พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินร่วมกัน การครอบครองปรปักษ์ครอบคลุมทั้งแปลง
ผู้ร้องครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทส่วนของ จ. และของ ก. ทั้งแปลงโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ จึงเป็นการครอบครองปรปักษ์ต่อที่ดินพิพาททั้งของ จ. และ ก. ด้วยตนเองโดยตรง เมื่อผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของ จ. โดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว ก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของ ก. ด้วย หาใช่ว่าเมื่อได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วน ของ จ. แล้วจะครอบครองที่ดินพิพาทส่วนของ ก. แทน ก. ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมเช่นเดียวกับ จ. ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมกันในโฉนดที่ดินด้วยไม่ ดังนั้น ผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของ ก. โดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10553/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการขนส่ง-ช่วงสิทธิประกันภัย: จำเลยรับผิดชำระค่าเสียหายตามสภาพรถยนต์จริง
ตามหนังสือมอบอำนาจช่วง และฟ้องเดิมของโจทก์ระบุว่าฟ้อง นางสาวดารุณีเป็นจำเลยที่ 1 โดยให้รับผิดในมูลละเมิด ระบุว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 อยู่บ้านเลขที่ 1 หมู่ที่ 3 อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ต่อมาโจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องโดยแก้ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นนางดารุณีหรือนางสาวดรุณี และขอแก้ไขภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 เป็นบ้านเลขที่ 2/1 หมู่ที่ 10 ซึ่งภูมิลำเนาตามที่ขอแก้ไขตรงกับภูมิลำเนาปัจจุบันของจำเลยที่ 1 ที่ให้การระบุว่า จำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 2/1 หมู่ที่ 10 ตำบลคลองใหญ่ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง โดยระบุว่าย้ายมาจากบ้านเลขที่ 1 หมู่ที่ 3 ตำบลคลองใหญ่ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันที่ทำละเมิดในคดีนี้ ดังนี้จึงเป็นการแก้ไขชื่อตัว ชื่อสกุล และภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ตามฟ้องเดิมซึ่งเป็นจำเลยคนเดียวกัน มิใช่แก้ไขคำฟ้องโดยเปลี่ยนตัวจำเลยที่ 1 จากนางสาวดารุณี เป็นนางสาวดรุณี ซึ่งเป็นคนละคนกันแต่อย่างใด อีกทั้งการที่โจทก์ระบุชื่อตัวและชื่อสกุลของจำเลยที่ 1 ในหนังสือมอบอำนาจช่วงและคำฟ้องเดิมผิดพลาดคลาดเคลื่อนนั้น ก็เป็นการสะกดชื่อตัวผิดเล็กน้อยจาก "นางสาวดรุณี" เป็น "นางสาวดารุณี" พอถือว่าเป็นชื่อเดียวกันนั้นเอง ส่วนชื่อสกุลสะกดผิดจาก "สังข์แก้ว" เป็น "สังข์ทอง" ก็ผิดเฉพาะพยางค์ท้ายเท่านั้น พยางค์หน้าเป็นคำเดียวกัน ชื่อสกุลจึงคล้ายคลึงกันมาก แสดงว่าที่ระบุชื่อตัวและชื่อสกุลจำเลยที่ 1 ผิดเกิดจากการสับสนเข้าใจผิดในชื่อของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ถือว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยที่ 1 และได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามหนังสือมอบอำนาจช่วงถูกตัวและถูกต้องชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6602/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร, ใช้เอกสารปลอม, ฟ้องซ้ำ, การเพิ่มโทษ, ล้างมลทิน: ศาลฎีกาตัดสินประเด็นความผิดและโทษจำคุก
ความผิดฐานรับของโจร จำเลยที่ 2 กระทำความผิดโดยรับไว้โดยประการใด ๆ และครอบครองใช้รถยนต์ ส่วนความผิดฐานใช้เอกสารราชการแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีปลอมนั้น จำเลยที่ 2 กระทำความผิดโดยนำแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอมและแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีปลอมมาติดกับรถยนต์คันดังกล่าวแสดงต่อบุคคลทั่วไปที่พบเห็น การกระทำความผิดทั้งสองฐานความผิดนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะได้กระทำต่อรถยนต์คันเดียวกัน แต่การกระทำความผิดนั้นเป็นการกระทำคนละอย่างแตกต่างกันและต่างกรรมต่างวาระกัน ทั้งเจตนาและความมุ่งหมายในการรับของโจรและใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีอันเป็นเอกสารราชการปลอม ก็เป็นคนละอย่างต่างกันการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานรับของโจรและฐานใช้เอกสารราชการปลอมจึงเป็นความผิดต่างกรรมต่างกัน มิใช่ความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
แม้คดีนี้กับคดีก่อนทั้งสองคดีนั้น โจทก์ จำเลยที่ 2 จะเป็นคู่ความรายเดียวกันและคดีทั้งสองนั้นได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้วก่อนฟ้องคดีนี้ แต่คดีก่อนทั้งสองและคดีนี้ โจทก์บรรยายฟ้องทั้งสามสำนวนว่า มีคนร้ายลักรถยนต์ต่างวันเวลาและต่างสถานที่กัน แม้รถยนต์ แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีจะยึดได้ในคราวจับกุมจำเลยที่ 2 คราวเดียวกันหรือวันเดียวกันก็ตาม แต่วันเวลาที่จำเลยที่ 2 รับของโจรเป็นคนละวันกันและรถยนต์ที่รับของโจรเป็นคนละคันกัน แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีก็เป็นคนละแผ่นกันและใช้กับรถยนต์คนละคันกัน แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีก็เป็นคนละแผ่นกันและใช้กับรถยนต์คนละคันกัน การกระทำความผิดในคดีก่อนทั้งสองกับการกระทำความผิดในคดีนี้จึงเป็นการกระทำที่แยกต่างหากจากกันและต่างวาระกัน แม้การกระทำความผิดจะเป็นความผิดฐานเดียวกันกับความผิดในคดีนี้ ก็ถือไม่ได้ว่าคดีนี้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องไปแล้วในคดีก่อนทั้งสอง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับฟ้องโจทก์ในคดีก่อนทั้งสองดังกล่าว
แม้คดีนี้กับคดีก่อนทั้งสองคดีนั้น โจทก์ จำเลยที่ 2 จะเป็นคู่ความรายเดียวกันและคดีทั้งสองนั้นได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้วก่อนฟ้องคดีนี้ แต่คดีก่อนทั้งสองและคดีนี้ โจทก์บรรยายฟ้องทั้งสามสำนวนว่า มีคนร้ายลักรถยนต์ต่างวันเวลาและต่างสถานที่กัน แม้รถยนต์ แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีจะยึดได้ในคราวจับกุมจำเลยที่ 2 คราวเดียวกันหรือวันเดียวกันก็ตาม แต่วันเวลาที่จำเลยที่ 2 รับของโจรเป็นคนละวันกันและรถยนต์ที่รับของโจรเป็นคนละคันกัน แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีก็เป็นคนละแผ่นกันและใช้กับรถยนต์คนละคันกัน แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีก็เป็นคนละแผ่นกันและใช้กับรถยนต์คนละคันกัน การกระทำความผิดในคดีก่อนทั้งสองกับการกระทำความผิดในคดีนี้จึงเป็นการกระทำที่แยกต่างหากจากกันและต่างวาระกัน แม้การกระทำความผิดจะเป็นความผิดฐานเดียวกันกับความผิดในคดีนี้ ก็ถือไม่ได้ว่าคดีนี้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องไปแล้วในคดีก่อนทั้งสอง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับฟ้องโจทก์ในคดีก่อนทั้งสองดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: สถานที่เกิดเหตุจากเอกสารอื่นประกอบได้ แม้ไม่ได้ระบุในฟ้องโดยตรง
แม้คำฟ้องของโจทก์จะมิได้ระบุสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำความผิดไว้ก็ตามแต่โจทก์ได้กล่าวไว้ตอนท้ายของคำฟ้องด้วยว่า ระหว่างสอบสวนจำเลยทั้งสามถูกควบคุมตามหมายขังของศาลชั้นต้นในคดีอาญาหมายเลขดำที่ ฝ.137/2545 ซึ่งพออนุโลมได้ว่าเป็นส่วนประกอบของคำฟ้องโดยไม่ต้องคำนึงว่าคำร้องขอฝากขังจะเป็นเรื่องของพนักงานสอบสวนไม่เกี่ยวข้องกับโจทก์ดังที่จำเลยทั้งสามฎีกาหรือไม่เพราะความมุ่งหมายของ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) เพียงต้องการให้จำเลยทั้งสามทราบรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำที่อ้างว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยทั้งสามเข้าใจข้อหาได้ดีเท่านั้น ทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่เกิดเหตุก็มิใช่องค์ประกอบความผิดอันจะต้องระบุให้ชัดแจ้งไว้ในคำฟ้องโดยเฉพาะ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าตามคำร้องขอฝากขังในสำนวนคดีอาญาหมายเลขดำที่ ฝ.137/2545 ซึ่งอยู่ตอนหน้าของสำนวนนี้ได้มีรายละเอียดระบุสถานที่เกิดเหตุว่าเหตุเกิดที่บ้านเลขที่ ๕๐ ถนนภูมิณรงค์ ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลาและจำเลยทั้งสามได้ลงลายมือชื่อรับสำเนาคำร้องไว้ที่ด้านหลังคำร้องขอฝากขังดังกล่าวแล้ว ดังนี้จำเลยทั้งสองย่อมจะเข้าใจได้ดีว่าเหตุคดีนี้เกิดขึ้นที่ใดและสามารถนำสืบต่อสู้ได้อย่างถูกต้อง ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10683/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัย: ความรับผิดของผู้รับประกันภัย กรณีผู้เอาประกันภัยเจรจาตกลงค่าเสียหายเอง และการแจ้งความเสียหาย
ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง บัญญัติว่า "ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนรวมทั้งเหตุการนั้น" ซึ่งหมายความว่า จำเลยจะต้องแสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน และต้องแสดงโดยชัดแจ้งถึงเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นด้วย เมื่อจำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ 2 ปี จำเลยต้องแสดงโดยชัดแจ้งด้วยว่าอายุความ 2 ปี นับแต่วันใดและโจทก์ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดอายุความนั้นแล้ว การที่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เนื่องจากโจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัย โดยมิได้ระบุว่าวันเกิดเหตุวินาศภัยซึ่งเป็นวันเริ่มต้นนับอายุความเป็นวันที่เท่าใด จึงไม่แจ้งชัดว่าอายุความเริ่มนับเมื่อวันที่เท่าใดและโจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดอายุความแล้วจริงหรือไม่ จะอนุมานเอาจากคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งนั้นว่าความเสียหายเกิดวันเดือนปีใดไม่ได้ และจะถือว่าคู่ความอีกฝ่ายรู้แล้วก็ไม่ได้ ทั้งมิใช่ข้อเท็จจริงที่เป็นเพียงรายละเอียดที่คู่ความสามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ แต่เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยจะต้องแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การ มิฉะนั้นจะเป็นคำให้การที่ไม่ชอบและไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ข้อที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่นี้จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยในประเด็นนี้ให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7693/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการจ้างงานและซื้อขาย: การนับระยะเวลาและผลกระทบต่อการฟ้องร้อง
การนับระยะเวลาไม่นับวันแรกแห่งระยะเวลารวมเข้าด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 วรรคสอง โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 25 ตุลาคม 2543 อันเป็นวันสุดท้ายของกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2541 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับมอบสินค้าที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยที่ 1 ครั้งแรกสิทธิเรียกร้องทั้งหมดของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7693/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่โต้แย้งประเด็นในคำแก้อุทธรณ์ ทำให้ประเด็นนั้นยุติ และการนับอายุความตามกำหนดเวลา
คำพิพากษาศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมและพยานหลักฐานของโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ตกลงว่าจ้างโจทก์ทำการงานและซื้อสินค้าจากโจทก์ ซึ่งเป็นประเด็นที่จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ไว้แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องโจทก์ เนื่องจากเห็นว่าคดีขาดอายุความโดยจำเลยที่ 1 ไม่ต้องอุทธรณ์ในประเด็นข้ออื่นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเป็นคุณแก่โจทก์ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ว่า คดีไม่ขาดอายุความ หากจำเลยที่ 1 ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายแพ้ในประเด็นข้อใด อย่างไร จำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะโต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์ด้วย แต่ปรากฏว่าคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 คงกล่าวแก้เฉพาะแต่ประเด็นเรื่องอายุความที่โจทก์อุทธรณ์เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมและจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้อง ปัญหาดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 จะยกขึ้นฎีกาอีกไม่ได้ เพราะเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6982/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยชอบด้วยกฎหมายเมื่อจำเลยไม่มาศาลตามนัดผ่อนชำระหนี้และมีเหตุอันควรสงสัยว่าหลบหนี
ในวันนัดสืบพยานโจทก์และจำเลย จำเลยขอถอนคำให้การเดินแล้วให้การใหม่เป็นรับสารภาพ และตกลงกับผู้เสียหายขอผ่อนชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนธันวาคม 2548 ศาลชั้นต้นจึงนัดฟังคำพิพากษาหรือฟังผลการชำระหนี้ในวันที่ 25 สิงหาคม 2548 ซึ่งการที่ศาลชั้นต้นกำหนดวันนัดโดยระบุว่า นัดฟังคำพิพากษาหรือฟังผลการชำระหนี้ย่อมมีนัยว่าโจทก์จำเลยตกลงผ่อนชำระหนี้รายเดือนภายในวันที่นัดฟังผลการชำระหนี้นั้น หรือภายในวันที่ 25 ของเดือนซึ่งหากจำเลยผ่อนชำระหนี้ตามที่ตกลงกับผู้เสียหายไว้ ศาลก็จะเลื่อนนัดฟังคำพิพากษาออกไปเพื่อให้โอกาสจำเลยผ่อนชำระหนี้ต่อไปให้ครบถ้วน แต่ถ้าหากจำเลยไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามข้อตกลงที่ได้แถลงไว้และผู้เสียหายไม่ประสงค์ให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ต่อไป ศาลก็อาจใช้ดุลพินิจอ่านคำพิพากษาไปได้ วันดังกล่าวจึงเป็นวันนัดฟังคำพิพากษาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ซึ่งจำเลยได้ทราบวันนัดโดยชอบแล้ว เมื่อปรากฏว่าในวันนัดจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหายอันเป็นการผิดเงื่อนไขที่ตกลงไว้กับผู้เสียหาย และผู้เสียหายแถลงว่าไม่ประสงค์ให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ต่อไปหากในวันดังกล่าวจำเลยมาศาล ศาลย่อมมีคำพิพากษาไปได้ในวันเดียวกันนั้น แต่จำเลยไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ตามข้อตกลงได้ และกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่าจำเลยหลบหนี หรือจงใจไม่มาฟังคำพิพากษา ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นให้ออกหมายจับจำเลยมาฟังคำพิพากษากับให้นัดฟังคำพิพากษาใหม่ในวันที่ 10 กันยายน 2548 เมื่อถึงวันนัดซึ่งพ้น 1 เดือน นับแต่วันออกหมายจับแล้วไม่ได้ตัวจำเลยมาศาล ศาลชั้นต้นย่อมอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยได้ จึงเป็นการอ่านคำพิพากษาโดยชอบด้วยกฎหมาย และถือว่าจำเลยได้ฟังคำพิพากษาในวันดังกล่าวแล้ว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 182 วรรคสาม ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6925/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องร่วมฐานความผิดได้ หากเป็นการกระทำต่างกัน แม้ข้อเท็จจริงบางส่วนจะเชื่อมโยงกัน
ความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตและความผิดฐานหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ เป็นความผิดต่างฐานกันสามารถแยกการกระทำต่างหากจากกันได้ แม้โจทก์บรรยายฟ้องตอนหลังว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายทั้งยี่สิบเอ็ดว่าสามารถหางานและจัดส่งผู้เสียหายไปทำงานต่างประเทศอันเป็นความเท็จ ความจริงแล้วจำเลยทั้งสองไม่สามารถส่งผู้เสียหายไปทำงานต่างประเทศได้ อันเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาจัดหางานให้ผู้เสียหายทั้งยี่สิบเอ็ด คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้เงินเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ซึ่งมีผลเพียงทำให้ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานดังกล่าวได้ แต่ฟ้องโจทก์ก็ไม่ได้ขัดแย้งกันจนไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ ซึ่งเป็นความผิดอีกฐานหนึ่งต่างหากแต่อย่างใด ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6888/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันออกเช็คคือวันที่ระบุในเช็ค แม้จะมอบเช็คพร้อมสัญญาเงินกู้ภายหลัง การออกเช็คโดยไม่มีเงินรองรับเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจาการใช้เช็คฯ นั้น วันออกเช็คย่อมหมายถึงวันที่ลงในเช็ค ส่วนวันที่เขียนเช็คหรือมอบเช็คให้แก่ผู้เสียหายหาใช่วันที่ออกเช็คไม่ ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่า หลังจากที่ผู้เสียหายได้รับหนังสือสัญญากู้ยืมเงินและเช็คพิพาทแล้วผู้เสียหายก็มอบเงินที่กู้ยืมให้แก่จำเลยในวันเดียวกันนั้น โดยปรากฏว่าวันสั่งจ่ายเช็คที่ลงในเช็คพิพาทตรงกับวันครบกำหนดชำระเงินตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน แสดงว่าขณะที่เช็คพิพาทถึงกำหนดสั่งจ่ายซึ่งถือเป็นวันออกเช็คนั้น มูลหนี้ตามเช็คดังกล่าวย่อมสมบูรณ์และมีหลักฐานเป็นหนังสือสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4