คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สิทธิชัย รุ่งตระกูล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10388/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สี่แยกทางโทต้องหยุดรอทางเอก การคาดคะเนความเร็วรถผู้อื่นโดยไม่ปฏิบัติตามป้ายจราจร ถือเป็นความประมาท
ทางเดินรถของ ว. ลูกจ้างโจทก์เป็นทางโท รถในทางโทต้องยอมให้รถในทางเอกผ่านไปก่อนทั้งบริเวณสี่แยกเกิดเหตุมีป้ายจราจร "หยุด" ซึ่งบังคับให้รถในทางโทต้องหยุดรถเพื่อรอให้รถที่มาจากทางเอกผ่านพ้นสี่แยกไปก่อนจึงจะขับผ่านสี่แยกเกิดเหตุได้ แม้รถในทางโทจะมาถึงสี่แยกก่อนแต่ถ้าไม่สามารถขับผ่านสี่แยกไปด้วยความเร็วตามปกติและตามพฤติการณ์ในขณะนั้นได้โดยปลอดภัยแล้ว ก็ต้องปฏิบัติตามป้ายจราจรดังกล่าวโดยหยุดรถเพื่อรอให้รถในทางเอกผ่านไปก่อน ว. ซึ่งขับรถยนต์โดยสารประจำทางในทางโทที่มีป้ายจราจรหยุดจะคาดคะเนเอาเองว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งขับรถยนต์บรรทุกในทางเอกเห็นรถในทางโทมาถึงและใช้ทางแยกก่อนแล้ว จะต้องหยุดรถโดย ว. ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎและป้ายจราจรหาได้ไม่ การที่ ว. ขับรถผ่านเข้าไปในสี่แยกเกิดเหตุโดยคาดคะเนเอาเองว่าจำเลยที่ 1 จะต้องชะลอและหยุดรถรอให้ ว. ขับรถผ่านไปก่อนย่อมเป็นการเสี่ยงภัยก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้โดยง่าย ทั้งเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎและป้ายจราจร ถือว่า ว. ประมาทเลินเล่อ เมื่อเกิดเหตุรถยนต์ชนกัน ว. จึงมีส่วนประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5813/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจารกับข่มขืนเป็นคนละกรรมต่างวาระ
การที่จำเลยมีเจตนาพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปเพื่อการอนาจารถือได้ว่าความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารสำเร็จตั้งแต่จำเลยพรากผู้เสียหายที่ 1 ไป โดยมีเจตนาพรากไปเพื่อการอนาจารโดยไม่คำนึงว่าจะต้องมีการกระทำอนาจารตามเจตนาหรือไม่ ส่วนการที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 หลังจากนั้นเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งซึ่งมีเจตนากระทำชำเราเพื่อสำเร็จความใคร่ของตนเท่านั้น เจตนาจึงต่างกัน ต่างกรรมต่างวาระกับความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5441/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดพยายามวิ่งราวทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ การคำนวณโทษตามมาตรา 80 และการพิจารณาอัตราโทษสูงสุด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยทั้งสองเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและสั่งไม่รับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งจำเลยทั้งสองอาจฎีกาเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นนั้นต่อศาลฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 224 แต่ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งคำสั่งไม่รับฎีกาในข้อดังกล่าวให้จำเลยทราบ จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนและให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาจำเลยทั้งสองชอบแล้ว ศาลฎีกาไม่จำเป็นต้องสั่งให้ส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้นเพื่อแจ้งคำสั่งไม่รับฎีกาในข้อดังกล่าวให้จำเลยทั้งสองทราบแต่อย่างใด
ป.อ. มาตรา 80 วรรคสอง บัญญัติว่า "ผู้ใดพยายามกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น" หมายถึง การกำหนดโทษที่จะลงโดยคำนวณโทษจากสองในสามของอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด หาใช่ต้องระวางโทษที่จะลงแก่จำเลยทั้งสองก่อนและกำหนดโทษสำหรับความผิดของจำเลยทั้งสองแล้วจึงลดโทษให้แก่จำเลยทั้งสองดังที่จำเลยทั้งสองฎีกาไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานพยายามวิ่งราวทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ ตาม ป.อ. มาตรา 336 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 80, 336 ทวิ ซึ่งผู้กระทำผิดตามมาตรา 336 ทวิ ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ กึ่งหนึ่ง เมื่อมาตรา 336 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี อัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 336 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 336 ทวิ คือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี 6 เดือน เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการพยายามกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดดังกล่าว จึงเป็นจำคุกไม่เกิน 5 ปี ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ลงโทษจำคุกจำเลยคนละ 4 ปี จึงไม่เกินอัตราโทษสูงสุดดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1332/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการทำร้ายด้วยอาวุธอันตราย และการไม่ถือว่าเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ
การที่จำเลยด่าแม่โจทก์ร่วมตอบโต้ไป ก่อนเข้าฟันโจทก์ร่วม เท่ากับว่าจำเลยได้ถลำเข้าไปทะเลาะวิวาทกับโจทก์ร่วมด้วยแล้ว เมื่อต่างคนต่างก็ทะเลาะด่าว่าซึ่งกันและกันเช่นนี้ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะเพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมตาม ป.อ. มาตรา 72 และไม่อาจอ้างว่าเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะเพื่อให้ศาลลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ สำหรับความผิดที่ได้กระทำนั้นได้
การจำเลยใช้มีดอีโต้ซึ่งเป็นมีดทำครัวขนาดใหญ่เลือกฟันอย่างแรงที่ศีรษะลำคอและกลางหลัง ซึ่งล้วนเป็นอวัยวะสำคัญจนเป็นแผลฉกรรจ์ หากรักษาไม่ทันอาจถึงแก่ความตายได้ จำเลยย่อมจะเล็งเห็นผลได้ว่าการกระทำของจำเลยอาจทำให้โจทก์ร่วมได้รับอันตรายถึงแก่ความตายได้ พฤติการณ์ชี้ชัดว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าโจทก์ร่วมแล้ว แม้เมื่อโจทก์ร่วมล้มลงหมดสติไปจำเลยจะไม่ได้ฟันโจทก์ร่วมซ้ำอีกก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 395/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ร่วมกันชิงทรัพย์โดยใช้กำลังข่มขู่ แม้ผู้ถูกทำร้ายไม่ได้รับอันตรายร้ายแรง ก็เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามกฎหมาย
การที่จำเลยทั้งสามไปดักซุ่มตรวจค้นโดยเรียกผู้ขับรถจักรยานยนต์ที่ผ่านมาให้หยุดรถ เมื่อผู้เสียหายทั้งสองไม่หยุดรถจักรยานยนต์ให้ตรวจค้น จำเลยทั้งสามก็ตามไปทำร้ายและข่มขู่อ้างเป็นเจ้าพนักงานตำรวจใช้อำนาจตรวจค้นกระเป๋าสตางค์เอาเงินของผู้เสียหายทั้งสองไป แม้จำเลยที่ 3 จะนั่งคร่อมรถจักรยานยนต์ไม่ได้ลงไปร่วมทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองและเอาเงินไปด้วย แต่จำเลยที่ 3 ก็อยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุในลักษณะคอยคุมเชิงและคอยช่วยเหลือจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ปฏิบัติการปล้นทรัพย์อยู่ แสดงว่ามีเจตนาร่วมกันที่จะดักตรวจค้นปล้นเอาเงินของผู้ที่ขับรถจักรยานยนต์ผ่านมาตั้งแต่ต้น และได้ร่วมปล้นทรัพย์ด้วยกัน การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการร่วมกันชิงทรัพย์โดยแบ่งหน้าที่กันทำครบ 3 คน ครบองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์
ความผิดฐานชิงทรัพย์ซึ่งนำไปสู่ความผิดฐานปล้นทรัพย์นั้น เป็นการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เมื่อมีการใช้กำลังประทุษร้ายแล้ว แม้จะไม่ทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจก็เข้าองค์ประกอบความผิดฐานชิงทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8779/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการอายัดที่ดินเพื่อฟ้องเลิกหุ้นส่วน-ชำระบัญชี: ผู้มีส่วนได้เสียต้องมีเหตุสมควรและสุจริต
ผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินอันอาจจะฟ้องร้องให้บังคับให้มีการจดทะเบียน หรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนตาม ป.ที่ดิน มาตรา 83 วรรคหนึ่ง หมายถึงผู้ที่จะได้ประโยชน์ตามสิทธิใดๆ ของตนในที่ดินนั้น และอาจจะฟ้องร้องให้บังคับให้มีการจดทะเบียนหรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินได้ตามสิทธิใดๆ ที่ตนมีอยู่และอาจจะเสียประโยชน์ในที่ดินหากมีการจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนอย่างหนึ่งอย่างใดในที่ดินนั้นก่อนที่จะไปฟ้องร้องให้บังคับให้มีการจดทะเบียน หรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนตามสิทธิของตน ผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิขออายัดที่ดินตาม ป.ที่ดินดังกล่าวจึงไม่จำต้องเป็นผู้มีสิทธิเสมือนหนึ่งผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 และไม่จำต้องมีส่วนได้เสียผูกพันกับที่ดินโดยตรง ทั้งไม่จำต้องฟ้องร้องเอาที่ดินเป็นของตนเองหรือฟ้องร้องให้ศาลบังคับให้ทำการจดทะเบียน หรือให้เปลี่ยนแปลงทางทะเบียนโดยตรง และคำพิพากษาก็ไม่จำต้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนโดยตรงตามที่โจทก์ฎีกา หากคำขอและผลของคำพิพากษานั้นบังคับให้กระทำการใดอันจะนำไปสู่การจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนในที่ดินที่ขออายัดแล้ว ก็ย่อมอยู่ในบังคับบทบัญญัติตามมาตรา 83 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.ที่ดิน ที่ว่า "อันอาจจะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน" ในกรณีของห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องนำเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานมาลงหุ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1026 ส่วนกำไรก็ดีส่วนขาดทุนก็ดีของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนย่อมเป็นไปตามส่วนที่ลงหุ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1044 เมื่อหุ้นส่วนเลิกกันและมีการชำระบัญชีจะต้องนำสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนมาชำระหนี้ค้างชำระแก่บุคคลภายนอก ชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกของตนไปเพื่อจัดการค้าของห้าง และคืนทุนทรัพย์ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนได้ลงเป็นหุ้นถ้ายังมีทรัพย์สินอยู่อีกเท่าไรก็ให้เฉลี่ยแจกเป็นกำไรในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1062 ดังนั้น การฟ้องร้องขอให้เลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชี ผลของคำพิพากษาที่ให้เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีจึงอาจมีผลให้ต้องมีการจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินอันเป็นสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและคำพิพากษานั้นเองผู้เป็นหุ้นส่วนจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะขออายัดที่ดินของห้างหุ้นส่วนเพื่อไปฟ้องร้องขอให้เลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8779/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญมีสิทธิขออายัดทรัพย์สินเพื่อฟ้องเลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินที่จะฟ้องร้องให้บังคับให้มีการจดทะเบียนหรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนตาม ป.ที่ดิน มาตรา 83 วรรคหนึ่ง ไม่จำต้องเป็นผู้มีสิทธิเสมือนหนึ่งผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 และไม่จำต้องมีส่วนได้เสียผูกพันกับที่ดินโดยตรงทั้งไม่จำต้องฟ้องร้องเอาที่ดินเป็นของตนเอง หรือฟ้องร้องให้ศาลบังคับให้ทำการจดทะเบียน หรือให้เปลี่ยนแปลงทางทะเบียนโดยตรง และคำพิพากษาก็ไม่จำต้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนโดยตรง หากคำขอและผลของคำพิพากษานั้นบังคับให้กระทำการใดอันจะนำไปสู่การจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนในที่ดินที่ขออายัดแล้ว ก็อยู่ในบังคับมาตรา 83 วรรคหนึ่ง
การฟ้องร้องขอให้เลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชี ผลของคำพิพากษาอาจทำให้ต้องมีการจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินอันเป็นสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและคำพิพากษาผู้เป็นหุ้นส่วนจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะขออายัดที่ดินของห้างหุ้นส่วนเพื่อไปฟ้องร้องขอให้เลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้
โจทก์ทำสัญญาห้างหุ้นส่วนสามัญกับจำเลยที่ 1 และ ส. ภริยาของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ยินยอมให้ ส. ดูแลวางระบบและตรวจสอบบัญชีโดยไม่ได้จ่ายค่าจ้างให้ โจทก์เคยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 นำที่ดินโรงเรียนไปขายให้แก่บุคคลภายนอกโดยระบุในหนังสือมอบอำนาจว่าจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วน และโจทก์เคยทำหนังสือให้ ส. ตรวจสอบบัญชีโรงเรียนโดยระบุว่า ส. เป็นหุ้นส่วนทั้ง ส. ก็ได้แจ้งความให้ดำเนินคดีแก่ครูคนหนึ่งในโรงเรียนที่มีหลักฐานว่าทุจริตในฐานะเป็นหุ้นส่วน จำเลยที่ 1 ย่อมเข้าใจโดยสุจริตว่าตนเองเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งและมีสิทธิต่างๆ ในฐานะเป็นหุ้นส่วน แม้ว่าผลของคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องเลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีจะพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนหรือไม่ก็ตาม การที่จำเลยที่ 1 ไปขออายัดที่ดินพิพาทอันเป็นสินทรัพย์ของหุ้นส่วนไว้ก่อนเพื่อไปฟ้องร้องให้เลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชี จึงเป็นการกระทำเพื่อป้องกันส่วนได้เสียในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินทรัพย์ของหุ้นส่วนโดยสุจริตและมีเหตุสมควร ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 จงใจหรือประมาทเลินเล่อตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 จำเลยที่ 1 จึงมิได้ทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5963/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการส่งมอบทรัพย์สินไม่ถูกต้องตามสัญญา: 10 ปี มิใช่ 1 ปี
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระค่าเสียหายเพราะจำเลยส่งมอบทรัพย์สินไม่ถูกต้องตรงตามสัญญา แม้คำฟ้องโจทก์จะบรรยายความชำรุดบกพร่องของห้องน้ำว่าส้วมชักโครกใช้การไม่ได้ ใช้ห้องน้ำแล้วมีน้ำขังไม่สามารถระบายน้ำลงท่อระบายน้ำได้ก็เป็นการฟ้องเรื่องส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายไม่ถูกต้องตรงตามสัญญา ไม่ใช่กรณีฟ้องว่าทรัพย์สินที่ส่งมอบชำรุดบกพร่องเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติหรือประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาซึ่งจะต้องบังคับ อายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 474 แต่เป็นกรณีต้องบังคับอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายใน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3850/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำส่งหมายอุทธรณ์ล่าช้า ไม่ถือเป็นการทิ้งฟ้อง หากมีเหตุผลและความพยายามในการดำเนินการ
ทนายความโจทก์ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้เสียค่าฤชาธรรมเนียมเพิ่ม และได้ลงลายมือชื่อในตราประทับให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 20 กรกฎาคม 2544 แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์วันที่ 23 กรกฎาคม 2544 จึงถือไม่ได้ว่าทนายความโจทก์ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วในวันนั้น แม้ต่อมาทนายความโจทก์ได้มายื่นคำคัดค้านคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยทั้งสองพร้อมทั้งยื่นคำแถลงขอยื่นบัญชีระบุพยานในชั้นไต่สวนอนาถาต่อศาลชั้นต้นและต่อมาได้มอบฉันทะให้เสมียนทนายความโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาก็ไม่เกี่ยวกับอุทธรณ์ของโจทก์ แต่เป็นการดำเนินคดีชั้นไต่สวนอนาถา เมื่อถึงวันนัดไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยทั้งสอง ศาลชั้นต้นไม่อาจดำเนินการไต่สวนได้เพราะศาลชั้นต้นได้ส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่งในเรื่องที่โจทก์ไม่นำส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยทั้งสอง ทนายความโจทก์จึงได้ยื่นคำแถลงขออนุญาตนำส่งและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยทั้งสอง ทั้งค่าขึ้นศาลที่เสียเพิ่มไปแล้วก็เป็นเงินจำนวนมาก ไม่มีเหตุผลอะไรที่โจทก์จะทิ้งฟ้องอุทธรณ์ พฤติการณ์ไม่แน่ชัดว่าทนายความโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินการนำส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยทั้งสอง ประกอบกับทนายความโจทก์ได้ยื่นคำแถลงขออนุญาตนำส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์ก่อนศาลอุทธรณ์ส่งคำพิพากษามาอ่าน และปัญหาที่อุทธรณ์เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมสมควรให้โอกาสโจทก์ได้นำส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินร่วมกัน การครอบครองปรปักษ์ครอบคลุมทั้งแปลง
ผู้ร้องครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทส่วนของ จ. และของ ก. ทั้งแปลงโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ จึงเป็นการครอบครองปรปักษ์ต่อที่ดินพิพาททั้งของ จ. และ ก. ด้วยตนเองโดยตรง เมื่อผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของ จ. โดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว ก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของ ก. ด้วย หาใช่ว่าเมื่อได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วน ของ จ. แล้วจะครอบครองที่ดินพิพาทส่วนของ ก. แทน ก. ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมเช่นเดียวกับ จ. ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมกันในโฉนดที่ดินด้วยไม่ ดังนั้น ผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของ ก. โดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ด้วย
of 18