คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สิทธิชัย รุ่งตระกูล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4146/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งสิทธิผู้ถูกจับ-สอบสวน และการใช้กฎหมายใหม่ย้อนหลัง กรณีคดียาเสพติด
ในขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 2 และพนักงานสอบสวนได้สอบสวนจำเลยที่ 2 นั้น พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 22)ฯ มาตรา 4 และมาตรา 38 ซึ่งได้บัญญัติเพิ่มเติมมาตรา 7/1 และมาตรา 134/4 ที่บัญญัติให้มีการแจ้งสิทธิดังกล่าวแก่ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหายังมิได้ออกใช้บังคับ ประกอบกับ ป.วิ.อ. ที่แก้ไขใหม่ดังกล่าว ก็ไม่มีบทบัญญัติให้นำมาตรา 7/1 และมาตรา 134/4 มาใช้บังคับแก่คดีที่มีการจับกุมและสอบสวนเสร็จสิ้นไปก่อนวันที่กฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวมีผลใช้บังคับ จึงต้องใช้หลักทั่วไปว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมและพนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบถึงสิทธิต่างๆ ดังกล่าว จึงชอบด้วยกฎหมายขณะที่มีการจับกุมและสอบสวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4132/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินและป่าสงวน: ผู้มีสิทธิฟ้องร้องคดีบุกรุก
ส. ซื้อที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติอันเป็นที่ดินของรัฐสภา ท. ส. จึงมิได้มีสิทธิครอบครองที่ดินที่ซื้อตามกฎหมาย และต่อมาได้มีการกำหนดให้ที่ดินในท้องที่ที่ดินพิพาทเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 26 (4) กำหนดว่า เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติส่วนใดแล้ว เมื่อ ส.ป.ก. จะนำที่ดินแปลงใดในส่วนนั้นไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตปฏิรูปที่ดินมีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในที่ดินแปลงนั้น และให้ ส.ป.ก. มีอำนาจนำที่ดินแปลงนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ และมาตรา 36 ทวิ กำหนดว่า บรรดาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ที่ ส.ป.ก. ได้มา ตาม พ.ร.บ. นี้หรือได้มาโดยประการอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไม่ให้ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ และให้ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อให้ใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ดังนี้ เมื่อที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ส. จะมีสิทธิเข้าครอบครองได้ก็แต่โดยการได้รับเอกสารสิทธิจาก ส.ป.ก. เมื่อ ส.ป.ก. ยังมิได้อนุญาตให้ ส. เป็นผู้มีสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท จึงยังไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ทั้งหลังจาก ส. ยื่นคำขอเข้าทำประโยชน์แล้วมิได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ส. จึงยังไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทอย่างใด โดย ส. เพียงแต่อ้างว่าได้ไถปรับที่ดินไว้ หลังจากนั้นอีกประมาณ 1 ปี จึงไปดูที่ดินพบว่าจำเลยเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้ว การที่ ส. เพียงแต่ไถปรับที่ดินทิ้งไว้โดยไม่ทำประโยชน์อะไรนานเป็นปี ถือไม่ได้ว่า ส. ได้ยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทเป็นของตนในขณะที่จำเลยเข้าไปทำประโยชน์ และที่ดินพิพาทยังคงเป็นของ ส.ป.ก. ส. จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยฐานบุกรุกตามฟ้องซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3872/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดกรรมเดียว vs. หลายกรรม: การแจ้งเท็จขอมีบัตรประชาชน และโอนย้ายทะเบียนบ้าน
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อ น. ปลัดอำเภอเมืองระนองซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน และเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่พวกของจำเลยตามฟ้องข้อ (ก) และการที่จำเลยแจ้งให้ น. จดข้อความอันเป็นเท็จลงในแบบบันทึกคำให้การรับรองบุคคลอันเป็นเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์ใช้เป็นพยานหลักฐานประกอบการพิจารณาอนุญาตทำบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ อ. พวกของจำเลยตามฟ้องข้อ (ข) นั้น เป็นการกระทำในวันเดียวกัน เวลาต่อเนื่องกัน โดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่พวกของจำเลย ถือได้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียว ส่วนการที่จำเลยกับพวกร่วมกันแจ้งต่อ น. ว่า อ. พวกของจำเลยคือ ว. สัญชาติไทยอันเป็นความเท็จ ขอโอนย้ายทะเบียนบ้านจากบ้านเลขที่ 21/5 หมู่ที่ 1 ตำบลบางริ้น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง เข้าอยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 76/23 ตำบลเขานิเวศน์ อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ตามฟ้องข้อ (ค) ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎรฯ มาตรา 50 วรรคหนึ่งนั้น จำเลยกระทำภายหลังจากการกระทำความผิดตามฟ้องข้อ (ก) และข้อ (ข) สำเร็จแล้ว โดยมีเจตนาเพื่อให้มีชื่อ ว. ที่ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่พวกของจำเลยในทะเบียนบ้านเลขที่ 76/23 ดังกล่าว อันเป็นการกระทำคนละเจตนาและต่างกรรมต่างวาระเป็นคนละส่วนกับการกระทำในฟ้องข้อ (ก) และข้อ (ข) จึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง ดังนั้น การกระทำของจำเลยตามฟ้องเป็นความผิดสองกรรมมิใช่ความผิดกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3567-3568/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ไม่สมบูรณ์แต่ศาลพิจารณาคดี ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เนื่องจากกระบวนการไม่ชอบ
จำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์โดยไม่ปรากฏว่ามีลายชื่อผู้เรียงและผู้พิมพ์คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) ประกอบมาตรา 215 แต่การที่จะให้จำเลยทั้งสองแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์หรือสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้พิจารณาพิพากษาคดีนี้เสร็จไปแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาคดีมาเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3240/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความถูกต้องของคำฟ้องและความต่อเนื่องของความผิดฐานพาคนต่างด้าวเข้าประเทศและการซ่อนเร้น
การที่โจทก์ระบุวันเวลาเกิดเหตุระหว่างวันที่ 9 ถึง 12 มิถุนายน 2548 ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยพาคนต่างด้าว 15 คน เข้ามาในระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว ไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องระบุโดยเฉพาะเจาะจงว่าจำเลยพาคนต่างด้าวแต่ละคน คนใดเข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อวันเวลาใด คำฟ้องโจทก์จึงระบุรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่เกิดการกระทำผิดพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 บัญญัติมีใจความว่า เมื่อความผิดนั้นเป็นความผิดต่อเนื่อง และกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ คดีนี้การกระทำความผิดฐานซ่อนเร้นเพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุม เกิดขึ้นต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ ตั้งแต่อำเภอแม่สอดจนถึงอำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย พนักงานสอบสวนของสถานีตำรวจภูธรอำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย ซึ่งมีอำนาจสอบสวนในความผิดฐานซ่อนเร้นเพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุมจึงมีอำนาจสอบสวนในความผิดฐานพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นความผิดที่กระทำต่อเนื่องกันซึ่งเกิดขึ้นในท้องที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก อีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3119/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนที่ไม่แจ้งสิทธิทนายความและการรับฟังคำรับสารภาพที่ไม่เกิดจากความสมัครใจ
แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 7/1 (2) จะบัญญัติให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนปากคำตนได้ในชั้นสอบสวนและมาตรา 134/3 บัญญัติว่าผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ และมาตรา 134/4 (2) บัญญัติในเรื่องการถามคำให้การผู้ต้องหานั้นให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่าผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ก็ตาม แต่ในบทบัญญัติของมาตรา 134/4 วรรคท้าย ก็บัญญัติไว้แต่เพียงว่า ถ้อยคำใดๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือก่อนที่จะดำเนินการตามมาตรา 134/3 จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้เท่านั้น ดังนั้น แม้พนักงานสอบสวนจะไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นก็หาทำให้การสอบสวนคดีไม่ชอบแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3115-3116/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องละเมิดหลังมีคำพิพากษาในคดีอาญาแล้ว ศาลฎีกาเห็นว่าบางประเด็นไม่เป็นฟ้องซ้ำ
จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่าฟ้องของโจทก์ทั้งสองเป็นฟ้องเคลือบคลุม แต่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสองเพราะเห็นว่าฟ้องของโจทก์ทั้งสองเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีไม่จำต้องอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่เมื่อโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ว่าฟ้องของโจทก์ทั้งสองไม่เป็นฟ้องซ้ำ จำเลยที่ 2 มีสิทธิที่จะยกประเด็นเรื่องฟ้องของโจทก์ทั้งสองเป็นฟ้องเคลือบคลุมขึ้นแก้อุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย แต่จำเลยที่ 2 คงแก้อุทธรณ์เฉพาะปัญหาว่า ฟ้องของโจทก์ทั้งสองเป็นฟ้องซ้ำหรือไม่เท่านั้น จำเลยที่ 2 หาได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องเคลือบคลุมขึ้นแก้อุทธรณ์ด้วยไม่ ดังนั้น ปัญหาว่าฟ้องของโจทก์ทั้งสองเป็นฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ จึงไม่ใช่ปัญหาที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในชั้นศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 9201/2542 นั้น จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธ ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ และมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดฐานลักทรัพย์ของโจทก์ทั้งสอง โดยมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่โจทก์ทั้งสอง ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1447/2543 นั้น ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานรับของโจรทรัพย์รวม 4 รายการ และมีคำสั่งให้คืนทรัพย์ทั้ง 4 รายการแก่โจทก์ที่ 2 โดยคดีอาญาทั้งสองเรื่องดังกล่าวไม่มีประเด็นว่า จำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ ซึ่งในการฟ้องคดีนี้ โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำละเมิดกับจำเลยที่ 1 ในการรับเอาทรัพย์ของโจทก์ทั้งสองไว้และโจทก์ที่ 2 ได้รับทรัพย์คืนจากจำเลยที่ 2 แล้ว 4 รายการ คือ ทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์อันดับที่ 20, 24, 25 และ 26 รวมเป็นเงิน 8,700 บาท ส่วนทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์อันดับที่ 17 ได้รับคืนเฉพาะองค์พระส่วนทองคำที่ลอกไปยังไม่ได้คืน โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 2 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์จำนวนอื่นๆ นอกจากทรัพย์ 4 รายการพร้อมองค์พระดังกล่าว ซึ่งศาลในคดีอาญาทั้งสองคดีดังกล่าวยังมิได้มีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 2 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งสอง ฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีนี้บางประเด็นจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2983/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล่อซื้อยาเสพติด: พยานหลักฐานไม่ชัดเจน, ข้อพิรุธในการจับกุม, ศาลยกประโยชน์แห่งความสงสัย
ภูมิลำเนาของผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลหรือตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย ได้แก่ เรือนจำหรือทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัว การที่จำเลยต้องคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและต้องอยู่ที่เรือนจำพิเศษมีนบุรีนั้น เมื่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นยังไม่ถึงที่สุดเพราะโจทก์อุทธรณ์ เรือนจำพิเศษมีนบุรีจึงหาใช่ภูมิลำเนาของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 47 ไม่ ทั้งการที่จำเลยต้องอยู่ที่เรือนจำพิเศษมีนบุรีก็มิใช่เป็นการย้ายถิ่นที่อยู่ของจำเลยด้วยเจตนาปรากฏชัดแจ้งว่าจะเปลี่ยนภูมิลำเนาตาม ป.พ.พ. มาตรา 41 ด้วย และกรณีของจำเลยก็ไม่ต้องด้วยการที่บุคคลใดเลือกเอาถิ่นใดโดยมีเจตนาปรากฏชัดแจ้งว่าจะให้เป็นภูมิลำเนาเฉพาะการเพื่อทำการใดอันจะถือว่าเรือนจำพิเศษมีนบุรีเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการสำหรับการนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 42 อีกเช่นกัน ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ให้จำเลยตามภูมิลำเนาของจำเลยที่ปรากฏในทะเบียนราษฎร์นั้น จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ให้แก่จำเลยอันมีสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญตาม ป.พ.พ. มาตรา 37 การส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ให้แก่จำเลยดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2849-2850/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร และข่มขืนกระทำชำเรา เป็นกรรมเดียวกัน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคสอง และ 317 วรรคสาม เป็นความผิดกรรมเดียวกันนั้นไม่ถูกต้อง เพราะความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสามนั้น จำเลยทั้งสองมีเจตนากระทำต่อบิดาของผู้เสียหายย่อมเป็นความผิดฐานพรากผู้เสียหายซึ่งมีอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดาผู้เสียหายเพื่อการอนาจารอันเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่จำเลยทั้งสองพรากผู้เสียหายไปโดยมีเจตนาดังกล่าว ส่วนความผิดฐานพาผู้เสียหายซึ่งมีอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเพื่อการอนาจารตามมาตรา 283 ทวิ วรรคสอง จำเลยทั้งสองมีเจตนาเดียวคือพาผู้เสียหายไปข่มขืนกระทำชำเรา การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองตามมาตรา 283 ทวิ วรรคสอง จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกับความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม ปัญหาดังกล่าวนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2719/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของกฎหมายใหม่ต่อความผิดเดิม: สถานบริการที่ไม่ได้รับใบอนุญาตเมื่อมีการแก้ไขนิยาม
แม้ขณะเกิดเหตุการณ์ที่จำเลยตั้งสถานบริการประเภทสถานที่ที่มีสุรา น้ำชาและเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายและบริการโดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอนให้แก่ลูกค้าโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.สถานบริการฯ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง ฉบับเดิมก็ตาม แต่เนื่องจากในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มี พ.ร.บ.สถานบริการ (ฉบับที่ 4)ฯ ออกมาใช้บังคับ ซึ่งตามพ.ร.บ.ฉบับหลังนี้ มาตรา 3 ได้บัญญัติให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า "สถานบริการ" ในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.สถานบริการฯ เดิม และได้บัญญัติข้อความใหม่ไว้ในมาตรา 3 ว่า "สถานบริการ" หมายความว่า สถานที่ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการโดยหวังประโยชน์ในทางการค้าดังต่อไปนี้...(2) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายและบริการโดยมีผู้บำเรอสำหรับปรนนิบัติลูกค้า ดังนี้ เมื่อฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างเพียงว่า สถานที่ที่จำเลยตั้งขึ้นเพื่อให้บริการนั้น เป็นสถานที่ที่มีสุรา น้ำชาและเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายและบริการโดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอนให้แก่ลูกค้าเท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่ามีผู้บำเรอสำหรับปรนนิบัติลูกค้าด้วย กรณีจึงไม่เข้าบทนิยามคำว่า "สถานบริการ" ตาม พ.ร.บ.สถานบริการ (ฉบับที่ 4)ฯ ทั้งไม่มีบทบัญญัติใดตาม พ.ร.บ.สถานบริการดังกล่าว ระบุไว้ว่าการตั้งสถานที่เพื่อให้บริการตามฟ้องจะต้องได้รับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และมีบทกำหนดโทษในกรณีที่มีผู้ฝ่าฝืนไว้เช่น พ.ร.บ.สถานบริการฉบับเดิม ถือได้ว่าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานตั้งสถานบริการโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
of 18