พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4264/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเช็ค: ผู้ทรงเช็คมีอำนาจฟ้อง แม้ไม่ได้ระบุฐานะผู้จัดการมรดกในเช็ค
เช็ค เป็นเอกสารเปลี่ยนมือ เมื่อจำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์โดยมิได้ระบุว่าจ่ายให้โจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ บ. โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คตามกฎหมาย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คโดยชอบจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องในนามของโจทก์เองโดยไม่จำต้องระบุต่อท้ายชื่อโจทก์ว่าในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. อย่างไรก็ดี คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 และ 2 ซึ่งถือว่าเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวระบุว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คตามฟ้องให้แก่โจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ บ. จึงถือว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่แนบมาท้ายฟ้องอีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4215/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษคดียาเสพติด (ฝิ่น) ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ มาตรา 69 วรรคสาม และผลของการแก้ไขกฎหมาย
การมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายซึ่งฝิ่นอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องหรือนำสืบว่ามีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้จำนวนเท่าใดก็ต้องปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 69 วรรคสาม เนื่องจากบทบัญญัติในมาตรา 69 วรรคสาม เป็นบทลงโทษที่ขยายความมาจากบทบัญญัติในมาตรา 69 วรรคสอง โดยแยกความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษประเภท 2 เฉพาะมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีนที่มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัม ต้องลงโทษตามวรรคสาม แต่หากเป็นกรณีมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน ที่มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินกว่าหนึ่งร้อยกรัมขึ้นไป ต้องลงโทษตามวรรคสี่ ดังนั้น การจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เฉพาะมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน จึงต้องได้รับโทษตามมาตรา 69 วรรคสามหรือวรรคสี่ แล้วแต่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4215/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความบทลงโทษ พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ มาตรา 69 วรรคสาม กรณีปริมาณฝิ่นไม่เกิน 100 กรัม
การมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายซึ่งฝิ่นอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องหรือนำสืบว่ามีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้จำนวนเท่าใดก็ต้องปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 69 วรรคสาม เนื่องจากบทบัญญัติในมาตรา 69 วรรคสาม เป็นบทลงโทษที่ขยายความมาจากบทบัญญัติในมาตรา 69 วรรคสอง โดยแยกความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เฉพาะมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน ที่มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัม ต้องลงโทษตามวรรคสาม แต่หากเป็นกรณีมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน ที่มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินกว่าหนึ่งร้อยกรัมขึ้นไป ต้องลงโทษตามวรรคสี่ ดังนั้น การจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เฉพาะมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน จึงต้องได้รับโทษตามมาตรา 69 วรรคสาม หรือวรรคสี่ แล้วแต่กรณี
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2548)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2548)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3869/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้ค่าเสียหายเกินราคาทรัพย์ ผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดี จำเลยไม่ต้องคืนทรัพย์
ฎีกาของโจทก์ที่ขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ เมื่อจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 100,000 บาท ให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเกินกว่าราคาทรัพย์ที่จำเลยเอาไปจากผู้เสียหาย และผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3502/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนายิงเพื่อประทุษร้าย ไม่ถึงแก่ชีวิต ความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
เหตุที่จำเลยยิงผู้เสียหายเนื่องจากผู้เสียหายทวงถามเงินค่าน้ำมันจากจำเลย จำเลยโกรธแล้วขับรถจักรยานยนต์เสียงดังใส่หน้าผู้เสียหาย ต่อมาประมาณ 30 นาที จึงได้กลับมาพร้อมใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย กรณีไม่ใช่เกิดโทสะแล้วยิงผู้เสียหายทันที หากแต่เป็นกรณีเกิดโทสะและออกจากที่เกิดเหตุแล้วประมาณ 30 นาที ซึ่งมีเวลาที่จำเลยคิดไตร่ตรองแล้วจึงหวนกลับมาพร้อมนำอาวุธปืนซึ่งนับว่าเป็นอาวุธที่ร้ายแรงยิงผู้เสียหาย ถือว่าเป็นการกระทำโดยมีเจตนาฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แต่การที่จำเลยใช้อาวุธปืนของกลางยิงผู้เสียหายในระยะห่างประมาณ 20 เมตร กระสุนปืนถูกบริเวณคอด้านหน้าขวาและบริเวณชายโครงขวาด้านหน้า ทั้งสองแห่งมีบาดแผลขนาด 0.5 เซนติเมตร ไม่มีความลึก แพทย์ลงความเห็นว่ารักษาหายภายใน 7 วัน แสดงให้เห็นว่ากระสุนไม่มีความรุนแรงพอที่จะทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้อย่างแน่แท้ เพราะเหตุอาวุธปืนซึ่งเป็นปัจจัยที่ใช้ในการกระทำความผิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 81 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3322/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างมาตรา 7 พ.ร.บ.มาตรการยาเสพติดฯ โทษสูงกว่าบทลงโทษอื่น โจทก์ต้องอ้างตามฟ้อง มิฉะนั้นถือเป็นการเกินคำขอ
พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ เป็นกฎหมายคนละฉบับกับ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ ทั้งมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นการบัญญัติว่าผู้ใดกระทำความผิดฐานพยายามกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดต้องระวางโทษเท่าใด จึงเป็นทั้งบทความผิดและบทลงโทษในมาตราเดียวกัน ส่วนความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และความผิดฐานพยายามกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 80 นั้นเป็นเพียงองค์ความผิดและบทโทษส่วนหนึ่งของมาตรา 7 ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ เท่านั้น การที่โจทก์ไม่อ้างมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งมีโทษสูงกว่าโทษในความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม), 66 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) ประกอบ ป.อ. มาตรา 80 จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ และเป็นการเกินคำขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่
ตามคำฟ้องบรรยายว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนในวันและเวลาเดียวกัน ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแม้จะเป็นความผิดสำเร็จแล้ว แต่เมื่อกระทำความผิดทั้งสองความผิดเป็นวันเวลาเดียวกัน ถือว่าเป็นความผิดที่ต่อเนื่องกันอยู่ เจตนาของจำเลยที่มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองก็เพื่อจำหน่ายจึงเป็นเจตนาเดียวกันกับเจตนาในความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ทั้งเมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองและที่จะจำหน่ายก็เป็นจำนวนเดียวกัน การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่หลายกรรมต่างกัน
ตามคำฟ้องบรรยายว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนในวันและเวลาเดียวกัน ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแม้จะเป็นความผิดสำเร็จแล้ว แต่เมื่อกระทำความผิดทั้งสองความผิดเป็นวันเวลาเดียวกัน ถือว่าเป็นความผิดที่ต่อเนื่องกันอยู่ เจตนาของจำเลยที่มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองก็เพื่อจำหน่ายจึงเป็นเจตนาเดียวกันกับเจตนาในความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ทั้งเมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองและที่จะจำหน่ายก็เป็นจำนวนเดียวกัน การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่หลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3322/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีเกี่ยวกับยาเสพติด โจทก์ไม่อ้างบทลงโทษที่หนักกว่า ถือเป็นการไม่ประสงค์ให้ลงโทษตามบทนั้น
พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 7 เป็นทั้งบทความผิดและบทลงโทษในมาตราเดียวกัน ส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และความผิดฐานพยายามกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 80 เป็นเพียงองค์ประกอบความผิดและบทลงโทษส่วนหนึ่งของมาตรา 7 เท่านั้น ดังนั้น การที่โจทก์ไม่อ้างมาตรา 7 ซึ่งมีโทษสูงกว่าโทษในความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม), 66 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) ประกอบ ป.อ. มาตรา 80 จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 7 และเป็นการเกินคำขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3000/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชี แม้ผู้ถือหุ้นและกรรมการผู้จัดการเป็นผู้เสียหายก็ยังฟ้องร้องได้
จำเลยที่ 1 และโจทก์ร่วมมีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดแยกต่างหากจากกัน แม้ว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ในนามของจำเลยที่ 1 เข้าเป็นผู้ถือหุ้นของโจทก์ร่วม และจำเลยที่ 2 ยังเป็นกรรมการผู้จัดการของโจทก์ร่วมก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อและประทับตราของจำเลยที่ 1 ร่วมกันออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อชำระหนี้ค่าจ้างพิมพ์ปฏิทิน และขณะธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับนั้น บริษัทโจทก์ร่วมเป็นผู้ทรงเช็คและเป็นผู้ได้รับความเสียหายเช่นนี้ จำเลยทั้งสามย่อมเป็นผู้ร่วมกันกระทำความผิดตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3000/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกเช็คโดยไม่มีเงินเพียงพอ แม้มีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัทผู้รับเช็คก็ไม่อยู่ในฐานะผู้เสียหาย
จำเลยที่ 1 และโจทก์ร่วมมีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดแยกต่างหากจากกัน แม้ว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ในนามของจำเลยที่ 1 เข้าเป็นผู้ถือหุ้นของโจทก์ร่วม และจำเลยที่ 2 ยังเป็นกรรมการผู้จัดการของโจทก์ร่วมก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อและประทับตราของจำเลยที่ 1 ร่วมกันออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อชำระหนี้ค่าจ้างพิมพ์ปฏิทิน และขณะธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับนั้น บริษัทโจทก์ร่วมเป็นผู้ทรงเช็คและเป็นผู้ได้รับความเสียหายเช่นนี้ จำเลยทั้งสามย่อมเป็นผู้ร่วมกันกระทำความผิดตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงมิใช่อยู่ในฐานะผู้เสียหายด้วยแต่อย่างใด โจทก์ร่วมสามารถดำเนินการเพื่อนำคดีมาสู่ศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2903/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บทสันนิษฐานการมีไว้เพื่อจำหน่ายยาเสพติด & การยกข้อไม่รู้กฎหมายในชั้นฎีกาเป็นฎีกาต้องห้าม
ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคสาม (2) ที่บัญญัติว่าการมีแอมเฟตามีนหรืออนุพันธ์แอมเฟตามีน มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัมขึ้นไป... ให้ถือว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นบทสันนิษฐานเด็ดขาดของกฎหมายนั้น จำเลยไม่อาจนำสืบหักล้างเป็นอย่างอื่นได้ ทั้งตาม ป.อ. มาตรา 64 บัญญัติว่า "บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความรับผิดในทางอาญาไม่ได้ แต่ถ้าศาลเห็นว่าตามสภาพและพฤติการณ์ผู้กระทำความผิดอาจจะไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด ศาลอาจอนุญาตให้แสดงพยานหลักฐานต่อศาล และถ้าศาลเชื่อว่า ผู้กระทำไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้น ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้" เมื่อจำเลยมิได้ขออนุญาตแสดงพยานหลักฐานต่อศาลให้เชื่อว่าจำเลยไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติไว้ตั้งแต่ศาลชั้นต้น ย่อมเป็นปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จึงเป็นฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15