พบผลลัพธ์ทั้งหมด 841 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.เช็ค: ต้องมีหนี้ที่บังคับได้ การรับสภาพหนี้ไม่ก่อให้เกิดหนี้ใหม่
การกระทำที่จะเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ซึ่งเป็นองค์ประกอบของการกระทำความผิด มิใช่เป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณา การที่โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้และแนบสำเนาสัญญารับสภาพหนี้มาท้ายฟ้อง จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด เพราะการรับสภาพหนี้มิได้ก่อให้เกิดมูลหนี้ขึ้นใหม่ เพียงแต่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงเท่านั้น คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 224/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบยาเสพติดเพื่อเสพร่วมกัน ไม่ถือเป็นความผิดฐานจำหน่าย
จำเลยมอบเมทแอมเฟตามีนให้ ส. เพื่อให้ ส. เตรียมเมทแอมเฟตามีนให้อยู่ในสภาพพร้อมเสพ แล้วจำเลยและ ส. เสพด้วยกันในเวลาต่อเนื่องกับที่ ส. ได้รับเมทแอมเฟตามีนมา แสดงว่าจำเลยมีเจตนาจะเสพเมทแอมเฟตามีน แต่เนื่องจาก ส. มีอุปกรณ์การเสพแล้วจึงมีเจตนาเสพเมทแอมเฟตามีนด้วยกันในภายหลัง จำเลยจึงให้ ส. ช่วยดำเนินการให้เท่านั้น เป็นการมอบเมทแอมเฟตามีนให้แก่ผู้กระทำความผิดด้วยกัน มิใช่เรื่องที่จำเลยมีเจตนาแจกจ่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ ส. การกระทำของจำเลยจึงหาได้อยู่ในความหมายของคำว่า "จำหน่าย" ตามความในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดที่ไม่ชอบเนื่องจากผู้รับย้ายภูมิลำเนา ศาลต้องไต่สวนข้อเท็จจริงก่อนมีคำสั่ง
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า การส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของโจทก์ไม่ชอบ เนื่องจากผู้ร้องย้ายภูมิลำเนาไปก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปิดหมาย ตามแถลงของโจทก์นับว่ามีเหตุที่จะต้องทำการไต่สวนให้ได้ข้อเท็จจริงเป็นที่แน่ชัดเสียก่อนว่า ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ ณ บ้านที่มีการส่งหมายหรือไม่เพราะหากข้อเท็จจริงได้ความตามคำร้อง การส่งหมายก็จะไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 74 (2) ย่อมเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบและทำให้ผู้ร้องเสียหายเพราะไม่มีโอกาสได้คัดค้านคำร้อง ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้เพิกถอนได้ตามมาตรา 27 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องโดยไม่ทำการไต่สวนจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งดังกล่าวตามาตรา 243 (1) และมาตรา 27 ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่วางเงินค่าธรรมเนียมเมื่ออุทธรณ์ ทำให้ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ และจำเลยยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้น
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดี โดยขอให้ศาลอุทธรณ์ยกคำสั่งของศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นสืบพยานต่อไปแล้วมีคำพิพากษาใหม่ จึงอยู่ภายใต้บังคับ ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยมิได้วางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำเงินดังกล่าวมาวางศาลภายในเวลาที่กำหนดเท่ากับเปิดโอกาสให้จำเลยปฏิบัติให้ถูกต้องอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ว่าจะให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นโดยเฉพาะ คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นนี้จำเลยยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์ เพราะมิใช่คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตามมาตรา 234 แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวโดยตรง โดยกล่าวมาในอุทธรณ์ว่าขออุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวตามคำร้องของจำเลย แต่ศาลชั้นต้นก็ยกคำร้องเพราะเห็นว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม อันเป็นการยืนยันให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งเดิม ทั้งในอุทธรณ์ก็ขอให้ศาลอุทธรณ์ยกเลิกเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลนั่นเอง จำเลยจึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ดังนั้นแม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยก็เป็นการไม่ชอบ การที่จำเลยฎีกาต่อมา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตเลื่อนคดี และหน้าที่การวางเงินค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
การที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสี่เลื่อนคดีโดยขอให้ศาลอุทธรณ์ยกคำสั่งของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยทั้งสี่ต่อไปแล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีนั้น อาจทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้แก่โจทก์ถูกยกเลิกเพิกถอนไปได้หากอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสี่ฟังขึ้น กรณีจึงอยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ที่ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ด้วย
เมื่อจำเลยทั้งสี่ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสี่เลื่อนคดี โดยมิได้วางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยทั้งสี่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลภายในเวลาที่กำหนดเท่ากับศาลชั้นต้นเปิดโอกาสให้จำเลยทั้งสี่ปฏิบัติให้ถูกต้องอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสี่ว่าจะให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสี่ไปยังศาลอุทธรณ์อันเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นโดยเฉพาะ คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นนี้จำเลยทั้งสี่ยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์ได้ เพราะมิใช่คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ซึ่งผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 คดีนี้แม้จำเลยทั้งสี่จะมิได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยทั้งสี่วางเงินค่าธรรมเนียมโดยตรง โดยกล่าวมาในอุทธรณ์ว่าขออุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวตามคำร้องของจำเลยทั้งสี่ก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นก็ยกคำร้องเพราะเห็นว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม อันเป็นการยืนยันให้จำเลยทั้งสี่ปฏิบัติตามคำสั่งเดิมที่ให้จำเลยทั้งสี่นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาล ทั้งอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสี่ก็ขอให้ศาลอุทธรณ์ยกเลิกเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยทั้งสี่วางเงินค่าธรรมเนียมนั้นเสีย จึงมีผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องที่ให้จำเลยทั้งสี่นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลนั้นเอง จำเลยทั้งสี่จึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์
เมื่อจำเลยทั้งสี่ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสี่เลื่อนคดี โดยมิได้วางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยทั้งสี่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลภายในเวลาที่กำหนดเท่ากับศาลชั้นต้นเปิดโอกาสให้จำเลยทั้งสี่ปฏิบัติให้ถูกต้องอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสี่ว่าจะให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสี่ไปยังศาลอุทธรณ์อันเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นโดยเฉพาะ คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นนี้จำเลยทั้งสี่ยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์ได้ เพราะมิใช่คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ซึ่งผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 คดีนี้แม้จำเลยทั้งสี่จะมิได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยทั้งสี่วางเงินค่าธรรมเนียมโดยตรง โดยกล่าวมาในอุทธรณ์ว่าขออุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวตามคำร้องของจำเลยทั้งสี่ก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นก็ยกคำร้องเพราะเห็นว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม อันเป็นการยืนยันให้จำเลยทั้งสี่ปฏิบัติตามคำสั่งเดิมที่ให้จำเลยทั้งสี่นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาล ทั้งอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสี่ก็ขอให้ศาลอุทธรณ์ยกเลิกเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยทั้งสี่วางเงินค่าธรรมเนียมนั้นเสีย จึงมีผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องที่ให้จำเลยทั้งสี่นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลนั้นเอง จำเลยทั้งสี่จึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาทรัพย์สินในการบังคับคดี: เจ้าพนักงานมีอำนาจประเมินราคาเบื้องต้นเพื่อขายทอดตลาด ผู้ซื้อมีสิทธิสู้ราคา
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึด เป็นเพียงการประมาณราคาในชั้นต้น เพื่อประโยชน์ในการขายทอดตลาดต่อไปเท่านั้น ราคาที่ประเมินจึงอาจไม่ตรงกับราคาที่แท้จริงก็ได้ แม้จำเลยจะไม่เห็นด้วย จำเลยก็ชอบที่จะหาผู้เข้าสู้ราคาหรือคัดค้านการขายทอดตลาดได้ และไม่มีหลักเกณฑ์ใดผูกมัดว่าการขายทอดตลาดจะต้องเป็นไปตามราคาที่ประเมิน จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และถือไม่ได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิของจำเลยที่จะร้องขอต่าศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง เพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 35/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจ้างรักษาความปลอดภัยหลังหมดอายุสัญญา การบอกเลิกชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 386
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์รักษาความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 มีกำหนด 1 ปี หลังจากครบกำหนด จำเลยที่ 1 ยังคงจ้างโจทก์ต่อมาโดยถือบังคับตามสัญญาเดิม โดยสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยนี้มีกำหนดระยะ 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 และสิ้นสุดสัญญาว่าจ้างในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2540 ในกรณีที่สัญญาครบกำหนดแล้วยังไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญา ให้ถือว่าสัญญายังมีผลใช้บังคับต่อไปได้อีก อนึ่งสัญญาฉบับนี้อาจถูกบอกเลิกการจ้างก่อนครบกำหนดระยะเวลาโดยฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก็ได้ แต่ทั้งนี้จะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน ดังนี้ การบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อนี้จึงมีผลใช้บังคับในระหว่างอายุสัญญาเท่านั้น กล่าวคือ ระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 ถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2540 แม้หลังจากครบกำหนดตามอายุสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 ยังคงว่าจ้างโจทก์ต่อมาโดยให้ถือว่าสัญญายังมีผลบังคับใช้ต่อไปได้อีกก็ตาม แต่กรณีเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดเวลาไว้และตามสัญญามิได้กำหนดเงื่อนไขในการบอกเลิกสัญญากันไว้ที่อื่น การที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2543 การบอกเลิกสัญญาของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ มาตรา 386 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8659/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาอุทธรณ์คดีอาญา และเหตุขยายเวลาต้องยื่นก่อนครบกำหนด เหตุผลที่อ้างไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
ศาลชั้นอ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2547 จำเลยต้องยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ซึ่งการนับระยะเวลาเริ่มต้น การยื่นอุทธรณ์หนึ่งเดือนต้องนับวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรกตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง โดยเริ่มนับวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 ดังนั้น เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 มิได้เป็นวันต้นแห่งเดือน กำหนดระยะเวลาเป็นเดือนจึงไม่อาจคำนวณตามปีปฏิทินได้ ระยะเวลาสิ้นสุดย่อมเป็นวันที่ 18 มีนาคม 2547 ซึ่งเป็นวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/5 หาใช่ต้องนับระยะเวลาเดือนกุมภาพันธ์ 2547 มีกำหนด 11 วัน และเดือนมีนาคม 2547 มีกำหนด 19 วัน เป็น 30 วันตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/6 วรรคหนึ่งและวรรคสามไม่ เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการนับระยะเวลาที่กำหนดเป็นเดือนและวัน หรือกำหนดเป็นเดือนและส่วนของเดือนมิได้กำหนดระยะเวลาที่กำหนดเป็นเดือน การที่จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2547 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว
การขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในคดีอาญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 นั้น จะต้องกระทำก่อนสิ้นสุดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย การที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2547 หลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว จึงเป็นกรณีที่จำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนสิ้นระยะเวลายื่นอุทธรณ์ อีกทั้งเหตุที่จำเลยอ้างขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก็ไม่ถือว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยที่จะมีคำขอภายหลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้ ศาลชอบที่จะไม่อนุญาตให้ขยายเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยได้
การขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในคดีอาญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 นั้น จะต้องกระทำก่อนสิ้นสุดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย การที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2547 หลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว จึงเป็นกรณีที่จำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนสิ้นระยะเวลายื่นอุทธรณ์ อีกทั้งเหตุที่จำเลยอ้างขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก็ไม่ถือว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยที่จะมีคำขอภายหลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้ ศาลชอบที่จะไม่อนุญาตให้ขยายเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8658/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: เหตุสุดวิสัยและการตรวจสอบข้อมูลของทนาย
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นยกคำร้อง จำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยและพิพากษายกอุทธรณ์เสียนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาที่ว่ามีเหตุอันควรขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยหรือไม่โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิจารณาและพิพากษาใหม่
ข้ออ้างที่ว่าทนายจำเลยเชื่อคำบอกเล่าของเจ้าพนักงานศาลและทนายคนเดิมว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้จนถึงวันที่ 20 มกราคม 2547 และทนายจำเลยต้องว่าความทุกวันไม่สามารถมาดูคำสั่งศาลด้วยตนเองได้ ถือเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเอง กรณีจึงมิใช่เหตุสุดวิสัย ไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ข้ออ้างที่ว่าทนายจำเลยเชื่อคำบอกเล่าของเจ้าพนักงานศาลและทนายคนเดิมว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้จนถึงวันที่ 20 มกราคม 2547 และทนายจำเลยต้องว่าความทุกวันไม่สามารถมาดูคำสั่งศาลด้วยตนเองได้ ถือเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเอง กรณีจึงมิใช่เหตุสุดวิสัย ไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8534/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้าม ป.วิ.อ. มาตรา 196 เมื่อศาลสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว
คดีนี้ ศาลชั้นต้นสั่งออกหมายจับจำเลยที่ 2 และจำหน่ายคดีชั่วคราว ต่อมาจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้เพิกถอนหมายจับ อ้างว่าคดีขาดอายุความแล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำขอของจำเลยที่ 2 เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน เพราะคดีต้องพิจารณาต่อไป เนื่องจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพียงจำหน่ายคดีชั่วคราว ไม่ใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญแล้ว การที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ขอให้เพิกถอนหมายจับ จึงเป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196