พบผลลัพธ์ทั้งหมด 587 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6238/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกประเภทพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับกากกุ้ง: พิจารณาจากลักษณะ 'ป่น' ตามหลักเกณฑ์การตีความ
พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากรฯ กำหนดสินค้าตามประเภทพิกัด 0508.00 ว่า "หินปะการังและสิ่งที่คล้ายกันที่ยังไม่ได้จัดทำหรือจัดทำอย่างง่าย ๆ ... เปลือกของสัตว์น้ำจำพวกโมลลุสก์ ครัสตาเซีย หรือเอคไคโนเดิร์ม และลิ้นทะเลที่ยังไม่ได้จัดทำหรือจัดทำอย่างง่าย ๆ แต่ไม่ได้ตัดเป็นรูปทรง รวมทั้งผงและเศษของสิ่งดังกล่าวด้วย" และกำหนดสินค้าที่จัดอยู่ในประเภทพิกัด 2301.20 ว่า "ปลาหรือสัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซีย โมลลุสก์ สัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ ที่ป่นที่ทำเป็นเพลเลต" เห็นว่า สินค้าที่จัดอยู่ประเภทพิกัด 0508.00 จำกัดว่าเป็นเปลือกของสัตว์น้ำจำพวกดังกล่าวรวมทั้งผงและเศษของสิ่งดังกล่าวที่ยังไม่ได้จัดทำหรือจัดทำอย่างง่าย ๆ ส่วนสินค้าสัตว์น้ำจำพวกเดียวกันนี้ที่จัดอยู่ในประเภทพิกัด 2301.20 ไม่ได้จำกัดว่าเป็นเฉพาะเปลือก แต่กำหนดลักษณะว่าได้ป่นหรือได้ทำเป็นเพลเลต และคดีนี้จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทตามใบขนสินค้าขาเข้าฯ แต่ละฉบับไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 25 ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลภาษีอากรกลางรับฟังมาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 238 ดังนั้น จึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ศาลภาษีอากรกลางรับฟังมาว่า สินค้ารายพิพาทเป็นกากกุ้งประกอบด้วยหัว เปลือก หาง และอาจมีเศษเนื้อติดอยู่บ้างที่เหลือจากการนำเนื้อกุ้งไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นแล้ว มีลักษณะป่นเป็นผง เมื่อสินค้ามีลักษณะป่นเป็นผงจึงจัดอยู่ในประเภทพิกัด 2301.20 ตามวิธีการตีความที่ พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากรฯ ภาค 1 หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร หลักเกณฑ์ ข้อ 3 (ก) ที่กำหนดไว้ว่า ของที่อาจจำแนกประเภทได้ตั้งแต่สองประเภทขึ้นไป ถ้าประเภทหนึ่งระบุลักษณะของของไว้โดยเฉพาะและประเภทอื่นระบุไว้อย่างกว้าง ๆ ให้จัดของนั้นเข้าประเภทที่ระบุไว้โดยเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5672/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบกำกับภาษีปลอม – ความสัมพันธ์ผู้ซื้อ-ผู้ขาย – การใช้ใบกำกับภาษีที่ไม่ถูกต้อง
การที่โจทก์ซื้อน้ำมันจากสถานีบริการน้ำมันของ จ. แล้ว จ. นำใบกำกับภาษีของบุคคลอื่นมามอบให้แก่โจทก์ โดยโจทก์มิได้ซื้อน้ำมันจากผู้ออกใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีดังกล่าวจึงออกโดยผู้ที่มิได้ขายน้ำมันให้แก่โจทก์โดยตรง การที่ใบกำกับภาษีดังกล่าวระบุชื่อโจทก์เป็นผู้ซื้อจึงไม่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริง ถือได้ว่าเป็นใบกำกับภาษีปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5630/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องในคดีภาษีอากร: ศาลมีอำนาจยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้องได้หากผู้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจฟ้อง
การพิจารณาตรวจรับคำฟ้องของศาลภาษีอากรนั้น พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม การตรวจรับคำฟ้องจึงต้องเป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคท้าย ซึ่งศาลมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในชั้นตรวจคำฟ้องได้โดยหาจำต้องมีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์ไว้ก่อนไม่
คดีนี้หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์แนบมาพร้อมคำฟ้องมิได้ระบุให้ผู้รับมอบอำนาจดำเนินการฟ้องร้องคดีได้ ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์ทันทีโดยมิได้มีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์ไว้ก่อน ถือว่าศาลภาษีอากรกลางได้นำเอาข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำฟ้องมาวินิจฉัยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องแล้วว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง อันเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ศาลภาษีอากรกลางไม่คืนค่าขึ้นศาลทั้งหมดแก่โจทก์จึงชอบแล้ว
คดีนี้หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์แนบมาพร้อมคำฟ้องมิได้ระบุให้ผู้รับมอบอำนาจดำเนินการฟ้องร้องคดีได้ ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์ทันทีโดยมิได้มีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์ไว้ก่อน ถือว่าศาลภาษีอากรกลางได้นำเอาข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำฟ้องมาวินิจฉัยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องแล้วว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง อันเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ศาลภาษีอากรกลางไม่คืนค่าขึ้นศาลทั้งหมดแก่โจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5576/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับสถานศึกษาเอกชนที่แสวงหากำไร การประเมินภาษีที่ถูกต้อง
ตามมาตรา 9 (3) แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนฯ ทรัพย์สินของโรงเรียนสาธารณะซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อผลกำไรส่วนบุคคล และใช้เฉพาะในการศึกษาเท่านั้นที่ได้รับการยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน มหาวิทยาลัยโจทก์มีกำไรจากการดำเนินกิจการเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ในปี 2545 ที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการ โจทก์มีรายได้สูงกว่ารายจ่ายกว่า 700 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าปีที่ผ่านมาถึง 300 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่าเป็นกิจการเพื่อแสวงหาผลกำไรส่วนบุคคลมากกว่าจะเป็นกิจการสาธารณะ ทั้งโจทก์ยังนำเอาอาคารเรียนไปให้บุคคลภายนอกเช่าทำเป็นศูนย์การค้า มีร้านอาหาร ร้านเสริมสวย ร้านแว่นตา ร้านถ่ายรูป ธนาคาร ที่ทำการไปรษณีย์ ซึ่งเห็นได้ว่าอาคารของโจทก์มิได้ใช้เฉพาะเพื่อการศึกษาเพียงอย่างเดียว จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5576/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานศึกษาเอกชนแสวงหากำไรและให้เช่าพื้นที่ ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามมาตรา 9 (3)
ตามมาตรา 9 (3) แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนฯ ทรัพย์สินของโรงเรียนสาธารณะซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อผลกำไรส่วนบุคคล และใช้เฉพาะในการศึกษาเท่านั้นที่ได้รับการยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน มหาวิทยาลัยโจทก์มีกำไรจากการดำเนินกิจการเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ในปี 2545 ที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการโจทก์มีรายได้สูงกว่ารายจ่าย 700 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าปีที่ผ่านมาถึง 300 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่าเป็นกิจการเพื่อแสวงหาผลกำไรส่วนบุคคลมากกว่าจะเป็นกิจการสาธารณะ ทั้งโจทก์ยังนำเอาอาคารเรียนไปให้บุคคลภายนอกเช่าทำเป็นศูนย์การค้า มีร้านอาหาร ร้านเสริมสวย ร้านแว่นตา ร้านถ่ายรูป ธนาคาร ที่ทำการไปรษณีย์ ซึ่งเห็นได้ว่าอาคารของโจทก์มิได้ใช้เฉพาะเพื่อการศึกษาเพียงอย่างเดียว จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5570/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบกำกับภาษีปลอมและการใช้สิทธิทางภาษี: การพิสูจน์การซื้อขายจริงและความถูกต้องของใบกำกับ
ผู้ขายสินค้าให้โจทก์คือ ย. ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายหนึ่ง มิใช่ห้างหุ้นส่วนทั้งสามซึ่งเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีพิพาท หากสินค้าที่ ย. นำมาส่งมอบให้โจทก์เป็นสินค้าที่ ย. ซื้อจากห้างทั้งสามนั้นจริง ใบกำกับภาษีที่ห้างดังกล่าว ออกให้ก็ต้องระบุชื่อ ย. เป็นผู้ซื้อมิใช่ระบุชื่อโจทก์ เมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้ซื้อสินค้าจากห้างดังกล่าว โจทก์ย่อมไม่อาจนำใบกำกับภาษีที่ออกโดยห้างดังกล่าวมาใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์
การพิสูจน์ว่ามีการซื้อสินค้าและชำระราคาจริง และพิสูจน์ตัวผู้รับเงินนั้น ต้องเป็นการพิสูจน์ว่ามีการซื้อสินค้าและชำระราคาให้แก่ผู้ออกใบกำกับภาษีตามรายการที่ปรากฏในใบกำกับภาษีนั้นจริง มิใช่ซื้อสินค้าและชำระราคาแก่ผู้ประกอบการรายหนึ่ง แต่ผู้ออกใบกำกับภาษีเป็นผู้ประกอบการอีกรายหนึ่ง ใบกำกับภาษีพิพาทจึงเป็นใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นใบกำกับภาษีปลอม
ตามบทบัญญัติใน ป. รัษฎากร มาตรา 31 วรรคสอง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์เสียภาษีเพิ่มขึ้นจากการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินได้ แต่ต้องไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ตั้งเป็นประเด็นไว้ในการตรวจสอบไต่สวน การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นจากการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินสำหรับเดือนภาษีพิพาท เนื่องจากเจ้าพนักงานประเมินคำนวณผิดพลาดโดยนำภาษีที่โจทก์อ้างว่าชำระเกิน ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินแก้ไขไปแล้ว มาใช้เป็นเครดิตภาษีในเดือนภาษีดังกล่าวซึ่งไม่ถูกต้อง จึงเป็นการปรับปรุงตามข้อมูลที่ปรากฏจากการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินนั้นเอง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจทำได้
การพิสูจน์ว่ามีการซื้อสินค้าและชำระราคาจริง และพิสูจน์ตัวผู้รับเงินนั้น ต้องเป็นการพิสูจน์ว่ามีการซื้อสินค้าและชำระราคาให้แก่ผู้ออกใบกำกับภาษีตามรายการที่ปรากฏในใบกำกับภาษีนั้นจริง มิใช่ซื้อสินค้าและชำระราคาแก่ผู้ประกอบการรายหนึ่ง แต่ผู้ออกใบกำกับภาษีเป็นผู้ประกอบการอีกรายหนึ่ง ใบกำกับภาษีพิพาทจึงเป็นใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นใบกำกับภาษีปลอม
ตามบทบัญญัติใน ป. รัษฎากร มาตรา 31 วรรคสอง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์เสียภาษีเพิ่มขึ้นจากการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินได้ แต่ต้องไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ตั้งเป็นประเด็นไว้ในการตรวจสอบไต่สวน การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นจากการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินสำหรับเดือนภาษีพิพาท เนื่องจากเจ้าพนักงานประเมินคำนวณผิดพลาดโดยนำภาษีที่โจทก์อ้างว่าชำระเกิน ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินแก้ไขไปแล้ว มาใช้เป็นเครดิตภาษีในเดือนภาษีดังกล่าวซึ่งไม่ถูกต้อง จึงเป็นการปรับปรุงตามข้อมูลที่ปรากฏจากการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินนั้นเอง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5279/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของทายาทในหนี้ของผู้ตาย แม้มีการยึดทรัพย์สินบางส่วนไปชำระหนี้แล้ว
คดีก่อนเป็นคดีที่ ส. เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลยขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กับขอให้จำเลยคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ได้หักไว้ ณ ที่จ่ายเกินตลอดจนขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ชอบ โจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนให้การต่อสู้ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ยกฟ้อง คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และเป็นประเด็นที่ศาลในคดีก่อนได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ส่วนคดีนี้แม้โจทก์จะนำหนี้ภาษีอากรค้างในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งห้าให้รับผิด แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ยกข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า หนี้ภาษีอากรค้างที่ ส. เป็นหนี้อยู่แก่โจทก์ในคดีก่อนนั้น ส. ยังมิได้ชำระแก่โจทก์โดยครบถ้วน และ ส. ได้ถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกโดยชอบด้วยกฎหมายของ ส. มีหน้าที่จะต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์โดยจะต้องนำทรัพย์สินกองมรดกของ ส. ที่ตกทอดแก่จำเลยทั้งห้ามาชำระหนี้แก่โจทก์ และมีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทของ ส. ร่วมกันชำระค่าภาษีอากรที่ ส. ยังมิได้ชำระแก่โจทก์ประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงมีว่า จำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ส. มีหน้าที่ต้องรับผิดชำระหนี้ค่าภาษีอากรแก่โจทก์หรือไม่ ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับประเด็นในคดีก่อนที่ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว และแม้จำเลยทั้งห้าอยู่ในฐานะเป็นผู้สืบสิทธิของ ส. ผู้ตาย แต่สภาพแห่งคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทผู้รับมรดกของ ส. ให้รับผิดในหนี้ที่ ส. มีอยู่แล้วแก่โจทก์ซึ่งเป็นความรับผิดของทายาท โดยเฉพาะต่อกองมรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และมาตรา 1600 จึงมิใช่เรื่องที่คู่ความเดียวกันจะรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยมาแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนอันถึงที่สุดแล้ว และแม้คดีที่ ส. เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยดังกล่าว ศาลภาษีอากรกลางได้มีคำพิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้ว โดยที่พิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลาง โดยให้งดเบี้ยปรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าให้แก่ ส. โจทก์ในคดีนั้นทั้งหมด อันมีผลให้หนี้ภาษีอากรดังกล่าวเป็นหนี้ภาษีอากรค้างซึ่งอธิบดีโจทก์มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของ ส. ได้เองตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 12 วรรคสอง โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็เป็นเพียงมาตรการทางกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีโจทก์เป็นพิเศษเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรให้เป็นไปด้วยความรวดเร็วโดยไม่ต้องนำคดีมาสู่ศาล อำนาจของอธิบดีโจทก์แม้จะมีลักษณะเสมือนเป็นสิทธิของเจ้าหน้าที่ตามคำพิพากษา แต่ก็หามีผลทำให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ภาษีอากรค้างกลับกลายเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไปไม่ ทั้งการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ส. ผู้ตายก็เพื่อให้ความรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรค้างของ ส. ที่จำเลยทั้งห้าต้องรับผิดแก่โจทก์เป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีนี้ได้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าให้รับผิดในฐานะทายาทของ ส. เจ้ามรดก และหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งห้ารับผิดเป็นหนี้ค่าภาษีอากรที่เจ้าพนักงานได้ประเมินให้ ส. ชำระ ส. ได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้ว ส. ก็ได้อุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรกลางโดยฟ้องโจทก์กับพวกเป็นจำเลยขอให้ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำพิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดโดยพิพากษาแก้เพียงให้งดเบี้ยปรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าให้แก่ ส. ทั้งหมด หนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวจึงเป็นหนี้ภาษีอากรค้างที่ ส. เป็นผู้มีหน้าที่ต้องรับผิดเสียภาษีอากรดังกล่าวโดยเด็ดขาดแล้วและคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดย่อมมีผลผูกพันโจทก์คดีนี้และ ส. ซึ่งเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาในคดีนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ส. จึงไม่อาจรื้อฟื้นโต้แย้งต่อโจทก์เกี่ยวกับการประเมินภาษีอากรอีกได้ และจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทของ ส. ซึ่งต้องรับไปซึ่งทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ อันเป็นกองมรดกของผู้ตาย และอยู่ในฐานะผู้สืบสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ อันเป็นกองมรดกของผู้ตาย และอยู่ในฐานะผู้สืบสิทธิในกองมรดกของ ส. ก็ไม่มีสิทธิโต้แย้งเกี่ยวกับการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานของโจทก์ดุจเดียวกัน
เมื่อจำเลยทั้งห้าเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ ส. ผู้ตายซึ่งต้องรับไปทั้งทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่และความรับผิดของ ส. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทของ ส. ให้รับผิดในหนี้ของ ส. ได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่ากองมรดกของ ส. จะมีทรัพย์สินหรือไม่ มากน้อยเพียงใดหรือจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทจะได้รับมรดกมาแล้วหรือไม่ และถึงแม้โจทก์ได้ใช้อำนาจสั่งยึดอายัดทรัพย์สินของ ส. ชำระหนี้ไปบ้างแล้ว และมีจำนวนเพียงพอชำระหนี้ของ ส. หรือไม่เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งห้าอาจโต้แย้งได้ในชั้นบังคับคดีต่อไป จำเลยทั้งห้าจึงต้องรับผิดชำระหนี้ของ ส. แก่โจทก์ตามฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าให้รับผิดในฐานะทายาทของ ส. เจ้ามรดก และหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งห้ารับผิดเป็นหนี้ค่าภาษีอากรที่เจ้าพนักงานได้ประเมินให้ ส. ชำระ ส. ได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้ว ส. ก็ได้อุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรกลางโดยฟ้องโจทก์กับพวกเป็นจำเลยขอให้ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำพิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดโดยพิพากษาแก้เพียงให้งดเบี้ยปรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าให้แก่ ส. ทั้งหมด หนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวจึงเป็นหนี้ภาษีอากรค้างที่ ส. เป็นผู้มีหน้าที่ต้องรับผิดเสียภาษีอากรดังกล่าวโดยเด็ดขาดแล้วและคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดย่อมมีผลผูกพันโจทก์คดีนี้และ ส. ซึ่งเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาในคดีนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ส. จึงไม่อาจรื้อฟื้นโต้แย้งต่อโจทก์เกี่ยวกับการประเมินภาษีอากรอีกได้ และจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทของ ส. ซึ่งต้องรับไปซึ่งทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ อันเป็นกองมรดกของผู้ตาย และอยู่ในฐานะผู้สืบสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ อันเป็นกองมรดกของผู้ตาย และอยู่ในฐานะผู้สืบสิทธิในกองมรดกของ ส. ก็ไม่มีสิทธิโต้แย้งเกี่ยวกับการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานของโจทก์ดุจเดียวกัน
เมื่อจำเลยทั้งห้าเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ ส. ผู้ตายซึ่งต้องรับไปทั้งทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่และความรับผิดของ ส. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทของ ส. ให้รับผิดในหนี้ของ ส. ได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่ากองมรดกของ ส. จะมีทรัพย์สินหรือไม่ มากน้อยเพียงใดหรือจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทจะได้รับมรดกมาแล้วหรือไม่ และถึงแม้โจทก์ได้ใช้อำนาจสั่งยึดอายัดทรัพย์สินของ ส. ชำระหนี้ไปบ้างแล้ว และมีจำนวนเพียงพอชำระหนี้ของ ส. หรือไม่เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งห้าอาจโต้แย้งได้ในชั้นบังคับคดีต่อไป จำเลยทั้งห้าจึงต้องรับผิดชำระหนี้ของ ส. แก่โจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5279/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทรับผิดหนี้ภาษีอากรของผู้ตาย แม้ไม่มีทรัพย์มรดก หรือได้รับมรดกไม่ครบถ้วน
เดิม ส. เคยฟ้องโจทก์ขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีอากร คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบหรือไม่ และเป็นประเด็นที่ศาลในคดีดังกล่าวมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ต่อมา ส. ถึงแก่ความตาย ส่วนคดีนี้แม้โจทก์จะนำหนี้ภาษีอากรค้างในคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งห้าให้รับผิด แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ยกข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า หนี้ภาษีอากรค้างที่ ส. เป็นหนี้อยู่แก่โจทก์ยังมิได้ชำระและ ส. ถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยทั้งห้าเป็นทายาทผู้รับมรดกมีหน้าที่ต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวโดยนำทรัพย์สินกองมรดกที่ตกทอดแก่จำเลยทั้งห้ามาชำระหนี้แก่โจทก์ ประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงมีว่า จำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ส. มีหน้าที่ต้องรับผิดชำระหนี้ค่าภาษีอากรของ ส. แก่โจทก์หรือไม่ ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับในคดีก่อน แม้จำเลยทั้งห้าอยู่ในฐานะเป็นผู้สืบสิทธิของ ส. ผู้ตายก็ตาม แต่สภาพแห่งคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทผู้รับมรดกของ ส. ให้รับผิดในหนี้ที่ ส. มีอยู่แล้วแก่โจทก์ ซึ่งเป็นความรับผิดของทายาทโดยเฉพาะต่อกองมรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และมาตรา 1600 จึงมิใช่เป็นเรื่องที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยมาแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 29 ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
แม้คดีเดิมที่ ส. เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยถึงที่สุด อันมีผลให้หนี้ภาษีอากรดังกล่าวเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งอธิบดีโจทก์มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของ ส. ได้ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 12 วรรคสอง โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่งก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็เป็นเพียงมาตรการทางกฎหมายที่ให้อำนาจแก่อธิบดีโจทก์ไว้เป็นพิเศษเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรให้เป็นไปโดยรวดเร็วโดยไม่ต้องนำคดีมาสู่ศาล อำนาจของอธิบดีโจทก์แม้จะมีลักษณะเสมือนเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แต่ก็ไม่มีผลทำให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ภาษีอากรค้างกลับกลายเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ทั้งการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดก ก็เพื่อให้ความรับผิดที่จำเลยทั้งห้าต้องรับผิดแก่โจทก์ เป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีนี้ได้
จำเลยทั้งห้าอยู่ในฐานะทายาทโดยธรรมและมีสิทธิได้รับมรดกของ ส. โจทก์ชอบที่จะฟ้องบังคับให้รับผิดชำระหนี้ภาษีอากรค้างของ ส. ได้ และคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดย่อมมีผลผูกพันโจทก์ และ ส. ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 29 ส. จึงไม่อาจรื้อฟื้นโต้แย้งต่อโจทก์เกี่ยวกับการประเมินดังกล่าวอีกได้ และจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทและผู้สืบสิทธิในกองมรดกของ ส. ก็ไม่มีสิทธิโต้แย้งดุจเดียวกัน คำให้การต่อสู้คดีของจำเลยทั้งห้าล้วนเป็นข้อต่อสู้เกี่ยวกับการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินทั้งสิ้น การที่จำเลยทั้งห้าไม่มีสิทธิยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ในคดีนี้ จึงไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นแห่งคดีได้
เมื่อจำเลยทั้งห้าเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ ส. ซึ่งต้องรับไปทั้งทรัพย์สิน สิทธิหน้าที่และความรับผิดของ ส. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าโดยไม่ต้องคำนึงว่ากองมรดกของ ส. จะมีทรัพย์สินหรือไม่ มากน้อยเพียงใด หรือจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทจะได้รับมรดกมาแล้วหรือไม่ และถึงแม้โจทก์ได้ใช้อำนาจยึดอายัดทรัพย์สินของ ส. ชำระหนี้ไปบ้างแล้ว และมีจำนวนเพียงพอชำระหนี้ของ ส. หรือไม่ เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งห้าอาจโต้แย้งได้ในชั้นบังคับคดี จำเลยทั้งห้าจึงต้องรับผิดชำระหนี้ของ ส. แก่โจทก์ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1601
(วรรคแรก ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2547)
แม้คดีเดิมที่ ส. เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยถึงที่สุด อันมีผลให้หนี้ภาษีอากรดังกล่าวเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งอธิบดีโจทก์มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของ ส. ได้ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 12 วรรคสอง โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่งก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็เป็นเพียงมาตรการทางกฎหมายที่ให้อำนาจแก่อธิบดีโจทก์ไว้เป็นพิเศษเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรให้เป็นไปโดยรวดเร็วโดยไม่ต้องนำคดีมาสู่ศาล อำนาจของอธิบดีโจทก์แม้จะมีลักษณะเสมือนเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แต่ก็ไม่มีผลทำให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ภาษีอากรค้างกลับกลายเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ทั้งการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดก ก็เพื่อให้ความรับผิดที่จำเลยทั้งห้าต้องรับผิดแก่โจทก์ เป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีนี้ได้
จำเลยทั้งห้าอยู่ในฐานะทายาทโดยธรรมและมีสิทธิได้รับมรดกของ ส. โจทก์ชอบที่จะฟ้องบังคับให้รับผิดชำระหนี้ภาษีอากรค้างของ ส. ได้ และคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดย่อมมีผลผูกพันโจทก์ และ ส. ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 29 ส. จึงไม่อาจรื้อฟื้นโต้แย้งต่อโจทก์เกี่ยวกับการประเมินดังกล่าวอีกได้ และจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทและผู้สืบสิทธิในกองมรดกของ ส. ก็ไม่มีสิทธิโต้แย้งดุจเดียวกัน คำให้การต่อสู้คดีของจำเลยทั้งห้าล้วนเป็นข้อต่อสู้เกี่ยวกับการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินทั้งสิ้น การที่จำเลยทั้งห้าไม่มีสิทธิยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ในคดีนี้ จึงไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นแห่งคดีได้
เมื่อจำเลยทั้งห้าเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ ส. ซึ่งต้องรับไปทั้งทรัพย์สิน สิทธิหน้าที่และความรับผิดของ ส. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าโดยไม่ต้องคำนึงว่ากองมรดกของ ส. จะมีทรัพย์สินหรือไม่ มากน้อยเพียงใด หรือจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทจะได้รับมรดกมาแล้วหรือไม่ และถึงแม้โจทก์ได้ใช้อำนาจยึดอายัดทรัพย์สินของ ส. ชำระหนี้ไปบ้างแล้ว และมีจำนวนเพียงพอชำระหนี้ของ ส. หรือไม่ เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งห้าอาจโต้แย้งได้ในชั้นบังคับคดี จำเลยทั้งห้าจึงต้องรับผิดชำระหนี้ของ ส. แก่โจทก์ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1601
(วรรคแรก ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2547)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5028/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกและคำสั่งเจ้าพนักงานประเมิน ทำให้ไม่สามารถอุทธรณ์การประเมินภาษีได้
การที่โจทก์ไม่นำใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไปแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินตามหมายเรียก และไม่ไปพบเจ้าพนักงานประเมินตามหนังสือเชิญพบหลายครั้ง ถือได้ว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินที่ให้นำใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอันเป็นพยานหลักฐานอันควรแก่เรื่องมาแสดงตาม ป. รัษฎากร มาตรา 23 เนื่องจากใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถแสดงให้เห็นได้ว่า โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบใดและยื่นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เพราะใบเสร็จรับเงินจะระบุวัน เดือน ปี ที่ยื่นแบบแสดงรายการ รวมทั้งประเภทของแบบแสดงรายการที่ยื่น หากในใบเสร็จรับเงินระบุว่า ภ.ง.ด. 91 ก็แสดงว่าโจทก์มิได้นำเงินได้ที่ได้จากการขายที่ดินที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร มารวมคำนวณกับเงินได้อื่น ส่วนเอกสารที่บริษัท ท. กับบริษัท ร. ซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของส่งให้แก่เจ้าพนักงานประเมินก็เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง ว. คนขับรถยนต์ของโจทก์กับบริษัทดังกล่าว มิใช่หลักฐานการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับ ว. นอกจากนี้หากใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์ในปีพิพาทสูญหาย โจทก์ควรให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานประเมินเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบไต่สวนของทางราชการ แต่โจทก์มิได้ให้ถ้อยคำอันเป็นประโยชน์ในการตรวจสอบไต่สวนของทางราชการแต่อย่างใด ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโจทก์โดยอาศัยอำนาจตาม ป. รัษฎากร มาตรา 25 นั้น ชอบแล้ว ซึ่งเป็นผลให้โจทก์ไม่สามารถอุทธรณ์การประเมินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4878/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ส่วนลดทางการค้ากับภาษีมูลค่าเพิ่ม: การหักส่วนลดออกจากฐานภาษีและการไม่ถือเป็นค่าจ้าง
ในการประกอบกิจการของโจทก์ โจทก์ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าผู้ขายปลีกโดยหักส่วนลดทันทีและส่งมอบกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้ลูกค้าไป และลูกค้าของโจทก์จะต้องชำระราคาตามเวลาที่โจทก์กำหนดมิใช่เมื่อขายสินค้าได้แล้ว ลักษณะการประกอบกิจการเช่นนี้จึงเป็นการซื้อขายตามธรรมดา ส่วนลดที่โจทก์ให้แก่ลูกค้าขายปลีกหรือผู้จำหน่ายอิสระจึงเป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจตามมาตรา 40 (8) แห่ง ป.รัษฎากรฯ มิใช่เป็นเงินได้ที่ได้รับทำงานให้โจทก์ตามมาตรา 40 (2) โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
เมื่อส่วนลดที่โจทก์หักออกจากราคาสินค้าไม่ใช่ค่าจ้างหรือเงินได้จากการรับทำงานให้ตามมาตรา 40 (2) แห่ง ป.รัษฎากรฯ จึงต้องถือว่าส่วนลดดังกล่าวเป็นส่วนลดตามปกติในทางการค้า การที่โจทก์ออกใบกำกับภาษีโดยหักส่วนลดออกจากราคาสินค้าไว้ในใบกำกับภาษีในแต่ละครั้งที่ออก ส่วนลดดังกล่าวจึงไม่ถือว่าเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 วรรคสาม (1) การที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มโดยหักส่วนลดออกจากราคาสินค้าจึงถูกต้องแล้ว
เมื่อส่วนลดที่โจทก์หักออกจากราคาสินค้าไม่ใช่ค่าจ้างหรือเงินได้จากการรับทำงานให้ตามมาตรา 40 (2) แห่ง ป.รัษฎากรฯ จึงต้องถือว่าส่วนลดดังกล่าวเป็นส่วนลดตามปกติในทางการค้า การที่โจทก์ออกใบกำกับภาษีโดยหักส่วนลดออกจากราคาสินค้าไว้ในใบกำกับภาษีในแต่ละครั้งที่ออก ส่วนลดดังกล่าวจึงไม่ถือว่าเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 วรรคสาม (1) การที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มโดยหักส่วนลดออกจากราคาสินค้าจึงถูกต้องแล้ว