พบผลลัพธ์ทั้งหมด 841 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008-5010/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายทำให้เช็คไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยไม่มีความผิด
โจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน หรือเท่ากับร้อยละ 24 ต่อปี เกินกว่าอัตราตามกฎหมายย่อมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 (ก) เมื่อไม่ปรากฏว่าการสั่งจ่ายเช็คแต่ละฉบับตามฟ้องแยกเป็นการชำระเงินต้นเท่าใด ชำระดอกเบี้ยเท่าใด จึงถือว่าเช็คตามฟ้องที่จำเลยสั่งจ่ายแก่โจทก์ได้รวมดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเอาไว้ด้วย แม้ธนาคารตามเช็คจะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยก็ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008-5010/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คชำระหนี้กู้ยืมที่มีดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย ถือเป็นเหตุให้จำเลยไม่มีความผิดตามฟ้อง
โจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน หรือเท่ากับร้อยละ 24 ต่อปี เกินกว่าอัตราตามกฎหมายย่อมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) เมื่อไม่ปรากฏว่าการสั่งจ่ายเช็คแต่ละฉบับตามฟ้องแยกเป็นการชำระเงินต้นเท่าใด ชำระดอกเบี้ยเท่าใด จึงถือว่าเช็คตามฟ้องทั้ง 7 ฉบับ ที่จำเลยสั่งจ่ายแก่โจทก์ได้รวมดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเอาไว้ทุกฉบับ แม้ธนาคารตามเช็คจะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้ง 7 ฉบับจำเลยก็ไม่มีความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4917-4918/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดขอบเขตฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิด, ทายาทรับผิดชอบเฉพาะส่วนที่ฟ้องขอ, และการประเมินความประมาทของผู้ขับขี่
การที่จำเลยร่วมอุทธรณ์ว่า ผู้ตายเป็นผู้ขับรถโดยประมาทเลินเล่อแต่เพียงผู้เดียว เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นที่ฟังว่า ย. ลูกจ้างจำเลยที่ 1 มีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย อุทธรณ์ของจำเลยร่วมจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์สำหรับโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ในสำนวนที่ 2 มีเพียงคนละไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยร่วมในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ให้เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1) และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ฎีกาของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่มีสิทธิฎีกา แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิจารณาฎีกาของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ได้ และสมควรแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้ถูกต้อง เหตุที่รถยนต์บรรทุกที่ ย. ขับเสียหลักแล่นไปชนรถยนต์โดยสารของโจทก์ที่ 1 เป็นเพราะผู้ตายขับรถยนต์เก๋งแล่นล้ำเส้นกึ่งกลางของทางเดินรถเข้าไปชนรถยนต์บรรทุกก่อน ดังนั้น ย. จึงไม่ได้ขับรถประมาท เหตุที่รถยนต์ชนกันเกิดความประมาทเลินเล่อของผู้ตายฝ่ายเดียว มิใช่เป็นผลโดยตรงที่เกิดจากการที่ ย. ขับรถด้วยความเร็วสูง หรือขับรถยนต์บรรทุกที่บรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแต่อย่างใด
โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์ในสำนวนแรก และโจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 4 ที่เป็นโจทก์ในสำนวนที่สองบรรยายฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์เก๋งรับผิดในฐานะเป็นตัวการรับผิดร่วมกับผู้ตายซึ่งเป็นบุตรและเป็นตัวแทนขับรถไปตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 โดยโจทก์ทั้งสี่มิได้ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายที่กระทำละเมิด แม้โจทก์ที่ 1 จะแก้ไขคำฟ้องโดยระบุชื่อจำเลยที่ 2 ว่าในฐานะส่วนตัวและในฐานะทายาทของ อ. แต่ในคำฟ้องก็มิได้ขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะทายาทด้วย การที่ศาลล่างพิพากษาให้จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 3 ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนรับผิดต่อโจทก์ทั้งสี่ในฐานะทายาทโดยธรรมของ อ. ผู้ตาย จึงเป็นการพิพากษาเกินกว่าที่กล่าวมาในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 และเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 ไม่อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์ในสำนวนแรก และโจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 4 ที่เป็นโจทก์ในสำนวนที่สองบรรยายฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์เก๋งรับผิดในฐานะเป็นตัวการรับผิดร่วมกับผู้ตายซึ่งเป็นบุตรและเป็นตัวแทนขับรถไปตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 โดยโจทก์ทั้งสี่มิได้ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายที่กระทำละเมิด แม้โจทก์ที่ 1 จะแก้ไขคำฟ้องโดยระบุชื่อจำเลยที่ 2 ว่าในฐานะส่วนตัวและในฐานะทายาทของ อ. แต่ในคำฟ้องก็มิได้ขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะทายาทด้วย การที่ศาลล่างพิพากษาให้จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 3 ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนรับผิดต่อโจทก์ทั้งสี่ในฐานะทายาทโดยธรรมของ อ. ผู้ตาย จึงเป็นการพิพากษาเกินกว่าที่กล่าวมาในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 และเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 ไม่อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4841/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพที่ไม่ชัดเจนฐานความผิด ทำให้ศาลไม่สามารถลงโทษตามฟ้องได้ จำเป็นต้องมีการสืบพยานเพื่อพิสูจน์ฐานความผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยประกอบกิจการให้บริการฉายหรือให้เช่าเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ โดยได้ประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนและมิได้รับยกเว้นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ มาตรา 6 วรรคหนึ่ง และ 20 วรรคสอง ซึ่งเป็นคนละฐานความผิดและมีบทกำหนดโทษแตกต่างกัน ตามคำฟ้องแสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในข้อหาใดข้อหาหนึ่งเพียงข้อหาเดียว การที่จำเลยให้การรับสารภาพตลอดข้อหาจึงเป็นคำรับสารภาพที่ไม่สามารถรับฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดในข้อหาใด โจทก์ต้องนำพยานเข้าสืบเพื่อให้ได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใด เพื่อศาลจะได้นำข้อเท็จจริงที่ได้ความมาปรับบทลงโทษได้ แต่โจทก์มิได้นำสืบ ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยไม่ได้
การที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามข้อบังคับและตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ ตามมาตรา 19 วรรคสอง และมาตรา 19 วรรคสี่ ครบถ้วนแล้ว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพโจทก์ก็หาจำต้องสืบพยานแต่อย่างใดไม่ ฎีกาของโจทก์มิได้มีข้อความโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่าเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบเพราะเหตุใด ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่มิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 และ ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามข้อบังคับและตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ ตามมาตรา 19 วรรคสอง และมาตรา 19 วรรคสี่ ครบถ้วนแล้ว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพโจทก์ก็หาจำต้องสืบพยานแต่อย่างใดไม่ ฎีกาของโจทก์มิได้มีข้อความโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่าเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบเพราะเหตุใด ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่มิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 และ ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4765/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาจะซื้อขายโดยปริยาย เหตุผิดนัดชำระหนี้และฟ้องร้องดำเนินคดีอาญา
จำเลยยินยอมรับชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลืองวดเดือนมกราคม 2550 ล่วงเลยกำหนดเวลา และทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ไปติดต่อโอนที่ดินจากเจ้าของเดิมได้เองหลังพ้นกำหนดการชำระค่าที่ดินที่เหลืองวดเดือนมีนาคม 2540 เท่ากับจำเลยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้ที่ตกลงไว้ตามสัญญาจะซื้อจะขายเป็นสาระสำคัญ และไม่ถือว่าสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลงทันทีตามสัญญา
สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุแต่เพียงว่า ฝ่ายโจทก์ผู้จะซื้อจะชำระค่าที่ดินที่เหลือทั้งหมดให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 8 เดือน นับแต่วันทำสัญญา โดยแบ่งชำระเป็นสองงวดภายในเดือนมกราคม 2540 และภายในเดือนมีนาคม 2540 สำหรับการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นตามสัญญาข้อ 6 ระบุว่าฝ่ายจำเลยผู้จะขายจะจัดการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเมื่อได้ดำเนินการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับการชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือ แสดงว่าหลังจากโจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับจำเลยแล้วยังต้องมีการรังวัดแบ่งแยกที่ดินตามจะซื้อจะขาย และไม่ปรากฏว่าการรังวัดแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวจะเสร็จสิ้นวันไหน จึงยังไม่ทราบแน่นอนว่าจะมีกำหนดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยเมื่อใด ทั้งโจทก์ก็ยังมิได้ชำระค่าที่ดินงวดสุดท้ายแก่จำเลย ดังนั้น แม้จำเลยจะผิดสัญญาจะซื้อที่ดินดังกล่าวกับเจ้าของเดิมหรือไม่ก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับโจทก์
ภายหลังจากล่วงเลยกำหนดชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลืองวดสุดท้าย จำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ไปติดต่อชำระเงินและรับโอนที่ดินจากเจ้าของเดิมได้โดยตรง แต่โจทก์ไม่สามารถตกลงกับเจ้าของเดิมได้ จำเลยมิได้ทวงถามให้โจทก์ชำระค่าที่ดินที่เหลือในงวดสุดท้าย ส่วนโจทก์ก็มิได้ดำเนินการใด ๆ ที่จะให้จำเลยโอนที่ดินตามฟ้องให้ กลับร้องดำเนินคดีอาญาซึ่งกันและกัน เป็นข้อแสดงว่าทั้งสองฝ่ายไม่ประสงค์จะบังคับตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันอีกต่อไป ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวกันโดยปริยาย คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง จำเลยต้องคืนเงินที่รับไปจากโจทก์พร้อมดอกเบี้ย
สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุแต่เพียงว่า ฝ่ายโจทก์ผู้จะซื้อจะชำระค่าที่ดินที่เหลือทั้งหมดให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 8 เดือน นับแต่วันทำสัญญา โดยแบ่งชำระเป็นสองงวดภายในเดือนมกราคม 2540 และภายในเดือนมีนาคม 2540 สำหรับการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นตามสัญญาข้อ 6 ระบุว่าฝ่ายจำเลยผู้จะขายจะจัดการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเมื่อได้ดำเนินการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับการชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือ แสดงว่าหลังจากโจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับจำเลยแล้วยังต้องมีการรังวัดแบ่งแยกที่ดินตามจะซื้อจะขาย และไม่ปรากฏว่าการรังวัดแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวจะเสร็จสิ้นวันไหน จึงยังไม่ทราบแน่นอนว่าจะมีกำหนดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยเมื่อใด ทั้งโจทก์ก็ยังมิได้ชำระค่าที่ดินงวดสุดท้ายแก่จำเลย ดังนั้น แม้จำเลยจะผิดสัญญาจะซื้อที่ดินดังกล่าวกับเจ้าของเดิมหรือไม่ก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับโจทก์
ภายหลังจากล่วงเลยกำหนดชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลืองวดสุดท้าย จำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ไปติดต่อชำระเงินและรับโอนที่ดินจากเจ้าของเดิมได้โดยตรง แต่โจทก์ไม่สามารถตกลงกับเจ้าของเดิมได้ จำเลยมิได้ทวงถามให้โจทก์ชำระค่าที่ดินที่เหลือในงวดสุดท้าย ส่วนโจทก์ก็มิได้ดำเนินการใด ๆ ที่จะให้จำเลยโอนที่ดินตามฟ้องให้ กลับร้องดำเนินคดีอาญาซึ่งกันและกัน เป็นข้อแสดงว่าทั้งสองฝ่ายไม่ประสงค์จะบังคับตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันอีกต่อไป ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวกันโดยปริยาย คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง จำเลยต้องคืนเงินที่รับไปจากโจทก์พร้อมดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4752/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการควบคุมตัวระหว่างพิจารณาแยกจากอำนาจการจับกุมของตำรวจ
เมื่อพนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยและศาลประทับฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจออกหมายขังจำเลยไว้ระหว่างพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 71 และมาตรา 88 ที่ใช้ขณะยื่นคำร้องและที่แก้ไขใหม่ ซึ่งเป็นขั้นตอนต่างหากจากการจับกุมและควบคุมจำเลยของเจ้าพนักงานตำรวจที่ผู้ร้องอ้างว่ามิชอบด้วยกฎหมาย การคุมขังจำเลยระหว่างพิจารณาจึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4676/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ไม่ถูกต้อง และการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำประดิษฐ์
คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า เป็นคำสั่งและคำวินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร ซึ่งมาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ บัญญัติให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนของคณะกรรมการดังกล่าวเป็นที่สุด แต่คำวินิจฉัยจะเป็นที่สุดได้ต้องเป็นคำวินิจฉัยที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในการพิจารณาความถูกต้องตามกฎหมายหรือความไม่ชอบด้วยกฎหมายนี้ ศาลย่อมมีอำนาจฟ้องพิจารณาถึงความชอบหรือไม่ชอบในเหตุผลของคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของนายทะเบียนหรือคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าว่าได้วินิจฉัยไปโดยชอบด้วยข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานและถูกต้องตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ หรือไม่ด้วย เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่าคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของนายทะเบียนและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยได้
เครื่องหมายการค้า คำว่า NEWMAX เป็นคำที่นำมาจากส่วนหนึ่งของชื่อนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า เป็นคำภาษาอังกฤษ แม้พิจารณาแยกกัน คำว่า NEW แปลว่าใหม่ และคำว่า MAX เป็นคำย่อมาจาก MAXIMUM แปลว่าสูงสุด แต่เมื่อเป็นคำรวมกัน คำนี้ไม่มีคำแปลและไม่ได้สื่อให้เกิดความหมายให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่แสดงถึงรุ่นใหม่ที่สุดหรือสมัยใหม่ที่สุด ทั้งได้ขอจดทะเบียนเพื่อใช้กับสินค้าจำพวก 26 รายการสินค้า กระดุมแป็บที่ยึดแบบเลื่อน ซิป ที่ยึดซิป หัวเข็มขัดใช้กับเสื้อผ้า/รองเท้า กระดุม ตะขอ ตาไก่ใช้กับเสื้อผ้า ตรา/เครื่องแสดงสัญลักษณ์ติดเสื้อผ้าที่ไม่ได้ทำด้วยโลหะ ซึ่งเป็นสินค้าเกี่ยวกับการออกแบบและแฟชั่น จึงถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นคำประดิษฐ์ที่มีลักษณะพิเศษหรือเฉพาะและไม่เล็งเห็นลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 7 (1) (2) อันพึงจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6
เครื่องหมายการค้า คำว่า NEWMAX เป็นคำที่นำมาจากส่วนหนึ่งของชื่อนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า เป็นคำภาษาอังกฤษ แม้พิจารณาแยกกัน คำว่า NEW แปลว่าใหม่ และคำว่า MAX เป็นคำย่อมาจาก MAXIMUM แปลว่าสูงสุด แต่เมื่อเป็นคำรวมกัน คำนี้ไม่มีคำแปลและไม่ได้สื่อให้เกิดความหมายให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่แสดงถึงรุ่นใหม่ที่สุดหรือสมัยใหม่ที่สุด ทั้งได้ขอจดทะเบียนเพื่อใช้กับสินค้าจำพวก 26 รายการสินค้า กระดุมแป็บที่ยึดแบบเลื่อน ซิป ที่ยึดซิป หัวเข็มขัดใช้กับเสื้อผ้า/รองเท้า กระดุม ตะขอ ตาไก่ใช้กับเสื้อผ้า ตรา/เครื่องแสดงสัญลักษณ์ติดเสื้อผ้าที่ไม่ได้ทำด้วยโลหะ ซึ่งเป็นสินค้าเกี่ยวกับการออกแบบและแฟชั่น จึงถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นคำประดิษฐ์ที่มีลักษณะพิเศษหรือเฉพาะและไม่เล็งเห็นลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 7 (1) (2) อันพึงจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4676/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: คำประดิษฐ์ที่ไม่เล็งคุณสมบัติสินค้าเป็นเครื่องหมายที่ชอบจดทะเบียนได้
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 18 ที่บัญญัติให้ผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าและให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการดังกล่าวเป็นที่สุดนั้น ต้องเป็นคำวินิจฉัยที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือชอบด้วยกฎหมาย โดยศาลมีอำนาจพิจารณาถึงความชอบหรือไม่ชอบในเหตุผลของคำวินิจฉัยหรือคำสั่งว่าได้วินิจฉัยไปโดยชอบด้วยข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานและถูกต้องด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 หรือไม่ด้วย
ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า คำสั่งและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของนายทะเบียนเครื่องหมายค้าจำเลยที่ 11 และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 11 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ได้
การพิจารณาว่าคำสั่งของจำเลยที่ 11 หรือคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 จะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะว่าคำสั่งหรือคำวินิจฉัยดังกล่าวจะต้องเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตหรือมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์เท่านั้น และคดีนี้ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 11 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 รับผิดเป็นการส่วนตัว แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 11 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ ทั้งโจทก์ได้อ้างเหตุผลที่ว่าคำสั่งของจำเลยที่ 11 และคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเหตุใดในคำฟ้องแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำว่า NEWMAX นำมาจากส่วนหนึ่งของชื่อนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายค้าซึ่งเครื่องหมายการค้าคำว่า NEWMAX เป็นคำภาษาอังกฤษ แม้พิจารณาแยกกัน คำว่า NEW แปลว่า ใหม่ และคำว่า MAX เป็นคำย่อมาจาก MAXIMUM แปลว่าสูงสุด แต่เมื่อเป็นคำรวมกันว่า NEWMAX ไม่มีคำแปลและไม่ได้สื่อให้เกิดความหมายให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่แสดงถึงรุ่นใหม่ที่สุดหรือสมัยใหม่ที่สุด ทั้งโจทก์ได้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า NEWMAX เพื่อใช้กับสินค้าจำพวก 26 รายการสินค้ากระดุมแป๊บ ที่ยึดแบบเลื่อน ซิป ที่ยึดซิป หัวเข็มขัดใช้กับเสื้อผ้า/รองเท้า กระดุมตะขอ ตาไก่ใช้กับเสื้อผ้า ตรา/เครื่องแสดงสัญลักษณ์ติดเสื้อผ้าที่ไม่ได้ทำด้วยโลหะ ซึ่งเป็นสินค้าเกี่ยวกับการออกแบบแฟชั่น เครื่องหมายการค้า คำว่า NEWMAX สำหรับสินค้าจำพวก 26 ที่โจทก์รับโอนสิทธิในคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามาจึงมีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 (1), (2) อันพึงจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6
ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า คำสั่งและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของนายทะเบียนเครื่องหมายค้าจำเลยที่ 11 และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 11 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ได้
การพิจารณาว่าคำสั่งของจำเลยที่ 11 หรือคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 จะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะว่าคำสั่งหรือคำวินิจฉัยดังกล่าวจะต้องเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตหรือมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์เท่านั้น และคดีนี้ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 11 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 รับผิดเป็นการส่วนตัว แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 11 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ ทั้งโจทก์ได้อ้างเหตุผลที่ว่าคำสั่งของจำเลยที่ 11 และคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเหตุใดในคำฟ้องแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำว่า NEWMAX นำมาจากส่วนหนึ่งของชื่อนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายค้าซึ่งเครื่องหมายการค้าคำว่า NEWMAX เป็นคำภาษาอังกฤษ แม้พิจารณาแยกกัน คำว่า NEW แปลว่า ใหม่ และคำว่า MAX เป็นคำย่อมาจาก MAXIMUM แปลว่าสูงสุด แต่เมื่อเป็นคำรวมกันว่า NEWMAX ไม่มีคำแปลและไม่ได้สื่อให้เกิดความหมายให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่แสดงถึงรุ่นใหม่ที่สุดหรือสมัยใหม่ที่สุด ทั้งโจทก์ได้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า NEWMAX เพื่อใช้กับสินค้าจำพวก 26 รายการสินค้ากระดุมแป๊บ ที่ยึดแบบเลื่อน ซิป ที่ยึดซิป หัวเข็มขัดใช้กับเสื้อผ้า/รองเท้า กระดุมตะขอ ตาไก่ใช้กับเสื้อผ้า ตรา/เครื่องแสดงสัญลักษณ์ติดเสื้อผ้าที่ไม่ได้ทำด้วยโลหะ ซึ่งเป็นสินค้าเกี่ยวกับการออกแบบแฟชั่น เครื่องหมายการค้า คำว่า NEWMAX สำหรับสินค้าจำพวก 26 ที่โจทก์รับโอนสิทธิในคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามาจึงมีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 (1), (2) อันพึงจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับอำนาจศาลโดยปริยาย: จำเลยมิได้โต้แย้งอำนาจศาลตั้งแต่แรก จึงถือว่ายอมรับ
จำเลยมีโอกาสโต้แย้งอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งตั้งแต่จำเลยได้รับสำเนาคำฟ้อง วันนัดชี้สองสถาน แต่จำเลยก็มิได้โต้แย้งจนกระทั่งวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยจึงโต้แย้งเขตอำนาจศาลแพ่งว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ดังนี้ ถือว่าจำเลยได้ยอมรับอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งมาตั้งแต่แรก กรณีจึงถือได้ว่าไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งตามที่จำเลยเพิ่งโต้แย้งในภายหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับอำนาจศาล: จำเลยมิโต้แย้งอำนาจศาลตั้งแต่แรกถือเป็นการยอมรับ จึงไม่มีเหตุอุทธรณ์เรื่องอำนาจ
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 9 บัญญัติว่า ในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือไม่ ไม่ว่าปัญหานั้นจะเกิดขึ้นในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือศาลยุติธรรมอื่น ให้ศาลนั้นรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวแล้วเสนอปัญหานั้นให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัย คำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาให้เป็นที่สุด คดีนี้เมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำฟ้อง จนกระทั่งยื่นคำให้การแล้วจำเลยมิได้โต้แย้งว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งแต่อย่างใด ครั้นถึงวันนัดชี้สองสถาน ศาลแพ่งกำหนดประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การไว้ 2 ประเด็น ครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยกลับโต้แย้งอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งว่า คดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่ง แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ยอมรับอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งมาตั้งแต่แรก กรณีจึงไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจของศาลแพ่งตามที่จำเลยเพิ่งโต้แย้งในภายหลัง และถือได้ว่าไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาลตามที่จำเลยอุทธรณ์มา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจึงไม่รับวินิจฉัยให้