คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ เนตรมัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 841 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3171/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับใช้มาตรา 229 ป.วิ.พ. เฉพาะอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งที่กระทบคำพิพากษาเท่านั้น
ป.วิ.พ. มาตรา 229 บัญญัติว่า "การอุทธรณ์นั้นให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่งภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น และผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วย..." บทบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้น ตลอดจนการอุทธรณ์คำสั่งอื่น ๆ ของศาลชั้นต้นที่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้นเท่านั้น คดีนี้ปรากฏว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา วรรคสอง ให้ยกคำร้อง จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวนี้ หากศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาแล้วเห็นชอบด้วยตามข้ออุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็จะพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นรับคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองไว้พิจารณาและมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดี การอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสองในชั้นนี้ไม่มีผลโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้สิ้นผลบังคับแต่อย่างใด เมื่ออุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3125/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ให้เช่ารถบรรทุกต่อการบรรทุกเกินน้ำหนัก โดยละเลยการควบคุมดูแลลูกจ้าง
ผู้ร้องมีรถบรรทุกของกลางไว้เพื่อรับจ้าง การที่ผู้ร้องขึงผ้ากระสอบไว้เพื่อกำหนดความสูงมิให้จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างบรรทุกน้ำหนักเกิน และกำชับจำเลยไม่ให้บรรทุกน้ำหนักเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นเพียงวิธีการควบคุมเบื้องต้นและเป็นเรื่องภายในระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเท่านั้น แต่ผู้ร้องยังมีหน้าที่ตรวจตราโดยหาวิธีอื่นมาควบคุมมิให้จำเลยบรรทุกน้ำหนักเกินอีกด้วย มิใช่ปล่อยให้จำเลยขับรถบรรทุกของกลางไปบรรทุกข้าวเปลือกโดยไม่ควบคุมดูแลการบรรทุก ดังนั้น การที่ผู้ร้องปล่อยปละละเลยจนจำเลยขับรถบรรทุกของกลางบรรทุกข้าวเปลือกน้ำหนักเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2980/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้แทนเฉพาะการของนิติบุคคลต้องมีเหตุผลตามกฎหมาย หากไม่มีเหตุผลตาม ป.พ.พ. มาตรา 73 หรือ 75 ศาลไม่อาจแต่งตั้งได้
การขอให้ศาลแต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวของนิติบุคคลนั้นจะต้องเป็นกรณีที่ผู้แทนนิติบุคคลว่างลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 73 หรือผู้แทนนิติบุคคลไม่อาจทำหน้าที่ได้ตามมาตรา 75 และหากปล่อยให้ตำแหน่งว่างไว้น่าจะทำให้เกิดความเสียหายในการดำเนินกิจการของนิติบุคคลนั้นด้วย กรณีตามคำร้องเป็นการขอให้ศาลตั้งผู้แทนเฉพาะการหรือผู้แทนชั่วคราวของนิติบุคคลเพื่อดำเนินคดีอาญาแก่กรรมการบริษัทเอง ซึ่งหากผู้ร้องในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดทางอาญาของบริษัทก็สามารถดำเนินคดีอาญาแก่บุคคลที่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายได้อยู่แล้วตามมาตรา 1169 กรณีตามคำร้องมิใช่กรณีที่ผู้แทนนิติบุคคลว่างลง หรือผู้แทนนิติบุคคลไม่อาจทำหน้าที่ได้อันน่าจะทำให้เกิดความเสียหายในการดำเนินกิจการของบริษัท ทั้งไม่ใช่เป็นกรณีที่ประโยชน์ได้เสียของนิติบุคคลขัดกับประโยชน์ได้เสียของผู้แทนนิติบุคคลในการอันใดที่จะทำให้ผู้แทนของนิติบุคคลนั้นจะเป็นผู้แทนในการอันนั้นไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 74 ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอตั้งผู้แทนเฉพาะการหรือผู้แทนชั่วคราวนิติบุคคลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2979/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้แทนเฉพาะการของนิติบุคคลเพื่อดำเนินคดีอาญา: เหตุผลและความจำเป็น
การขอให้ศาลแต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวของนิติบุคคลนั้นจะต้องเป็นกรณีที่ผู้แทนนิติบุคคลว่างลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 73 หรือผู้แทนนิติบุคคลไม่อาจทำหน้าที่ได้ตามมาตรา 75 และหากปล่อยให้ตำแหน่งว่างไว้น่าจะทำให้เกิดความเสียหายในการดำเนินกิจการของนิติบุคคลนั้นด้วย กรณีตามคำร้องเป็นการขอให้ศาลตั้งผู้แทนเฉพาะการหรือผู้แทนชั่วคราวของนิติบุคคลเพื่อดำเนินคดีอาญาแก่กรรมการบริษัทเอง ซึ่งหากผู้ร้องในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดทางอาญาของบริษัทก็สามารถดำเนินคดีอาญาแก่บุคคลที่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายได้อยู่แล้วตามมาตรา 1164 กรณีตามคำร้องมิใช่กรณีที่ผู้แทนนิติบุคคลว่างลง หรือผู้แทนนิติบุคคลไม่อาจทำหน้าที่ได้อันน่าจะทำให้เกิดความเสียหายในการดำเนินกิจการของบริษัท ทั้งไม่ใช่เป็นกรณีที่ประโยชน์ได้เสียของนิติบุคคลขัดกับประโยชน์ได้เสียของผู้แทนนิติบุคคลในการอันใดที่จะทำให้ผู้แทนของนิติบุคคลนั้นจะเป็นผู้แทนในการอันนั้นไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 74 ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอตั้งผู้แทนเฉพาะการหรือผู้แทนชั่วคราวนิติบุคคลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคืนรถเช่าซื้อ: เลือกใช้สิทธิจากสัญญาหรือสิทธิเรียกทรัพย์คืนได้
จำเลยทั้งสองผิดสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิเรียกรถคืนโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งกฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 หรือเรียกคืนรถโดยใช้สิทธิในฐานะเรียกทรัพย์สินคืนจากผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความเรียกคืนทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 แล้วแต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะเลือกฟ้อง โดยอาศัยมูลหนี้ใดที่เป็นประโยชน์แก่ตน เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยทั้งสองคืนรถที่เช่าซื้อหรือหากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน จึงเป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ ซึ่งมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2853/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้จากการเปรียบเทียบปรับในคดีอาญา ไม่ผูกพันคดีแพ่ง ศาลต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวน
การที่จำเลยที่ 1 ยอมให้พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับและชำระค่าปรับแล้ว มีผลเพียงทำให้คดีอาญาดังกล่าวเลิกกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37 เท่านั้น การเปรียบเทียบปรับของพนักงานสอบสวนดังกล่าวไม่ใช่คำพิพากษาคดีส่วนอาญา กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 46 ที่คดีในส่วนแพ่งจะต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ถือเอาข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่จำเลยที่ 1 ยอมรับต่อพนักงานสอบสวนว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยประมาทมาชี้ขาดตัดสินคดีนี้เป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1894/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: ฉ้อโกงประชาชนและทำให้เอกสารสูญหาย ศาลฎีกาแก้เป็นลงโทษฐานฉ้อโกง
จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายทั้งเจ็ดว่าจำเลยเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานฟื้นฟูเกษตรกรไทย จังหวัดมหาสารคาม มีโครงการให้เกษตรกรกู้ยืมเงิน เพื่อให้ผู้เสียหายทั้งเจ็ดมอบโฉนดที่ดิน สำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่จำเลยเพื่อใช้ประกอบการขอกู้ยืมเงิน แม้ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนกับความผิดฐานทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ของผู้เสียหายทั้งเจ็ดจะต่างวาระกันแต่ก็เป็นเจตนาของจำเลยที่จะหลอกลวงผู้เสียหายทั้งเจ็ดเพื่อทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย ทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ของผู้เสียหายทั้งเจ็ดนั่นเอง จึงเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงเป็นกรรมเดียวกัน เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แต่ความผิดทั้งสองฐานมีอัตราโทษเท่ากัน ศาลให้ลงโทษฐานฉ้อโกงประชาชนตามมาตรา 343 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1894/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: ฉ้อโกงประชาชนและทำให้สูญหายซึ่งเอกสาร ศาลฎีกาแก้โทษลงโทษฐานฉ้อโกงเท่านั้น
เหตุที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายทั้งเจ็ดว่า จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานฟื้นฟูเกษตรกรไทย จังหวัดมหาสารคาม มีโครงการให้เกษตรกรกู้ยืมเงิน ก็เพื่อให้ผู้เสียหายทั้งเจ็ดมอบโฉนดที่ดิน สำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่จำเลยเพื่อใช้ประกอบการขอกู้ยืมเงิน แม้ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนกับความผิดฐานทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ของผู้เสียหายทั้งเจ็ดจะต่างวาระกัน แต่ก็เป็นเจตนาของจำเลยที่จะหลอกลวงผู้เสียหายทั้งเจ็ดเพื่อทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย ทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ของผู้เสียหายทั้งเจ็ดนั่นเอง ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนและความผิดฐานทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ซึ่งเอกสารของผู้อื่น จึงเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงเป็นกรรมเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1863/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเช่าซื้อ: การคำนวณอายุความ 10 ปีตามมาตรา 193/30 ป.พ.พ. เมื่อสัญญาเลิกกัน
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างก่อนเลิกสัญญา ซึ่งตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายโดยกล่าวด้วยว่า โจทก์ได้ติดตามทวงถามค่าเช่าซื้อจากจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยที่ 1 ใช้รถยนต์อันเป็นทรัพย์ของโจทก์ตลอดเวลาที่จำเลยที่ 1 ครอบครองรถยนต์ของโจทก์อยู่ ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายได้ ส่วนกรณีที่สองโจทก์ฟ้องเรียกค่าขาดราคาเนื่องจากโจทก์ขายทอดตลาดรถยนต์ที่เช่าซื้ออยู่แล้ว แต่ยังไม่คุ้มราคาค่าเช่าซื้อที่ค้าง และกรณีที่สามโจทก์ฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายในการติดตามรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน ทั้งสามกรณีดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติกำหนดอายุความใช้บังคับโดยตรงจึงต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องอายุความตามมาตรา 193/30 แห่ง ป.พ.พ. มาใช้บังคับ ซึ่งกำหนดอายุความ 10 ปี
กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นค่าเช่าซื้อก่อนเลิกสัญญานั้น เมื่อโจทก์ติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนได้เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2541 สัญญาเช่าซื้อจึงเลิกกัน โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2545 ยังไม่เกิน 10 ปี คำฟ้องโจทก์กรณีนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ กรณีที่สองที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าขาดราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อนั้น เมื่อโจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่บุคคลภายนอกวันที่ 2 มิถุนายน 2541 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2545 ยังไม่เกิน 10 ปี คำฟ้องของโจทก์ที่เรียกค่าขาดราคาจึงยังไม่ขาดอายุความ ส่วนกรณีที่สามโจทก์ฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายในการติดตามรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน โจทก์ติดตามได้รถยนต์ที่เช่าซื้อคืนเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2541 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2545 ยังไม่เกิน 10 ปี คำฟ้องของโจทก์ส่วนนี้จึงยังไม่ขาดอายุความเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1690/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบัตรทองไม่ใช่บัญชีเดินสะพัด โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น
การที่จำเลยขอใช้บริการสินเชื่อบัตรทองโดยจำเลยขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์ก็เพื่อนำบัตรทองดังกล่าวไปชำระค่าสินค้าและบริการอื่น ๆ แทนเงินสดเป็นสำคัญโดยให้โจทก์ออกเงินชำระแทนไปก่อน บัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่จำเลยขอเปิดไว้กับโจทก์ก็เปิดไว้เพียงเพื่อให้โจทก์หักเงินไปชำระหนี้ หาใช่หักทอนหนี้สินระหว่างกันอย่างบัญชีเดินสะพัดไม่ เพราะจำเลยมีแต่เป็นลูกหนี้โจทก์ฝ่ายเดียวไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ด้วย รวมทั้งไม่มีหน้าที่ต้องนำเงินฝากเข้าบัญชีก่อนซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการ และมิได้มีข้อสัญญาให้จำเลยถอนเงินเกินบัญชีด้วยเช็ค แม้ด้านหลังคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันจะมีข้อตกลงให้จำเลยถอนเงินด้วยเช็คและกรณีเงินฝากที่เหลือในบัญชีไม่พอจ่ายตามเช็ค หากโจทก์ผ่อนผันจ่ายเงินไปก่อนจำเลยยอมผูกพันจ่ายเงินส่วนที่เบิกเกินนั้นคืนให้โจทก์โดยถือเสมือนหนึ่งจำเลยได้ร้องขอเบิกเงินเกินบัญชีต่อโจทก์ และยินยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี หรืออัตราสูงสุดตามกฎหมายให้แก่โจทก์และยอมให้นำดอกเบี้ยนี้หักจากบัญชีเมื่อถึงวันสิ้นเดือน... ก็เป็นเพียงรูปแบบของสัญญาสำเร็จรูปของโจทก์ แต่ตามความเข้าใจของโจทก์และจำเลยการใช้บัตรทองมิได้กำหนดให้จำเลยสามารถถอนเงินเกินบัญชีด้วยเช็คแต่อย่างใด หนี้ที่จำเลยค้างชำระตามบัญชีดังกล่าวจึงไม่เข้าลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น
of 85