คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ เนตรมัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 841 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนความเสียหายรถยนต์ในโรงแรม: เจ้าของโรงแรมรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 674 มีอายุความ 6 เดือนนับแต่วันแขกออก
โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 โดยอาศัยมูลหนี้ที่ ต. ได้นำรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้จาก บ. เจ้าของรถยนต์ไปจอดในบริเวณโรงแรมของจำเลยที่ 1 แล้วเข้าพักในโรงแรม ต่อมารถยนต์หายไป จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าสำนักโรงแรมต้องรับผิดในความสูญหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 674 ซึ่งมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่คนเดินทางหรือแขกอาศัยออกไปจากสถานที่นั้นตามมาตรา 678 แม้โจทก์จะอ้างว่า ลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 1 ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาและมีคำขอให้คืนรถยนต์แต่โจทก์ก็ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะเจ้าสำนักโรงแรมเท่านั้น จึงไม่ใช่เป็นการฟ้องในมูลละเมิดที่มีอายุความ 1 ปี เมื่อเหตุรถยนต์สูญหายเกิดขึ้นวันที่ 2 สิงหาคม 2540 โจทก์รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยตามมาตรา 880 มาฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญหายของรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้จากจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2541 เกินกำหนด 6 เดือน นับแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นวันที่ ต. ออกจากโรงแรมของจำเลยที่ 1 แล้ว จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องอ้างอิงกฎหมายที่แก้ไขใหม่ โดยไม่ได้ระบุข้อแตกต่างจากกฎหมายเดิม ไม่ถือว่าทำให้จำเลยหลงต่อสู้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยผลิตกัญชาอันเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 โดยการเพาะปลูกกัญชา 5 ต้น น้ำหนักรวม 501.420 กรัม โดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และหลังจากที่จำเลยเพาะปลูกกัญชาแล้ว จำเลยมีไว้ในครอบครองซึ่งกัญชา 5 ต้น อันเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 โดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 26, 75, 76 กับอ้าง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มาตรา 22 ซึ่งยกเลิกความในมาตรา 75 และมาตรา 76 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และให้ใช้ความใหม่แทนด้วย การที่โจทก์บรรยายฟ้องอ้างถึง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงเป็นการอ้างถึงมาตรา 75 และมาตรา 76 ที่แก้ไขใหม่โดย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 เป็นการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเป็นความผิดชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์ที่ใช้ในการช่วยเหลือคนต่างด้าวผิดกฎหมาย: ไม่ถือเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง
การที่จำเลยกระทำความผิดฐานช่วยเหลือคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ เพื่อให้พ้นจากการจับกุม โดยใช้รถกระบะของกลางเป็นพาหนะให้คนต่างด้าวนั่งโดยสารมาด้วยนั้น ถือไม่ได้ว่ารถกระบะของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดดังกล่าวโดยตรงตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) ทั้งตามปกติรถกระบะของกลางโดยสภาพมีไว้เพื่อบรรทุกคนและสิ่งของจากที่หนึ่งไปยังที่อื่นอันเป็นวัตถุประสงค์ทั่งไป จึงริบรถกระบะของกลางไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกันในคดีอนาจาร, หน่วงเหนี่ยวกักขัง, และข่มขืนกระทำชำเรา
การกระทำที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงในวาระเดียวกันแม้จะมีเจตนาอย่างเดียวกันแต่หากประสงค์ให้เกิดผลเป็นความผิดหลายฐานย่อมเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารและหน่วงเหนี่ยวกักขังไว้ก่อนข่มขืนกระทำชำเรา เป็นการแสดงเจตนาส่วนหนึ่งของจำเลยโดยมีเหตุจูงใจที่จะนำตัวผู้เสียหายไปกักขังไว้เพื่อข่มขืนกระทำชำเรา เป็นการกระทำส่วนหนึ่งที่สำเร็จไปแล้วต่างหากจากการที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเรา จึงเป็นการกระทำความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารและหน่วงเหนี่ยวกักขังตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก และมาตรา 310 วรรคแรก กระทงหนึ่ง เมื่อจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย จึงเป็นความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก อีกกระทงหนึ่งเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความต่างกันระหว่างผู้ทำละเมิด/นายจ้าง กับ ผู้รับประกันภัย คดีละเมิดและสัญญาประกันภัยแยกพิจารณา
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้กระทำละเมิด จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างกระทำละเมิดในทางการที่จ้าง และให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของจำเลยที่ 1 ที่ 2 กับจำเลยที่ 3 จึงแตกต่างกัน สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ส่วนจำเลยที่ 3 มีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัยตามมาตรา 882 วรรคหนึ่ง เมื่ออายุความฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 กับจำเลยที่ 3 สามารถแยกออกจากกันได้ตามมาตรา 295 ที่กำหนดให้อายุความเป็นคุณหรือเป็นโทษเฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจยกอายุความตามมาตรา 448 วรรคหนึ่ง ขึ้นต่อสู้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 316/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น-ภาระจำยอม: การพิสูจน์ความจำเป็นและผลกระทบต่อที่ดินเจ้าของ
โจทก์กล่าวอ้างว่าที่ดินมือเปล่าของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมจนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่การที่โจทก์ขอเปิดทางจำเป็นนั้น ที่และวิธีทำทางผ่านต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นกับต้องคำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายน้อยที่สุดที่จะเป็นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสาม การที่โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบเกี่ยวกับที่ดินมือเปล่าโดยระบุเพียงเขตติดต่อแต่ละด้านว่าจดที่ดินแปลงใด โดยไม่ปรากฏความยาวของที่ดินมือเปล่าแต่ละด้าน ในการทำแผนที่พิพาทโจทก์ก็นำชี้แนวเขตที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครองทั้งที่ดินมือเปล่าและที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์รวมเป็นแปลงเดียวกัน จึงไม่อาจวินิจฉัยได้ว่าการใช้ทางพิพาทจะพอควรแก่ความจำเป็นสำหรับที่ดินมือเปล่าของโจทก์หรือไม่ และการเลือกใช้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นจะทำให้ที่ดินของจำเลยเสียหายน้อยที่สุดหรือไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินมือเปล่าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8712/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้กฎหมายลงโทษคนละฉบับ กรณีมีวัตถุออกฤทธิ์ในครอบครองและไม่มีประกาศให้เป็นยาเสพติด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีคีตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 เกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ในครอบครอง ซึ่งเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ ต้องรับโทษตามมาตรา 106 ทวิ โดยไม่ปรากฏว่ามีประกาศกำหนดให้คีตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ อันจะมีผลให้การมีคีตามีนไว้ในครอบครองเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 67 และไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ อีกต่อไป จึงลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 67 ไม่ได้ กรณีนี้มิได้เป็นเรื่องกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดตามบทบัญญัติใน ป.อ. มาตรา 3 แต่เป็นกรณีบังคับใช้กฎหมายลงโทษจำเลยคนละฉบับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8530/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าชำรุดเสียหายระหว่างการขนส่ง และการไม่รับของโดยไม่อิดเอื้อน
ขณะส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้เอาประกันภัย สินค้าพิพาทมีสภาพกล่องที่เปียกน้ำ เปื่อย บุบยุบ ฉีกขาด และบางส่วนไม่ได้วางอยู่บนฐานรอง ซึ่งกล่องที่ไม่ได้วางอยู่บนฐานรองนี้แตกต่างจากสภาพสินค้าขณะที่จำเลยรับมอบไว้จากผู้ส่งตามใบตราส่ง ซึ่งระบุว่าสินค้าพิพาทมี 167 กล่อง วางอยู่บนฐานรองรวม 12 ฐาน ขณะที่พนักงานของผู้เอาประกันภัยได้ถ่ายภาพเพื่อเก็บหลักฐานความเสียหายที่ปรากฏในเบื้องต้นนั้น ได้มีการแสดงออกถึงการที่ยังไม่ยอมรับว่าสินค้าที่จำเลยส่งมอบอยู่ในสภาพเรียบร้อยให้พนักงานขับรถและส่งของของจำเลยได้ทราบแล้ว แม้พนักงานของผู้เอาประกันภัยจะลงลายมือชื่อรับสินค้านั้นไว้ก็เพราะปรากฏในเบื้องต้นว่าสินค้าส่งมาครบถ้วนเท่าจำนวนกล่องที่ระบุไว้ในใบตราส่งเท่านั้น จะถือว่าผู้เอาประกันภัยรับเอาสินค้านั้นไว้โดยไม่อิดเอื้อนไม่ได้ จำเลยจึงยังไม่หลุดพ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 623 วรรคแรก ส่วนการอ้างประโยชน์ตามมาตรา 623 วรรคสอง ในกรณีความชำรุดบกพร่องมิได้ปรากฏแต่สภาพภายนอกซึ่งเจ้าของสินค้าต้องบอกกล่าวภายใน 8 วัน นับแต่วันรับมอบนั้น กรณีตามมาตรา 623 วรรคสอง ต้องปรากฏว่ามีการรับของโดยไม่อิดเอื้อนและมีการจ่ายค่าระวางพาหนะแล้ว ตามมาตรา 623 วรรคแรกด้วย ความรับผิดของจำเลยจึงจะสิ้นสุดลง เมื่อข้อเท็จจริงถือไม่ได้ว่าผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งได้รับของไว้โดยไม่อิดเอื้อนแล้ว แม้ผู้รับตราส่งจะมิได้แจ้งเกี่ยวกับความเสียหายให้จำเลยทราบภายใน 8 วัน ก็ตาม ความรับผิดของจำเลยก็ยังไม่สิ้นสุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8275/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับตราส่งมีหน้าที่ชำระค่าระวางตามสัญญาขนส่ง แม้จะมีการตกลงเรื่องการว่าจ้างผู้ขนส่งระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
เมื่อจำเลยในฐานะผู้รับตราส่งแสดงเจตนาเข้ารับเอาสินค้าอันเป็นการเข้ารับเอาประโยชน์ตามสิทธิในใบตราส่งทางอากาศ จำเลยจึงย่อมมีความผูกพันต้องชำระเงินค่าระวางตามหน้าที่ของผู้ที่เข้ารับเอาประโยชน์ด้วย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าระวาง ไม่ว่าการตกลงว่าจ้างโจทก์ผู้ขนส่งในครั้งพิพาทนั้น จำเลยจะได้ตกลงว่าจ้างโจทก์ด้วยตนเองหรือบริษัท ล. ผู้ส่งเป็นผู้ว่าจ้างเองตั้งแต่ที่ต้นทางหรือว่าจ้างแทนจำเลยหรือไม่ก็ตาม ส่วนสัญญาซื้อขายระหว่างบริษัท ล. กับจำเลยจะกำหนดภาระหน้าที่ในเรื่องการขนส่งสินค้ามายังประเทศไทยไว้อย่างไร ก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยผู้ซื้อกับบริษัท ล. ผู้ขาย ซึ่งเป็นคู่สัญญากันตามสัญญาซื้อขาย ซึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เข้าไปเกี่ยวข้องยอมรับเงื่อนไขเกี่ยวกับหน้าที่ในการขนส่งสินค้าตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงตามสัญญารับขน นอกจากที่ตกลงกันไว้ในใบตราส่งทางอากาศด้วยแล้ว จำเลยต้องรับผิดตามความผูกพันในใบตราส่งทางอากาศ ชำระค่าระวางทั้งสองครั้งพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามฟ้องให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7979/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนความผิดฐานลักทรัพย์: การกระทำที่เข้าข่ายช่วยเหลือผู้กระทำผิด และการตีความฟ้อง
จำเลยที่ 1 ลักสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายที่ 1 โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันปล้นทรัพย์โดยกระชากเอาสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายทั้งสองไปโดยทุจริต โดยมิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามฉกฉวยเอาสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายทั้งสองไปซึ่งหน้าอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ และคำขอท้ายฟ้องก็มิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานวิ่งราวทรัพย์ คงลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ในข้อหาความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานปล้นทรัพย์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย เท่านั้น
of 85