พบผลลัพธ์ทั้งหมด 587 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4878/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ส่วนลดการค้าไม่ใช่ค่าจ้าง – ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย และหักออกจากฐานภาษีมูลค่าเพิ่มได้
ในการประกอบกิจการของโจทก์ โจทก์ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าขายปลีกโดยหักส่วนลดให้ทันทีและส่งมอบกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้ลูกค้าไป ลูกค้าของโจทก์จะต้องชำระราคาตามเวลาที่โจทก์กำหนดมิใช่เมื่อขายสินค้าได้แล้ว ลักษณะการประกอบกิจการเช่นนี้จึงเป็นการซื้อขายตามธรรมดา ส่วนลดที่โจทก์ให้แก่ลูกค้าขายปลีกจึงเป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจตาม ป. รัษฎากร มาตรา 40 (8) มิใช่เงินได้ที่ได้รับจากการรับทำงานให้โจทก์ตามมาตรา 40 (2) โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50
โจทก์ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าขายปลีกโดยหักส่วนลดในทันทีและออกใบกำกับภาษีโดยหักส่วนลดออกจากราคาสินค้าแสดงให้เห็นไว้ชัดแจ้งแล้ว ส่วนลดดังกล่าวจึงไม่ถือเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 วรรคสาม (1) แห่ง ป. รัษฎากร โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มโดยหักส่วนลดออกจากราคาสินค้าถูกต้องแล้ว
โจทก์ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าขายปลีกโดยหักส่วนลดในทันทีและออกใบกำกับภาษีโดยหักส่วนลดออกจากราคาสินค้าแสดงให้เห็นไว้ชัดแจ้งแล้ว ส่วนลดดังกล่าวจึงไม่ถือเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 วรรคสาม (1) แห่ง ป. รัษฎากร โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มโดยหักส่วนลดออกจากราคาสินค้าถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4877/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดประเภทอัตราอากรสินค้ากากกุ้ง: พิจารณาจากสภาพสินค้า (ป่น/ทำเป็นเพลเลต) เพื่อวินิจฉัยตามพิกัดอัตราศุลกากร
ประเภทพิกัด 0508.00 ระบุว่า "หินปะการังและสิ่งที่คล้ายกัน ที่ยังไม่ได้จัดทำหรือจัดทำอย่างง่าย ๆ... เปลือกของสัตว์น้ำจำพวกโมลลุสก์ ครัสตาเซีย หรือเอคไคโนเดิร์ม และลิ้นทะเล ที่ยังไม่ได้จัดทำหรือจัดทำอย่างง่าย ๆ แต่ไม่ได้ตัดเป็นรูปทรง รวมทั้งผงและเศษของสิ่งดังกล่าว" และประเภทพิกัด 2301.20 ระบุว่า "ปลาหรือสัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซีย โมลลุสก์ สัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ ที่ป่น ที่ทำเป็นเพลเลต" ดังนั้น เปลือกของสัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซียที่จัดอยู่ในประเภทพิกัด 0508.00 อัตราอากรร้อยละ 35 ควรจะต้องเป็นเปลือกของสัตว์น้ำที่ยังคงรูปร่างสมบูรณ์ของสภาพเดิมของสัตว์น้ำนั้น ๆ จึงได้ระบุไว้ว่าที่ยังไม่ได้จัดทำหรือจัดทำอย่างง่าย ๆ แต่ไม่ได้ตัดเป็นรูปทรง ส่วนประเภทพิกัด 2301.20 อัตราอากรร้อยละ 10 นั้น ต้องอยู่ในสภาพป่นและที่ทำเป็นเพลเลต คดีนี้จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ พ.ศ. 2528 มาตรา 25 ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลภาษีอากรกลางรับฟังมาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 238 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ซึ่งศาลภาษีอากรกลางฟังข้อเท็จจริงว่า สินค้าที่จำเลยนำเข้าเป็นกากกุ้งที่ได้จากการทำกุ้งแห้ง ประกอบด้วยหัว หาง เปลือก และมีเศษเนื้อติดมาบ้างเล็กน้อย นำเข้ามาเป็นอาหารสัตว์ แม้ไม่ปรากฏคำว่า "ป่น" หรือ "ทำเป็นเพลเลต" หรือไม่ แต่สภาพของกากกุ้งที่ได้จากการทำกุ้งแห้ง ย่อมไม่เหลือเค้าโครงเดิมของสภาพเปลือกกุ้งที่สมบูรณ์ โดยสภาพต้องอยู่ในสภาพป่น ๆ เพราะถูกคัดเอาเนื้อกุ้งส่วนดีออกไปแล้ว จึงต้องจัดอยู่ในประเภทพิกัด 2301.20 เสียอากรอัตราร้อยละ 10
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4169/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มโดยไม่นำภาษีซื้อมาหัก: การตีความมาตรา 82/3 วรรคท้าย
ป. รัษฎากร มาตรา 82/3 วรรคท้าย กำหนดว่าภาษีซื้อที่มิได้นำไปหักในการคำนวณภาษีในแต่ละเดือนภาษี เพราะมีเหตุจำเป็นตามที่อธิบดีกำหนดให้มีสิทธินำไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษีหลังจากนั้นได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดแต่ต้องไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่ได้มีการออกใบกำกับภาษี เห็นได้ชัดเจนว่าหมายถึงเฉพาะกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีสำหรับเดือนภาษีนั้นไว้แล้ว หากแต่มีเหตุจำเป็นทำให้ไม่สามารถนำภาษีซื้อไปหักในเดือนภาษีนั้นได้ตามมาตรา 82/3 วรรคหนึ่ง ก็ให้มีสิทธินำไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษีหลังจากนั้นได้ตามมาตรา 82/3 วรรคท้าย มิได้หมายถึงกรณีที่ยังมิได้มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีดังเช่นกรณีของโจทก์ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติดังกล่าวมาอนุโลมใช้กับกรณีของโจทก์ได้ กรณีนี้ต้องบังคับตามหลักทั่วไปในมาตรา 82/3 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้ผู้ประกอบการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษีที่จำเลยประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มโดยไม่นำภาษีซื้อมาหักจากภาษีขายในแต่ละเดือนภาษีจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3906/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหนังสือแจ้งการประเมินภาษีที่มิได้ส่งตรงตามภูมิลำเนา แต่ผู้รับทราบและยื่นอุทธรณ์ได้ ชอบด้วยกฎหมาย
ป. รัษฎากร มาตรา 8 บัญญัติให้ส่งหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ณ ภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ หรือสำนักงานของบุคคลนั้น เจ้าพนักงานของจำเลยส่งหนังสือแจ้งการประเมินให้แก่โจทก์โดยวิธีส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับตามที่อยู่ที่จ่าหน้าซองจดหมายซึ่งเป็นสำนักงานของโจทก์ เป็นการปฏิบัติตามที่มาตรา 8 กำหนดไว้แล้ว แต่การที่เจ้าพนักงานไปรษณีย์นำหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรไปส่งที่สำนักงานเทศบาลตำบลหัวสะพานซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการของโจกท์เคยทำงานเป็นนายกเทศมนตรี ไม่ตรงกับที่อยู่ที่จ่าหน้าซองจดหมายไว้ ถือได้ว่าเป็นการส่งหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรไม่ตรงกับภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ หรือสำนักงานของบุคคลนั้น อย่างไรก็ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 8 เป็นบทบัญญัติที่มุ่งประสงค์ป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการเอารัดเอาเปรียบในการส่งหนังสือแจ้งให้เสียภาษีและเพื่อให้ถึงตัวผู้รับโดยถูกต้อง เมื่อได้ความว่าหลังจากเจ้าพนักงานไปรษณีย์นำหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรไปส่งให้แก่โจทก์ที่สำนักงานเทศบาลตำบลหัวสะพานแล้ว มีเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเทศบาลลงลายมือชื่อรับไว้แทน และได้ฝากส่งต่อไปให้แก่หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์จนมีการยื่นอุทธรณ์การประเมินภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว แสดงว่าโจทก์ได้รับทราบข้อความในหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรดังกล่าวและได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว แม้การส่งหนังสือแจ้งให้เสียภาษีจะส่งไม่ตรงกับสถานที่ที่กำหนดไว้ใน ป. รัษฎากร มาตรา 8 ก็หาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะเหตุนี้ไม่ การส่งหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3691/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทในคดีภาษีอากร: การพิจารณาจำนวนทุนทรัพย์ที่ใช้ในการห้ามอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง
ทุนทรัพย์ที่จะพิจารณาว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 25 หมายถึง จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในศาลภาษีอากร หาใช่จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่ การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าภาษีป้ายและเงินเพิ่มจากจำเลยรวมเป็นเงิน 49,680 บาท แม้จะระบุจำนวนทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ว่าเป็นจำนวน 58,788 บาท ก็ตาม ทุนทรัพย์ที่พิพาทคือ 49,680 บาท มิใช่ 58,788 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3636/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้ค่าอากรและเงินเพิ่มจากหนังสือค้ำประกัน เมื่อลูกหนี้มีหนี้หลายรายการถึงกำหนดชำระพร้อมกัน
เงินเพิ่มตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 112 จัตวา มิใช่ดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคหนึ่ง ทั้งมาตราดังกล่าวมิใช่บทกฎหมายใกล้เคียงอันจะนำมาปรับใช้แก่คดีนี้ได้ โจทก์ไม่อาจนำเงินที่ผู้ค้ำประกันชำระมาหักชำระหนี้เพิ่มค่าอากรก่อนได้ กรณีนี้เป็นเรื่องลูกหนี้ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้ในอันจะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย หนี้ถึงกำหนดชำระพร้อมกัน หนี้ค่าอากรเป็นรายที่ตกหนักที่สุดย่อมได้รับการปลดเปลื้องไปก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้นำเงินของผู้ค้ำประกันไปหักชำระค่าอากรก่อนเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3635/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินใช้เกษตรกรรมภายใน 5 ปี: การพิจารณาการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตามกฎหมาย
โจทก์ขายที่นาที่ใช้ในเกษตรกรรมให้แก่ พ. ภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ได้รับโอนมาจากบิดาตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางการค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244)ฯ มาตรา 3 กำหนดให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป.รัษฎากรฯ มีดังต่อไปนี้...(5) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ แต่ไม่รวมถึงที่ดินที่ผู้นั้นใช้ในเกษตรกรรม (6) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (5) ที่ได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น เนื้อความในกฎหมายแสดงให้เห็นโดยแจ้งชัดว่าการขายอสังหาริมทรัพย์รายใดหากไม่เข้าลักษณะตามที่กำหนดไว้ใน (1) ถึง (5) ว่าเป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไรแล้ว จึงให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ใน (6) ต่อไปว่า การขายนั้นได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้อสังหาริมทรัพย์มาหรือไม่ หากได้ความว่าเป็นการขายภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ก็ให้ถือว่าเป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไรอันพึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย ถือเป็นการขายที่ดินที่โจทก์ใช้ประกอบกิจการ แต่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตาม (5) ที่กฎหมายกำหนดให้ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะแล้วจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ใน (6) อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3635/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อเกษตรกรรมและการพิจารณาเพื่อผลกำไรตาม พ.ร.ก.
ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 มาตรา 3 แสดงโดยแจ้งชัดว่าการขายอสังหาริมทรัพย์ใดหากไม่เข้าลักษณะตามที่กำหนดไว้ใน (1) ถึง (5) ว่าเป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไรแล้ว จึงให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ใน (6) ต่อไปว่าการขายนั้นได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้อสังหาริมทรัพย์มาหรือไม่ หากเป็นการขายภายในระยะเวลาดังกล่าวก็ให้ถือว่าเป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไร เมื่อจำเลยรับว่าที่ดินแปลงที่โจทก์ขายเป็นที่ดินที่ใช้ในเกษตรกรรมต้องตามความใน (5) แล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วยการขายตามหลักเกณฑ์ใน (6) อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3453/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลภาษีอากรกลางขยายกำหนดเวลาฟ้องคดี และการงด/ลดเบี้ยปรับตามเหตุผลที่สมควร
กำหนดเวลาการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วัน ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 30 (2) เป็นกำหนดเวลาในการฟ้องคดี ถ้ามิได้ฟ้องภายในกำหนดย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง แม้เป็นกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ใน ป. รัษฎากร แต่ก็ถือว่าเป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง อันกำหนดไว้ใน ป. รัษฎากร ศาลภาษีอากรย่อมมีอำนาจขยายได้ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3450/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลภาษีอากรกลางขยายกำหนดเวลาฟ้องคดี และการพิจารณาเหตุงด/ลดเบี้ยปรับตามดุลพินิจ
กำหนดเวลาการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วัน เป็นกำหนดเวลาให้ฟ้องคดี ถ้ามิได้ฟ้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าวย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง กำหนดเวลาดังกล่าวแม้เป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 (2) แห่ง ป.รัษฎากรฯ แต่ก็เป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งอันกำหนดไว้ใน ป.รัษฎากรฯ ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจขยายได้โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 23
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.81/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับฯ เป็นเพียงระเบียบที่กำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินถือปฏิบัติไม่มีผลผูกพันศาลให้ต้องถือตามระเบียบดังกล่าว ศาลมีอำนาจพิจารณาว่าการที่เจ้าพนักงานประเมินงดหรือลดเบี้ยปรับมานั้นถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ และมีอำนาจที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับได้เองในกรณีที่มีเหตุสมควรเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมอีกด้วย
กรณีมีเหตุสมควรงดหรือลดเบี้ยปรับหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงซึ่งโจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้าง ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ โจทก์ต้องสืบพยานให้เห็นว่ากรณีของโจทก์มีเหตุสมควรงดหรือลดเบี้ยปรับเพราะเหตุใด เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.81/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับฯ เป็นเพียงระเบียบที่กำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินถือปฏิบัติไม่มีผลผูกพันศาลให้ต้องถือตามระเบียบดังกล่าว ศาลมีอำนาจพิจารณาว่าการที่เจ้าพนักงานประเมินงดหรือลดเบี้ยปรับมานั้นถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ และมีอำนาจที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับได้เองในกรณีที่มีเหตุสมควรเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมอีกด้วย
กรณีมีเหตุสมควรงดหรือลดเบี้ยปรับหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงซึ่งโจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้าง ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ โจทก์ต้องสืบพยานให้เห็นว่ากรณีของโจทก์มีเหตุสมควรงดหรือลดเบี้ยปรับเพราะเหตุใด เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์