พบผลลัพธ์ทั้งหมด 841 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 651/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาต้องเปิดเผยต่อหน้าจำเลย การดำเนินกระบวนพิจารณาลับหลังจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การพิจารณาและสืบพยานในศาลไม่ว่าชั้นสืบพยานโจทก์ พยานโจทก์ร่วมหรือพยานจำเลยจะต้องทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย เว้นแต่เมื่อศาลเห็นเป็นการสมควร จะอนุญาตให้จำเลยไม่มาฟังการพิจารณาและการสืบพยานนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง และมาตรา 172 ทวิ คดีนี้ในวันนัดสืบพยานโจทก์และพยานโจทก์ร่วม จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้แทนจำเลยที่ 1 และในฐานะส่วนตัวไม่มาศาล และทนายจำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดีแล้ว ศาลชั้นต้นก็ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งอย่างใดลับหลังจำเลยทั้งสองได้อีกต่อไปการที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป โดยให้ทนายจำเลยทั้งสองแถลงรับข้อเท็จจริง โจทก์แถลงหมดพยาน และโจทก์ร่วมแถลงไม่ติดใจสืบพยานจึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบ และมีผลทำให้ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 651/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาต้องเปิดเผยต่อหน้าจำเลย การดำเนินกระบวนพิจารณาลับหลังจำเลยไม่ชอบ
การพิจารณาและสืบพยานในศาลไม่ว่าชั้นสืบพยานโจทก์พยานโจทก์ร่วม หรือพยานจำเลยจะต้องทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง และมาตรา 172 ทวิ
ในวันนัดสืบพยานโจทก์และพยานโจทก์ร่วม จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้แทนบริษัทจำเลยที่ 1 และในฐานะส่วนตัวไม่มาศาล และทนายจำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดีแล้ว ศาลชั้นต้นจึงไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งอย่างใดลับหลังจำเลยทั้งสองได้อีกต่อไป การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยให้ทนายจำเลยทั้งสองแถลงรับข้อเท็จจริง โจทก์แถลงหมดพยาน และโจทก์ร่วมแถลงไม่ติดใจสืบพยาน จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง
ในวันนัดสืบพยานโจทก์และพยานโจทก์ร่วม จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้แทนบริษัทจำเลยที่ 1 และในฐานะส่วนตัวไม่มาศาล และทนายจำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดีแล้ว ศาลชั้นต้นจึงไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งอย่างใดลับหลังจำเลยทั้งสองได้อีกต่อไป การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยให้ทนายจำเลยทั้งสองแถลงรับข้อเท็จจริง โจทก์แถลงหมดพยาน และโจทก์ร่วมแถลงไม่ติดใจสืบพยาน จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการแจ้งเหตุขัดข้อง การมอบฉันทะเสมียนทนายไม่ถือเป็นการมาศาล
ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) บัญญัติว่า "คู่ความ หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาลและเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาให้รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความ" การที่เสมียนทนายจำเลยที่ 2 ได้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยที่ 2 มายื่นคำร้องขอถอนทนายและฟังคำสั่งของศาลชั้นต้น เสมียนทนายจำเลยที่ 2 จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นคู่ความตามบทบัญญัติดังกล่าวเพราะเสมียนทนายจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะว่าความหรือดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ นอกจากมายื่นคำร้องดังกล่าวและรับทราบคำสั่งของศาลตามที่รับมอบหมายจากทนายจำเลยที่ 2 เท่านั้น จึงถือว่าจำเลยที่ 2 และทนายจำเลยที่ 2 ไม่มาศาลในวันสืบพยานโจทก์
คดีนี้ฟ้องร้องกันก่อนมีการแก้ไข ป.วิ.พ. มาตรา 202 เดิม จึงต้องใช้มาตรา 202 เดิม ที่บัญญัติว่า " ถ้าได้ส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว จำเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา แล้วให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว?" และมาตรา 197 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันสืบพยาน และมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาลเสียก่อนลงมือสืบพยาน ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณา" ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า จำเลยที่ 2 จะขาดนัดพิจารณาหรือไม่ ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้ทนายจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ไม่มาศาล แต่ทนายจำเลยที่ 2 ได้มอบฉันทะให้เสมียนทนายจำเลยที่ 2 มายื่นคำร้องขอถอนทนาย ถือว่าจำเลยที่ 2 แจ้งเหตุขัดข้องที่ฝ่ายจำเลยที่ 2 ไม่มาศาล จึงไม่ครบหลักเกณฑ์ตามมาตราดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดนัดพิจารณา เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ขาดนัดพิจารณา จำเลยที่ 2 จึงขอให้มีการพิจารณาใหม่ไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207
คดีนี้ฟ้องร้องกันก่อนมีการแก้ไข ป.วิ.พ. มาตรา 202 เดิม จึงต้องใช้มาตรา 202 เดิม ที่บัญญัติว่า " ถ้าได้ส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว จำเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา แล้วให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว?" และมาตรา 197 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันสืบพยาน และมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาลเสียก่อนลงมือสืบพยาน ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณา" ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า จำเลยที่ 2 จะขาดนัดพิจารณาหรือไม่ ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้ทนายจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ไม่มาศาล แต่ทนายจำเลยที่ 2 ได้มอบฉันทะให้เสมียนทนายจำเลยที่ 2 มายื่นคำร้องขอถอนทนาย ถือว่าจำเลยที่ 2 แจ้งเหตุขัดข้องที่ฝ่ายจำเลยที่ 2 ไม่มาศาล จึงไม่ครบหลักเกณฑ์ตามมาตราดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดนัดพิจารณา เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ขาดนัดพิจารณา จำเลยที่ 2 จึงขอให้มีการพิจารณาใหม่ไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 577/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะถึงที่สุดแล้ว และฎีกาไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ปัญหาว่าค่าภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นค่าภาษีอากรหรือค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องเป็นผู้ชำระตามข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่ โจทก์และจำเลยทั้งสี่เคยโต้เถียงกันมาแล้วและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้มีคำพิพากษาว่าปัญหาดังกล่าวคู่ความมิได้โต้เถียงกันแล้วเนื่องจากโจทก์แถลงยอมรับว่าจะเป็นผู้ชำระเอง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในเรื่องดังกล่าวอีกเป็นการไม่ชอบและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้มีคำพิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและมีคำสั่งใหม่ว่าคู่ความฝ่ายใดผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ คดีถึงที่สุดโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ดังนั้น ปัญหาดังกล่าวย่อมเป็นอันยุติ และเมื่อศาลชั้นต้นได้พิจารณาและมีคำสั่งใหม่ว่าจำเลยทั้งสี่เป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยว่า สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาต่างตอบแทนและคู่ความยกเลิกวันนัดชำระหนี้เดิมเป็นการชั่วคราว เนื่องจากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการชำระภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีท้องถิ่น ต่อมาศาลชั้นต้นได้ไกล่เกลี่ยคู่ความและแก้ไขเหตุโต้แย้งดังกล่าว คู่ความจะต้องกำหนดวันนัดให้จำเลยทั้งสี่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่โจทก์และกำหนดวันให้โจทก์ชำระเงินให้แก่จำเลยทั้งสี่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ไม่ปรากฏคู่ความหรือศาลชั้นต้นได้กำหนดวันชำระหนี้ขึ้นใหม่เพื่อให้คู่ความปฏิบัติแทนวันนัดเดิมตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น เมื่อหน้าที่ในการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความยังไม่ถึงกำหนดชำระ จึงยังไม่มีคู่ความฝ่ายใดตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อเนื้อหาในฎีกาของจำเลยทั้งสี่ยกขึ้นกล่าวอ้างหาได้มีข้อความส่วนใดที่โต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใดไม่ แต่กลับฎีกากล่าวอ้างว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดินและภาษีธุรกิจเฉพาะก็เป็นค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่ง เมื่อโจทก์ไม่ยอมชำระ โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ทั้ง ๆ ที่ปัญหาเช่นว่านั้นได้ถึงที่สุดไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ฎีกาของจำเลยทั้งสี่เป็นฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ถือว่าเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนองและการเข้าเฉลี่ยทรัพย์: กรณีหนี้ขาดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 733
คดีแพ่งเรื่องอื่นที่ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเป็นคดีที่ผู้ร้องฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้กู้ยืมเงินอันเป็นหนี้ประธานก่อนและเสียค่าขึ้นศาลในอัตราร้อยละสองบาทสิบห้าสตางค์ แต่ผู้ร้องมีคำขอมาท้ายฟ้องด้วยว่าหากจำเลยไม่ชำระเงินให้ผู้ร้องบังคับจำนองแก่ที่ดินของจำเลย โดยการขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่ผู้ร้องแสดงว่าผู้ร้องประสงค์จะบังคับคดีเอาจากที่ดินอันเป็นทรัพย์จำนองดังกล่าวจึงเป็นการฟ้องบังคับจำนองด้วย ดังนั้น เมื่อศาลพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดีตามคำขอท้ายฟ้อง และผู้ร้องนำยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ อันเป็นการบังคับจำนองแล้วได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระ กรณีจึงอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 733 ซึ่งบัญญัติให้ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินที่ขาดจำนวน เมื่อสัญญาจำนองไม่มีข้อตกลงให้จำเลยต้องรับผิดในเงินที่ขาดจำนวน เมื่อสัญญาจำนองไม่มีข้อตกลงให้จำเลยต้องรับผิดในเงินที่ยังขาดจำนวน จึงไม่มีหนี้อันเป็นมูลให้ผู้ร้องมีสิทธิขอเข้าเฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนองและการเข้าเฉลี่ยทรัพย์: ป.พ.พ.มาตรา 733 กรณีเงินจากการขายทอดตลาดไม่พอชำระหนี้
ในคดีแพ่งที่ผู้ร้องฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้กู้ยืมเงินอันเป็นหนี้ประธานก่อนและเสียค่าขึ้นศาลในอัตราร้อยละสองบาทห้าสิบสตางค์ โดยให้ถือหนังสือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วย แต่ผู้ร้องก็มีคำขอมาในคำขอท้ายฟ้องด้วยว่า หากจำเลยไม่ชำระเงิน ให้ผู้ร้องบังคับจำนองแก่ที่ดินของจำเลยโดยการขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่ผู้ร้อง แสดงว่าผู้ร้องประสงค์จะบังคับคดีเอาจากที่ดินอันเป็นทรัพย์จำนองด้วย
เมื่อศาลพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดีตามคำขอท้ายฟ้องของผู้ร้อง และผู้ร้องนำยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้อันเป็นการบังคับจำนองแล้วได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่ กรณีจึงอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 733 ซึ่งบัญญัติให้ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินที่ยังขาดจำนวนนั้น เมื่อสัญญาจำนองระหว่างผู้ร้องกับจำเลยไม่มีข้อตกลงให้จำเลยต้องรับผิดในเงินที่ยังขาดจำนวน จึงไม่มีหนี้อันจะเป็นมูลให้ผู้ร้องมีสิทธิขอเข้าเฉลี่ยทรัพย์
เมื่อศาลพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดีตามคำขอท้ายฟ้องของผู้ร้อง และผู้ร้องนำยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้อันเป็นการบังคับจำนองแล้วได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่ กรณีจึงอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 733 ซึ่งบัญญัติให้ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินที่ยังขาดจำนวนนั้น เมื่อสัญญาจำนองระหว่างผู้ร้องกับจำเลยไม่มีข้อตกลงให้จำเลยต้องรับผิดในเงินที่ยังขาดจำนวน จึงไม่มีหนี้อันจะเป็นมูลให้ผู้ร้องมีสิทธิขอเข้าเฉลี่ยทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 394/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุผลพิเศษ ปัญหาการปรึกษาหารือระหว่างจำเลยและทนายไม่เพียงพอ
ตามคำร้องขอขยายเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 4 ของจำเลยทั้งสามอ้างเหตุว่า จำเลยที่ 2 ยังไม่เดินทางกลับจากอำเภอหาดใหญ่เพราะต้องดูแลหลานอายุ 4 ขวบ ซึ่งเป็นโรคภูมิแพ้ เพื่อให้น้องสะใภ้ของจำเลยที่ 2 ไปทำงาน จำเลยทั้งสามกับทนายจำเลยทั้งสามไม่สามารถที่จะร่วมปรึกษากันถึงรูปคดีและมีความเห็นให้ทนายจำเลยทั้งสามดำเนินการอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้ ทนายจำเลยทั้งสามจึงไม่สามารถยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาได้ภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เช่นนี้ไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาตกทอดแก่ทายาท ผู้จัดการมรดกมีสิทธิถอนคำร้องได้ แม้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา
การถอนคำร้องทุกข์เป็นสิทธิซึ่ง ป.วิ.อ.มาตรา 126 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ร้องทุกข์ที่จะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ สิทธิถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานยักยอกถือเป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน กรณีผู้ร้องทุกข์ตายสิทธิดังกล่าวย่อมตกทอดแก่ทายาท เมื่อได้ความตามคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ว่าบรรดาทายาททุกคนของผู้เสียหายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป และขอถอนคำร้องทุกข์ ดังนั้น ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้เสียหายซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย จึงมีสิทธิถอนคำร้องทุกข์ได้แม้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา เมื่อมีการถอนคำร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิถอนฟ้องคดีอาญาที่ยอมความได้ของผู้จัดการมรดกของผู้เสียหาย และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
การถอนคำร้องทุกข์เป็นสิทธิซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 126 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ร้องทุกข์ที่จะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ สิทธิถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานยักยอกถือเป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน กรณีผู้ร้องทุกข์ตายสิทธิดังกล่าวย่อมตกทอดแก่ทายาท เมื่อได้ความตามคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ว่า บรรดาทายาททุกคนของผู้เสียหายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป และขอถอนคำร้องทุกข์ ดังนั้น ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้เสียหายซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย จึงมีสิทธิถอนคำร้องทุกข์ได้แม้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาและเมื่อมีการถอนคำร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญา แม้คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา และผลกระทบต่อการระงับคดี
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 342 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ และ ป.วิ.อ. มาตรา 126 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ร้องทุกข์ที่จะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ สิทธิถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานยักยอกถือเป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน ถ้าผู้ร้องทุกข์ตายสิทธิดังกล่าวย่อมตกทอดแก่ทายาท ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้เสียหายซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายจึงมีสิทธิถอนคำร้องทุกข์ได้แม้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา และเมื่อมีการถอนคำร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)