คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ เนตรมัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 841 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับอำนาจศาลโดยปริยาย: จำเลยมิได้โต้แย้งอำนาจศาลตั้งแต่แรก จึงถือว่ายอมรับ
จำเลยมีโอกาสโต้แย้งอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งตั้งแต่จำเลยได้รับสำเนาคำฟ้อง วันนัดชี้สองสถาน แต่จำเลยก็มิได้โต้แย้งจนกระทั่งวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยจึงโต้แย้งเขตอำนาจศาลแพ่งว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ดังนี้ ถือว่าจำเลยได้ยอมรับอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งมาตั้งแต่แรก กรณีจึงถือได้ว่าไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งตามที่จำเลยเพิ่งโต้แย้งในภายหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4479/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: การรับเงินเพื่อไม่ต้องควบคุมตัวจำเลยในศาล
ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 นำตัวจำเลยทั้งสามมาที่ศาลชั้นต้นเพื่อส่งตัวตามฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์แล้ว น. ภริยาของจำเลยที่ 3 ได้มอบเงิน 300 บาท ให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 เพื่อไปดำเนินการให้จำเลยทั้งสามไม่ต้องถูกนำตัวเข้าห้องควบคุม และผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 บอกให้จำเลยทั้งสามรออยู่บริเวณหน้าห้องควบคุมโดยมิได้ส่งตัวจำเลยทั้งสามให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจประจำศาล การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ดังกล่าว จึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล อันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลอยู่ในอำนาจของผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาพิพากษาคดีได้ตาม พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 และ 26 และไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้ผู้พิพากษาที่สั่งให้เจ้าหน้าที่รายงานการกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลทำการไต่สวนพยานและพิพากษาคดีดังกล่าวด้วยตนเอง ทั้งไม่เข้ากรณีที่จะเป็นเหตุให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 คัดค้านผู้พิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 11 อีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4344/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายวันเวลาทำผิดฐานโกงเจ้าหนี้ในฟ้องอาญาต้องชัดเจน การอ้างอิงวันเวลาอื่นไม่เพียงพอ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำนิติกรรมปลอมแกล้งให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นหนี้จำเลยที่ 4 เป็นจำนวนอันไม่เป็นความจริง ซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 แต่โจทก์มิได้บรรยายให้แน่ชัดว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำนิติกรรมปลอมเมื่อใด วันเวลาที่โจทก์อ้างในคำฟ้องตามเอกสารท้ายฟ้องเป็นเพียงวันเวลาที่แสดงว่าโจทก์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตั้งแต่เมื่อใด และที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องโอนกรรมสิทธิ์ไปยังบุคคลอื่นเมื่อใด จะถือเอาวันเวลาระหว่างข้อเท็จจริงดังกล่าวมาประกอบกันเพื่อจะให้เข้าใจเอาเองว่า ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้เกิดระหว่างวันและเวลาดังกล่าวหาได้ไม่ ถือไม่ได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลาที่เกิดการกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ครบถ้วนแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4344/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายรายละเอียดวันเวลาการกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158(5) จำเป็นต้องชัดเจนและเฉพาะเจาะจง
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำนิติกรรมปลอมแกล้งให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นหนี้จำเลยที่ 4 จำนวนอันไม่เป็นความจริง ซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 แต่โจทก์มิได้บรรยายให้แน่ชัดว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำนิติกรรมปลอมเมื่อใด ส่วนวันเวลาที่โจทก์อ้างมาในคำฟ้องและตามเอกสารท้ายฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องนั้น เป็นพียงวันเวลาที่แสดงว่าโจทก์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตั้งแต่เมื่อใด และที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวโอนกรรมสิทธิ์ไปยังบุคคลอื่นเมื่อใดเท่านั้น จะถือเอาวันเวลาระหว่างข้อเท็จจริงดังกล่าวมาประกอบกันเพื่อจะให้เข้าใจเอาเองว่า ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้เกิดขึ้นในระหว่างวันและเวลาดังกล่าวหาได้ไม่ ถือไม่ได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายรายละเอียดที่เกี่ยวกับวันเวลาที่เกิดการกระทำผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ครบถ้วนแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4311/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเข้าเป็นคู่ความในคดีเครื่องหมายการค้า: การคุ้มครองสิทธิในเครื่องหมายการค้าของผู้ร้อง
คำร้องของผู้ร้องอ้างว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า WILD GEESE ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าที่โจทก์อ้างว่ามีความเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า WILD TURKY ของโจทก์จนทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า อันเป็นเหตุเดียวกันกับเหตุที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสิบห้าในฐานะนายทะเบียนและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าขอให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ที่ยกคำคัดค้านของโจทก์และรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้ร้อง ซึ่งหากศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มีคำวินิจฉัยเห็นพ้องด้วยกับโจทก์ให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ผลแห่งคดีย่อมกระทบถึงสิทธิในเครื่องหมายการค้าของผู้ร้องที่มีอยู่ กรณีจึงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องสมัครใจเองเพราะเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิตนที่มีอยู่โดยมีสิทธิยื่นคำร้องเข้ามาในคดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4267/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันลักทรัพย์: การครอบครองทรัพย์สินชั่วคราวไม่ถือเป็นการยักยอก แต่เป็นการแย่งการครอบครอง
จำเลยร่วมกับ ป. ขนท่อแก๊สของผู้เสียหายลงจากรถยนต์บรรทุกที่ ป. เป็นผู้ขับไปไว้ในที่เกิดเหตุเพื่อขายต่อให้แก่บุคคลอื่น การที่จำเลยและ ป. ครอบครองท่อแก๊สในขณะที่นำไปส่งให้ลูกค้าของผู้เสียหายเป็นการครอบครองแทนผู้เสียหายไว้ชั่วคราวชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น การครอบครองโดยแท้จริงยังอยู่ที่ผู้เสียหาย เมื่อจำเลยนำท่อแก๊สไปกองทิ้งในที่เกิดเหตุจึงเป็นการเคลื่อนย้ายท่อแก๊สจากที่ตั้งปกติเพื่อให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะขายแก่บุคคลอื่น เป็นการแย่งการครอบครองทรัพย์ไปจากผู้เสียหายแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการร่วมกับ ป. กระทำความผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3991/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายจากเอกสารสิทธิปลอม ต้องกระทบต่อทรัพย์สินโดยตรง จึงถือเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายอาญา
ความเสียหายที่เกิดขึ้นสำหรับความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิจะต้องเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะข้อความแห่งเอกสารสิทธินั้น แต่ข้อความในเอกสารสิทธิที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกปลอมไม่มีข้อความเกี่ยวถึงตัวผู้ร้องเลยทั้งการที่จำเลยกับพวกนำหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นเอกสารสิทธิปลอมไปยื่นต่อเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รับคำขอจดทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินเพื่อแสดงว่า ฉ. ได้มอบอำนาจให้ พ. ซื้อและขายที่ดิน ก็ไม่เกิดผลกระทบโดยตรงต่อทรัพย์สินของผู้ร้อง เนื่องจากหนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารสิทธิปลอมจึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิภาระซื้อและขายที่ดินระหว่าง ฉ. กับผู้ขายหรือผู้ซื้อ ที่ดินจึงมิใช่สินสมรสระหว่างผู้ร้องกับ ฉ. ผู้ร้องจึงไม่เป็นบุคคลที่ได้รับความเสียหายเพราะการกระทำของจำเลยกับพวกตามที่โจทก์ฟ้อง หากผู้ร้องได้รับความเสียหายเพราะการกระทำของจำเลยกับพวกก็ชอบที่จะไปดำเนินคดีในทางแพ่งได้ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามความหมายของ ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ไม่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3991/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าร่วมเป็นโจทก์อาญา: ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรงจากการกระทำความผิด
หนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นเอกสารสิทธิที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกปลอมขึ้นไม่มีข้อความเกี่ยวถึงตัวผู้ร้องเลย ทั้งการที่จำเลยกับพวกนำหนังสือมอบอำนาจปลอมไปยื่นต่อเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รับคำขอจดทะเบียนเกี่ยวกับที่ดิน เพื่อแสดงว่า ฉ. ได้มอบอำนาจให้ พ. ซื้อและขายที่ดิน ก็ไม่เกิดผลกระทบโดยตรงต่อทรัพย์สินของผู้ร้อง เนื่องจากหนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารสิทธิปลอม จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิภาระซื้อและขายที่ดินระหว่าง ฉ. กับผู้ขายหรือผู้ซื้อ ที่ดินจึงมิใช่สินสมรสระหว่างผู้ร้องกับ ฉ. ผู้ร้องจึงไม่เป็นบุคคลที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลยกับพวกจึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามความหมายของ ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ไม่มีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3990/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนของกลาง: เจ้าของต้องพิสูจน์ตนเองว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิด
คดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามคำร้องขอคืนของกลางของผู้ร้องเพียงว่าศาลจะสั่งคืนของกลางให้แก่ผู้ร้องหรือไม่เท่านั้น ส่วนประเด็นที่ว่าพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจำเลยโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นเรื่องที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ในคดีหลัก ผู้ร้องจะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาในคำร้องขอคืนของกลางไม่ได้
ป.อ. มาตรา 36 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของเจ้าของทรัพย์แท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินที่ศาลสั่งให้ริบภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด มิได้กำหนดให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึดทราบ แม้พนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งให้เจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึดทราบก็ตาม กำหนดเวลาดังกล่าวก็เริ่มนับแล้ว
การขอให้ศาลสั่งคืนของกลางที่ศาลสั่งริบตาม ป.อ. มาตรา 36 เป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา เมื่อผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องนำสืบให้ได้ความตามที่กล่าวอ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีอาญา, การแก้ไขฟ้อง, ล้มละลาย, และการรับสารภาพของจำเลย
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องโดยขอแก้บทลงโทษจาก พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21, 40, 42, 65, 66, 70 ทวิ เป็นมาตรา 21, 40, 42, 65, 66 ทวิ, 70, 71 ซึ่งเป็นการแก้หรือเพิ่มเติมฐานความผิดก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคหนึ่ง, 164 เมื่อจำเลยไม่ค้านและศาลชั้นต้นอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง จำเลยย่อมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การได้ เมื่อจำเลยไม่ยื่นคำร้องดังกล่าว แสดงว่าจำเลยรับสารภาพโดยมิได้หลงต่อสู้ในฐานะความผิดที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องนั้น ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามคำฟ้องที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมได้
กฎหมายล้มละลายเพียงบัญญัติมิให้บุคคลที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินคดีในทางแพ่งด้วยตนเอง หรือก่อหนี้สินขึ้นอีกในระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์ มิได้คุ้มครองให้ผู้กระทำผิดอาญาพ้นผิดไปด้วย ทั้งจำเลยกระทำความผิดก่อนจะถูกพิทักษ์ทรัพย์และไม่เกี่ยวข้องกับการถูกพิทักษ์ทรัพย์ในภายหลัง ศาลจึงพิพากษาลงโทษปรับจำเลยได้
ความผิดฐานก่อสร้างดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21 มาตรา 65 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 70 มีกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 120,000 บาท ความผิดดังกล่าวจึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (4) โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2544 จึงเกินกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ 12 กันยายน 2539 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยกระทำความผิด จึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6)
of 85