คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทองหล่อ โฉมงาม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 587 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2090/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การแจ้งสิทธิขอพิจารณาใหม่และการยื่นคำร้องเป็นหนังสือ
แม้โจทก์มิได้แจ้งสิทธิในการยื่นคำร้องขอพิจารณาการประเมินใหม่ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 40 วรรคแรก ไม่มีผลทำให้การประเมินไม่ชอบเนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการให้สิทธิแก่ผู้รับประเมินในการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่โดยขยายระยะเวลาเป็นหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
การโต้แย้งคัดค้านการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินจะต้องทำเป็นหนังสือโดยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่แบบ ภ.ร.ด.9 ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 25 และมาตรา 26 เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ภายในหนึ่งปีนับแต่ได้รับแจ้งการประเมิน จำนวนภาษีที่ประเมินจึงเป็นจำนวนเด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 750/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ UPS ไม่ใช่แบตเตอรี่: ศาลฎีกาตัดสินให้คืนภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อมหาดไทย
เครื่อง UPS หน้าที่หลักในการแปลงกระแสไฟฟ้ามาสำรองไว้ แล้วนำไปใช้เฉพาะกรณีมีเหตุขัดข้องในการจ่ายไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าหลักเป็นการชั่วคราวในระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อมิให้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าบางประเภทต้องหยุดทำงานกะทันหันจนเกิดความเสียหายเท่านั้น มิได้ทำหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าตามปกติดังเช่นแบตเตอรี่ จึงไม่อาจถือว่าเครื่อง UPS เป็นแบตเตอรี่ นอกจากนี้ส่วนประกอบของแบตเตอรี่ที่อยู่ในเครื่อง UPS ก็ถือเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ไม่อาจแยกการทำงานออกจากส่วนประกอบอื่นของเครื่อง UPS ได้ ดังนั้น เครื่อง USP จึงไม่อยู่ในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ประเภทที่ 08.90 (4) จึงเก็บภาษีสรรพสามิตตามการประเมินในรายการของเครื่อง UPS ไม่ได้
กรณีที่โจทก์ชำระภาษีตามคำสั่งของพนักงานหน้าที่ ให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่โจทก์ชำระภาษีในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของจำนวนเงินที่ได้รับ โดยไม่คิดทบต้นและมิให้เกินกว่าจำนวนเงินที่ได้รับคืนตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 110 ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ.2527) ออกตามความใน พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตฯ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสั่งให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษี แต่เมื่อโจทก์ขอดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จึงให้เพียงเท่าที่โจทก์ขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 750/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ UPS ไม่เป็นแบตเตอรี่ ภาษีสรรพสามิตถูกต้อง ศาลสั่งคืนดอกเบี้ย
เครื่องเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าชนิดอยู่คงที่หรือ UPS หน้าที่หลักในการแปลงกระแสไฟฟ้ามาสำรองไว้ แล้วนำไปใช้เฉพาะกรณีมีเหตุขัดข้องในการจ่ายไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าหลักเป็นการชั่วคราวในระยะเวลาสั้นๆ เพื่อมิให้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าบางประเภทต้องหยุดทำงานกะทันหันจนเกิดความเสียหายเท่านั้น มิได้ทำหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าตามปกติดังเช่นแบตเตอรี่ จึงไม่อาจถือว่าเครื่อง UPS เป็นแบตเตอรี่ ส่วนแบตเตอรี่ที่อยู่ในเครื่อง UPS ก็ถือเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ไม่อาจแยกการทำงานออกจากส่วนประกอบอื่นของเครื่อง UPS ได้ เครื่อง UPS ที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรจึงไม่อยู่ในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ประเภทที่ 08.90 (4)
จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องคืนเงินภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อมหาดไทยแก่โจทก์ เมื่อเป็นกรณีที่โจทก์ชำระภาษีตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่โจทก์ชำระภาษีในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของจำนวนเงินที่ได้รับ โดยไม่คิดทบต้นและมิให้เกินกว่าจำนวนเงินที่ได้รับคืน ตาม พ.ร.บ.สรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 110 ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ.2527) ออกตามความใน พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสั่งให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้า/ธุรกิจเฉพาะ: การประเมินดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาด, รายรับจากการปรับราคา, และการงด/ลดเบี้ยปรับ
คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือจะต้องแสดงเหตุผลตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 วรรคหนึ่ง หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาถึงข้อยกเว้นตามมาตรา 37 วรรคสาม ประกอบด้วย เมื่อข้อยกเว้นตามมาตรา 37 วรรคสาม (2) ที่ว่าเหตุผลนั้นเป็นที่รู้กันอยู่แล้วโดยไม่จำต้องระบุอีกเป็นปัญหาข้อเท็จจริงแต่โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องจึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือโจทก์ไม่สามารถยกขึ้นกล่าวในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2522 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
โจทก์ประกอบกิจการโรงงานน้ำตาล เมื่อชาวไร่อ้อยมีความจำเป็นต้องใช้เงินเพื่อลงทุนปลูกอ้อย โจทก์จะจ่ายเงินให้ชาวไร่อ้อยตามจำนวนที่ชาวไร่อ้อยจะใช้ โดยมีข้อตกลงว่าเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวจะนำอ้อยมาขายให้แก่โจทก์โดยหักหนี้ โจทก์ไม่ได้คิดดอกเบี้ยจากชาวไร่อ้อยและโจทก์ได้จ่ายเงินให้ชาวไร่อ้อยก่อนที่โจทก์จะขายใบอนุญาตประกอบโรงงานน้ำตาล จึงไม่เข้าลักษณะเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ อันอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2 (5)
โจทก์ให้กรรมการบริษัทกู้ยืมเงินหลายครั้งโดยไม่คิดดอกเบี้ยโดยไม่มีเหตุอันสมควรถือได้ว่าเป็นการประกอบกิจการโดยปกติทางการค้าของโจทก์อันเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2 (5) เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดดอกเบี้ยตามการประเมินเพื่อให้โจทก์เสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/16 (6)
แม้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากผู้ถือหุ้นที่ค้างชำระได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1122 แต่ดอกเบี้ยกรณีลูกหนี้ค่าหุ้นค้างชำระเป็นค่าตอบแทนที่โจทก์เรียกเก็บเนื่องจากการใช้เงินค่าหุ้นการจัดตั้งบริษัทซึ่งกระทำเพียงคราวเดียว หาใช่เป็นดอกเบี้ยของกิจการโจทก์ที่จะเข้าข่ายเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2 (5) เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดดอกเบี้ยให้โจทก์ต้องคำนวณกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4) เท่านั้น แต่ไม่มีอำนาจกำหนดดอกเบี้ยให้โจทก์ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เพราะไม่ใช่กรณีโจทก์ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
การประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ต้องมีลักษณะทำนองเดียวกับธนาคารพาณิชย์และจะต้องเป็นการประกอบกิจการโดยปกติด้วย สัญญาซื้อขายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตน้ำตาลทรายระหว่างโจทก์กับบริษัท อ. มิใช่เป็นการกู้ยืมเงิน ดอกเบี้ยจากสัญญาดังกล่าวมิใช่ดอกเบี้ยจากการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
แม้โจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์หลักในการให้กู้ยืมเงิน แต่การที่โจทก์ให้บริษัทในกลุ่มเดียวกันกู้ยืมเงินหลายราย ถือได้ว่าเป็นการประกอบกิจการโดยปกติทางการค้าของโจทก์อันเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
การที่โจทก์ให้บริษัทในกลุ่มเดียวกันกู้เงินโดยคิดดอกเบี้ยต่ำกว่าดอกเบี้ยที่โจทก์ต้องชำระให้แก่ธนาคารย่อมมิใช่ปกติวิสัยของผู้ทำการค้าทั่วไป แม้จะอ้างว่าบริษัทผู้กู้ขาดความเชื่อมั่นจากสถาบันการเงินจนโจทก์ต้องให้กู้ยืมก็ตาม แต่ในการให้กู้ก็ไม่จำเป็นที่โจทก์ต้องลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำกว่าราคาตลาด ทั้งโจทก์ยังมีผลขาดทุนติดต่อกันมาหลายปี จึงเป็นกรณีไม่มีเหตุอันสมควร
การบันทึกรับรู้รายได้ของโจทก์ในส่วนดอกเบี้ยตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับบริษัทผู้กู้นั้นเป็นการเลือกปฏิบัติให้เป็นไปตามวิธีการ หลักเกณฑ์และการปฏิบัติทางบัญชีเพื่อประโยชน์ในการคำนวณรายรับ เป็นคนละกรณีกับอำนาจประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในการที่จะกำหนดดอกเบี้ยตามราคาตลาดในกรณีที่การให้กู้ยืมเงินมีดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามที่ ป.รัษฎากร มาตรา 91/16 (6) ให้อำนาจไว้เพื่อใช้เป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะดังเช่นกรณีของโจทก์ โจทก์จะอ้างเกณฑ์เงินสดซึ่งใช้สำหรับดอกเบี้ยที่โจทก์ตกลงกับบริษัทผู้กู้มาใช้อ้างในกรณีเจ้าพนักงานประเมินใช้อำนาจประเมินในส่วนดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าราคาตลาดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7737/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ: การเบิกความในฐานะนักศึกษาแพทย์ ไม่ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
จำเลยรับราชการเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลเลิดสิน มีหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากทางราชการคือตรวจและรักษาคนไข้ การที่จำเลยไปเบิกความเกี่ยวกับการตรวจร่างกายโจทก์ที่โรงพยาบาลศิริราชขณะจำเลยเป็นนักศึกษาแพทย์ จึงมิใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามที่จำเลยได้รับมอบหมายจากทางราชการ การกระทำของจำเลยไม่มีมูลความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 165 วรรคสาม จะบัญญัติว่า ก่อนที่ศาลประทับฟ้องมิให้ถือว่าจำเลยอยู่ในฐานะเช่นนั้น แต่ตามบทมาตราดังกล่าวก็บัญญัติให้สิทธิจำเลยตั้งทนายเข้าซักค้านพยานโจทก์ได้ ดังนั้นจำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำแถลงการณ์ชี้ให้เห็นถึงข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำมาไต่สวนว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5987/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานีบรรจุแยกสินค้าของการรถไฟฯ ได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน เนื่องจากเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในกิจการรถไฟโดยตรง
การดำเนินกิจการสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องที่โจทก์ได้รับสัมปทานจากการรถไฟแห่งประเทศไทยเกี่ยวเนื่องกับระบบการขนส่งสินค้ากล่องเชื่อมต่อกับท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง เพื่อสนับสนุนกิจการนำเข้าและส่งออก โดยผู้ดำเนินการที่สถานีดังกล่าว จะขนถ่ายและแยกสินค้าที่บรรจุมาในตู้สินค้าที่บรรทุกมาจากต่างประเทศโดยทางเรือมาที่ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง แล้วขนขึ้นรถไฟมาที่สถานีดังกล่าวเพื่อนำส่งให้แก่ผู้นำเข้าหรือนำส่งสินค้าที่จะส่งไปต่างประเทศมาบรรจุในตู้สินค้าเพื่อขนขึ้นรถไฟไปที่ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง โดยคิดค่าบริการจากผู้ใช้บริการ จึงเป็นการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการขนส่งของรถไฟ คือการรับขนสินค้าตามมาตรา 6 (2) และมาตรา 9 (7) แห่ง พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ดังนั้น สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง จึงเป็นทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ใช้ในกิจการรถไฟโดยตรง ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตามมาตรา 9 (2) แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475
ปัญหาว่าสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องของการรถไฟแห่งประเทศไทยตามฟ้องได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246
เมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน การที่โจทก์ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามสัญญาสัมปทานแทนการรถไฟแห่งประเทศไทยให้แก่จำเลยที่ 1 ไป โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 คืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ได้ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ มาตรา 26 ที่จะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5571/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: ต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อนฟ้องศาล
พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ มาตรา 112 ฉ ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 เป็นต้นไป บัญญัติว่า "ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินอากรของพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์..." จำเลยประเมินราคาสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้าเพิ่มขึ้น โดยแจ้งจำนวนค่าอากรที่โจทก์ต้องชำระเพิ่มภายหลังวันที่ 1 มกราคม 2543 เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินอากรต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นโจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 7 (1) และมาตรา 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5571/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีภาษีอากรโดยไม่ผ่านกระบวนการอุทธรณ์ตามกฎหมาย ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
ตามพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 ฉ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2543 มาตรา 8 บัญญัติว่า ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินอากรของพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตามแบบที่อธิบดีกำหนดได้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับการแจ้งการประเมิน โจทก์ได้รับแจ้งการประเมินเมื่อมาตรา 112 ฉ มีผลใช้บังคับแล้วแต่โจทก์ฟ้องคดีนี้สำหรับใบขนสินค้าขาเข้าดังกล่าวโดยมิได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินอากรต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 112 ฉ แห่งพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2543 มาตรา 8 โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรกลาง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 7 (1) , 8 ที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยตามฟ้องของโจทก์เป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3798/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินเพิ่มอากรขาเข้า: การสำแดงเท็จและข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 102 ตรี และ 112 จัตวา
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกนำเงินมาชำระค่าอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่ม ให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระโดยไม่คิดทบต้นนับแต่วันที่ได้ส่งมอบหรือส่งของออกจนถึงวันที่นำเงินมาชำระ แต่มิให้เรียกเก็บเงินเพิ่มดังกล่าวในกรณีที่มีการชำระอากรเพิ่มตามมาตรา 102 ตรี อนุมาตรา 3" และเมื่อพิจารณาความในมาตรา 102 ตรี อนุมาตรา 3 แล้ว เห็นว่า กรณีที่มีการตรวจเก็บอากรขาดและเจ้าหน้าที่ผู้สำรวจเงินอากรตรวจพบอันเป็นผลให้ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกต้องชำระอากรเพิ่มเติม แต่ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่ง นั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกมิได้กระทำผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรหรือสำแดงเท็จ แต่ได้สำแดงรายการในใบขนสินค้าขาเข้าหรือขาออกเป็นเหตุให้จำนวนเงินอากรขาดไป เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ความรับผิดของจำเลยในการชำระค่าอากรที่ขาดเกิดจากการที่จำเลยสำแดงเท็จในใบขนสินค้าขาเข้าพิพาท จึงไม่ต้องด้วยกรณีที่ไม่ให้เรียกเก็บเงินเพิ่มเมื่อมีการชำระอากรเพิ่มตามมาตรา 112 ตรี อนุมาตรา 3
ส่วนที่ศาลภาษีอากรกลางยกคำขอให้ชำระเงินเพิ่มอากรขาเข้าโดยให้เหตุผลวินิจฉัยคดีประการหนึ่งว่า ตามคำฟ้องและแบบแจ้งการประเมินของโจทก์ที่ 1 มิได้เรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้านั้น เห็นว่า คำฟ้องของโจทก์ที่แก้ไขแล้วตอนท้ายได้บรรยายเกี่ยวกับเงินเพิ่มดังกล่าวแล้วว่าจำเลยต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มอากรขาเข้าอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนหรือเศษของเดือนนับตั้งแต่วันตรวจปล่อยคำนวณถึงวันฟ้อง สำหรับแบบแจ้งการประเมินของโจทก์ที่ 1 แม้จะมิได้ระบุจำนวนเงินเพิ่มอากรขาเข้าที่จำเลยจะต้องชำระ แต่ความในมาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่ง บัญญัติให้เรียกเก็บเงินเพิ่มดังกล่าวเมื่อผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกนำเงินมาชำระค่าอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่ม โดยมิได้บัญญัติให้ความรับผิดในการเสียเงินเพิ่มดังกล่าวเกิดขึ้นจากการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่อันจะต้องระบุไว้ในใบแจ้งการประเมิน ด้วยเหตุนี้ไม่ว่าจะมีการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือไม่ ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกก็ต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มดังกล่าว ดังนั้นแม้แบบแจ้งการประเมินของโจทก์ที่ 1 มิได้ระบุจำนวนเงินเพิ่มอากรที่ต้องชำระ จำเลยก็ต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มดังกล่าวโดยผลของกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3700/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ต้นทุนทรัพย์สินเพื่อหักค่าเสื่อมราคาตามคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 25 ซึ่งบัญญัติว่า "ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง..." จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่เกินห้าหมื่นบาทนั้น หมายถึง จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันตั้งแต่ชั้นฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรกลาง แตกต่างจาก ป.วิ.พ. มาตรา 224 ซึ่งบัญญัติว่า "ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง..." ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้ถือเอาราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เป็นข้อพิจารณาว่าต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์คิดเป็นเงินภาษีที่พิพาทกันจำนวน 347,380.91 บาท อันเป็นจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทตามมาตรา 25 จึงเป็นกรณีที่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโดยชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 28 และ 30 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
โจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินว่า หนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิและหนังสือแจ้งการประเมินไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ยังไม่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีก่อนซึ่งเกี่ยวพันกันจึงขออนุญาตให้เหตุผล ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตลอดจนเอกสารที่ใช้ประกอบในการอุทธรณ์ในชั้นพิจารณา เป็นกรณีโจทก์อุทธรณ์โต้แย้งการแจ้งเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิของเจ้าพนักงานประเมินแล้ว แม้เหตุผลการคัดค้านในคำอุทธรณ์จะไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับรายจ่ายก็ตามแต่โจทก์ได้ยกรายจ่ายต่าง ๆ ขึ้นอ้างในการฟ้องคดีนี้อันเป็นเหตุผลอีกข้อหนึ่งที่โจทก์กล่าวอ้างเพื่อเป็นการสนับสนุนว่า การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือการแจ้งเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทไม่ชอบนั่นเอง โดยโจทก์ได้แสดงรายละเอียดของรายจ่ายในคำฟ้อง รายจ่ายที่โจทก์อ้างในคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในประเด็นนี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 7 (1), 8 ป.รัษฎากร มาตรา 30
ศาลภาษีอากรกลางมีคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ 210/2546 ให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2533 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2533 และรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2534 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2534 โดยให้เพิ่มต้นทุนของทรัพย์สินในการคำนวณค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินหลายรายการ ให้นำดอกเบี้ยที่จ่ายไปนั้นรวมเป็นต้นทุนของอาคารและทรัพย์สินอีกหลายรายการด้วย เป็นผลให้การบันทึกราคาต้นทุนของอาคารและอุปกรณ์ตลอดจนดอกเบี้ยที่จ่ายไปในระหว่างการจัดหาทรัพย์สินนั้นเพิ่มขึ้นและมีผลถึงการหักค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทด้วย ตามคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางดังกล่าววินิจฉัยถึงจำนวนต้นทุนของอาคารและอุปกรณ์ที่โจทก์สามารถพิสูจน์จำนวนเงินที่จ่ายไปอันเป็นต้นทุนของอาคารและอุปกรณ์ ทำให้หักค่าเสื่อมราคาได้มากขึ้นจริง โจทก์จึงสามารถพิสูจน์จำนวนเงินที่จ่ายไปในการก่อสร้างอาคารและอุปกรณ์อันเป็นต้นทุนในการคำนวณค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินในคดีดังกล่าวได้ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิว่า โจทก์คิดค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินสูงไปสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทจึงไม่ถูกต้อง
of 59