พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเวลาโฆษณาทางวิทยุ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายถูกจำกัดด้วยข้อตกลงและเหตุสุดวิสัย
จำเลยได้อนุมัติและมอบหมายให้กรมการทหารสื่อสารจัดตั้งสถานีวิทยุ วปถ. ตามจังหวัดต่าง ๆ ขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ราชการของจำเลย โดยเป็นที่เข้าใจกันว่ากรมการทหารสื่อสารจะต้องหาทางดำเนินการในเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เอาเอง และเมื่อกรมการทหารสื่อสารได้จัดตั้งสถานีวิทยุ วปถ. ขึ้นตามที่จำเลยอนุมัติและมอบหมายแล้วจำเลยก็ย่อมรับรู้และได้เข้าควบคุมสถานีวิทยุเหล่านั้นทั้งหมด โดยทางคณะกรรมการที่จำเลยแต่งตั้งและโดยการควบคุมตามสายงานปกติ คือผ่านทางสำนักงานปลัดบัญชีทหารบก ตลอดจนได้เข้าถือประโยชน์จากทรัพย์สินและวัสดุต่าง ๆ ทั้งขอแบ่งผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินงานสถานีวิทยุเหล่านั้นไปเป็นของจำเลยถึงร้อยละ 40 เช่นนี้ การที่กรมการทหารสื่อสารได้ปฏิบัติไปเกี่ยวกับการจัดตั้งและการดำเนินงานของสถานีวิทยุ วปถ. จึงผูกพันกองทัพบกจำเลย รวมทั้งหนี้ซึ่งผู้อำนวยการกรมการทหารสื่อสารได้กู้ยืมเงินโจทก์เพื่อนำไปพัฒนากิจการวิทยุดังกล่าวกับหนี้เงินที่โจทก์ได้ออกทดรองจ่ายให้ไปตามสัญญาที่มีกับกรมการทหารสื่อสารเพื่อนำไปปรับปรุงสถานีวิทยุกระจายเสียง วปถ. ด้วย จำเลยต้องรับผิดชำระเงินดังกล่าวให้โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2509 คณะกรรมการของกรมการทหารสื่อสารได้มีการประชุมกับผู้จัดการทั่วไปของโจทก์ตกลงหลักการให้โจทก์เช่าเวลาโฆษณาของสถานีวิทยุ วปถ. ทุกแห่ง โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 กับได้มอบหมายให้ที่ปรึกษากฎหมายเป็นผู้ร่างสัญญา ซึ่งผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสาร ได้มีหนังสือถึงโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.26 ขอให้ยืนยันข้อตกลงดังกล่าวและโจทก์ได้มีหนังสือตอบยืนยันไปแต่ยังไม่ทันถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2509 และยังมิได้มีการลงชื่อในสัญญาซึ่งตกลงว่าจะทำกันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งลงวันที่ 21 กันยายน 2509 ห้ามสถานีวิทยุของส่วนราชการต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงกลาโหมออกอากาศรายการโฆษณาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 เป็นต้นไป กรมการทหารสื่อสารจึงได้จัดให้มีการประชุม รองผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสารได้แถลงว่า ข้อผูกพันระหว่างกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสารกับผู้เช่าเวลาโฆษณาถือว่าเป็นสิ้นสุดต่อกัน ซึ่งผู้แทนของโจทก์ก็ได้เข้าร่วมประชุมและรับทราบคำแถลงดังกล่าวด้วยโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านแต่ประการใด เมื่อสัญญาตามที่ได้ตกลงกันไว้ว่าจะทำยังมิได้ทำขึ้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กับกรมการทหารสื่อสารทหารบกหรือจำเลยมีสัญญาต่อกัน ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรค 2(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 164/2519)
เดิมกรมการทหารสื่อสารตกลงให้โจทก์ทำการรับเหมาเช่าเวลาออกอากาศของสถานีวิทยุ วปถ. จำนวน 12 แห่ง ตั้งแต่ ปี 2507 โดยกรมการทหารสื่อสารขอสงวนสิทธิว่า เมื่อมีคำสั่งของทางราชการกองทัพบกหรือของรัฐบาล สั่งให้ปฏิบัติการใด ๆ ด้วยวิธีการใด ๆ เกี่ยวกับการโฆษณา โจทก์จะต้องถือปฏิบัติตามโดยไม่มีข้อโต้แย้งหรือเงื่อนไขใด ๆ และเมื่อมีเหตุนอกอำนาจใด ๆ บังเกิดขึ้นอันทำให้การกระจายเสียงของ วปถ. ไม่เป็นไปตามปกติแล้วทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันให้ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน และโจทก์จะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากกรมการทหารสื่อสารไม่ได้ต่อมาการที่โจทก์ไม่อาจเข้าทำการโฆษณาในสถานีวิทยุ วปถ. ได้ตามปกติ เนื่องจากมีคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห้ามการโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงก็ดีหรือ การที่กรมการทหารสื่อสารไม่ได้จัดให้โจทก์เข้าเช่าเวลาโฆษณาในตอนหลังเนื่องจากผู้บัญชาการทหารบกได้มีคำสั่งให้กรมการทหารสื่อสารดำเนินการโฆษณาเองก็ดีต้องถือเป็นเหตุนอกเหนืออำนาจของกรมการทหารสื่อสาร ซึ่งกรมการทหารสื่อสารไม่อาจจะจัดการให้เป็นอย่างอื่นได้โจทก์จึงไม่อาจโต้แย้งและไม่มีสิทธิจะเรียกค่าเสียหายใด ๆจากกรมการทหารสื่อสารตามนัยแห่งข้อตกลงเดิมที่โจทก์มีอยู่กับกรมการทหารสื่อสารดังกล่าวข้างต้นได้และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากกรมการทหารสื่อสาร โจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะฟ้องเรียกจากจำเลยได้
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2509 คณะกรรมการของกรมการทหารสื่อสารได้มีการประชุมกับผู้จัดการทั่วไปของโจทก์ตกลงหลักการให้โจทก์เช่าเวลาโฆษณาของสถานีวิทยุ วปถ. ทุกแห่ง โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 กับได้มอบหมายให้ที่ปรึกษากฎหมายเป็นผู้ร่างสัญญา ซึ่งผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสาร ได้มีหนังสือถึงโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.26 ขอให้ยืนยันข้อตกลงดังกล่าวและโจทก์ได้มีหนังสือตอบยืนยันไปแต่ยังไม่ทันถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2509 และยังมิได้มีการลงชื่อในสัญญาซึ่งตกลงว่าจะทำกันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งลงวันที่ 21 กันยายน 2509 ห้ามสถานีวิทยุของส่วนราชการต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงกลาโหมออกอากาศรายการโฆษณาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 เป็นต้นไป กรมการทหารสื่อสารจึงได้จัดให้มีการประชุม รองผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสารได้แถลงว่า ข้อผูกพันระหว่างกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสารกับผู้เช่าเวลาโฆษณาถือว่าเป็นสิ้นสุดต่อกัน ซึ่งผู้แทนของโจทก์ก็ได้เข้าร่วมประชุมและรับทราบคำแถลงดังกล่าวด้วยโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านแต่ประการใด เมื่อสัญญาตามที่ได้ตกลงกันไว้ว่าจะทำยังมิได้ทำขึ้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กับกรมการทหารสื่อสารทหารบกหรือจำเลยมีสัญญาต่อกัน ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรค 2(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 164/2519)
เดิมกรมการทหารสื่อสารตกลงให้โจทก์ทำการรับเหมาเช่าเวลาออกอากาศของสถานีวิทยุ วปถ. จำนวน 12 แห่ง ตั้งแต่ ปี 2507 โดยกรมการทหารสื่อสารขอสงวนสิทธิว่า เมื่อมีคำสั่งของทางราชการกองทัพบกหรือของรัฐบาล สั่งให้ปฏิบัติการใด ๆ ด้วยวิธีการใด ๆ เกี่ยวกับการโฆษณา โจทก์จะต้องถือปฏิบัติตามโดยไม่มีข้อโต้แย้งหรือเงื่อนไขใด ๆ และเมื่อมีเหตุนอกอำนาจใด ๆ บังเกิดขึ้นอันทำให้การกระจายเสียงของ วปถ. ไม่เป็นไปตามปกติแล้วทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันให้ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน และโจทก์จะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากกรมการทหารสื่อสารไม่ได้ต่อมาการที่โจทก์ไม่อาจเข้าทำการโฆษณาในสถานีวิทยุ วปถ. ได้ตามปกติ เนื่องจากมีคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห้ามการโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงก็ดีหรือ การที่กรมการทหารสื่อสารไม่ได้จัดให้โจทก์เข้าเช่าเวลาโฆษณาในตอนหลังเนื่องจากผู้บัญชาการทหารบกได้มีคำสั่งให้กรมการทหารสื่อสารดำเนินการโฆษณาเองก็ดีต้องถือเป็นเหตุนอกเหนืออำนาจของกรมการทหารสื่อสาร ซึ่งกรมการทหารสื่อสารไม่อาจจะจัดการให้เป็นอย่างอื่นได้โจทก์จึงไม่อาจโต้แย้งและไม่มีสิทธิจะเรียกค่าเสียหายใด ๆจากกรมการทหารสื่อสารตามนัยแห่งข้อตกลงเดิมที่โจทก์มีอยู่กับกรมการทหารสื่อสารดังกล่าวข้างต้นได้และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากกรมการทหารสื่อสาร โจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะฟ้องเรียกจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเวลาโฆษณาทางวิทยุ สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาเมื่อมีเหตุสุดวิสัยหรือคำสั่งทางราชการ
จำเลยได้อนุมัติและมอบหมายให้กรมการทหารสื่อสารจัดตั้งสถานีวิทยุ วปถ. ตามจังหวัดต่าง ๆ ขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ราชการของจำเลย โดยเป็นที่เข้าใจกันว่ากรมการทหารสื่อสารจะต้องหาทางดำเนินการในเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เอาเอง และเมื่อกรมการทหารสื่อสารได้จัดตั้งสถานีวิทยุ วปถ. ขึ้นตามที่จำเลยอนุมัติและมอบหมายแล้ว จำเลยก็ยอมรับรู้และได้เข้าควบคุมสถานีวิทยุเหล่านั้นทั้งหมด โดยทางคณะกรรมการที่จำเลยแต่งตั้งและโดยการควบคุมตามสายงานปกติ คือผ่านทางสำนักงานปลัดบัญชีทหารบก ตลอดจนได้เข้าถือประโยชน์จากทรัพย์สินและวัสดุต่าง ๆ ทั้งขอแบ่งผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินงานสถานีวิทยุเหล่านั้นไปเป็นของจำเลยถึงร้อยละ 40 เช่นนี้ การที่กรมการทหารสื่อสารได้ปฏิบัติไปเกี่ยวกับการจัดตั้งและการดำเนินงานของสถานีวิทยุ วปถ. จึงผูกพันกองทัพบกจำเลย รวมทั้งหนี้ซึ่งผู้อำนวยการ กรมการทหารสื่อสารได้กู้ยืมเงินโจทก์เพื่อนำไปพัฒนากิจการวิทยุดังกล่าวกับหนี้เงินที่โจทก์ได้ออกทดรองจ่ายให้ไปตามสัญญาที่มีกับกรมการทหารสื่อสารเพื่อนำไปปรับปรุงสถานีวิทยุกระจายเสียง วปถ.ด้วย จำเลยต้องรับผิดชำระเงินดังกล่าวให้โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2509 คณะกรรมการของกรมการทหารสื่อสารได้มีการประชุมกับผู้จัดการทั่วไปของโจทก์ตกลงหลักการให้โจทก์เช่าเวลาโฆษณาของสถานีวิทยุ วปถ.ทุกแห่ง โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 กับได้มอบหมายให้ที่ปรึกษากฎหมายเป็นผู้ร่างสัญญา ซึ่งผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียง กรมการทหารสื่อสาร ได้มีหนังสือถึงโจทก์ ตามเอกสารหมาย จ.26 ขอให้ยืนยันข้อตกลงดังกล่าว และโจทก์ได้มีหนังสือตอบยืนยันไป แต่ยังไม่ทันถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2509 และยังมิได้มีการลงชื่อในสัญญาซึ่งตกลงว่าจะทำกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งลงวันที่ 21 กันยายน 2509 ห้ามสถานีวิทยุของส่วนราชการต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงกลาโหมออกอากาศรายการโฆษณาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 เป็นต้นไป กรมการทหารสื่อสารจึงได้จัดให้มีการประชุม รองผู้อำนายการกิจการวิทยุกระจายเสียง กรมการทหารสื่อสารได้แถลงว่า ข้อผูกพันระหว่างกิจการวิทยุกระจายเสียง กรมการทหารสื่อสารกับผู้เช่าเวลาโฆษณาถือว่าเป็นสิ้นสุดต่อกัน ซึ่งผู้แทนของโจทก์ก็ได้เข้าร่วมประชุมและรับทราบคำแถลงดังกล่าวด้วยโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านแต่ประการใด เมื่อสัญญาตามที่ได้ตกลงกันไว้ว่าจะทำยังมิได้ทำขึ้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กับกรมการทหารสื่อสารทหารบกหรือจำเลยมีสัญญาต่อกัน ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรค 2 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 164/2519)
เดิมกรมการทหารสื่อสารตกลงให้โจทก์ทำการรับเหมาเช่าเวลาออกอากาศของสถานีวิทยุ วปถ. จำนวน 12 แห่ง ตั้งแต่ปี 2507 โดยกรมการทหารสื่อสารขอสงวนสิทธิว่า เมื่อมีคำสั่งของทางราชการกองทัพบกหรือของรัฐบาล สั่งให้ปฏิบัติการใด ๆ ด้วยวิธีการใด ๆ เกี่ยวกับการโฆษณา โจทก์จะต้องถือปฏิบัติตามโดยไม่มีข้อโต้แย้งหรือเงื่อนไขใด ๆ และเมื่อมีเหตุนอกอำนาจใด ๆ บังเกิดขึ้นอันทำให้การกระจายเสียงของ วปถ.ไม่เป็นไปตามปกติแล้ว ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันให้ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน และโจทก์จะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากกรมการทหารสื่อสารไม่ได้ ต่อมาการที่โจทก์ไม่อาจเข้าทำการโฆษณาในสถานีวิทยุ วปถ.ได้ตามปกติ เนื่องจากมีคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห้ามการโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงก็ดี หรือการที่กรมการทหารสื่อสารไม่ได้จัดให้โจทก์เข้าเช่าเวลาโฆษณาในตอนหลังเนื่องจากผู้บัญชาการทหารบกได้มีคำสั่งให้กรมการทหารสื่อสารดำเนินการโฆษณาเองก็ดี ต้องถือเป็นเหตุนอกเหนืออำนาจของกรมการทหารสื่อสาร ซึ่งกรมการทหารสื่อสารไม่อาจจะจัดการให้เป็นอย่างอื่นได้ โจทก์จึงไม่อาจโต้แย้งและไม่มีสิทธิจะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากกรมการทหารสื่อสารตามนัยแห่งข้อตกลงเดิมที่โจทก์มีอยู่กับกรมการทหารสื่อสารดังกล่าวข้างต้นได้ และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากกรมการทหารสื่อสาร โจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะฟ้องเรียกจากจำเลยได้
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2509 คณะกรรมการของกรมการทหารสื่อสารได้มีการประชุมกับผู้จัดการทั่วไปของโจทก์ตกลงหลักการให้โจทก์เช่าเวลาโฆษณาของสถานีวิทยุ วปถ.ทุกแห่ง โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 กับได้มอบหมายให้ที่ปรึกษากฎหมายเป็นผู้ร่างสัญญา ซึ่งผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียง กรมการทหารสื่อสาร ได้มีหนังสือถึงโจทก์ ตามเอกสารหมาย จ.26 ขอให้ยืนยันข้อตกลงดังกล่าว และโจทก์ได้มีหนังสือตอบยืนยันไป แต่ยังไม่ทันถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2509 และยังมิได้มีการลงชื่อในสัญญาซึ่งตกลงว่าจะทำกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งลงวันที่ 21 กันยายน 2509 ห้ามสถานีวิทยุของส่วนราชการต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงกลาโหมออกอากาศรายการโฆษณาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 เป็นต้นไป กรมการทหารสื่อสารจึงได้จัดให้มีการประชุม รองผู้อำนายการกิจการวิทยุกระจายเสียง กรมการทหารสื่อสารได้แถลงว่า ข้อผูกพันระหว่างกิจการวิทยุกระจายเสียง กรมการทหารสื่อสารกับผู้เช่าเวลาโฆษณาถือว่าเป็นสิ้นสุดต่อกัน ซึ่งผู้แทนของโจทก์ก็ได้เข้าร่วมประชุมและรับทราบคำแถลงดังกล่าวด้วยโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านแต่ประการใด เมื่อสัญญาตามที่ได้ตกลงกันไว้ว่าจะทำยังมิได้ทำขึ้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กับกรมการทหารสื่อสารทหารบกหรือจำเลยมีสัญญาต่อกัน ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรค 2 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 164/2519)
เดิมกรมการทหารสื่อสารตกลงให้โจทก์ทำการรับเหมาเช่าเวลาออกอากาศของสถานีวิทยุ วปถ. จำนวน 12 แห่ง ตั้งแต่ปี 2507 โดยกรมการทหารสื่อสารขอสงวนสิทธิว่า เมื่อมีคำสั่งของทางราชการกองทัพบกหรือของรัฐบาล สั่งให้ปฏิบัติการใด ๆ ด้วยวิธีการใด ๆ เกี่ยวกับการโฆษณา โจทก์จะต้องถือปฏิบัติตามโดยไม่มีข้อโต้แย้งหรือเงื่อนไขใด ๆ และเมื่อมีเหตุนอกอำนาจใด ๆ บังเกิดขึ้นอันทำให้การกระจายเสียงของ วปถ.ไม่เป็นไปตามปกติแล้ว ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันให้ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน และโจทก์จะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากกรมการทหารสื่อสารไม่ได้ ต่อมาการที่โจทก์ไม่อาจเข้าทำการโฆษณาในสถานีวิทยุ วปถ.ได้ตามปกติ เนื่องจากมีคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห้ามการโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงก็ดี หรือการที่กรมการทหารสื่อสารไม่ได้จัดให้โจทก์เข้าเช่าเวลาโฆษณาในตอนหลังเนื่องจากผู้บัญชาการทหารบกได้มีคำสั่งให้กรมการทหารสื่อสารดำเนินการโฆษณาเองก็ดี ต้องถือเป็นเหตุนอกเหนืออำนาจของกรมการทหารสื่อสาร ซึ่งกรมการทหารสื่อสารไม่อาจจะจัดการให้เป็นอย่างอื่นได้ โจทก์จึงไม่อาจโต้แย้งและไม่มีสิทธิจะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากกรมการทหารสื่อสารตามนัยแห่งข้อตกลงเดิมที่โจทก์มีอยู่กับกรมการทหารสื่อสารดังกล่าวข้างต้นได้ และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากกรมการทหารสื่อสาร โจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะฟ้องเรียกจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อในการมอบเอกสารประกันหนี้ ทำให้ผูกพันตามสัญญาจำนอง แม้จำเลยที่ 2 จะไม่รู้ข้อตกลงเดิม
โจทก์มอบ น.ส.3 และหนังสือมอบอำนาจที่ลงแต่ลายมือชื่อโจทก์ให้จำเลยที่ 1 ไว้เพื่อเป็นประกันหนี้ค่าปุ๋ยที่โจทก์ซื้อจากจำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงระหว่างกันว่า เมื่อโจทก์ชำระค่าปุ๋ยเสร็จสิ้นแล้ว จำเลยที่ 1 จะต้องคืน น.ส.3 และใบมอบอำนาจให้โจทก์ พฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าวถือได้ว่ากระทำไปด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ซึ่งโจทก์ต้องเสี่ยงภัยกับการกระทำของตนเอง เมื่อจำเลยที่ 1 นำใบมอบอำนาจไปกรอกข้อความโดยปราศจากอำนาจ ทำนิติกรรมจำนองที่ดิน น.ส.3 ของโจทก์ไว้กับจำเลยที่ 2 เพื่อเป็นประกันหนี้ค่าปุ๋ยที่จำเลยที่ 1 ซื้อจากจำเลยที่ 2 และกรณีไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ล่วงรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทั้งไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำการโดยไม่สุจริตประการใด โจทก์จึงต้องผูกพันตามสัญญาจำนองนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของผู้มอบอำนาจและการผูกพันตามสัญญาจำนองที่จำเลยที่ 2 ไม่รู้เห็น
โจทก์มอบ น.ส.3 และหนังสือมอบอำนาจที่ลงแต่ลายมือชื่อโจทก์ให้จำเลยที่ 1 ไว้เพื่อประกันหนี้ค่าปุ๋ยโดยตกลงกันว่าจำเลยที่ 1 จะต้องคืนเมื่อโจทก์ชำระค่าปุ๋ยแล้ว แต่จำเลยที่ 1 กลับนำไปทำสัญญาจำนองไว้กับจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 ไม่รู้ถึงข้อตกลงพฤติการณ์ของโจทก์ถือได้ว่าได้กระทำไปด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงโจทก์จึงต้องเสี่ยงภัยกับการกระทำของตนนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองที่ดินด้วยใบมอบอำนาจที่ไม่สมบูรณ์ เจ้าของที่ดินต้องรับผิดแม้มีการปลอมแปลง
เจ้าของที่ดินพิมพ์ลายนิ้วมือลงในใบมอบอำนาจโดยมิได้กรอกข้อความ เพื่อให้ผู้รับมอบอำนาจนำไปวางเป็นประกันการค้าไม้ซุง แต่ผู้รับมอบอำนาจกับพวกกลับนำไปกรอกข้อความให้มีอำนาจทำการจำนองแทนเจ้าของที่ดิน เมื่อผู้รับจำนองได้รับจำนองไว้โดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วเจ้าของที่ดินจะอ้างเอาความประมาทเลินเล่อของตนมาเป็นเหตุให้พ้นความรับผิดหาได้ไม่ แม้ว่าผู้รับมอบอำนาจกับพวกจะถูกศาลพิพากษาลงโทษในคดีอาญาข้อหาปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมก็ตามเจ้าของที่ดินก็ต้องรับผิดชำระหนี้ไถ่ถอนจำนอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451-452/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบอำนาจตัวแทน – นิติกรรมนอกขอบ – ความเชื่อโดยสุจริต – ความผูกพันต่อบุคคลภายนอก
การที่เจ้าของที่ดินลงลายพิมพ์นิ้วมือในใบมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปขอหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินโดยมิได้กรอกข้อความแล้วจำเลยที่ 1 ไปจัดการกรอกข้อความเติมไปด้วยว่าให้มีอำนาจทำนิติกรรมขายฝากได้ด้วยและนำที่ดินไปขายฝากให้แก่จำเลยที่ 2 นั้น ถือว่าเป็นการทำนอกเหนือขอบอำนาจของตัวการตามปกติจึงไม่ผูกพันตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 เว้นแต่ทางปฏิบัติของตัวการทำให้บุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่าการนั้นอยู่ในขอบอำนาจของตัวแทนหรือตัวการให้สัตยาบัน จึงจะผูกพันตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 822 และ 823
เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อฝากที่ดินมิได้หลงเชื่อใบมอบอำนาจหากเชื่อตัวบุคคลอื่นซึ่งแสดงตนเป็นโจทก์จึงได้รับซื้อฝากที่พิพาทนั้นถือว่าโจทก์มิได้ทำให้จำเลยที่ 2 หลงเชื่อนิติกรรมขายฝากจึงไม่ผูกพันโจทก์
เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อฝากที่ดินมิได้หลงเชื่อใบมอบอำนาจหากเชื่อตัวบุคคลอื่นซึ่งแสดงตนเป็นโจทก์จึงได้รับซื้อฝากที่พิพาทนั้นถือว่าโจทก์มิได้ทำให้จำเลยที่ 2 หลงเชื่อนิติกรรมขายฝากจึงไม่ผูกพันโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451-452/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจตัวแทนและการผูกพันตามสัญญา: การขายฝากเกินอำนาจมอบหมาย
การที่เจ้าของที่ดินลงลายพิมพ์นิ้วมือในใบมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปขอหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินโดยมิได้กรอกข้อความ แล้วจำเลยที่ 1 ไปจัดการกรอกข้อความเติมไปด้วยว่าให้มีอำนาจทำนิติกรรมขายฝากได้ด้วย และนำที่ดินไปขายฝากให้แก่จำเลยที่ 2 นั้น ถือว่าเป็นการทำนอกเหนือขอบอำนาจของตัวการ ตามปกติจึงไม่ผูกพันตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 เว้นแต่ทางปฏิบัติของตัวการทำให้บุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่าการนั้นอยู่ในขอบอำนาจของตัวแทน หรือตัวการให้สัตยาบัน จึงจะผูกพันตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 822 และ 823
เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อฝากที่ดินมิได้หลงเชื่อใบมอบอำนาจ หากเชื่อตัวบุคคลอื่นซึ่งแสดงตนเป็นโจทก์ จึงได้รับซื้อฝากที่พิพาทนั้น ถือว่าโจทก์มิได้ทำให้จำเลยที่ 2 หลงเชื่อ นิติกรรมขายฝากจึงไม่ผูกพันโจทก์.
เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อฝากที่ดินมิได้หลงเชื่อใบมอบอำนาจ หากเชื่อตัวบุคคลอื่นซึ่งแสดงตนเป็นโจทก์ จึงได้รับซื้อฝากที่พิพาทนั้น ถือว่าโจทก์มิได้ทำให้จำเลยที่ 2 หลงเชื่อ นิติกรรมขายฝากจึงไม่ผูกพันโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1605/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองเกินอำนาจตัวแทน ความประมาทเลินเล่อของผู้มอบอำนาจ และผลกระทบต่อผู้รับจำนองโดยสุจริต
จำเลยเซ็นชื่อในหนังสือมอบอำนาจเพื่อให้ ล.เอาทีดินของจำเลยไปจำนองไม่เกิน 60,000 บาท ส่วนข้อความในใบมอบอำนาจให้ ล. กรอกเอาเอง ต่อมา ล.กรอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจว่า ล.เป็นผู้มีอำนาจจำนอง และจำนองโจทก์ไว้เป็นเงิน 200,000 บาทดังนี้หาทำให้การตั้งตัวแทนเป็นโมฆะไม่ แต่เป็นเรื่องที่ ล.ทำเกินอำนาจของตน ซึ่ง ล.จะต้องรับผิดต่อจำเลยเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก แต่ทางปฎิบัติของจำเลยทำให้โจทก์เชื่อว่าการที่ ล.จำนองโจทก์ถึง 200,000 บาทนั้น อยู่ในอำนาจของ ล. เพราะถ้าจำเลยจะให้บุคคลอื่นรู้ว่า ล.มีอำนาจจำนองได้เพียง 60,000 บาท ก็ชอบที่จะเขียนจำนวนเงินที่จะจำนองลงในหนังสือมอบอำนาจให้ปรากฎชัด การที่จำเลยละเลย ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับจำนองโดยสุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1605/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจตัวแทนจำนอง: ความประมาทเลินเล่อของผู้มอบอำนาจและการรับผิดต่อบุคคลที่สาม
จำเลยเซ็นชื่อในหนังสือมอบอำนาจเพื่อให้ ล. เอาที่ดินของจำเลยไปจำนองไม่เกิน 60,000 บาท ส่วนข้อความในใบมอบอำนาจให้ ล. กรอกเอาเอง ต่อมา ล. กรอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจว่า ล. เป็นผู้มีอำนาจจำนอง และจำนองโจทก์ไว้เป็นเงิน 200,000 บาท ดังนี้ หาทำให้การตั้งตัวแทนเป็นโมฆะไม่ แต่เป็นเรื่องที่ ล.ทำเกินอำนาจของตนซึ่ง ล. จะต้องรับผิดต่อจำเลยเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก แต่ทางปฏิบัติของจำเลยทำให้โจทก์เชื่อว่าการที่ ล. จำนองโจทก์ถึง 200,000 บาทนั้น อยู่ในอำนาจของล. เพราะถ้าจำเลยจะให้บุคคลอื่นรู้ว่า ล. มีอำนาจจำนองได้เพียง 60,000 บาท ก็ชอบที่จะเขียนจำนวนเงินที่จะจำนองลงในหนังสือมอบอำนาจให้ปรากฏชัด การที่จำเลยละเลย ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับจำนองโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 822
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1904/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้แก่ทนายความผู้รับมอบอำนาจ: การผูกพันของตัวการต่อบุคคลภายนอก
ทนายความซึ่งได้รับมอบอำนาจในการบังคับคดีตามใบมอบอำนาจที่กระทำตามแบบพิมพ์ของกองหมายนั้น ย่อมไม่มีอำนาจรับเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษา แต่ถ้าปรากฏว่า ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้เคยชำระหนี้ บางงวดแก่ทนายความผู้รับมอบอำนาจเล่นนั้น และผู้มอบอำนาจได้เคยแสดงออกว่า รับรู้ถึงการรับเงินนั้น ดังนี้ ย่อมมีเหตุอันควรที่จะทำให้ลูกหนี้ดังกล่าวเชื่อว่าทนายความผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจรับเงินชำระหนี้แทนผู้มอบอำนาจได้ ฉะนั้น ลูกหนี้ผู้ชำระหนี้แก่ทนายความผู้รับมอบอำนาจโดยสุจริตและโดยมีเหตุอันควรเชื่อเช่นนั้น ย่อมได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 822
(เรื่องใบมอบอำนาจตามแบบพิมพ์นี้ วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2505)
(เรื่องใบมอบอำนาจตามแบบพิมพ์นี้ วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2505)