พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9,202 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์เกินกำหนด ศาลอุทธรณ์พิจารณาได้ตามอำนาจ ป.วิ.อ.ม.245(2) คำพิพากษาถึงที่สุด ไม่มีสิทธิฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิต โจทก์ไม่อุทธรณ์ จำเลยยื่นอุทธรณ์เกินกำหนด ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยและให้ส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 1 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่จึงเป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง มิได้วินิจฉัยเพราะจำเลยอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมถึงที่สุด จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1350-1351/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับลูกจ้างรายวันเป็นรายเดือน มิใช่การปรับขึ้นค่าจ้าง หากค่าจ้างรายเดือนไม่น้อยกว่าเดิม
ข้อตกลงระหว่างสหภาพแรงงานผลิตเครื่องมือประมงฯกับจำเลย เอกสารหมาย จ.8 หรือ ล.9 ได้ระบุแยกกรณีการขึ้นค่าจ้างกับกรณีการปรับคนงานรายวันเป็นรายเดือนโดยมีเงื่อนไขกำหนดไว้ชัดเจน ซึ่งการปรับลูกจ้างรายวันเป็นรายเดือนมีผลเพียงทำให้ลูกจ้างนั้นมีสิทธิต่าง ๆ เพิ่มขึ้นตามที่ลูกจ้างรายเดือนมีสิทธิได้รับ ไม่มีข้อความที่ทำให้เข้าใจได้ว่าสหภาพแรงงานผลิตเครื่องมือประมงฯ หรือจำเลยประสงค์ให้เป็นการปรับขึ้นค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ไปด้วย แม้หากนำเงินเดือนหารด้วย 30 เป็นค่าจ้างต่อวัน อัตราค่าจ้างต่อวันที่โจทก์ทั้งสามได้รับน้อยลงกว่าเดิม แต่เมื่อโจทก์ทั้งสามไม่ใช่ลูกจ้างรายวันแล้วและค่าจ้างรายเดือนที่โจทก์ทั้งสามมีสิทธิได้รับไม่น้อยไปกว่าค่าจ้างรายวันที่โจทก์ทั้งสามเคยมีสิทธิได้รับรวมทั้งเดือน ย่อมไม่ใช่เรื่องที่จำเลยไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อตกลงดังกล่าว ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ได้ปรับขึ้นค่าจ้างให้แก่โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีค่าจ้างและค่าชดเชยที่จำเลยค้างจ่ายดังที่โจทก์ทั้งสามอ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับค่ารักษาพยาบาลนอกโรงพยาบาลตามสิทธิ กรณีไม่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนทางการแพทย์
หลังจากโจทก์ประสบอุบัติเหตุโจทก์ได้รับบาดเจ็บและหมดสติไปโดยโจทก์มีบาดแผลที่ขาหลายแห่งและกระดูกขาหัก มีพลเมืองดีนำโจทก์ส่งโรงพยาบาล ส. โจทก์รู้สึกตัวและโทรศัพท์ไปหาบิดา เมื่อบิดาโจทก์มาถึงจึงขอให้โรงพยาบาล ส. ฉีดยาระงับอาการปวดและเอกซเรย์กระดูกขาให้ หลังจากนั้นจึงทำเรื่องขอย้ายโจทก์ไปรักษาต่อที่โรงพยาบาล ว. โดยทำบันทึกไว้ว่าไม่ประสงค์จะให้โรงพยาบาล ส. รักษาโจทก์ต่อไป และโจทก์ได้รับการรักษาต่อที่โรงพยาบาล ว. โดยแพทย์ทำการผ่าตัดกระดูกดามกระดูกขาและรักษาบาดแผลเสียค่าบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในเป็นเงิน 62,676.10 บาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าในขณะที่จะย้ายโจทก์ออกจากโรงพยาบาล ส. ไปรักษาต่อนั้น โรงพยาบาล ส. ได้ทำการรักษาเบื้องต้นเท่าที่จำเป็นไปบ้างแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะต้องทำการผ่าตัดรักษากระดูกขาที่หัก แม้จะเป็นกรณีที่จะต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว แต่ก็ได้ความว่าวิทยาลัย พ. ซึ่งเป็นโรงพยาบาลตามสิทธิและโรงพยาบาล ว. ต่างก็มีสถานที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครด้วยกัน ใช้ระยะเวลาเดินทางใกล้เคียงกัน การนำส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลตามสิทธิหรือโรงพยาบาล ว. จึงไม่น่าจะใช้เวลาแตกต่างกันมากนัก ทั้งโรงพยาบาล ส. ได้ทำการรักษาเบื้องต้นเท่าที่จำเป็นให้แก่โจทก์บ้างแล้ว จึงไม่น่าจะเป็นไปได้ว่าหากนำส่งตัวโจทก์ไปรักษาที่โรงพยาบาลตามสิทธิแล้วการรักษาจะไม่ทันท่วงทีหรืออาจเกิดอันตรายร้ายแรงขึ้นแก่โจทก์ การที่บิดาโจทก์ส่งตัวโจทก์ไปรักษาที่โรงพยาบาล ว. จึงเป็นเพราะบิดาโจทก์มีความเชื่อถือการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาล ว. นั่นเอง การที่นำส่งตัวโจทก์ไปรักษาที่โรงพยาบาล ว. ซึ่งมิใช่โรงพยาบาลตามสิทธิจึงมิใช่กรณีที่มีเหตุจำเป็นต้องรับการบริการทางการแพทย์จากโรงพยาบาล ว. แต่เป็นความประสงค์ที่จะได้รับการรักษาจากโรงพยาบาลแห่งนี้ ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่จำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์ตามประกาศของสำนักงานประกันสังคม ฯ จำเลย ข้อ 4.2 ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481-482/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยเลี้ยงพนักงานรายวัน: ส่วนจูงใจไม่เป็นค่าจ้าง แต่เบี้ยเลี้ยงรายวันเป็นการตอบแทนการทำงาน ต้องนำส่งกองทุน
การจ่ายเบี้ยเลี้ยงในส่วนของการทำงานครบจำนวนวันในงวดการทำงาน และได้รับเบี้ยเลี้ยงเพิ่มโดยรวมส่วนของวันหยุดประจำสัปดาห์นั้น การจะได้รับเบี้ยเลี้ยงส่วนนี้ต่อเมื่อทำงานครบจำนวนวันในงวดการทำงาน 15 วัน หากทำงานไม่ครบจำนวนวันจะไม่ได้รับเบี้ยเลี้ยง การจ่ายเบี้ยเลี้ยงส่วนนี้จึงมิใช่เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ แต่เป็นการจ่ายเพื่อจงใจให้พนักงานรายวันขยันมาทำงานทุกวันจึงมิใช่ค่าจ้าง แต่การจ่ายเบี้ยเลี้ยงประจำวัน วันละ 10 บาท เป็นการจ่ายแก่พนักงานรายวันทุกวันที่มาทำงาน จึงเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ จึงเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 5 ที่ต้องนำมาคำนวณเป็นเงินสมทบกองทุนประกันสังคม และเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.เงินทดแทนฯ มาตรา 5 ที่ต้องนำมาคำนวณเป็นเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 479/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ต้องพิจารณาความจำเป็นและประโยชน์แห่งความยุติธรรม มิใช่พฤติการณ์พิเศษ
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26 บัญญัติให้ศาลแรงงานมีอำนาจย่นหรือขยายระยะเวลาได้ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 23 ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไปมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26 มิได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าจะต้องมีพฤติการณ์พิเศษจึงจะขยายระยะเวลาได้เช่นที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 23 การที่ทนายจำเลยมีหนังสือขอถอนตัวจากการเป็นทนายความส่งให้แก่ผู้จัดการจำเลย และศาลแรงงานภาค 2 อ่านคำพิพากษาในวันที่ 21 ธันวาคม 2547 จำเลยทราบถึงการขอถอนตัวจากการเป็นทนายความตั้งแต่ก่อนศาลแรงงานภาค 2 อ่านคำพิพากษา จำเลยมีเวลาเพียงพอที่จะจัดหาทนายความคนใหม่ได้เสียแต่เนิ่น ๆ การที่จำเลยไม่รีบดำเนินการจึงเป็นความบกพร่องของฝ่ายจำเลยเอง ถือไม่ได้ว่าคดีมีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานภาค 2 จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้จำเลย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26 มิได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าจะต้องมีพฤติการณ์พิเศษจึงจะขยายระยะเวลาได้เช่นที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 23 การที่ทนายจำเลยมีหนังสือขอถอนตัวจากการเป็นทนายความส่งให้แก่ผู้จัดการจำเลย และศาลแรงงานภาค 2 อ่านคำพิพากษาในวันที่ 21 ธันวาคม 2547 จำเลยทราบถึงการขอถอนตัวจากการเป็นทนายความตั้งแต่ก่อนศาลแรงงานภาค 2 อ่านคำพิพากษา จำเลยมีเวลาเพียงพอที่จะจัดหาทนายความคนใหม่ได้เสียแต่เนิ่น ๆ การที่จำเลยไม่รีบดำเนินการจึงเป็นความบกพร่องของฝ่ายจำเลยเอง ถือไม่ได้ว่าคดีมีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานภาค 2 จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสิทธิและความคุ้มกันทางการทูต: จำหน่ายคดีออกจากสารบบความเนื่องจากจำเลยมีสถานะเป็นเอกอัครราชทูต
จำเลยมีตำแหน่งเป็นเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐไนจีเรียประจำประเทศไทยเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนอันเป็นตัวแทนทางทูตตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูต ค.ศ.1961 ข้อ 1 และการทำงานของโจทก์ในสถานเอกอัครราชทูตไนจีเรียประจำประเทศไทยเป็นการทำงานในภารกิจของสถานเอกอัครราชทูตไนจีเรียประจำประเทศไทยมิได้เป็นลูกจ้างในกิจการทางวิชาชีพหรือการพาณิชย์อันเป็นการประกอบอาชีพส่วนตัวของจำเลย จึงไม่เข้าขอยกเว้นการได้รับความคุ้มกันทางทูตตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูต ค.ศ.1961 ข้อ 31 เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการสละความคุ้มกันตาม ข้อ 32 และไม่ปรากฏว่า จำเลยถูกเพิกถอนหรือจำกัดความคุ้มกันทางการทูตดังกล่าว จำเลยจึงได้รับความคุ้มกันจากอำนาจศาลแรงงานกลางตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยเอกสิทธิและความคุ้มกันทางการทูต พ.ศ.2527 มาตรา 3 ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 287-295/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยกรณีสมัครใจลาออกตามข้อตกลงสภาพการจ้าง แม้ไม่ได้ลงชื่อก็มีสิทธิได้รับ
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 19 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลผูกพันนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องนั้นตลอดจนลูกจ้างซึ่งมีส่วนในการเลือกตั้งผู้แทนเป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจาทุกคน" บทบัญญัติดังกล่าวแม้จะให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลผูกพันนายจ้างและลูกจ้างซึ่งลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้อง หรือลูกจ้างซึ่งมีส่วนในการเลือกผู้แทนเข้าร่วมในการเจรจาข้อเรียกร้อง แต่การที่นายจ้างให้สิทธิและประโยชน์แก่ลูกจ้างตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าสิทธิและประโยชน์นั้นๆ เป็นสิทธิและประโยชน์อันสมควรและเป็นธรรมที่ลูกจ้างในกิจกรรมนั้นพึงได้รับโดยเสนอกันจึงต้องรวมกันไปถึงลูกจ้างที่เข้าทำงานภายหลังข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับซึ่งไม่มีโอกาสลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้อง หรือมีส่วนในการเลือกผู้แทนเข้าร่วมในการเจรจาข้อเรียกร้องด้วย เมื่อจำเลยกับสหภาพแรงงาน ค. ได้เจรจาตกลงจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ระบุให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในอัตราที่มากกว่าลูกจ้างจะได้รับถ้าหากถูกเลิกจ้างตามที่บัญญัติไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้น และให้ใช้ในกรณีที่จำเลยประกาศหาผู้สมัครใจลาออกจากงานซึ่งหมายความว่ามิได้ใช้สำหรับกรณีจำเลยเลิกจ้างในกรณีปกติ และมิได้ให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่ประสงค์จะลาออกจากงานเอง แต่เป็นการลาออกจากงานตามความประสงค์ของจำเลยที่จะลดจำนวนลูกจ้างจึงได้ประกาศหาผู้สมัครใจลาออกจากงาน ดังนั้น เมื่อจำเลยประสงค์จะยุบเลิกแผนกผลิตผ้าอนามัยแถบกาว ซึ่งโจทก์ทั้งเก้าทำงานอยู่จึงได้ทำหนังสือยื่นข้อเสนอขอความร่วมมือให้โจทก์ทั้งเก้าลาออกอันเป็นการแสดงความประสงค์ของจำเลยเพื่อจะลดจำนวนลูกจ้างเพราะต้องยุบเลิกแผนกผลิตผ้าอนามัยแถบกาว ซึ่งการจะลาออกหรือไม่ย่อมแล้วแต่ความสมัครใจของโจทก์ทั้งเก้า จึงเป็นกรณีที่จำเลยประกาศหาผู้สมัครใจลาออกจากงานตามความในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้ว เมื่อโจทก์ทั้งเก้าลาออกตามความประสงค์ของจำเลย โจทก์ทั้งเก้าจึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามอัตราที่ระบุไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 19 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีเงินได้ที่ทดรองจ่ายแทนลูกจ้างที่ลาออก และสิทธิในการเรียกคืนจากลูกจ้าง
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลแรงงานไว้โดยเฉพาะที่จะเรียกพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบและรับฟังพยานหลักฐานใด ๆ ที่เห็นว่าจะทำให้ได้ความชัดแจ้งในข้อเท็จจริงแห่งคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมแก่คู่ความ แม้โจทก์จะส่งสัญญาจ้างซึ่งเป็นเอกสารสำคัญแห่งคดีประกอบคำเบิกความพยานบุคคลของโจทก์โดยไม่ยื่นต่อศาลและไม่ส่งสำเนาให้จำเลยก่อนวันสืบพยาน เพิ่งส่งประกอบคำเบิกความของพยานบุคคลของโจทก์ในวันสืบพยาน ศาลแรงงานภาค 9 ก็มีอำนาจสั่งรับสัญญาจ้างไว้ และรับฟังเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ได้
โจทก์เป็นผู้จ่ายเงินได้ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ โจทก์มิได้หักและนำเงินส่งหรือได้หักและนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้องซึ่งโจทก์จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนที่มิได้หักและนำส่งหรือตามจำนวนที่ขาดไปแล้ว การที่โจทก์ชำระภาษีเงินได้ส่วนที่ขาดไปเพื่อปลดเปลื้องความรับผิดของโจทก์ที่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยด้วยจึงมิได้เป็นการกระทำไปโดยปราศจากอำนาจ แม้ในขณะที่โจทก์ชำระภาษีเงินได้ส่วนที่ขาด จำเลยจะลาออกจากงานแล้ว แต่ความรับผิดในการเสียภาษีเงินได้เกิดขึ้นตั้งแต่ขณะที่จำเลยยังมิได้ลาออกจากงาน การที่จำเลยลาออกจากงานและมิได้เป็นลูกจ้างของโจทก์แล้วจึงไม่ทำให้ความรับผิดในการเสียภาษีเงินได้ของจำเลยที่ยังขาดจำนวนอยู่ระงับไปด้วย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าภาษีเงินได้ที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปจากจำเลยได้
ป.รัษฎากร มาตรา 63 ไม่ประสงค์จะให้ผู้มีเงินได้พิพาทหรือโต้แย้งกับผู้จ่ายเงินได้ที่หักภาษีเงินได้ไว้และนำส่งแล้วอันอาจเกิดอุปสรรคในการจัดเก็บภาษีเงินได้ แม้โจทก์จะตรวจสอบพบในภายหลังว่า โจทก์มิได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้หรือหักไว้ไม่ครบถ้วนตามวิธีที่ ป.รัษฎากรกำหนด และโจทก์ทดรองเงินของตนนำส่งให้กรมสรรพากรแทนจำเลยไป หากจำเลยเห็นว่าจำนวนเงินที่นำส่งเกินกว่าจำนวนภาษีเงินได้ที่จำเลยควรต้องเสีย จำเลยก็ชอบที่จะดำเนินการขอคืนจากกรมสรรพากรตามมาตรา 63 เช่นกัน จะอ้างว่าโจทก์มิได้หักไว้ก่อนและโจทก์จ่ายเกินจำนวนไปเอง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในจำนวนที่โจทก์ทดรองจ่ายแทนไปไม่ได้
โจทก์เป็นผู้จ่ายเงินได้ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ โจทก์มิได้หักและนำเงินส่งหรือได้หักและนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้องซึ่งโจทก์จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนที่มิได้หักและนำส่งหรือตามจำนวนที่ขาดไปแล้ว การที่โจทก์ชำระภาษีเงินได้ส่วนที่ขาดไปเพื่อปลดเปลื้องความรับผิดของโจทก์ที่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยด้วยจึงมิได้เป็นการกระทำไปโดยปราศจากอำนาจ แม้ในขณะที่โจทก์ชำระภาษีเงินได้ส่วนที่ขาด จำเลยจะลาออกจากงานแล้ว แต่ความรับผิดในการเสียภาษีเงินได้เกิดขึ้นตั้งแต่ขณะที่จำเลยยังมิได้ลาออกจากงาน การที่จำเลยลาออกจากงานและมิได้เป็นลูกจ้างของโจทก์แล้วจึงไม่ทำให้ความรับผิดในการเสียภาษีเงินได้ของจำเลยที่ยังขาดจำนวนอยู่ระงับไปด้วย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าภาษีเงินได้ที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปจากจำเลยได้
ป.รัษฎากร มาตรา 63 ไม่ประสงค์จะให้ผู้มีเงินได้พิพาทหรือโต้แย้งกับผู้จ่ายเงินได้ที่หักภาษีเงินได้ไว้และนำส่งแล้วอันอาจเกิดอุปสรรคในการจัดเก็บภาษีเงินได้ แม้โจทก์จะตรวจสอบพบในภายหลังว่า โจทก์มิได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้หรือหักไว้ไม่ครบถ้วนตามวิธีที่ ป.รัษฎากรกำหนด และโจทก์ทดรองเงินของตนนำส่งให้กรมสรรพากรแทนจำเลยไป หากจำเลยเห็นว่าจำนวนเงินที่นำส่งเกินกว่าจำนวนภาษีเงินได้ที่จำเลยควรต้องเสีย จำเลยก็ชอบที่จะดำเนินการขอคืนจากกรมสรรพากรตามมาตรา 63 เช่นกัน จะอ้างว่าโจทก์มิได้หักไว้ก่อนและโจทก์จ่ายเกินจำนวนไปเอง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในจำนวนที่โจทก์ทดรองจ่ายแทนไปไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10458-10663/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการปรับเงินเดือนตามโครงสร้างใหม่หลังพ้นสภาพการจ้าง โจทก์ไม่มีสิทธิแม้มีการอนุมัติในหลักการ
จำเลยกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยได้ทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับข้อเรียกร้องให้มีการปรับโครงสร้างบัญชีอัตราเงินเดือนใหม่ ซึ่งต่อมาจำเลยได้ปรับโครงสร้างบัญชีอัตราเงินเดือนใหม่ตามข้อตกลงดังกล่าว และพนักงานของจำเลยรวมทั้งโจทก์คดีนี้ได้รับการปรับเงินเดือนครั้งนี้แล้ว ส่วนการปรับโครงสร้างบัญชีอัตราเงินเดือนของจำเลยอีกครั้งหลังการปรับตามข้อตกลง ปรากฏว่ามีการดำเนินการจนเสร็จสิ้นตามขั้นตอนหลังจากโจทก์พ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของจำเลยแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับการปรับเงินเดือนครั้งหลังด้วย (ฎ.7724 - 8191/2550)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9395-9492/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทค่าจ้าง กรณีการปรับโครงสร้างเงินเดือนตามมติ ครม. และข้อตกลงสภาพการจ้าง
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ จำเลยที่ 2 ได้พิจารณาความดีความชอบของโจทก์ในรอบปีบัญชี 2546 ถึงปี 2547 แล้ว แต่ยังไม่ได้ปรับอัตราค่าจ้างขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานขอให้บังคับจำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างส่วนที่ยังไม่ได้ปรับขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีคำสั่งว่าเป็นกรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มิใช่การค้างจ่ายค่าจ้างโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง ดังนี้ เมื่อฝ่ายโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 12 และเมื่อจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้ปรับอัตราค่าจ้างขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี ฯ จึงยังไม่มีค่าจ้างที่ค้างจ่ายจากการปรับอัตราค่าจ้างขึ้นแก่ฝ่ายโจทก์ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 70 คำสั่งของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ชอบแล้ว