คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ เนตรมัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 841 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5982/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนอาญา: เชื่อถือได้ว่าเหตุเกิดในเขตอำนาจ แม้ที่เกิดเหตุจริงไม่อยู่ในเขตนั้น
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตน นอกจากสามกรณีดังกล่าวแล้วพนักงานสอบสวนจะมีอำนาจสอบสวนต่อเมื่อมีการอ้างหรือเชื่อว่าความผิดนั้นได้เกิดภายในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนนั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือพนักงานสอบสวนเข้าใจหรือมีความเชื่อเกี่ยวกับที่เกิดเหตุว่าความผิดได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน ซึ่งผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงที่ความผิดไม่ได้เกิดในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวน แต่ได้เกิดในสถานที่อื่นนอกเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนนั้น
บริเวณถนนสายบ้านร่องบง - บ้านติ้วที่จ่าสิบตำรวจ ม. กับพวกตั้งจุดตรวจชั่วคราว และจุดที่พบถุงบรรจุเมทแอมเฟตามีนเป็นถนนนอกเขตชุมชน ตลอดแนวถนนไม่มีป้ายหรือสิ่งปลูกสร้างใดแสดงให้ปรากฏว่าบริเวณดังกล่าวอยู่ในเขตท้องที่หมู่บ้านหรือตำบลใด จ่าสิบตรวจ ม. กับพวกผู้ร่วมจับกุมเป็นเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านติ้ว ย่อมต้องมีความเชื่อว่าบริเวณที่ตั้งจุดตรวจอยู่ในเขตอำนาจรับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านติ้ว แม้จำเลยจะโยนเมทแอมเฟตามีนทิ้งในเขตตำบลบ้านหวาย แต่จ่าสิบตำรวจ ม. ก็พบเห็นการกระทำความผิดในเขตตำบลบ้านติ้วและเรียกให้จำเลยหยุดที่จุดตรวจต่อเนื่องกัน จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมเชื่อว่าเหตุเกิดและจำเลยถูกจับในท้องที่ตำบลบ้านติ้ว เมื่อจ่าสิบตำรวจ ม. นำจำเลยพร้อมเมทแอมเฟตามีนส่งมอบให้แก่พันตำรวจตรี ป. ย่อมทำให้พันตำรวจตรี ป. เชื่อว่าความผิดได้เกิดขึ้นและจำเลยถูกจับภายในเขตอำนาจของตน พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านติ้วย่อมมีอำนาจสอบสวนได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5819/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อระงับเมื่อรถหาย ผู้เช่าต้องชำระค่าเสียหายตามข้อตกลงเบี้ยปรับ
เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย สัญญาเช่าซื้อย่อมระงับไปนับแต่วันที่รถยนต์สูญหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 567 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องส่งมอบรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ แต่เมื่อปรากฏข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อว่าในกรณีที่รถยนต์นั้นสูญหาย ผู้เช่าจะยอมชดใช้ค่ารถยนต์เป็นเงินจำนวนเท่ากับค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือที่ผู้เช่าจะต้องชำระทั้งหมดตามสัญญาเช่าซื้อทันที ถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ตกลงจะชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์กรณีนี้ไว้ด้วย อันเป็นการกำหนดความรับผิดในการที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ล่วงหน้ามีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลชอบที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคแรก ส่วนค่าขาดประโยชน์นั้น เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไปเป็นเหตุให้สัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5499/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการอุทธรณ์คำสั่งศาลและการดำเนินกระบวนการที่ไม่ชอบ
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 1 ให้คืนค่าขึ้นศาลแก่จำเลยที่ 1 จึงเป็นการตรวจและมีคำสั่งปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 1 ไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 232 ทางแก้ของจำเลยที่ 1 คือจำเลยที่ 1 ต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ และนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 234 แต่จำเลยที่ 1 ไม่ดำเนินการตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว กลับยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวเพื่อให้มีคำสั่งคืนอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 ทำมาใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมหรือชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วน เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ให้ยกคำร้อง การที่จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งนั้น จึงเห็นได้ว่าเป็นการพยายามเชื่อมโยงเหตุการณ์เพื่อให้กลับไปสู่การวินิจฉัยเรื่องที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงให้จำเลยที่ 1 สามารถอุทธรณ์ได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 234 อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และ 247 และถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ฎีกาต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5499/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ถูกต้อง จำเลยต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด ไม่สามารถยื่นคำร้องซ้ำเพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมายได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 232 ทางแก้ของจำเลยที่ 1 คือต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ และนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามมาตรา 234 แต่จำเลยที่ 1 ไม่ดำเนินการ กลับยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวเพื่อให้มีคำสั่งคืนอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 ทำมาใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมหรือชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วน เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ให้ยกคำร้องการที่จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งนั้น จึงเป็นการพยายามเชื่อมโยงเหตุการณ์เพื่อให้กลับไปสู่การวินิจฉัยเรื่องที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงให้จำเลยที่ 1 สามารถอุทธรณ์ได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 234 อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะได้รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5184/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดจากความขัดแย้งรุนแรงและการขาดความไว้วางใจ
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มีหุ้นส่วนเพียง 2 คน คือโจทก์และจำเลยที่ 2 โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน และมีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงจนไม่สามารถจะทำธุรกิจร่วมกันต่อไปได้ ทั้งหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดก็มีเพียงจำเลยที่ 2 เท่านั้น ไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นหุ้นส่วนผู้ใดได้อีก จึงทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (3)
เมื่อมีเหตุที่ก่อให้เกิดความเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัดดำเนินกิจการ โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งย่อมมีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ได้ หาใช่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตแต่อย่างใดไม่ และไม่ใช่เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งของห้างหุ้นส่วนที่ตั้งขึ้นโดยไม่มีกำหนดกาลอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นยุติ ประสงค์จะเลิกห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีเหตุ จึงต้องบอกกล่าวความจำนงจะเลิกล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกเดือนก่อนสิ้นรอบปีในทางบัญชีเงินของห้างหุ้นส่วนนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1056
โจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนเพียง 2 คน ของจำเลยที่ 1 ขัดแย้งกันไม่อาจชำระบัญชีร่วมกันได้ และไม่ปรากฏว่ามีข้อบังคับของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1251 วรรคสอง เมื่อเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ย่อมสมควรให้คนกลางที่ไม่มีส่วนได้เสียกับฝ่ายใดเป็นผู้ชำระบัญชี โดยกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5098/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมโนสาเร่: ศาลชอบที่จะจำหน่ายคดีเมื่อโจทก์ไม่มาศาล แม้จำเลยขอให้พิจารณาต่อไป
ในคดีมโนสาเร่นั้นกฎหมายได้กำหนดกระบวนพิจารณาสำหรับกรณีที่โจทก์ไม่มาศาลแตกต่างไปจากคดีแพ่งสามัญ การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาโดยมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาล ให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 193 ทวิ วรรคหนึ่ง กรณีนี้ตามบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่มิได้ให้ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ดังนั้น จึงนำมาตรา 202 ว่าด้วยการที่โจทก์ขาดนัดพิจารณาในคดีแพ่งสามัญมาบังคับแก่คดีนี้หาได้ไม่ เพราะในคดีมโนสาเร่กฎหมายได้บัญญัติหลักเกณฑ์ของการดำเนินกระบวนพิจารณาเมื่อโจทก์ไม่มาศาลไว้เป็นพิเศษแล้ว แม้จำเลยจะยื่นคำให้การและแจ้งต่อศาลชั้นต้นในวันสืบพยานขอให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป ศาลก็ไม่อาจมีคำสั่งให้มีการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวตามมาตรา 202 ดังที่จำเลยอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5098/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมโนสาเร่: ศาลจำหน่ายคดีได้เมื่อโจทก์ไม่มาศาล แม้จำเลยต้องการพิจารณาต่อ
คดีมโนสาเร่กฎหมายได้กำหนดกระบวนพิจารณาไว้โดยเฉพาะสำหรับกรณีที่โจทก์ไม่มาศาลแตกต่างไปจากคดีแพ่งสามัญโดยให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 193 ทวิ จึงนำมาตรา 202 ว่าด้วยการที่โจทก์ขาดนัดพิจารณาในคดีแพ่งสามัญมาบังคับไม่ได้ แม้จำเลยจะยื่นคำให้การและแจ้งต่อศาลชั้นต้นในวันสืบพยานขอให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป ศาลก็ไม่อาจมีคำสั่งให้มีการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวตามมาตรา 202 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4866/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าซื้อ: สัญญาไม่เลิกทันทีแม้มีการยึดรถ หากมีการผ่อนผันและชำระหนี้ต่อเนื่อง
หลังจากทำสัญญาเช่าซื้อแล้วจำเลยชำระค่าเช่าซื้อไม่ตรงตามกำหนดเวลาที่ระบุในสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ยอมรับค่าเช่าซื้อไว้โดยไม่ทักท้วง แสดงว่าคู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ หากโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อประสงค์จะเลิกสัญญาจะต้องบอกกล่าวไปยังผู้เช่าซื้อให้ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 แม้จำเลยจะผิดนัดชำระค่าเช่าซื้ออีก เมื่อโจทก์มิได้บอกกล่าวให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควร โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเลิกสัญญากับจำเลยเพราะเหตุผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ ดังนี้ การที่โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน แต่หลังจากนั้นจำเลยได้ไปติดต่อขอชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระพร้อมดอกเบี้ยค่าปรับรวมค่าใช้จ่ายให้โจทก์ แล้วโจทก์คืนรถยนต์ที่เช่าซื้อให้จำเลยนำไปใช้ต่อ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ยอมผ่อนผันการผิดนัดให้จำเลยโดยไม่ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันทันที โจทก์และจำเลยยังคงประสงค์ให้สัญญาเช่าซื้อมีผลผูกพันกันต่อไป สัญญาเช่าซื้อจึงยังไม่เลิกกันเพราะเหตุที่โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน โจทก์และจำเลยยังคงบังคับกันตามสัญญาเช่าซื้อต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4866/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกสัญญา แม้มีการผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อและการยึดรถ หากผู้ให้เช่าซื้อยอมผ่อนผันและยินยอมให้ใช้สัญญาต่อไป
หลังจากทำสัญญาเช่าซื้อแล้วจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อไม่ตรงตามกำหนดเวลา โจทก์ยอมรับค่าเช่าซื้อไว้โดยไม่ทักท้วงแสดงว่าคู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ หากโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อประสงค์จะเลิกสัญญาจะต้องบอกกล่าวไปยังผู้เช่าซื้อให้ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระโดยกำหนดเวลาพอสมควรก่อน ตาม ป.พ.พ มาตรา 387 แม้จำเลยที่ 1 จะผิดนัดชำระค่าเช่าซื้ออีก เมื่อโจทก์มิได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควร โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 เพราะเหตุดังกล่าว ชำระค่าเช่าซื้อโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควร โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ยึดรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืน แต่ภายในเดือนเดียวกันนั้น จำเลยที่ 1 ได้ไปติดต่อขอชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระพร้อมดอกเบี้ย ค่าปรับ รวมค่าใช้จ่ายให้โจทก์ แล้วโจทก์คืนรถยนต์ที่เช่าซื้อให้จำเลยที่ 1 นำไปใช้ต่อ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ยอมผ่อนผันการผิดนัดให้จำเลยที่ 1 โดยไม่ถือว่าสัญญาเลิกกันทันที ทั้งผู้ให้เช่าซื้อและผู้เช่าซื้อยังคงประสงค์ให้สัญญาเช่าซื้อมีผลผูกพันกันต่อไป สัญญาเช่าซื้อจึงยังไม่เลิกกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4865/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาเช่าซื้อ: โจทก์ไม่ใช่ธุรกิจเงินทุน, สัญญาเลิกได้ทันทีเมื่อผิดนัด
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีวัตถุประสงค์ข้อ (41) ให้เช่า ให้เช่าซื้อ ซึ่งทรัพย์สินใด ๆ ตามหนังสือรับรองของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ ดังนั้น การที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์คันพิพาทโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจึงอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ ธุรกิจของโจทก์มิใช่การจัดหามาซึ่งเงินทุนและใช้เงินนั้นในการประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งตามความหมายของ "ธุรกิจเงินทุน" ตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 4(1) ถึง (5) ทั้งการประกอบธุรกิจเงินทุนจะกระทำได้ต่อเมื่อได้จัดตั้งในรูปบริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด และได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี ตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ฯ เท่านั้น ดังนั้นการดำเนินธุรกิจของโจทก์จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์บางประเภทของบริษัทเงินทุนในการประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการจำหน่ายและการบริโภคที่ออกตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ข้อ 3 (7) ก. ที่จะต้องมีหนังสือบอกกล่าวผู้เช่าซื้อที่ผิดนัดไม่ใช้เงินรายงวดสองงวดติด ๆ กันให้ใช้เงินรายงวดที่ค้างชำระภายในเวลาอย่างน้อย 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือก่อน เมื่อไม่ปฏิบัติตามจึงจะริบเงินที่ชำระแล้วและกลับเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ดังที่จำเลยทั้งสองฎีกา เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 13 เป็นต้นมา สัญญาเช่าซื้อจึงเลิกกันทันทีตามข้อตกลงในสัญญาข้อ 10 โจทก์ไม่จำต้องบอกเลิกสัญญาอีก โจทก์มีอำนาจฟ้อง
of 85