คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทองหล่อ โฉมงาม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 587 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3592/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน ไม่ถือเป็นการค้าหรือหากำไร จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (4) บัญญัติความหมายของคำว่า "ขาย" ว่า หมายความรวมถึงสัญญาจะขาย ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ ให้เช่าซื้อหรือจำหน่าย จ่าย โอนไม่ว่าจะมีประโยชน์ตอบแทนหรือไม่ ตามบทนิยามดังกล่าวเห็นได้ว่าแม้ที่ดินของโจทก์อยู่ในเขตที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อขยายทางหลวงเทศบาล สายรามคำแหงตอนสะพานข้ามคลองลาดบัวขาว - บรรจบถนนสุวินทวงศ์ พ.ศ.2537 และการที่โจทก์โอนที่ดินดังกล่าวให้แก่กรุงเทพมหานครเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ก็ตาม ก็ยังเป็นการโอนจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (4)
โจทก์จำเป็นต้องมีที่ดินไว้ใช้ในการประกอบกิจการ เพราะต้องใช้เป็นศูนย์บริการลูกค้า ไม่ใช่มีไว้เพื่อขาย ประกอบกับโจทก์ต้องโอนทรัพย์เนื่องจากมีพระราชกฤษฎีกาออกมากำหนดให้ที่ดินที่โอนนั้นอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งหากโจทก์ไม่ตกลงกับเจ้าหน้าที่ก็ต้องถูกเวนคืน การที่โจทก์ยอมตกลงโอนที่ดินภายใต้สภาพบังคับเช่นนี้ย่อมไม่ใช่การโอนโดยเจตนาหรือเพื่อประโยชน์ในกิจการของโจทก์ จึงไม่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2 (6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3591/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แม้มิได้มีชื่อในทะเบียนบ้าน
พ.ร.ฏ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 มีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่นาย พ. จึงต้องนำพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาใช้บังคับกับกรณีของโจทก์ เมื่อโจทก์ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไปภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มา และกรณีของโจทก์ไม่เข้าข้อยกเว้นว่าโจทก์ใช้เป็นสถานที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญที่โจทก์มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรและได้อาศัยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี จึงต้องถือว่าโจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตาม มาตรา 3 (6) แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎรกร มาตรา 91/2(6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3492/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีสิทธิคำนวณภาษีซื้อย้อนหลังได้หรือไม่ ฎีกาวินิจฉัยว่าไม่มีสิทธิ
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่มีมูลค่าของฐานภาษีเกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ความเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนของโจทก์ย่อมมีผลนับแต่วันที่ระบุไว้ในทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงไม่มีสิทธินำภาษีซื้อที่เกิดขึ้นก่อนที่โจทก์จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมาคำนวณในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3460/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี ไม่ถือเป็นการค้าหรือหากำไร หากมีวัตถุประสงค์เพื่อการอยู่อาศัยและลดภาระดอกเบี้ย
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดว่าการที่โจทก์ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทมาเพื่อใช้อยู่อาศัยโดยนำที่ดินและบ้านไปจำนองไว้แก่ธนาคาร ท. ต่อมาโจทก์ได้จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินและบ้านดังกล่าว และจดทะเบียนยกที่ดินและบ้านให้แก่ ส. ซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน แล้ว ส. นำที่ดินและบ้านไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคาร ก. โดยอาศัยสิทธิการเป็นพนักงานของธนาคารดังกล่าวซึ่งจะเสียดอกเบี้ยในอัตราต่ำกว่าเดิม โดยการทำนิติกรรมดังกล่าวทั้งหมดทำในวันเดียวกัน หลังจากนั้นโจทก์และ ส. ก็ยังคงอาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านดังกล่าวร่วมกันตลอดมา ย่อมแสดงให้เห็นว่าโจทก์และครอบครัวยังจำเป็นต้องใช้ที่ดินและบ้านดังกล่าวเป็นที่อยู่อาศัย การที่โจทก์จดทะเบียนยกที่ดินและบ้านดังกล่าวให้แก่ ส. ก็เพียงเพื่อให้ ส. นำไปเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงินที่อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าเดิมเท่านั้น แม้จะถือว่าเป็นการขายตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 91/1 (4) ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มา ก็ไม่ใช่กรณีที่ทำเป็นทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 91/2 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3460/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนอสังหาริมทรัพย์ให้บุตรเพื่อเป็นหลักประกันเงินกู้ ไม่ถือเป็นการขายเพื่อค้าหรือหากำไร จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางการค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 มาตรา 3 (6) ซึ่งออกตามความในมาตรา 91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติว่า การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (5) ที่ได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น เว้นแต่? แสดงว่าการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มามิได้เป็นการขายเป็นทางค้าหรือหากำไรเสมอไป เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า การที่โจทก์ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทมาเพื่ออยู่อาศัยโดยนำที่ดินและบ้านไปจำนองแก่ธนาคาร ท. ในวันที่รับโอนโดยต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ต่อมาโจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองบ้านและที่ดินดังกล่าว และจดทะเบียนยกที่ดินและบ้านให้แก่ ส. ซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน แล้ว ส. นำที่ดินและบ้านไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคาร ก. ซึ่ง ส. กู้ยืมเงินมาไถ่ถอนที่ดินและบ้านดังกล่าว โดยอาศัยสิทธิการเป็นพนักงานของธนาคาร ก. ซึ่งเสียดอกเบี้ยในอัตราเพียงร้อยละ 4 ต่อปี และทำนิติกรรมดังกล่าวทั้งหมดทำในวันเดียวกัน หลังจากนั้น โจทก์และ ส. ยังคงอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านหลังดังกล่าวร่วมกันตลอดมา แสดงว่า โจทก์ยังจำเป็นต้องใช้ที่ดินและบ้านนี้อยู่อาศัยต่อไป การที่โจทก์จดทะเบียนยกที่ดินและบ้านดังกล่าวให้แก่ ส. ก็เพื่อให้ ส. นำไปเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงินเท่านั้น การโอนที่ดินและบ้านดังกล่าว แม้จะถือว่าเป็นการขายที่ได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มา ก็ไม่ใช่กรณีที่ทำเป็นทางการค้าหรือหากำไร ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3460/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนอสังหาริมทรัพย์ให้บุตรเพื่อลดภาระดอกเบี้ย ไม่ถือเป็นการค้าหรือหากำไร ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทมาเพื่อใช้อยู่อาศัยโดยนำไปจำนองไว้แก่ธนาคารในวันที่รับโอนซึ่งต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ต่อมาโจทก์ได้จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินและบ้านและจดทะเบียนยกให้แก่ ส. ซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ส. นำไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่อีกธนาคารหนึ่ง ซึ่ง ส. กู้ยืมเงินมาไถ่ถอนจำนองที่ดินและบ้านพิพาท โดยอาศัยสิทธิการเป็นพนักงานของธนาคารดังกล่าวซึ่งจะเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 4 ต่อปี หลังจากนั้นโจทก์และ ส. ก็ยังคงอาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านร่วมกันตลอดมา การที่โจทก์จดทะเบียนยกที่ดินและบ้านให้แก่ ส. ก็เพียงเพื่อให้ ส. นำไปเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงินที่อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าเดิมเท่านั้น แม้จะถือว่าเป็นการขายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (4) ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มา ก็ไม่ใช่กรณีที่ทำเป็นทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3421/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องภาษีอากรที่ชัดเจนเพียงพอ ศาลต้องให้แก้ไขหรือวินิจฉัย ไม่ยกฟ้อง
ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ.2544 ข้อ 13 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า คำฟ้องที่แสดงให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับให้ถือว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย และวรรคสองกำหนดว่า ถ้าจำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่เข้าใจคำฟ้องในส่วนใดศาลอาจสั่งให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องโดยอธิบายรายละเอียดในส่วนนั้นให้ชัดเจนขึ้นก็ได้ คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้ว่าคำฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เพราะไม่ได้บรรยายฟ้องว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ชอบอย่างไร และขัดต่อประมวลรัษฎากรอย่างไร เป็นคำฟ้องที่ไม่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา หากศาลภาษีอากรกลางเห็นว่าข้อต่อสู้ของจำเลยรับฟังได้ ศาลภาษีอากรกลางต้องมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องโดยอธิบายรายละเอียดให้ชัดเจนขึ้นตามข้อกำหนดดังกล่าว การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุดังกล่าวจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3419/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มจากราคาขายต่ำกว่าราคาตลาด กรณีผู้ประกอบการนำเข้าสินค้า
มาตรา 88 (2) และ 88/6 แห่ง ป. รัษฎากร บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีหลักฐานว่าผู้มีหน้าที่เสียภาษีแสดงรายการภาษีโดยแสดงจำนวนภาษีที่ต้องเสียต่ำกว่าความเป็นจริง หรือไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง การที่เจ้าพนักงานประเมินพบหลักฐานว่า สินค้าไม้แปรรูปที่โจทก์ขายนั้นโจทก์เป็นผู้นำเข้า และได้เสียอากรขาเข้าตามกฎหมายศุลกากรและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้าตามประมวลรัษฎากรโดยราคาสินค้าที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณอากรและภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวสูงกว่าราคาตลาดที่โจทก์ขายและใช้เป็นมูลค่าของฐานภาษีสำหรับการขายสินค้า จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีหลักฐานและมีเหตุอันสมควรเชื่อว่า โจทก์ขายสินค้าในราคาต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร และมีอำนาจทำการประเมินได้ราคาสินค้าที่ประกาศกรมศุลกากรกำหนดเพื่อเป็นหลักเกณฑ์ประเมินอากรขาเข้าเป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่ง และราคาเช่นว่านั้นอาจเท่ากับราคาตลาดของการขายสินค้าในขณะนั้นก็ได้ เมื่อโจทก์รับข้อเท็จจริงว่า สินค้าไม้แปรรูปรายพิพาทโจทก์เป็นผู้นำเข้าและเสียอากรขาเข้าตามกฎหมายศุลกากรกับเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้าตามประมวลรัษฎากร โดยถือราคาตามที่ประกาศกรมศุลกากรกำหนดเป็นเกณฑ์ประเมินอากรขาเข้าเป็นฐานในการคำนวณอากรขาเข้าและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานในเบื้องต้นได้ว่า สินค้าไม้แปรรูปนั้นมีราคาในวันที่โจทก์นำเข้าตามที่ประกาศกรมศุลกากรกำหนด การที่โจทก์ปฏิเสธราคาเช่นว่านั้นว่าไม่ถูกต้อง ความจริงราคาตลาดต่ำกว่านั้น โจทก์มีหน้าที่พิสูจน์ให้ได้ความดังที่อ้าง เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักน้อยกว่าพยานหลักฐานของจำเลยทั้งสี่ จึงฟังได้ว่าโจทก์ขายสินค้าในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอาคารให้กรมการศาสนาและการหักภาษีซื้อมูลค่าเพิ่ม กรณีเช่าที่ดินสร้างอาคาร
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินกับกรมการศาสนาเพื่อปลูกสร้างอาคารห้างสรรพสินค้า โดยตกลงว่าสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่เช่าตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมการศาสนาทันที แล้วโจทก์มีสิทธิเช่าอาคารดังกล่าว 30 ปี นับแต่วันที่กรมการศาสนารับมอบอาคารนั้น ถือได้ว่ากรมการศาสนาได้กรรมสิทธิ์ในอาคารนั้นมาโดยทางนิติกรรมด้วยการจำหน่ายจ่ายโอนของโจทก์ ต้องด้วยบทนิยามคำว่า "ขาย" ตามมาตรา 91/1 (4) แห่ง ป. รัษฎากร เมื่อโจทก์ขายอาคารห้างสรรพสินค้าดังกล่าวภายในกำหนด 3 ปี นับแต่เดือนที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารดังกล่าวย่อมเป็นภาษีซื้อที่นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่ง ป. รัษฎากร ไม่ได้ ทั้งนี้ตามมาตรา 82/5 (6) แห่ง ป. รัษฎากร ประกอบด้วยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5 (6) แห่ง ป. รัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2880/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีธุรกิจเฉพาะและการประเมินรายรับตามราคาประเมินทุนทรัพย์
ป. รัษฎากร มาตรา 19 เป็นบทบัญญัติกำหนดเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนและออกหมายเรียกพยาน กับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชี เอกสารหรือหลักฐานอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ เมื่อเจ้าพนักงานมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ โดยการออกหมายเรียกดังกล่าวจะต้องกระทำภายในเวลาสองปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ และถ้าหากเป็นกรณีที่อธิบดีอนุมัติให้ขยายระยะเวลาทำการออกหมายเรียกก็ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ หากพ้นกำหนดนี้แล้วจะมีผลเพียงให้เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวน และออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนำบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นมาแสดงได้เท่านั้น หาใช่เป็นบทบัญญัติเรื่องอายุความในการเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรไม่ ทั้งการออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะนั้น ตามมาตรา 91/21 (5) บัญญัติให้นำบทบัญญัติมาตรา 88 มาใช้บังคับโดยอนุโลม อำนาจของเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 19 ด้วย ส่วนในเรื่องอายุความนั้น ป.พ.พ. มาตรา 193/31 บัญญัติว่าสิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรให้มีกำหนดอายุความ 10 ปี เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจที่จะประเมินเก็บภาษีจากโจทก์ได้ภายในกำหนด 10 ปี ตั้งแต่วันครบกำหนดที่โจทก์ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ เมื่อระยะเวลายังอยู่ในกำหนดอายุความดังกล่าว เจ้าพนักงานประเมินย่อมประเมินให้โจทก์ชำระภาษีธุรกิจเฉพาะได้
ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 91/1 (1) "รายรับ" หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทนหรือประโยชน์ใด ๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับหรือพึงได้รับไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรอันเนื่องมาจากการประกอบกิจการ เจตนารมณ์ของบทบัญญัตินี้ประสงค์จะให้รายรับที่ผู้ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแสดงไว้ในรายการภาษีธุรกิจเฉพาะต้องเป็นรายรับที่มีมูลค่าอันพึงสมควรได้รับด้วย ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้ผู้ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแสดงรายรับที่มีมูลค่าต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินยึดถือหลักเกณฑ์การกำหนดรายรับของจำเลยที่กำหนดว่า ในการคำนวณรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะให้ถือรายรับที่ได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามความเป็นจริง แต่ต้องไม่น้อยกว่าราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตาม ป. ที่ดิน ซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่มีการโอนมาใช้ประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะชอบด้วย ป. รัษฎากร มาตรา 91/16 แล้ว
โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ชำระภาษีธุรกิจเฉพาะครบถ้วนตามที่จำเลยแจ้งและเรียกเก็บ และจำเลยไม่ได้นำสืบโต้แย้งว่ายอดรายรับของโจทก์ต่ำกว่าราคาท้องตลาดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 25
of 59