/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง: การพิจารณาคำคู่ความและการมีสิทธิอุทธรณ์
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษจำเลย และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า อุทธรณ์จำเลยฟุ่มเฟือยเกินไป ให้จำเลยแก้ไขอุทธรณ์มาใหม่ แต่จำเลยไม่ได้แก้ไขอุทธรณ์ กลับอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งว่า อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยฟุ่มเฟือยเกินไป ให้คืนคำคู่ความไปทำมาใหม่ภายในกำหนด จึงเป็นคำสั่งในกรณีที่ศาลชั้นต้นตรวจคำคู่ความที่ยื่นต่อศาล แล้วมีคำสั่งให้คืนคำคู่ความนั้นไปทำมาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 มิใช่เป็นการตรวจอุทธรณ์ แล้วมีคำสั่งว่าควรจะรับส่งขึ้นไปยังศาลอุทธรณ์หรือไม่ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคสอง ซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องมีคำสั่งปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์เสียก่อน ผู้อุทธรณ์จึงอาจอุทธรณ์คำสั่งของศาลนั้นต่อศาลอุทธรณ์ได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 198 ทวิ แห่ง ป.วิ.อ. เมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คืนคำคู่ความให้ทำมาใหม่ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามอุทธรณ์ไว้ จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำสั่งให้จำเลยที่อุทธรณ์ฟัง โดยไม่ต้องรอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4790/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินทดแทนกรณีเสียชีวิตจากการทำงาน แม้ไม่อยู่ในรายการโรคที่กำหนดไว้ แต่เกิดจากความเหนื่อยล้าจากการทำงาน
ตามประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง กำหนดชนิดของโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงาน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2539 แม้โรคต่าง ๆ ที่กำหนดไว้รายการแรก ๆ จะมีลักษณะของโรคที่เกิดจากสารเคมีเป็นพิษเป็นโรคที่เกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือโรคซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานก็ตาม แต่โรคในรายการที่ 23 ที่ว่า โรคจากความร้อน รายการที่ 24 โรคจากความเย็น รายการที่ 25 โรคจากความสั่นสะเทือน และรายการที่ 26 โรคจากความกดดันอากาศ แสดงให้เห็นว่าโรคที่ประกาศกำหนดมิได้มุ่งถึงสารเคมีที่มีพิษเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงโรคหรือการเจ็บป่วยอันเนื่องจากการทำงานด้วย โดยเฉพาะในรายการที่ 32 อันเป็นโรครายการสุดท้ายที่ว่า โรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงาน ยิ่งแสดงให้เห็นชัดเจนว่าโรคหรือความเจ็บป่วยในรายการนี้ไม่ได้มุ่งเน้นถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหรือความเจ็บป่วยเลย แต่มุ่งเน้นว่าโรคหรือความเจ็บป่วยนั้นต้องเป็นผลมาจากการปฏิบัติงานเท่านั้น เมื่อผู้ตายซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยปฏิบัติงานให้จำเลยจนเกิดความเหนื่อยล้าและถึงแก่ความตายเนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดด้วยความเหนื่อยล้าดังกล่าว จึงเป็นโรคอื่นซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงานตามรายการที่ 32 อันเป็นการเจ็บป่วยตามคำจำกัดความคำว่า "เจ็บป่วย" ตามระเบียบของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 3 จำเลยจึงต้องจ่ายเงินทดแทนแก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นภรรยาและบุตรผู้ตาย
of 921