พบผลลัพธ์ทั้งหมด 587 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5162/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้สืบสันดานผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องแทนหากผู้เสียหายไม่ได้ถูกทำร้ายถึงตาย
ว. บิดาโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยตรงจากการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงของจำเลยถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ถูกทำร้ายถึงตายตามมาตรา 5 (2) โจทก์ในฐานะเป็นผู้สืบสันดานจึงไม่มีอำนาจจัดการแทน ว. ฟ้องจำเลยได้ เมื่อ ว. เพียงแต่ร้องทุกข์โดยยังไม่ได้ฟ้องคดี ย่อมไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 29 ที่โจทก์จะดำเนินคดีต่าง ว. ผู้ตายต่อไปได้ โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4870/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษฐานช่วยเหลือตำรวจค้นยาเสพติดและการแก้ไขโทษตามกฎหมายใหม่
เมื่อจำเลยที่ 1 ถูกจับ เจ้าพนักงานตำรวจย่อมนำจำเลยที่ 1 ไปค้นหายาเสพติดให้โทษที่บ้านจำเลยที่ 1 อยู่แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ให้ข้อมูลและพาเจ้าพนักงานตำรวจไปยึดเมทแอมเฟตามีนที่บ้านจำเลยที่ 1 ดังกล่าว ไม่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ จึงไม่มีเหตุที่จะลงโทษจำเลยที่ 1 สถานเบาตามบทบัญญัติ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3952/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขอคืนทรัพย์สินที่ถูกริบหลังคดีถึงที่สุด การพิมพ์หมายเลขทะเบียนผิดพลาดไม่อาจขยายระยะเวลาได้
แม้ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์บรรทุกของกลางภายในกำหนดระยะเวลาตาม ป.อ. มาตรา 36 แต่การที่ผู้ร้องพิมพ์หมายเลขทะเบียนรถยนต์บรรทุกของกลางในคำร้องผิดพลาด เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้องนั้น เป็นความผิดของผู้ร้องเองไม่อาจถือว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลายื่นคำร้องขอคืนรถยนต์บรรทุกของกลางให้แก่ผู้ร้องได้ ทั้งระยะเวลาขอคืนทรัพย์สินที่ศาลมีคำสั่งริบตาม ป.อ. มาตรา 36 ไม่อาจขยายออกไปเป็น 5 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 98 (4) ซึ่งเป็นอายุความล่วงเลยการลงโทษสำหรับจำเลยผู้ที่ยังไม่ได้รับโทษตามคำพิพากษาถึงที่สุดได้ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์บรรทุกของกลางใหม่เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดจึงเกินกำหนดระยะเวลาตาม ป.อ. มาตรา 36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3838/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับชำระหนี้โดยไม่สงวนสิทธิทำให้สิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับฐานผิดสัญญาเป็นอันตกไป
จำเลยว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารพาณิชย์บนที่ดินของจำเลย แต่โจทก์ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จภายในกำหนด ปัจจุบันจำเลยได้เข้าอยู่และใช้อาคารพาณิชย์ดังกล่าวแล้ว กรณีไม่ได้เป็นเรื่องจำเลยรับมอบอาคารพาณิชย์ทั้งที่ชำรุดบกพร่อง อันเป็นเหตุให้โจทก์ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องตามมาตรา 598 แห่ง ป.พ.พ. สิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับฐานผิดสัญญาต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 การที่จำเลยยอมเข้าไปอยู่อาศัยในอาคารพาณิชย์ที่ว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างแล้ว ถือได้ว่าจำเลยยอมรับชำระหนี้แล้ว โดยจำเลยไม่สงวนสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับในเวลาที่จำเลยยอมรับชำระหนี้ จำเลยจึงเรียกเอาเบี้ยปรับตามสัญญาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3555/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์เจตนา 'มีไว้เพื่อจำหน่าย' ยาเสพติด โจทก์ต้องพิสูจน์ชัดเจน ไม่สามารถสันนิษฐานจากปริมาณได้
การที่จำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีน 101 เม็ด แล้วจะสันนิษฐานว่าจำเลยที่ 1 มีไว้เพื่อจำหน่ายนั้น ย่อมเป็นข้อสันนิษฐานอันเป็นผลร้ายกับจำเลยที่ 1 โจทก์มีภาระการพิสูจน์ให้ได้ความแจ้งชัดโดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคสอง เดิม บัญญัติว่า "การมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ยี่สิบกรัมขึ้นไป ให้ถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย" ซึ่งตามฟ้องโจทก์ก็ได้ความว่าเมทแอมเฟตามีน 101 เม็ดดังกล่าวมีน้ำหนัก 9.019 กรัม เท่านั้น จึงไม่เข้าข้อสันนิษฐานของบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3297/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีออกจากสารบบเนื่องจากจำเลยถึงแก่กรรมและไม่มีผู้ดำเนินการแทน
คดีนี้จำเลยถึงแก่กรรมภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แม้ทนายจำเลยจะมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของจำเลยต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 จนกว่าทายาทหรือผู้แทนของจำเลยจะเข้ามาปกปักรักษาประโยชน์ของจำเลยโดยทนายจำเลยมีอำนาจลงนามเป็นฎีกาแทนจำเลยได้ก็ตาม แต่ความปรากฏต่อศาลฎีกาว่าจำเลยได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2546 ดังนั้น เมื่อครบกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ปรากฏต่อศาลว่าจำเลยถึงแก่กรรมแล้วไม่มีผู้ใดยื่นคำขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลย โดยไม่ปรากฏเหตุผลว่าเป็นเพราะเหตุใด จึงต้องจำหน่ายคดีออกจากสารบบความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3293/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การส่งมอบสินค้าเป็นน้ำเยื่อกระดาษ มีมิเตอร์วัดปริมาณชัดเจน ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบ ไม่ใช่เมื่อรับชำระเงิน
โจทก์ขายเยื่อกระดาษ มีสภาพเป็นน้ำเยื่อกระดาษส่งผ่านท่อตลอด 24 ชั่วโมง แต่ขายให้ลูกค้าเพียงรายเดียว มีมิเตอร์วัดปริมาณการขายเป็นรายวันสามารถทราบปริมาณการขายในแต่ละวันได้ชัดเจน โดยสรุปรายการไว้ใน Daily Report เป็นกรณีที่ทราบจำนวนเนื้อเยื่อกระดาษที่ส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อแต่ละวันได้แน่นอน ความรับผิดในการ เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า ตามมาตรา 78 (1) แห่ง ป.รัษฎากร กรณีหาใช่เป็นการขายสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับการขายกระแสไฟฟ้า ตามมาตรา 78/3 (1) ที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น เมื่อได้รับชำระราคาสินค้าตามกฎกระทรวงฉบับที่ 189 (พ.ศ. 2534) ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มบางกรณี ข้อ 1 ไม่
ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่เป็นภาษีคนละเดือนภาษี ซึ่งสภาพแห่งข้อหาแต่ละเดือนภาษีไม่เกี่ยวข้องกันสามารถแยกออกจากกันได้ คำฟ้องของโจทก์จึงมีหลายข้อหาเป็นรายเดือนภาษี ต้องเสียค่าขึ้นศาล โดยคิดแยกแต่ละข้อหาตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ละฉบับ
ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่เป็นภาษีคนละเดือนภาษี ซึ่งสภาพแห่งข้อหาแต่ละเดือนภาษีไม่เกี่ยวข้องกันสามารถแยกออกจากกันได้ คำฟ้องของโจทก์จึงมีหลายข้อหาเป็นรายเดือนภาษี ต้องเสียค่าขึ้นศาล โดยคิดแยกแต่ละข้อหาตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ละฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3293/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การส่งมอบเยื่อกระดาษทางท่อมิใช่การขายกระแสไฟฟ้า ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบ
การขายเยื่อกระดาษของโจทก์แม้จะมีสภาพเป็นน้ำเยื่อกระดาษส่งผ่านทางท่อตลอด 24 ชั่วโมง แต่ก็ขายให้แก่บริษัท ป. เพียงรายเดียว มีมิเตอร์วัดปริมาณการขายเป็นรายวันสามารถทราบปริมาณการขายในแต่ละวันได้ชัดเจน โดยสรุปรายการไว้ใน Daily Report เป็นกรณีที่ทราบจำนวนเยื่อกระดาษที่ส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อในแต่ละวันได้แน่นอน ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้าตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78 (1) กรณีหาใช่เป็นการขายสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกับการขายกระแสไฟฟ้าตามมาตรา 78/3 (1) ที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาสินค้า ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 189 ฯ ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มบางกรณี ข้อ 1 เพราะกรณีดังกล่าวต้องเป็นการขายสินค้าที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนว่ามีการส่งมอบกันเมื่อใด
แม้คำฟ้องของโจทก์จะเกี่ยวกับการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกัน แต่ก็เป็นการประเมินคนละเดือนภาษี ซึ่งสภาพแห่งข้อหาแต่ละเดือนภาษีไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกออกจากกันได้ คำฟ้องของโจทก์จึงมีหลายข้อหาเป็นรายเดือนภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ละฉบับ คำสั่งของศาลภาษีอากรกลางที่ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลโดยแยกแต่ละข้อหาตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ละฉบับจึงชอบแล้ว
แม้คำฟ้องของโจทก์จะเกี่ยวกับการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกัน แต่ก็เป็นการประเมินคนละเดือนภาษี ซึ่งสภาพแห่งข้อหาแต่ละเดือนภาษีไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกออกจากกันได้ คำฟ้องของโจทก์จึงมีหลายข้อหาเป็นรายเดือนภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ละฉบับ คำสั่งของศาลภาษีอากรกลางที่ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลโดยแยกแต่ละข้อหาตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ละฉบับจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าอากรศุลกากร: เจตนาหลีกเลี่ยงอากร vs. การสำแดงรุ่นรถยนต์ไม่ถูกต้อง
ป.รัษฎากร มาตรา 88 (เดิม) และมาตรา 87 (3) (เดิม) ซึ่งเกี่ยวกับภาษีการค้าได้กำหนดขั้นตอนให้เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งการประเมินให้ผู้เสียภาษีทราบโดยระบุให้ทำเป็นหนังสือ จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งการประเมินเป็นหนังสือแก่ผู้เสียภาษีว่าจะต้องเสียภาษีประเภทใด เป็นเงินเท่าใด เพื่อให้ผู้เสียภาษีมีโอกาสตรวจสอบและโต้แย้งโดยการอุทธรณ์การประเมิน ดังนั้น การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานจะสมบูรณ์และเกิดหนี้ที่ผู้เสียภาษีอากรต้องชำระก็ต่อเมื่อได้มีหนังสือแจ้งการประเมินแก่ผู้เสียภาษีอากรโดยชอบแล้ว การแจ้งการประเมินเป็นหนังสือจึงต้องกระทำให้เสร็จสมบูรณ์ภายในอายุความ จำเลยยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2532 เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ที่ 1 ประเมินให้จำเลยชำระภาษีการค้าเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2533 แต่มิได้แจ้งการประเมินดังกล่าวแก่จำเลย เพิ่งมีหนังสือแจ้งการประเมินในวันที่ 4 สิงหาคม 2542 และส่งให้จำเลยทราบได้ในวันที่ 2 ธันวาคม 2542 จึงเป็นการแจ้งการประเมินเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2) (เดิม) การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยนำเข้ารถยนต์พิพาทโดยสำแดงรุ่นไม่ถูกต้องไม่ได้เกิดจากการหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงอากร สิทธิของโจทก์ที่ 1 ที่จะเรียกเงินอากรที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนัก หรือราคาแห่งของใด ๆ จึงมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันนำของเข้า ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคสาม จำเลยนำรถยนต์คันพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2532 และยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2532 แต่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2543 จึงเกิน 10 ปี นับแต่วันนำเข้า ฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีศุลกากรจึงขาดอายุความ
การที่จำเลยนำเข้ารถยนต์พิพาทโดยสำแดงรุ่นไม่ถูกต้องไม่ได้เกิดจากการหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงอากร สิทธิของโจทก์ที่ 1 ที่จะเรียกเงินอากรที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนัก หรือราคาแห่งของใด ๆ จึงมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันนำของเข้า ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคสาม จำเลยนำรถยนต์คันพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2532 และยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2532 แต่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2543 จึงเกิน 10 ปี นับแต่วันนำเข้า ฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีศุลกากรจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินอากรศุลกากร: เจตนาหลีกเลี่ยงอากร vs. การสำแดงรุ่นรถยนต์ไม่ถูกต้อง
เมื่อ ป.รัษฎากร มาตรา 88 (เดิม) ได้กำหนดขั้นตอนให้เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังผู้ประกอบการค้าผู้เสียภาษี จึงแสดงชัดว่าเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งแก่ผู้เสียภาษีว่าจะต้องเสียภาษีประเภทใด เป็นเงินเท่าใด เพื่อให้ผู้เสียภาษีมีโอกาสตรวจสอบและโต้แย้งโดยการอุทธรณ์การประเมินได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว แม้การประเมินภาษีและการแจ้งการประเมินภาษีจะเป็นการกระทำคนละขั้นตอนกัน แต่การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานจะสมบูรณ์และเกิดหนี้ที่ผู้เสียภาษีจะต้องชำระก็ต่อเมื่อได้มีหนังสือแจ้งการประเมินแก่ผู้จะต้องเสียภาษีอากรโดยชอบแล้ว การแจ้งการประเมินเป็นหนังสือจึงถือเป็นขั้นตอนส่วนหนึ่งของการประเมินและต้องกระทำให้เสร็จสมบูรณ์ภายในอายุความ มิใช่เพียงเมื่อเจ้าพนักงานประเมินภาษีอากรแล้วจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงไปได้ไม่ ดังนั้น หากเจ้าพนักงานประเมินมิได้แจ้งการประเมินจึงย่อมเท่ากับไม่มีการประเมิน ข้อเท็จจริงในคดีนี้ แม้เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ที่ 1 ได้ทำการประเมินให้จำเลยชำระภาษีอากรเพิ่ม เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2533 แต่ก็มิได้มีการแจ้งการประเมินดังกล่าวแก่จำเลย เจ้าพนักงานของโจทก์ที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งการประเมินในวันที่ 4 สิงหาคม 2542 และส่งแก่จำเลยทราบได้ในวันที่ 2 ธันวาคม 2542 อันเป็นเวลาพ้น 10 ปี ที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ที่ 1 จะมีอำนาจประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2) การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในกรณีหลีกเลี่ยงอากร สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องเรียกเงินอากรที่ขาดจะเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 10 วรรคสาม ไม่ใช่อายุความ 10 ปี นับจากวันที่นำของเข้าแต่ต้องใช้อายุความทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 167 (เดิม) (มาตรา 193/31 ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งบัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากร ท่านให้มีอายุความ 10 ปี และการนับอายุความต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามมาตรา 169 (เดิม) (มาตรา 193/12 ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งได้แก่วันที่โจทก์ตรวจพบว่าจำเลยหลีกเลี่ยงอากร แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้รับฟังได้ว่า การที่จำเลยนำเข้ารถยนต์คันพิพาทโดยสำแดงรุ่นไม่ถูกต้องนั้น ไม่ได้เกิดจากการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงอากร สิทธิของโจทก์ที่ 1 ที่จะเรียกเงินอากรที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนัก หรือราคาแห่งของใด ๆ จึงมีอายุความ 10 ปีนับแต่วันที่นำของเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 10 วรรคสาม เมื่อจำเลยนำรถยนต์คันพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2532 และได้ยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2532 แต่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2543 ซึ่งเกิน 10 ปีแล้ว จึงขาดอายุความ
ในกรณีหลีกเลี่ยงอากร สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องเรียกเงินอากรที่ขาดจะเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 10 วรรคสาม ไม่ใช่อายุความ 10 ปี นับจากวันที่นำของเข้าแต่ต้องใช้อายุความทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 167 (เดิม) (มาตรา 193/31 ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งบัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากร ท่านให้มีอายุความ 10 ปี และการนับอายุความต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามมาตรา 169 (เดิม) (มาตรา 193/12 ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งได้แก่วันที่โจทก์ตรวจพบว่าจำเลยหลีกเลี่ยงอากร แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้รับฟังได้ว่า การที่จำเลยนำเข้ารถยนต์คันพิพาทโดยสำแดงรุ่นไม่ถูกต้องนั้น ไม่ได้เกิดจากการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงอากร สิทธิของโจทก์ที่ 1 ที่จะเรียกเงินอากรที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนัก หรือราคาแห่งของใด ๆ จึงมีอายุความ 10 ปีนับแต่วันที่นำของเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 10 วรรคสาม เมื่อจำเลยนำรถยนต์คันพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2532 และได้ยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2532 แต่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2543 ซึ่งเกิน 10 ปีแล้ว จึงขาดอายุความ