คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ เนตรมัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 841 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5253/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานเดี่ยวในคดีจำหน่ายยาเสพติด - น้ำหนักพยานและข้อพิรุธในการสืบสวน
คดีนี้โจทก์มิได้อ้างและนำสายลับซึ่งเป็นประจักษ์พยานมาเบิกความทั้ง ๆ ที่สายลับรู้เห็นเหตุการณ์เช่นเดียวกับสิบตำรวจเอก ส. แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้มีประจักษ์พยานในคดีเพียงปากเดียว ย่อมเป็นการนำสืบพยานเดี่ยวเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกถามค้านในกรณีที่สามารถนำสืบพยานคู่ได้ คำเบิกความของสิบตำรวจเอก ส. ซึ่งเป็นพยานเดี่ยวจึงมีน้ำหนักน้อยและต้องรับฟังด้วยความระมัดระวัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5239/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์เกินกำหนด และการพิจารณาอุทธรณ์ที่ยื่นเกินเวลาตามกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่สองเมื่อพ้นกำหนดที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้ว ทั้งตามคำร้องก็อ้างเหตุแต่เพียงว่า ยังไม่ได้รับเอกสารที่ขอคัดถ่าย และใบเสร็จที่เจ้าหน้าที่ออกให้ยึดถือเป็นหลักฐานสูญหายไป ยังถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่มิอาจยื่นคำร้องก่อนสิ้นระยะเวลานั้น จึงไม่มีเหตุที่จะขยายเวลายื่นอุทธรณ์ให้ตามคำร้องที่เสนอเมื่อพ้นกำหนดเวลาได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แม้ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีกหลายครั้ง จนจำเลยยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 3 มิถุนายน 2546 ก็ตาม ถือได้ว่าอุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นเกินกำหนดเวลาไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะรับไว้พิจารณาพิพากษา และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5236/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏ หากความเข้าใจของจำเลยสอดคล้องกับเหตุการณ์จริง แม้ผลทางกฎหมายจะต่างกัน ก็ไม่ถือเป็นความเท็จ
การกระทำของโจทก์กับพวกเป็นเหตุให้จำเลยเข้าใจได้ว่าเป็นการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ และทำให้เสียทรัพย์ที่มีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ จำเลยแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตรงตามสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว ส่วนการกระทำของโจทก์จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยแจ้งหรือไม่ ไม่สำคัญ เพราะการแจ้งข้อความย่อมหมายถึงแจ้งเฉพาะข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย แม้ต่อมาพนักงานสอบสวนจะได้ดำเนินคดีแก่โจทก์ตามที่จำเลยแจ้ง และพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีโจทก์ ก็ยังถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งนั้นเป็นความเท็จ คดีของโจทก์จึงไม่มีมูล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5236/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความตามข้อเท็จจริง แม้ต่อมาไม่เข้าข่ายความผิดทางกฎหมาย ก็ไม่ถือเป็นความเท็จ
ข้อความที่จำเลยแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตรงตามสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องที่จำเลยแจ้งความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ส่วนการกระทำของโจทก์ทั้งสองจะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยแจ้งหรือไม่ ไม่สำคัญ เพราะการแจ้งความย่อมหมายถึงเฉพาะข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย แม้ต่อมาพนักงานสอบสวนจะได้ดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสองตามที่จำเลยแจ้ง และพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีโจทก์ทั้งสองก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งนั้นเป็นความเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5236/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความตามข้อเท็จจริง แม้ผลสอบไม่ผิด ก็ไม่ถือเป็นความเท็จ
ข้อความที่จำเลยแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตรงตามสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยแจ้งความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ส่วนการกระทำของโจทก์ทั้งสองจะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยแจ้งหรือไม่ ไม่สำคัญ เพราะการแจ้งข้อความย่อมหมายถึงแจ้งเฉพาะข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย แม้ต่อมาพนักงานสอบสวนจะได้ดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสองตามที่จำเลยแจ้งและพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีโจทก์ทั้งสองก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งนั้นเป็นความเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5212/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบเมื่อเนื้อหาเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ซ้ำ โดยมิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ข้อความในฎีกาของโจทก์ล้วนมีเนื้อหาเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นทั้งสิ้นโดยคัดลอกจากข้อความในอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งหมด ซึ่งศาลอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยในปัญหาเดียวกันไว้แล้ว ฎีกาของโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงตอนใดไม่ถูกต้องอย่างไรและไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพราะเหตุใด ทั้งๆ ที่เหตุผลในคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นต่างกับเหตุผลในคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิจารณาและพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้องของโจทก์ต่อไปด้วย ก็ไม่อาจถือเป็นคำคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปได้ ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5207/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่มีหน้าที่ลดความเร็วเพื่อความปลอดภัย
จำเลยขับรถด้วยความเร็วสูงและไม่ได้ชะลอความเร็วเมื่อมาถึงทางร่วมทางแยก แม้จะได้ความว่าทางเดินรถของฝ่ายแท็กซี่เป็นทางโทมีป้ายหยุดปักอยู่ตรงปากทางและผู้ขับรถแท็กซี่ไม่ได้หยุดรถของตนอันเป็นการกระทำโดยประมาทด้วยก็ตาม แต่การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกนั้นเป็นหน้าที่ของผู้ขับขี่รถทุกเส้นทางที่มาบรรจบทางร่วมทางแยกจะต้องลดความเร็วลงให้อยู่ในระดับความเร็วที่ต่ำหรือหยุดรถเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายอันเกิดจากการชนระหว่างรถที่กำลังแล่นผ่าน หาใช่ว่าผู้ที่ขับรถมาในทางเอกจะใช้ความเร็วในอัตราที่สูงโดยขับผ่านทางร่วมทางแยกไปโดยปราศจากความระมัดระวัง เมื่อจำเลยขับรถแล่นเข้าไปในทางร่วมทางแยกด้วยความเร็วสูงทำให้ชนกับรถยนต์คันที่ผู้ตายขับมาเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ย่อมถือได้ว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากความประมาทของจำเลยด้วย
พฤติการณ์ความประมาทของจำเลยค่อนข้างร้ายแรง และเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตถึง 3 คน แม้จำเลยจะวางเงินให้แก่ทายาทของผู้ตายทั้งสามคนก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาก็มิใช่การวางเงินโดยยอมรับผิดในการกระทำของตน ทั้งเงินดังกล่าวก็เป็นค่าเสียหายส่วนแพ่งที่จำเลยอาจต้องรับผิดต่อทายาทของผู้ตายกรณียังไม่สมควร รอการลงโทษให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5201/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าติดตั้งและการยึดหน่วงค่าจ้างจากความชำรุดบกพร่อง
จำเลยที่ 1 รับจ้างผู้อื่นปลูกสร้างอาคาร ในการนี้จำเลยที่ 1 ได้สั่งซื้อสังกะสีจากโจทก์และว่าจ้างโจทก์มุงหลังคาอาคาร กรณีจึงตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้ายที่ว่า เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง ดังนั้นอายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนด 5 ปี เมื่อนับระยะเวลาจากวันครบกำหนดชำระเงิน ซึ่งจำเลยที่ 1 ผิดนัดถึงวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 5 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ส่งมอบงานติดตั้งหลังคาอาคารให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว หลังจากนั้นเมื่อฝนตกหลังคารั่วและเปิดออกเมื่อถูกลมตี อันเป็นความชำรุดบกพร่องซึ่งไม่พึงพบได้ในขณะเมื่อรับมอบ โจทก์จึงต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 598 โดยจำเลยที่ 1 มีสิทธิยึดหน่วงค่าจ้างไว้ได้เพียงเพื่อให้โจทก์แก้ไขซ่อมแซมการชำรุดบกพร่องดังกล่าว เมื่อโจทก์ยังซ่อมแซมไม่แล้วเสร็จ จำเลยที่ 1 จึงชอบที่จะยึดหน่วงสินจ้างไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5165/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีบุกรุกที่ดินของรัฐ: ความผิดต่อรัฐ พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องโดยไม่จำกัดผู้ร้องทุกข์
ความผิดตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 9 (1), 108 ทวิ เป็นความผิดที่กระทำต่อรัฐ ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนได้แม้จะไม่มีคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 ดังนั้น เมื่อพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนคดีนี้แล้ว พนักงานอัยการย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 28 (1), 120 และ พ.ร.บ.พนักงานอัยการฯ มาตรา 11 (1) โดยมิต้องคำนึงว่าผู้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีจะเป็นผู้ใด หรือได้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหายที่แท้จริงหรือไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ทุกประเด็น การไม่วินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์ทำให้คำพิพากษาไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่า ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส จำคุก 6 ปี โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษตามฟ้อง จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยส่งให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาพิพากษา ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ว่าจำเลยกระทำความผิดตามที่โจทก์อุทธรณ์หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ คงวินิจฉัยแต่อุทธรณ์ของจำเลย ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 4 มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. ว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง, 186 (6), (8) ให้ย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225 ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษนั้น เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่อาจฎีกาในปัญหาดังกล่าวนี้ต่อมาได้
of 85