พบผลลัพธ์ทั้งหมด 587 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5960/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดประเภทเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40: ลักษณะงานและค่าใช้จ่ายประกอบวิชาชีพ
เงินได้พึงประเมินจะเป็นประเภทใดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 นั้น ต้องพิจารณาถึงรายจ่ายและลักษณะของงานที่ทำประกอบด้วย เงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (2) ซึ่งเป็นเงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ ลักษณะงานที่ทำมีค่าใช้จ่ายไม่มาก ประมวลรัษฎากรจึงกำหนดให้หักค่าใช้จ่ายได้น้อย ส่วนเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (6) เป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระคือ การประกอบอาชีพของตนเอง และต้องอาศัยวิชาความรู้ความชำนาญ อันเป็นงานที่ต้องมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (2) ป.รัษฎากรจึงยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้มากกว่า
โจทก์ทั้งสองไม่ได้ประกอบโรคศิลปะโดยเปิดคลินิกเป็นของตนเอง แต่เป็นการทำงานให้แก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์นอกเวลาทำการปกติ และโรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชนอื่น โจทก์ทั้งสองนำสืบไม่ได้ว่า ผู้ป่วยที่มารับการรักษาจากโจทก์ทั้งสองไม่ใช่ผู้ป่วยของโรงพยาบาล ทั้งยอมรับว่าคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชนอื่นเป็นผู้เก็บเงินและออกใบเสร็จรับเงินในนามของคลินิกดังกล่าว ไม่ได้ออกในนามของโจทก์ทั้งสอง ยิ่งกว่านั้นก่อนที่คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชนอื่น จะจ่ายเงินให้แก่โจทก์ทั้งสองก็ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ย่อมแสดงให้เห็นเป็นที่ชัดเจนว่า โจทก์ทั้งสองมิได้มีนิติสัมพันธ์ทางการเงินกับผู้ป่วยโดยตรง โจทก์ทั้งสองจึงเป็นเพียงผู้เรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วยเท่านั้น และเมื่อพิจารณาถึงค่าใช้จ่าย โจทก์ทั้งสองก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าโจทก์ทั้งสองมีค่าใช้จ่ายมากเพียงใดที่จะแสดงว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบวิชาชีพอิสระอันจะถือว่ารายได้ของโจทก์ทั้งสองอันเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) แห่ง ป.รัษฎากร ดังนั้น หากโจทก์ทั้งสองเสียภาษีแตกต่างกับแพทย์ที่ไปทำสัญญาว่าจ้างแพทย์ที่โรงพยาบาลเอกชนหรือแพทย์เวรก็จะเกิดความไม่เป็นธรรมในการเสียภาษีขึ้น คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการการพิจารณาอุทธรณ์จึงชอบแล้ว
โจทก์ทั้งสองไม่ได้ประกอบโรคศิลปะโดยเปิดคลินิกเป็นของตนเอง แต่เป็นการทำงานให้แก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์นอกเวลาทำการปกติ และโรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชนอื่น โจทก์ทั้งสองนำสืบไม่ได้ว่า ผู้ป่วยที่มารับการรักษาจากโจทก์ทั้งสองไม่ใช่ผู้ป่วยของโรงพยาบาล ทั้งยอมรับว่าคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชนอื่นเป็นผู้เก็บเงินและออกใบเสร็จรับเงินในนามของคลินิกดังกล่าว ไม่ได้ออกในนามของโจทก์ทั้งสอง ยิ่งกว่านั้นก่อนที่คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชนอื่น จะจ่ายเงินให้แก่โจทก์ทั้งสองก็ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ย่อมแสดงให้เห็นเป็นที่ชัดเจนว่า โจทก์ทั้งสองมิได้มีนิติสัมพันธ์ทางการเงินกับผู้ป่วยโดยตรง โจทก์ทั้งสองจึงเป็นเพียงผู้เรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วยเท่านั้น และเมื่อพิจารณาถึงค่าใช้จ่าย โจทก์ทั้งสองก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าโจทก์ทั้งสองมีค่าใช้จ่ายมากเพียงใดที่จะแสดงว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบวิชาชีพอิสระอันจะถือว่ารายได้ของโจทก์ทั้งสองอันเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) แห่ง ป.รัษฎากร ดังนั้น หากโจทก์ทั้งสองเสียภาษีแตกต่างกับแพทย์ที่ไปทำสัญญาว่าจ้างแพทย์ที่โรงพยาบาลเอกชนหรือแพทย์เวรก็จะเกิดความไม่เป็นธรรมในการเสียภาษีขึ้น คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการการพิจารณาอุทธรณ์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5857/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย การหักเงินเพิ่ม และการประเมินรายได้ดอกเบี้ยจากเงินค่าหุ้น
โจทก์มีหน้าที่หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย เมื่อหักแล้วต้องนำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันที่จ่ายเงินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 52 และในการตรวจสอบการหักภาษี ณ ที่จ่าย นั้น เจ้าพนักงานประเมินอาจส่งหนังสือแจ้งโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ให้ยื่นบัญชีจ่ายเงินได้หรือพยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องเพื่อตรวจสอบการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ตามที่เห็นสมควร และเมื่อได้รับหนังสือแจ้งความดังกล่าวให้ปฏิบัติตามภายใน 15 วัน ตามมาตรา 51 แห่ง ป.รัษฎากร จึงเป็นกรณีที่ไม่จำเป็นต้องออกหมายเรียกเพื่อตรวจสอบไต่สวนภายในกำหนดเวลา ตามมาตรา 19 แห่ง ป.รัษฎากร และสิทธิเรียกร้องของรัฐเพื่อเรียกเอาค่าภาษีอากรมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการตรวจสอบพบว่าโจทก์นำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ไม่ครบถ้วนและแจ้งให้โจทก์นำส่งให้ครบถ้วนภายในกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระค่าหุ้นจาก น. ผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นจึงต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1122 ประกอบมาตรา 7 การที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระค่าหุ้นดังกล่าว แต่กลับลงบัญชีว่าได้ชำระแล้ว เป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้นเสมือนให้กู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ยและโจทก์จะอ้างการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1120 ถึง 1121 อันเป็นเรื่องการบอกกล่าวให้ชำระค่าหุ้นเป็นเหตุให้ถือว่าผู้ถือหุ้นยังไม่ต้องเสียดอกเบี้ยไม่ได้ด้วย
โจทก์นำเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีบางส่วนไปใช้ในการลงทุนก่อสร้างโรงงาน รายจ่ายดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวจึงมิใช่รายจ่ายในการดำเนินธุรกิจ แต่ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) ประกอบ พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527 มาตรา 4
เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ปัญหาว่าโจทก์ขายรถยนต์ต่ำกว่ามูลค่าคงเหลือตามบัญชีหรือไม่ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ การประเมินในปัญหาดังกล่าวจึงยุติ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินในปัญหาดังกล่าวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 7 (1) มาตรา 8 ประกอบ ป.รัษฎากร มาตรา 30
คำอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ได้ระบุว่าโจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะ คงบรรยายเพียงว่าโจทก์คัดค้านการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไรเท่านั้น การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะจึงถือว่ายุติ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยให้ ก็ไม่ทำให้การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งยุติแล้วกลับเป็นไม่ยุติ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์ไม่ได้รับชำระเงินค่าหุ้นเพิ่มทุนเติมมูลค่า แต่ลงบัญชีว่าได้รับชำระเงินค่าหุ้นเติมมูลค่าถือเป็นการกระทำโดยจงใจ และการที่โจทก์ให้กรรมการและพนักงานกู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ยโดยไม่มีเหตุสมควร นั้น มิใช่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเจ้าหน้าที่บัญชีของโจทก์ กรณีไม่มีเหตุสมควรงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มให้แก่โจทก์นอกเหนือไปจากที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัย
เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระค่าหุ้นจาก น. ผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นจึงต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1122 ประกอบมาตรา 7 การที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระค่าหุ้นดังกล่าว แต่กลับลงบัญชีว่าได้ชำระแล้ว เป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้นเสมือนให้กู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ยและโจทก์จะอ้างการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1120 ถึง 1121 อันเป็นเรื่องการบอกกล่าวให้ชำระค่าหุ้นเป็นเหตุให้ถือว่าผู้ถือหุ้นยังไม่ต้องเสียดอกเบี้ยไม่ได้ด้วย
โจทก์นำเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีบางส่วนไปใช้ในการลงทุนก่อสร้างโรงงาน รายจ่ายดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวจึงมิใช่รายจ่ายในการดำเนินธุรกิจ แต่ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) ประกอบ พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527 มาตรา 4
เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ปัญหาว่าโจทก์ขายรถยนต์ต่ำกว่ามูลค่าคงเหลือตามบัญชีหรือไม่ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ การประเมินในปัญหาดังกล่าวจึงยุติ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินในปัญหาดังกล่าวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 7 (1) มาตรา 8 ประกอบ ป.รัษฎากร มาตรา 30
คำอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ได้ระบุว่าโจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะ คงบรรยายเพียงว่าโจทก์คัดค้านการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไรเท่านั้น การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะจึงถือว่ายุติ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยให้ ก็ไม่ทำให้การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งยุติแล้วกลับเป็นไม่ยุติ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์ไม่ได้รับชำระเงินค่าหุ้นเพิ่มทุนเติมมูลค่า แต่ลงบัญชีว่าได้รับชำระเงินค่าหุ้นเติมมูลค่าถือเป็นการกระทำโดยจงใจ และการที่โจทก์ให้กรรมการและพนักงานกู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ยโดยไม่มีเหตุสมควร นั้น มิใช่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเจ้าหน้าที่บัญชีของโจทก์ กรณีไม่มีเหตุสมควรงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มให้แก่โจทก์นอกเหนือไปจากที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5451/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าใช้จ่ายผลิตรายการทีวี ไม่ใช่รายจ่ายลงทุน หากไม่ได้เก็บรักษาเพื่อหารายได้ต่อเนื่อง
เทปรายการโทรทัศน์ที่โจทก์ผลิตเองและออกอากาศไปแล้ว โจทก์ไม่ได้เก็บรักษาไว้เพื่อประโยชน์ในการหารายได้อันจะถือเป็นทรัพย์สินที่ก่อมูลค่าแก่กิจการอีกต่อไป ค่าใช้จ่ายในการผลิตรายการโทรทัศน์แต่ละครั้งจึงมิใช่รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5067/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจเจ้าพนักงานประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มในการออกหมายเรียกตรวจสอบและขยายเวลาประเมิน
ในกรณีมีเหตุอันสมควรเชื่อว่าผู้ประกอบการแสดงรายการตามแบบแสดงรายการภาษีไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินโดยอนุมัติอธิบดีประเมินภาษีได้ภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่กำหนดเวลาตาม (1) (ก) ซึ่งตามมาตรา 88/6 วรรคท้าย บัญญัติไว้เพียงว่าให้เจ้าพนักงานประเมินโดยอนุมัติอธิบดีประเมินภาษีได้ภายใน 5 ปี นับแต่กำหนดเวลาตาม (1) (ก) เท่านั้น ไม่ได้กำหนดว่าต้องขออนุมัติภายในกำหนดเวลา 2 ปี ดังนั้นเจ้าพนักงานประเมินย่อมขออนุมัติอธิบดีประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มได้ภายในกำหนดเวลา 5 ปี แม้ขณะขออนุมัติจะเกิน 2 ปี แล้วก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4970/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์กับการบริการ: การพิจารณาเพื่อการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
โจทก์นำอาคารสำนักงานใหญ่ของตนให้บริษัทในเครือหลายบริษัทเช่าพื้นที่ แม้โจทก์จะได้ทำสัญญาให้บริการในด้านอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ด้วย แต่ก็แบ่งแยกเป็นสัญญาเช่าอาคารต่างหากจากสัญญาให้บริการและอำนวยความสะดวก นอกจากนี้การที่โจทก์จะเข้าตรวจสถานที่เช่าก็ต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้าก่อน ส่วนกรณีที่มีกำหนดวันและเวลาใช้อาคารสถานที่ระหว่างวันจันทร์ถึงวันศุกร์เวลา 7 ถึง 18 นาฬิกา ไว้ด้วย ก็เป็นข้อสัญญาที่ระบุอยู่ในสัญญาให้บริการและอำนวยความสะดวก สำหรับระเบียบปฏิบัติที่กำหนดว่าผู้เช่าจะต้องบอกกล่าวแก่พนักงานของโจทก์ให้มาเปิดและปิดอาคารสถานที่และดูแลให้ความสะดวกในส่วนของการบริการ โดยเสียค่าบริการเพิ่มจากเวลาปกตินั้น เป็นเพียงการกำหนดเพื่อความสะดวกแก่การใช้อาคารในพื้นที่เช่าตามที่โจทก์มีภาระต้องจัดพนักงานมาคอยให้บริการตามสัญญาให้บริการและอำนวยความสะดวกที่ทำขึ้นต่างหากจากสัญญาเช่าอาคารเท่านั้น มิใช่ข้อจำกัดสิทธิของผู้เช่าสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัทในเครือดังกล่าวต้องตามหลักเกณฑ์ในลักษณะการเช่าทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 537 จึงเป็นการที่โจทก์ให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 81 (1) (ต) ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับประกอบกิจการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4799/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงรับผิดชอบความเสียหายจากการทุจริตบัตรภาษี เป็นสัญญาที่ใช้บังคับได้ และการคิดดอกเบี้ยที่ถูกต้อง
แม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ แต่จำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางในปัญหาที่มีการวินิจฉัยตามข้ออ้างตามคำฟ้องโจทก์ อันเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางดังกล่าวได้ หามีบทกฎหมายห้ามแต่อย่างใด
จำเลยมีหนังสือขอรับโอนบัตรภาษีต่อโจทก์โดยมีข้อตกลงว่า ในกรณีเกิดการทุจริตในการรับเงินชดเชยค่าภาษีอากร และเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใด ๆ จำเลยยินยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการ โดยไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้นข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยว่า ในการขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีรายพิพาท หากปรากฏว่าการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรของผู้โอนสิทธิเกิดจากการทุจริต และความเสียหายเกิดแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใด ๆ จำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนต้องรับผิดต่อโจทก์ มิใช่เป็นความตกลงยกเว้นมิให้ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเมินเล่ออย่างร้ายแรงของตนอันเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 แต่เป็นข้อสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีกฎหมายห้าม จึงใช้บังคับได้
จำเลยมีหนังสือขอรับโอนบัตรภาษีต่อโจทก์โดยมีข้อตกลงว่า ในกรณีเกิดการทุจริตในการรับเงินชดเชยค่าภาษีอากร และเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใด ๆ จำเลยยินยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการ โดยไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้นข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยว่า ในการขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีรายพิพาท หากปรากฏว่าการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรของผู้โอนสิทธิเกิดจากการทุจริต และความเสียหายเกิดแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใด ๆ จำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนต้องรับผิดต่อโจทก์ มิใช่เป็นความตกลงยกเว้นมิให้ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเมินเล่ออย่างร้ายแรงของตนอันเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 แต่เป็นข้อสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีกฎหมายห้าม จึงใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4799/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาการรับโอนบัตรภาษีที่มีข้อตกลงรับผิดชอบการทุจริตของผู้โอนสิทธิ ถือเป็นสัญญาที่ใช้บังคับได้
จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางในปัญหาตามข้ออ้างตามคำฟ้องโจทก์อันเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 แม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยก็มีสิทธิอุทธรณ์ได้ ไม่มีบทกฎหมายห้าม
ข้อสัญญาที่จำเลยให้ไว้แก่กรมศุลกากรโจทก์ตามคำร้องขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีที่ว่า ในกรณีเกิดการทุจริตในการขอรับชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใด ๆ จำเลยยินยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการ มิใช่ความตกลงยกเว้นมิให้ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนอันเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 แต่เป็นข้อสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามจึงใช้บังคับได้ไม่เป็นโมฆะ
การที่กรมศุลกากรโจทก์ออกบัตรภาษีให้แก่จำเลยเกิดจากการทุจริตของบริษัท ท. ผู้ขอโอนสิทธิให้แก่จำเลย และจำเลยนำบัตรภาษีไปใช้ชำระค่าภาษีอากรหมดแล้ว จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินตามมูลค่าบัตรภาษีให้แก่โจทก์ตามข้อสัญญาที่จำเลยให้ไว้แก่โจทก์โดยมิพักต้องคำนึงว่าจำเลยได้รับโอนบัตรภาษีมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนตามบทกฎหมายเรื่องลาภมิควรได้หรือไม่ เมื่อความรับผิดของจำเลยเป็นความรับผิดอันเกิดแต่สัญญา และเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระตามวันแห่งปฏิทิน จำเลยต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยใช้เงินตามบัตรภาษีแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยได้รับหนังสือทวงถามวันที่ 23 มกราคม 2547 ครบกำหนดจำเลยชำระหนี้วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2547 จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดและต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2547 เป็นต้นไป
ข้อสัญญาที่จำเลยให้ไว้แก่กรมศุลกากรโจทก์ตามคำร้องขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีที่ว่า ในกรณีเกิดการทุจริตในการขอรับชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใด ๆ จำเลยยินยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการ มิใช่ความตกลงยกเว้นมิให้ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนอันเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 แต่เป็นข้อสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามจึงใช้บังคับได้ไม่เป็นโมฆะ
การที่กรมศุลกากรโจทก์ออกบัตรภาษีให้แก่จำเลยเกิดจากการทุจริตของบริษัท ท. ผู้ขอโอนสิทธิให้แก่จำเลย และจำเลยนำบัตรภาษีไปใช้ชำระค่าภาษีอากรหมดแล้ว จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินตามมูลค่าบัตรภาษีให้แก่โจทก์ตามข้อสัญญาที่จำเลยให้ไว้แก่โจทก์โดยมิพักต้องคำนึงว่าจำเลยได้รับโอนบัตรภาษีมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนตามบทกฎหมายเรื่องลาภมิควรได้หรือไม่ เมื่อความรับผิดของจำเลยเป็นความรับผิดอันเกิดแต่สัญญา และเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระตามวันแห่งปฏิทิน จำเลยต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยใช้เงินตามบัตรภาษีแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยได้รับหนังสือทวงถามวันที่ 23 มกราคม 2547 ครบกำหนดจำเลยชำระหนี้วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2547 จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดและต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2547 เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4757/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเงินชดเชยภาษีอากรโดยเท็จถือเป็นการทำละเมิด จำเลยต้องรับผิดดอกเบี้ยนับจากวันที่ธนาคารได้รับบัตรภาษี
การที่จำเลยยื่นคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรโดยอ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออก ซึ่งเป็นความเท็จ จนได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปบัตรภาษีไปจากโจทก์นั้น เป็นการจงใจกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์เสียหายแก่ทรัพย์สิน อันเป็นการทำละเมิด จำเลยได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด จึงต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันได้รับบัตรภาษีไปจากโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420, 206 และ 224 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีภาษีอากร และการประเมินภาษีที่ถูกต้องตามระเบียบ
พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ได้ตรวจสอบและทราบการตายของ อ. เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 และโจทก์ที่ 1 โดยรองอธิบดีฝ่ายที่ 1 ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีของโจทก์ที่ 1 ทราบการตายของ อ. เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2545 การที่โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2545 ยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ที่ 1 ทราบการตายของ อ. ฟ้องโจทก์ทั้งสามจึงอยู่ในอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม
ในขณะที่ อ. นำเข้ารถยนต์คันพิพาทนั้น โจทก์ที่ 1 ได้แจ้งเจ้าหน้าที่ประเมินอากรไม่ให้ใช้ราคาตาม PRICE LIST เดิมเป็นราคามาตรฐานกลางและเป็นเกณฑ์ในการประเมินอากรต่อไป แต่ให้รอราคาประเมินตามที่คณะกรรมการติดตามและพิจารณาราคาประเมินกำหนดเสียก่อน การที่เจ้าหน้าที่ประเมินอากรเห็นว่าราคาที่ อ. สำแดงต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงสั่งตีราคาโดยใช้เกณฑ์การรับราคาตาม PRICE LIST ปีก่อน และกำหนดให้วางเงินประกันจึงไม่ขัดต่อระเบียบของโจทก์ที่ 1 เมื่อต่อมาคณะกรรมการติดตามและพิจารณาราคาประเมินของโจทก์ที่ 1 ได้ประชุมพิจารณาแล้วมีมติให้ใช้ราคาขายปลีกในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นฐานราคาในการคำนวณราคาประเมิน ซึ่งอธิบดีของโจทก์ที่ 1 ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว เจ้าหน้าที่ประเมินอากรย่อมมีอำนาจที่จะประเมินราคารถยนต์ที่ อ. นำเข้าและประเมินค่าภาษีอากรเสียใหม่ได้ การประเมินจึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย
ในขณะที่ อ. นำเข้ารถยนต์คันพิพาทนั้น โจทก์ที่ 1 ได้แจ้งเจ้าหน้าที่ประเมินอากรไม่ให้ใช้ราคาตาม PRICE LIST เดิมเป็นราคามาตรฐานกลางและเป็นเกณฑ์ในการประเมินอากรต่อไป แต่ให้รอราคาประเมินตามที่คณะกรรมการติดตามและพิจารณาราคาประเมินกำหนดเสียก่อน การที่เจ้าหน้าที่ประเมินอากรเห็นว่าราคาที่ อ. สำแดงต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงสั่งตีราคาโดยใช้เกณฑ์การรับราคาตาม PRICE LIST ปีก่อน และกำหนดให้วางเงินประกันจึงไม่ขัดต่อระเบียบของโจทก์ที่ 1 เมื่อต่อมาคณะกรรมการติดตามและพิจารณาราคาประเมินของโจทก์ที่ 1 ได้ประชุมพิจารณาแล้วมีมติให้ใช้ราคาขายปลีกในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นฐานราคาในการคำนวณราคาประเมิน ซึ่งอธิบดีของโจทก์ที่ 1 ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว เจ้าหน้าที่ประเมินอากรย่อมมีอำนาจที่จะประเมินราคารถยนต์ที่ อ. นำเข้าและประเมินค่าภาษีอากรเสียใหม่ได้ การประเมินจึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3592/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน ไม่ถือเป็นการค้าหรือหากำไร จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (4) บัญญัติความหมายของคำว่า "ขาย" ว่า หมายความรวมถึงสัญญาจะขาย ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ ให้เช่าซื้อหรือจำหน่าย จ่าย โอนไม่ว่าจะมีประโยชน์ตอบแทนหรือไม่ ตามบทนิยามดังกล่าวเห็นได้ว่าแม้ที่ดินของโจทก์อยู่ในเขตที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อขยายทางหลวงเทศบาล สายรามคำแหงตอนสะพานข้ามคลองลาดบัวขาว - บรรจบถนนสุวินทวงศ์ พ.ศ.2537 และการที่โจทก์โอนที่ดินดังกล่าวให้แก่กรุงเทพมหานครเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ก็ตาม ก็ยังเป็นการโอนจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (4)
โจทก์จำเป็นต้องมีที่ดินไว้ใช้ในการประกอบกิจการ เพราะต้องใช้เป็นศูนย์บริการลูกค้า ไม่ใช่มีไว้เพื่อขาย ประกอบกับโจทก์ต้องโอนทรัพย์เนื่องจากมีพระราชกฤษฎีกาออกมากำหนดให้ที่ดินที่โอนนั้นอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งหากโจทก์ไม่ตกลงกับเจ้าหน้าที่ก็ต้องถูกเวนคืน การที่โจทก์ยอมตกลงโอนที่ดินภายใต้สภาพบังคับเช่นนี้ย่อมไม่ใช่การโอนโดยเจตนาหรือเพื่อประโยชน์ในกิจการของโจทก์ จึงไม่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2 (6)
โจทก์จำเป็นต้องมีที่ดินไว้ใช้ในการประกอบกิจการ เพราะต้องใช้เป็นศูนย์บริการลูกค้า ไม่ใช่มีไว้เพื่อขาย ประกอบกับโจทก์ต้องโอนทรัพย์เนื่องจากมีพระราชกฤษฎีกาออกมากำหนดให้ที่ดินที่โอนนั้นอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งหากโจทก์ไม่ตกลงกับเจ้าหน้าที่ก็ต้องถูกเวนคืน การที่โจทก์ยอมตกลงโอนที่ดินภายใต้สภาพบังคับเช่นนี้ย่อมไม่ใช่การโอนโดยเจตนาหรือเพื่อประโยชน์ในกิจการของโจทก์ จึงไม่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2 (6)