พบผลลัพธ์ทั้งหมด 587 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8915/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม-ภาษีธุรกิจเฉพาะ: การขายทรัพย์สินระหว่างก่อสร้างและการมีไว้เพื่อประกอบกิจการ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่องการกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ 2(4) กำหนดเพียงว่า ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและต่อมาได้ขายไปภายใน 3 ปี นับแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์เป็นภาษีซื้อที่ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม มิได้กำหนดว่าอาคารที่ขายต้องก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์หรือต้องขายในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย ดังนั้น แม้อาคารที่โจทก์จะขายยังก่อสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์และขายให้แก่บริษัทซึ่งประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อดังกล่าวก็ต้องห้ามมิให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
วัตถุที่โจทก์นำมาก่อสร้างอาคารเป็นวัตถุมีรูปร่างย่อมเป็นทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 แล้ว มิใช่ว่าหากนำมาก่อสร้างอาคารจะเป็นทรัพย์เมื่อก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์ อาคารดังกล่าวติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวรจึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 139 การที่โจทก์ขายอาคารจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ และการที่โจทก์ก่อสร้างอาคารเพื่อใช้เป็นโรงงานผลิตปูนซีเมนต์เป็นการประกอบกิจการของโจทก์ จึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์มีไว้ในการประกอบกิจการ แม้โจทก์จะยังมิได้ใช้อาคารดังกล่าวก็ตาม
คำฟ้องของโจทก์จะมีกี่ข้อมิใช่อยู่ที่โจทก์ขายทรัพย์สินกี่ครั้งหากแต่อยู่ที่สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องซึ่งตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ละฉบับรวม 17 ฉบับกับการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะจำนวน 1 ฉบับไม่ถูกต้อง ซึ่งการประเมินแต่ละรายไม่เกี่ยวข้องกันสามารถแยกออกจากกันได้ คำฟ้องจึงมี 18 ข้อหา ต้องเสียค่าขึ้นศาลเป็นรายข้อ
วัตถุที่โจทก์นำมาก่อสร้างอาคารเป็นวัตถุมีรูปร่างย่อมเป็นทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 แล้ว มิใช่ว่าหากนำมาก่อสร้างอาคารจะเป็นทรัพย์เมื่อก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์ อาคารดังกล่าวติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวรจึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 139 การที่โจทก์ขายอาคารจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ และการที่โจทก์ก่อสร้างอาคารเพื่อใช้เป็นโรงงานผลิตปูนซีเมนต์เป็นการประกอบกิจการของโจทก์ จึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์มีไว้ในการประกอบกิจการ แม้โจทก์จะยังมิได้ใช้อาคารดังกล่าวก็ตาม
คำฟ้องของโจทก์จะมีกี่ข้อมิใช่อยู่ที่โจทก์ขายทรัพย์สินกี่ครั้งหากแต่อยู่ที่สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องซึ่งตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ละฉบับรวม 17 ฉบับกับการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะจำนวน 1 ฉบับไม่ถูกต้อง ซึ่งการประเมินแต่ละรายไม่เกี่ยวข้องกันสามารถแยกออกจากกันได้ คำฟ้องจึงมี 18 ข้อหา ต้องเสียค่าขึ้นศาลเป็นรายข้อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7673/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้ค่าอากรและเงินเพิ่มศุลกากร: หนี้เก่ากว่าต้องชำระก่อน
การชำระหนี้สินหลายรายที่ถึงกำหนดชำระพร้อมกัน ต้องให้รายที่เก่าที่สุดเป็นอันได้ปลดเปลื้องไปก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง แม้ตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 112 จัตวา วรรคสาม จะบัญญัติให้ถือว่าเงินเพิ่ม เป็นเงินอากร แต่หนี้ค่าอากรเป็นหนี้ที่มีมาก่อนเงินเพิ่ม จึงเป็นหนี้เก่ากว่าหนี้เงินเพิ่ม หนี้ค่าอากรย่อมได้รับการปลดเปลื้อง ไปก่อนหนี้เงินเพิ่ม
เงินเพิ่มตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่ง มิใช่ดอกเบี้ยและไม่อาจถือเป็นดอกเบี้ย จึงไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 329 มาใช้บังคับได้ โจทก์จึงไม่อาจนำเงินที่ผู้ค้ำประกันนำมาชำระ มาหักจากหนี้เงินเพิ่มก่อนหนี้ค่าอากรได้
เงินเพิ่มตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่ง มิใช่ดอกเบี้ยและไม่อาจถือเป็นดอกเบี้ย จึงไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 329 มาใช้บังคับได้ โจทก์จึงไม่อาจนำเงินที่ผู้ค้ำประกันนำมาชำระ มาหักจากหนี้เงินเพิ่มก่อนหนี้ค่าอากรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7673/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้ค่าอากรและเงินเพิ่มทางภาษีอากร: ค่าอากรเป็นหนี้เก่ากว่าเงินเพิ่ม
จำเลยสั่งซื้อและนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อผลิตและส่งออกภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันนำเข้าโดยแสดงความจำนงจะขอคนอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ โดยวิธีค้ำประกันรวม44 ครั้ง จำเลยนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาวางเป็นประกัน เมื่อครบกำหนด1 ปี นับแต่วันที่จำเลยนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร จำเลยนำสินค้ามาผลิตและส่งออกไปเพียงบางส่วนเป็นการผิดเงื่อนไขเจ้าพนักงานของกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 ได้ประเมินค่าอากรขาเข้าของสินค้าคงเหลือกับเงินเพิ่มและแจ้งให้ผู้ค้ำประกันนำเงินมาชำระผู้ค้ำประกันได้ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันแล้วซึ่งเงินตามสัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับมีจำนวนสูงกว่าค่าอากรขาเข้าที่จำเลยต้องชำระแต่น้อยกว่าค่าอากรและเงินเพิ่มรวมกัน ในการชำระหนี้สินหลายรายที่ถึงกำหนดชำระพร้อมกันดังกล่าวต้องให้รายที่เก่าที่สุดเป็นอันได้ปลดเปลื้องไปก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 328 วรรคสอง แม้พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวาวรรคสาม จะบัญญัติให้ถือว่าเงินเพิ่มเป็นเงินอากรแต่หนี้ค่าอากรก็เป็นหนี้ที่มีมาก่อนเงินเพิ่มจึงเป็นหนี้เก่ากว่าหนี้เงินเพิ่ม ดังนี้ หนี้ค่าอากรย่อมได้รับการปลดเปลื้องไปก่อนหนี้เงินเพิ่ม
เงินเพิ่มที่เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่ง มิใช่ดอกเบี้ยและไม่อาจถือเป็นดอกเบี้ยได้ จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 มาบังคับได้
เงินเพิ่มที่เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่ง มิใช่ดอกเบี้ยและไม่อาจถือเป็นดอกเบี้ยได้ จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 มาบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6547/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมยังใช้ได้ แม้มีการขัดขวางและฟ้องร้อง โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้พ้นจากภารจำยอม
จำเลยทั้งสิบยังใช้ทางเดินภารจำยอมในที่ดินของโจทก์เดินผ่านออกไปสู่ทางสาธารณะอยู่ เมื่อมีการขัดขวางโดยบริษัท ช. ผู้ขายที่ดินให้โจทก์ปิดกั้นทางภารจำยอมจำเลยกับพวกก็ใช้สิทธิฟ้องให้บริษัทดังกล่าวเปิดทางภารจำยอม จนในที่สุดศาลฎีกาพิพากษาให้ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมและให้รื้อสิ่งก่อสร้างที่กระทำลงบนทางภารจำยอม ซึ่งอยู่ในระหว่างการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีอันเป็นข้อแสดงว่าจำเลยทั้งสิบยังต้องการใช้ทางภารจำยอมและตามรูปการทางภารจำยอมนั้นก็สามารถใช้ได้อยู่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้ที่ดินภารยทรัพย์พ้นจากภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1394
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6547/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมยังใช้งานได้ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้พ้นจากภาระจำยอม
ทางภาระจำยอมที่โจทก์จะเรียกให้พ้นจากภาระจำยอมได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1394 ทางภาระจำยอมนั้นต้อง ไม่ใช้และใช้ไม่ได้ตามรูปการ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยยังคงใช้ทางเดินภาระจำยอมในที่ดินของโจทก์ผ่านออกไปสู่ทางสาธารณะอยู่ เมื่อปรากฏว่ามีการขัดขวางโดยผู้ขายที่ดินให้โจทก์ปิดกั้นทางภาระจำยอม จำเลยกับพวกก็ใช้สิทธิฟ้องให้ผู้ขายที่ดินดังกล่าวเปิดทางภาระจำยอมนั้น เพื่อให้จำเลยกับพวกได้ใช้ทางภาระจำยอมในที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์อยู่ ในที่สุดศาลฎีกาพิพากษาให้ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมและให้รื้อสิ่งก่อสร้างใด ๆ ที่กระทำลงบนทางภาระจำยอม ขณะนี้คดีอยู่ในระหว่างการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อให้โจทก์เปิดทางภาระจำยอมให้แก่จำเลยกับพวกอันเป็นข้อแสดงว่าจำเลยยังต้องการใช้ทางภาระจำยอมและตามรูปการทางภาระจำยอมนั้นก็สามารถ ใช้ได้อยู่ ฉะนั้นโจทก์จึงหามีสิทธิที่จะเรียกให้ที่ดินภารยทรัพย์พิพาทพ้นจากภาระจำยอมตามมาตรา 1394 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6395/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานหลังกำหนดเวลาคดีภาษีอากร ศาลยกคำร้องชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นนัดชี้สองสถานวันที่ 16 พฤศจิกายน 2542 ถึงวันนัดทนายความโจทก์ก็ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นเลื่อนการชี้สองสถานไปวันที่ 7 ธันวาคม 2542 เมื่อศาลชั้นต้นชี้สองสถานแล้วกำหนดให้นัดสืบพยานโจทก์วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2543 โจทก์ก็เพิ่งยื่นบัญชีระบุพยานวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2543 อันเป็นการยื่นบัญชีระบุพยานหลังวันชี้สองสถานถึงสองเดือนเศษ โดยคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานของโจทก์อ้างแต่เพียงว่า โจทก์เข้าใจว่าได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้แล้วโดยความจริงยังไม่ปรากฏว่ามีการยื่นบัญชีระบุพยานดังที่โจทก์อ้างความเข้าใจผิดของโจทก์ดังกล่าวไม่เป็นเหตุอันสมควรที่โจทก์ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาที่ข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ.2539 ข้อ 10 กำหนดไว้ได้ การที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6102/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายได้จากกิจการตลาดกลางเกษตรขอนแก่นเป็นรายได้ของธนาคารที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามวัตถุประสงค์ของ พรบ.ธนาคารเพื่อการเกษตรฯ
ตลาดกลางสินค้าเกษตรขอนแก่นดำเนินกิจการในทางช่วยเหลือส่งเสริมอาชีพของเกษตรกรหรือดำเนินการของเกษตรกรโดยตรง จึงถือว่าเป็นกิจการอย่างอื่นที่ธนาคารโจทก์กระทำเพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของธนาคารได้นอกเหนือจากการให้ความช่วยเหลือทางการเงินตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509 และเมื่อกิจการตลาดกลางเกษตรขอนแก่นเป็นกิจการของโจทก์รายได้จากกิจการดังกล่าวจึงถือเป็นรายได้ของโจทก์ ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6102/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายได้จากตลาดกลางสินค้าเกษตรของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
คดีทุนทรัพย์พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาทต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 25 ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของจำเลย ศาลฎีกาต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลภาษีอากรกลางได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 238
โจทก์มีวัตถุประสงค์ให้ความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อส่งเสริมอาชีพการเกษตรหรือดำเนินงานของเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์การเกษตร ตลอดจนส่งเสริมให้เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรสามารถประกอบอาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องในการเกษตรเพื่อเพิ่มรายได้แก่ครอบครัว รวมถึงมีอำนาจการกระทำกิจการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ ตลาดกลางสินค้าเกษตรขอนแก่นได้ดำเนินการในทางช่วยเหลือส่งเสริมอาชีพของเกษตรกรหรือการดำเนินการของเกษตรกรโดยตรง ตลาดกลางสินค้าเกษตรขอนแก่นจึงถือเป็นกิจการอย่างอื่นที่โจทก์กระทำเพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ได้นอกเหนือจากการให้ความช่วยเหลือทางการเงินตามมาตารา 9 และ 10 (13) แห่ง พ.ร.บ. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และเมื่อกิจการตลาดกลางเกษตรขอนแก่นเป็นกิจการของโจทก์ รายได้จากกิจการตลาดกลางเกษตรขอนแก่นจึงถือเป็นรายได้ของโจทก์ ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
โจทก์มีวัตถุประสงค์ให้ความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อส่งเสริมอาชีพการเกษตรหรือดำเนินงานของเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์การเกษตร ตลอดจนส่งเสริมให้เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรสามารถประกอบอาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องในการเกษตรเพื่อเพิ่มรายได้แก่ครอบครัว รวมถึงมีอำนาจการกระทำกิจการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ ตลาดกลางสินค้าเกษตรขอนแก่นได้ดำเนินการในทางช่วยเหลือส่งเสริมอาชีพของเกษตรกรหรือการดำเนินการของเกษตรกรโดยตรง ตลาดกลางสินค้าเกษตรขอนแก่นจึงถือเป็นกิจการอย่างอื่นที่โจทก์กระทำเพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ได้นอกเหนือจากการให้ความช่วยเหลือทางการเงินตามมาตารา 9 และ 10 (13) แห่ง พ.ร.บ. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และเมื่อกิจการตลาดกลางเกษตรขอนแก่นเป็นกิจการของโจทก์ รายได้จากกิจการตลาดกลางเกษตรขอนแก่นจึงถือเป็นรายได้ของโจทก์ ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6101/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีสรรพสามิตน้ำผลไม้: การขายส่งและการได้รับการยกเว้นภาษีตามประกาศ
โจทก์ขายสินค้าน้ำมะพร้าวให้แก่บริษัท อ. ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการค้าปลีก การขายสินค้าน้ำผลไม้ของโจทก์จึงเป็นการขายส่ง ดังนั้นสินค้าของโจทก์จึงเป็นเครื่องดื่มตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
สินค้าของโจทก์เป็นเครื่องดื่มตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 แต่อยู่ในเกณฑ์ได้รับการยกเว้นภาษีตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2534 ซึ่งกำหนดเงื่อนไขว่าต้องมีส่วนผสมตามที่อธิบดีกรมสรรพสามิตกำหนดและต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพสามิตก่อน การที่ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดส่วนผสมของเครื่องดื่มน้ำผลไม้และน้ำพืชผักที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้ามีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ฉบับลงวันที่ 27 มีนาคม 2538 ข้อ 4 วรรคหนึ่ง ระบุว่า การอนุมัติให้ยกเว้นภาษีสรรพสามิตให้ถือว่ามีผลตั้งแต่วันที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมได้ยื่นหนังสือขออนุมัติยกเว้นภาษี และเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบแล้วว่าผู้ประกอบอุตสาหกรรมได้ปฏิบัติถูกต้องตามข้อ 3 เป็นต้นไป เป็นการประกาศโดยอาศัยอำนาจตามประกาศกระทรวงการคลังฉบับดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ได้รับอนุมัติให้ยกเว้นภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าเครื่องดื่มมีผลตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2541 เป็นต้นไป พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าเครื่องดื่มที่โจทก์นำออกจากโรงอุตสาหกรรมก่อนวันดังกล่าวได้
สินค้าของโจทก์เป็นเครื่องดื่มตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 แต่อยู่ในเกณฑ์ได้รับการยกเว้นภาษีตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2534 ซึ่งกำหนดเงื่อนไขว่าต้องมีส่วนผสมตามที่อธิบดีกรมสรรพสามิตกำหนดและต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพสามิตก่อน การที่ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดส่วนผสมของเครื่องดื่มน้ำผลไม้และน้ำพืชผักที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้ามีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ฉบับลงวันที่ 27 มีนาคม 2538 ข้อ 4 วรรคหนึ่ง ระบุว่า การอนุมัติให้ยกเว้นภาษีสรรพสามิตให้ถือว่ามีผลตั้งแต่วันที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมได้ยื่นหนังสือขออนุมัติยกเว้นภาษี และเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบแล้วว่าผู้ประกอบอุตสาหกรรมได้ปฏิบัติถูกต้องตามข้อ 3 เป็นต้นไป เป็นการประกาศโดยอาศัยอำนาจตามประกาศกระทรวงการคลังฉบับดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ได้รับอนุมัติให้ยกเว้นภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าเครื่องดื่มมีผลตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2541 เป็นต้นไป พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าเครื่องดื่มที่โจทก์นำออกจากโรงอุตสาหกรรมก่อนวันดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6101/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีสรรพสามิตน้ำผลไม้: ผลของประกาศกระทรวงการคลังและกรมสรรพสามิต, ระยะเวลาการยกเว้นภาษี
โจทก์ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายสินค้าน้ำผลไม้ขายให้แก่บริษัท ส. และ บริษัท อ. ซึ่งเป็นผู้ประกอบ
กิจการค้าปลีก การขายสินค้าน้ำผลไม้ของโจทก์จึงเป็นการขายส่ง สินค้าน้ำผลไม้ของโจทก์จึงเป็นเครื่องดื่มตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ต้องเสียภาษีสรรพสามิตตาม พ.ร.บ. สรรพสามิต พ.ศ. 2527 แต่สินค้าของโจทก์ดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต เนื่องจากมีประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง ลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต
(ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2534 กำหนดไว้ ซึ่งประกาศกระทรวงการคลังฉบับดังกล่าวระบุให้ลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิตแก่เครื่องดื่มน้ำผลไม้ (รวมถึงเกรปมัสต์)และน้ำผักที่ไม่ได้หมักและไม่เติมสุราไม่ว่าจะเติมน้ำตาลหรือสารทำให้หวานอื่น ๆ หรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ต้องมีส่วนผสมตามที่อธิบดีกรมสรรพสามิตกำหนดและต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพสามิตก่อน ต่อมามีประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดส่วนผสมของเครื่องดื่มน้ำผลไม้และน้ำพืชผักที่ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้ามีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ฉบับลงวันที่ 27 มีนาคม 2538 ข้อ 4 วรรคหนึ่ง ระบุว่า การอนุมัติให้ยกเว้นภาษีสรรพสามิตให้ถือว่ามีผลตั้งแต่วันที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมได้ยื่นหนังสือขออนุมัติยกเว้นภาษีและเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบแล้วว่าผู้ประกอบอุตสาหกรรมปฏิบัติถูกต้องตามข้อ 3 เป็นต้นไป เมื่อโจทก์ได้รับอนุมัติให้ยกเว้นภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าน้ำผลไม้มีผลตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2541 เป็นต้นไป พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าน้ำผลไม้ที่โจทก์นำออกจากโรง
อุตสาหกรรมก่อนวันที่โจทก์ได้รับการอนุมัติให้ยกเว้นภาษีได้
กิจการค้าปลีก การขายสินค้าน้ำผลไม้ของโจทก์จึงเป็นการขายส่ง สินค้าน้ำผลไม้ของโจทก์จึงเป็นเครื่องดื่มตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ต้องเสียภาษีสรรพสามิตตาม พ.ร.บ. สรรพสามิต พ.ศ. 2527 แต่สินค้าของโจทก์ดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต เนื่องจากมีประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง ลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต
(ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2534 กำหนดไว้ ซึ่งประกาศกระทรวงการคลังฉบับดังกล่าวระบุให้ลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิตแก่เครื่องดื่มน้ำผลไม้ (รวมถึงเกรปมัสต์)และน้ำผักที่ไม่ได้หมักและไม่เติมสุราไม่ว่าจะเติมน้ำตาลหรือสารทำให้หวานอื่น ๆ หรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ต้องมีส่วนผสมตามที่อธิบดีกรมสรรพสามิตกำหนดและต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพสามิตก่อน ต่อมามีประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดส่วนผสมของเครื่องดื่มน้ำผลไม้และน้ำพืชผักที่ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้ามีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ฉบับลงวันที่ 27 มีนาคม 2538 ข้อ 4 วรรคหนึ่ง ระบุว่า การอนุมัติให้ยกเว้นภาษีสรรพสามิตให้ถือว่ามีผลตั้งแต่วันที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมได้ยื่นหนังสือขออนุมัติยกเว้นภาษีและเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบแล้วว่าผู้ประกอบอุตสาหกรรมปฏิบัติถูกต้องตามข้อ 3 เป็นต้นไป เมื่อโจทก์ได้รับอนุมัติให้ยกเว้นภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าน้ำผลไม้มีผลตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2541 เป็นต้นไป พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าน้ำผลไม้ที่โจทก์นำออกจากโรง
อุตสาหกรรมก่อนวันที่โจทก์ได้รับการอนุมัติให้ยกเว้นภาษีได้