คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สิทธิชัย รุ่งตระกูล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10443/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์นำไปจดทะเบียนได้ หากมีข้อตกลงชัดเจนก่อนหน้า
โจทก์กู้เงินจากจำเลยและมอบหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ลงลายมือชื่อไว้โดยไม่กรอกข้อความให้แก่จำเลยยึดถือไว้ โดยมีข้อตกลงด้วยว่าหากโจทก์ไม่มีเงินชำระคืนตามกำหนด ให้จำเลยนำเอกสารดังกล่าวไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยได้ การที่ต่อมาโจทก์ไม่สามารถหาเงินมาชำระคืนจำเลยได้และจำเลยได้กรอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวแล้วนำไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย เป็นไปตามที่ตกลงกัน จำเลยจึงมีอำนาจกระทำได้ หนังสือมอบอำนาจจึงไม่ใช่เอกสารปลอม และนิติกรรมจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5129/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการสั่งการออกกำลังกายเกินขนาดเป็นเหตุให้เด็กนักเรียนเสียชีวิต โรงเรียนต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นอาจารย์สอนวิชาพลศึกษา ได้สั่งให้นักเรียนชั้น ม.1 วิ่งรอบสนามระยะทาง 200 เมตร ต่อ 1 รอบ จำนวน 3 รอบ เป็นการอบอุ่นร่างกายก่อนการเรียนวิชาพลศึกษาในภาคปฏิบัติ และได้สั่งให้นักเรียนวิ่งรอบสนาม ต่ออีก 3 รอบ เป็นการกระทำโทษที่วิ่งไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งเหมาะสมตามสมควรแก่พฤติการณ์ แต่การที่สั่งให้วิ่งรอบสนามต่อไปอีก 3 รอบ และเมื่อนักเรียนยังทำไม่ได้เรียบร้อย ก็สั่งให้วิ่งต่อไปอีก 3 รอบ ในช่วงเวลาหลังเที่ยงวันเพียงเล็กน้อย สภาพอากาศร้อนและมีแสงแดดแรง นับเป็นการใช้วิธีการลงโทษนักเรียนที่ไม่เหมาะสมและไม่ชอบเพราะจำเลยที่ 1 น่าจะเล็งเห็นได้ว่าการลงโทษนักเรียนซึ่งมีอายุระหว่าง 11 ถึง 12 ปี ด้วยวิธีการดังกล่าวอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของนักเรียนได้ เป็นความประมาทเลินเล่อ จนทำให้เด็กชาย พ. ซึ่งเป็นโรคหัวใจอยู่ก่อนล้มลง ในการวิ่งรอบสนามรอบที่ 11 และถึงแก่ความตายในเวลาต่อมาเพราะสาเหตุระบบหัวใจล้มเหลว การตายของเด็กชาย พ. จึงเป็นผลโดยตรงจากการวิ่งออกกำลังตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ทราบว่าเด็กชาย พ. เป็นโรคหัวใจ ก็ตาม มิใช่เกิดจากเหตุสุดวิสัย ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดเป็นเหตุให้เด็กชาย พ. ถึงแก่ความตาย แต่ความไม่รู้ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นเหตุประกอบดุลพินิจในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้น้อยลง
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดของจำเลยที่ 2 ทำการสอนวิชาพลศึกษาในชั่วโมงวิชาพลศึกษาของนักเรียนชั้น ม.1 ห้อง 1/4 ของโรงเรียน ว. เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการในฐานะผู้แทนกรมสามัญศึกษาจำเลยที่ 2 การออกคำสั่งให้นักเรียนวิ่งรอบสนามเพื่ออบอุ่นร่างกายและการลงโทษนักเรียนให้วิ่งรอบสนาม ก็ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วย เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ทำให้เด็กชาย พ. นักเรียนคนหนึ่งในชั้นดังกล่าวถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแก่โจทก์ผู้เป็นมารดาของเด็กชาย พ. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง
แม้เหตุละเมิดคดีนี้เกิดขึ้นก่อนที่ พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ใช้บังคับ แต่เมื่อโจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้นั้น พ.ร.บ. ฉบับนี้ใช้บังคับแล้ว สิทธิของโจทก์ในการฟ้องเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐให้รับผิดทางละเมิดต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ ฉะนั้น เมื่อคดีปรากฏว่าการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ของกรมสามัญศึกษาจำเลยที่ 2 โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ดังกล่าว ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5129/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากครูสั่งนักเรียนวิ่งกลางแดดจนเสียชีวิต ศาลลดค่าสินไหมทดแทนจากความประมาทเลินเล่อและโรคประจำตัว
จำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายให้สอนวิชาพลศึกษาถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายให้ดูแลนักเรียนให้ได้รับความปลอดภัยในชั่วโมงดังกล่าวด้วย การสั่งให้นักเรียนวิ่งรอบสนามซึ่งมีระยะทางประมาณ 200 เมตร ต่อ 1 รอบ จำนวน 3 รอบ ถือเป็นการอบอุ่นร่างกายนับเป็นสิ่งที่เหมาะสม แม้เมื่อนักเรียนวิ่งไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยในการวิ่งครบ 3 รอบแล้ว จำเลยที่ 1 ได้สั่งให้วิ่งต่ออีก 3 รอบ จะถือเป็นวิธีการทำโทษที่เหมาะสมตามควรแก่พฤติการณ์แล้วแต่การที่นักเรียนทั้งหมดยังวิ่งได้ไม่เรียบร้อยแบบเดิมอีก จำเลยที่ 1 ก็ควรหามาตรการหรือวิธีการลงโทษโดยวิธีอื่น การที่สั่งให้วิ่งต่อไปอีก 3 รอบและเมื่อนักเรียนยังทำได้ไม่เรียบร้อย จำเลยที่ 1 ก็สั่งให้วิ่งต่อไปอีก 3 รอบ ในช่วงเวลาหลังเที่ยงวันอากาศร้อนและมีแสงแดดแรงนับเป็นการใช้วิธีการลงโทษที่ไม่เหมาะสม เพราะอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของนักเรียนซึ่งอายุระหว่าง 11 ปี ถึง 12 ปีได้ จึงเป็นการกระทำโดยไม่ชอบและเป็นความประมาทเลินเล่อ ทั้งการออกกำลังกายโดยการวิ่งย่อมทำให้หัวใจเต้นแรงกว่าปกติ จำนวนรอบที่เพิ่มมากขึ้น ย่อมทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเมื่อเป็นเวลานานย่อมเป็นอันตรายต่อหัวใจที่ไม่ปกติจนทำให้เด็กชาย พ. ซึ่งเป็นโรคหัวใจอยู่ก่อนแล้วล้มลงในการวิ่งรอบที่ 11 และถึงแก่ความตายในเวลาต่อมาเพราะสาเหตุระบบหัวใจล้มเหลว จึงเป็นผลโดยตรงจากคำสั่งของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ทราบว่าเด็กชาย พ. เป็นโรคหัวใจก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดเป็นเหตุให้เด็กชาย พ. ถึงแก่ความตาย
การที่จำเลยที่ 1 ทำการสอนวิชาพลศึกษาของโรงเรียนเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการในฐานะผู้แทนของกรมสามัญศึกษาจำเลยที่ 2 การออกคำสั่งให้นักเรียนวิ่งรอบสนามเพื่ออบอุ่นร่างกายและการลงโทษนักเรียนให้วิ่งรอบสนาม ก็ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วย เมื่อทำให้เด็กชาย พ. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแก่โจทก์ผู้เป็นมารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 76 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะและค่าปลงศพกับค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพอันเป็นความรับผิดชอบตามกฎหมาย แม้จะมีบุคคลภายนอกนำเงินมาให้โจทก์เพื่อช่วยเหลืองานศพหรือจัดการศพเด็กชาย พ. ก็ไม่อาจทำให้ความรับผิดชอบตามกฎหมายของจำเลยที่ 2 ต้องหมดไปหรือลดน้อยลงไปได้ กรณีจึงไม่อาจนำเงินช่วยงานศพที่โจทก์ได้รับจากสมาคมผู้ปกครองและครูของโรงเรียนมาหักออกจากค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์ได้
การที่บุตรของโจทก์ถึงแก่ความตายเพราะถูกทำละเมิดโจทก์ซึ่งเป็นมารดาตกเป็นผู้ขาดไร้อุปการะตามกฎหมายแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงว่าในปัจจุบันและในอนาคตภาวะเศรษฐกิจของประเทศจะเป็นอย่างไร เด็กชายจะสามารถทำงานมีรายได้มาอุปการะโจทก์ได้หรือไม่
จำเลยที่ 1 เป็นอาจารย์สอนวิชาพลศึกษาสั่งให้นักเรียนวิ่งรอบสนาม 3 รอบ เพื่ออบอุ่นร่างกายและการที่จำเลยที่ 1 สั่งให้นักเรียนวิ่งต่อไปอีก 3 รอบ เพราะนักเรียนวิ่งกันไม่เรียบร้อยและไม่เป็นระเบียบ เป็นวิธีการสอนและลงโทษนักเรียนตามสมควรแก่เหตุและเหมาะสม แต่การที่จำเลยที่ 1 สั่งให้วิ่งอีก 3 รอบสนาม ในครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 เป็นการใช้วิธีการที่ไม่เหมาะสมและไม่ชอบแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มุ่งหวังให้นักเรียนได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตจำเลยที่ 1 ยังมีความหวังดีต่อนักเรียนต้องการอบรมสั่งสอนนักเรียนให้มีความรู้เหมือนดังวิสัยของครูทั่วไป แม้เป็นเหตุให้เด็กชาย พ. ถึงแก่ความตายแต่จำเลยที่ 1 มิได้จงใจหรือกระทำการประมาทอย่างร้ายแรง เพียงแต่กระทำโดยประมาทเลินเล่อขาดความรอบคอบและไม่ใช้ความระมัดระวังเช่นผู้มีอาชีพครูสอนพลศึกษาจะพึงปฏิบัติและสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากสุขภาพของเด็กชาย พ. ไม่แข็งแรงมีโรคประจำตัวคือโรคหัวใจ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่อยู่เหนือความคาดหมายของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 จะอ้างความไม่รู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวมาปฏิเสธความรับผิดชอบตามกฎหมายไม่ได้ แต่ศาลก็สามารถนำมาใช้ประกอบดุลพินิจในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์ของการทำละเมิดได้
แม้เหตุละเมิดเกิดขึ้นก่อนที่พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. 2539 ใช้บังคับ แต่ขณะที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับแล้วสิทธิของโจทก์ในการฟ้องเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐให้รับผิดทางละเมิด จึงต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ฉะนั้นเมื่อการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4986/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นคำให้การ: เหตุผลความล่าช้าของผู้ถูกฟ้องต้องมีน้ำหนัก, รูปคดีไม่ซับซ้อน, ศาลมีอำนาจสั่งโดยไม่ต้องไต่สวน
จำเลยที่ 1 เพิ่งติดต่อหาทนายในขณะที่ยังเหลือเวลายื่นคำให้การอีกเพียง 2 วันโดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุขัดข้องหรือความจำเป็นอย่างใดจึงมาติดต่อหาทนายล่าช้า จึงเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ที่ปล่อยปละละเลยให้ระยะเวลายื่นคำให้การล่วงเลยไปถึง 13 วันโดยไม่ขวนขวายติดต่อหาทนายแต่เนิ่นๆรูปคดีจึงไม่ยุ่งยากซับซ้อน เวลาที่เหลือ 2 วันก็เพียงพอที่จะทำคำให้การยื่นต่อศาลชั้นต้นได้ทันกำหนดเวลา ข้ออ้างตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การของจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษอันจะพึงขยายระยะเวลายื่นคำให้การให้จำเลยที่ 1 ได้ เมื่อข้อเท็จจริงตามที่อ้างมาในคำร้องเพียงพอที่จะวินิจฉัยและมีคำสั่งได้แล้ว ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจทำคำสั่งไปได้โดยไม่จำเป็นต้องส่งสำเนาคำร้องให้โจทก์และไต่สวนคำร้องก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4986/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นคำให้การ: เหตุผลความล่าช้าของจำเลยไม่เพียงพอ ศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวนก่อนออกคำสั่ง
ทนายจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การในขณะที่เหลือเวลาทำการเพื่อยื่นคำให้การอีกเพียง 2 วัน โดยอ้างว่าเพิ่งได้รับการติดต่อจากจำเลยที่ 1 ให้เป็นทนายความในวันนี้ ต้องสอบถามรายละเอียดในคดี และตรวจเอกสารต่าง ๆ ตลอดจนต้องไปดูสถานที่ตั้งของที่ดินพิพาท เพื่อทำคำให้การได้ถูกต้อง โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุขัดข้องหรือความจำเป็นอย่างใดจึงติดต่อหาทนายความล่าช้า ความล่าช้าดังกล่าวเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 เอง ที่ปล่อยปละละเลยให้ระยะเวลายื่นคำให้การล่วงเลยไปถึง 13 วัน โดยไม่ขวนขวายติดต่อหาทนายความแต่เนิ่น ๆ และแม้ว่าจะเหลือเวลาทำการอีกเพียง 2 วัน แต่คดีนี้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องในฐานะเจ้าของรวมให้จำเลยทั้งสองรังวัดแบ่งแยกที่ดินกรรมสิทธิ์รวม ซึ่งได้ครอบครองเป็นส่วนสัดกันแล้ว และมีแผนที่สังเขปท้ายฟ้องอีกด้วย รูปคดีจึงไม่ยุ่งยากซับซ้อนแต่อย่างใด หากทนายจำเลยที่ 1 สอบถามข้อเท็จจริงอย่างจริงจังและรีบไปดูที่ดินโดยเร็ว เวลาที่เหลือ 2 วัน ก็เพียงพอที่จะทำคำให้การยื่นต่อศาลได้ทันกำหนดเวลา ข้ออ้างตามคำร้องของจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษอันจะพึงขยายระยะเวลายื่นคำให้การให้จำเลยที่ 1 ได้ เมื่อข้อเท็จจริงตามที่อ้างมาในคำร้องเพียงพอที่จะวินิจฉัยมีคำสั่งได้แล้ว ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจทำคำสั่งไปได้โดยไม่จำเป็นต้องส่งสำเนาคำร้องให้โจทก์และไต่สวนคำร้องก่อนแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4801/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่: คดีขับไล่ vs. ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลฎีกาตัดสินฟ้องไม่ซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่าจำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านของโจทก์แล้วโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยอาศัยอยู่ต่อไป ขอบังคับให้ขับไล่จำเลยกับใช้ค่าเสียหาย แต่เมื่อโจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมกันและศาลพิพากษาตามยอม ข้อโต้แย้งสิทธิตามคำฟ้อง คำให้การและฟ้องแย้งได้ถูกแปลงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความถือว่าประเด็นแห่งคดีได้มีการวินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดไปแล้วโดยคำพิพากษาตามยอม โจทก์จำเลยมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำพิพากษานั้น จำเลยจึงครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอบังคับคดีให้จำเลยชำระเงินจำนวน 600,000 บาท ในคดีดังกล่าว แต่การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ขอบังคับให้จำเลยออกไปจากที่ดินและบ้านตามฟ้อง เป็นคำฟ้องที่มีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่เกิดขึ้นใหม่จากการที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ ซึ่งจำเลยผิดสัญญา และเป็นเรื่องที่โจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยนอกเหนือจากการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุคนละอย่างกัน จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4801/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่? คดีขับไล่หลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความผิดนัด ศาลฎีกาตัดสินกลับ
คดีเดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอ้างว่าเป็นผู้อาศัยออกจากที่ดินและบ้านพิพาท จำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์และฟ้องแย้ง ระหว่างพิจารณา โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า โจทก์จะโอนที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลย ส่วนจำเลยจะให้เงินโจทก์ 600,000 บาท และระบุวันรับโอนกรรมสิทธิ์และชำระเงินไว้ หากฝ่ายใดผิดนัดให้บังคับคดีได้ทันที แต่จำเลยผิดนัด โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องขับไล่จำเลยอ้างว่าผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนี้ สภาพข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีเดิมคือ จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านของโจทก์ โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ต่อไป แต่เมื่อโจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอม ข้อโต้แย้งสิทธิตามคำฟ้อง คำให้การ และฟ้องแย้งได้ถูกแปลงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ถือได้ว่าประเด็นแห่งคดีได้มีการวินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดไปแล้วโดยคำพิพากษาตามยอม จำเลยจึงครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิขอบังคับคดีให้จำเลยชำระเงิน 600,000 บาท ในคดีดังกล่าว แต่การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ขอบังคับให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท เป็นคำฟ้องที่มีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่เกิดขึ้นใหม่จากสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีเดิมซึ่งจำเลยผิดสัญญา และเป็นเรื่องที่โจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยนอกเหนือจากการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม คดีทั้งสองจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุคนละอย่างกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3883/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกป่าเพื่อสร้างวัด: ความรับผิดของวัดและเจ้าอาวาส
ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสอง พระเทพปัญญามุนีไม่ใช่ผู้แทนของวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพระลูกวัดและมีพรรษาอาวุโสสูงสุดของวัดจำเลยที่ 1 จึงต้องทำหน้าที่รักษาการแทนเจ้าอาวาสคำฟ้องโจทก์ที่ระบุว่าฟ้องจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 รักษาการแทนเจ้าอาวาส จึงเป็นคำฟ้องที่ถูกต้อง ทั้งการฟ้องนิติบุคคลเป็นจำเลยโดยมิได้ระบุชื่อผู้แทนของนิติบุคคลมาด้วยหรือระบุชื่อผู้แทนนิติบุคคลผิดตัว ก็ไม่ทำให้กลายเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ใช่เป็นการฟ้องจำเลยผิดตัว
ขณะที่วัดจำเลยที่ 1 บุกรุกแผ้วถางป่าเพื่อสร้างกุฏิ ศาลาและสิ่งปลูกสร้าง ในเขตอุทยานแห่งชาติ อันไม่ใช่เขตพื้นที่ของวัดจำเลยที่ 1 ตามที่ได้รับอนุญาต จำเลยที่ 2 เป็นผู้ดูแลรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้แทนของวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีส่วนให้ความเห็นชอบหรือเป็นผู้กระทำการดังกล่าว เมื่อเป็นการกระทำที่ไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์หรืออำนาจหน้าที่ของวัดจำเลยที่ 1 และก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่กรมป่าไม้โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2872/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานตำรวจรับเงินค่าปรับแทนศาลแล้วไม่นำชำระ เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อย ละเมิดอำนาจศาล
ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่ควบคุมตัวผู้ต้องหาและจำเลยไม่มีหน้าที่รับเงินค่าปรับจากจำเลยมาชำระต่อศาล การที่ผู้ถูกกล่าวหารับเงินค่าปรับจากจำเลยแทนศาล เป็นการไม่ถูกต้องตามระเบียบวิธีปฏิบัติ เมื่อผู้ถูกกล่าวหาไม่นำเงินไปชำระต่อศาลไม่ว่าจะทุจริตหรือไม่ เมื่อเป็นเหตุให้ศาลไม่ได้รับค่าปรับ ไม่มีการส่งหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาและไม่มีการส่งตัว ส. จำเลยไปกักขังแทนค่าปรับที่สถานีตำรวจ จึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1)
ส่วนกรณีที่ไม่มีการส่งหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาและตัว ป. จำเลยไปกักขังที่สถานีตำรวจ เพราะมีการปล่อยตัว ป. ไปก่อนแล้ว และมีผู้เอาหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาไปด้วย ผู้ถูกกล่าวหาเป็นแต่เพียงผู้รับหมายกักขังมาจากเจ้าหน้าที่ศาลเท่านั้นแต่มิได้เอาหมายกักขังไป และมิได้เป็นคนรับเงินค่าปรับและปล่อยตัว ป. ไป ยังไม่ถึงขนาดเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลจึงไม่เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2872/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานตำรวจรับเงินค่าปรับแทนศาลและละเลยการส่งตัวผู้ต้องหา เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยละเมิดอำนาจศาล
การที่ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่ควบคุมตัวผู้ต้องหาและจำเลยไม่มีหน้าที่รับเงินค่าปรับจากจำเลยมาชำระต่อศาล แต่มารับเงินค่าปรับจากจำเลยเองแทนศาลเช่นนี้ เป็นการไม่ถูกต้องตามระเบียบวิธีปฏิบัติ และจะเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตได้โดยง่าย เมื่อผู้ถูกกล่าวหาไม่นำเงินไปชำระต่อศาลเป็นเหตุให้ศาลไม่ได้รับค่าปรับไม่มีการส่งหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาและไม่มีการส่งตัว ส. ไปกักขังแทนค่าปรับที่สถานีตำรวจฯ จึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1) และการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาส่งผลเสียหายร้ายแรงต่อราชการและศาลชั้นต้น จึงไม่รอการลงโทษ
ส่วนกรณีที่ไม่มีการส่งหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาและตัว ป. ไปกักขังที่สถานีตำรวจฯ เพราะมีการปล่อยตัว ป. ไปก่อนแล้ว และมีผู้เอาหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาไปด้วย ผู้ถูกกล่าวหาเป็นแต่เพียงผู้รับหมายกักขังดังกล่าวมาจากเจ้าหน้าที่ศาลเท่านั้น แต่มิได้เอาหมายกักขังดังกล่าวไป และมิได้เป็นคนรับเงินค่าปรับและปล่อยตัว ป. ไป การกระทำของผู้ถูกกล่าวหากรณี ป. ยังไม่ถึงขนาดเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล จึงไม่เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
of 18