คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ เนตรมัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 841 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8492/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะผู้พิพากษาพิจารณาคดี: ศาลชั้นต้นต้องมีผู้พิพากษาสองคนขึ้นไปในการพิจารณาคำร้องขอคืนของกลาง
คดีนี้ศาลชั้นต้นเป็นศาลจังหวัด การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้นต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีนี้และมีคำสั่งยกคำร้องขอคืนของกลางของผู้ร้องโดยผู้พิพากษาคนเดียวเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดีนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 (2) และมาตรา 26 เนื่องจากการพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวมีลักษณะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวที่จะออกคำสั่งได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย และศาลอุทธรณ์ภาค 8 ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ต้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องเสียก่อน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8492/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะผู้พิพากษาในการพิจารณาคำร้องขอคืนของกลาง การปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลจังหวัดมีคำสั่งริบรถจักรยานยนต์ของกลาง เมื่อผู้ร้องยื่นคำขอคืนของกลางโดยอ้างว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์และผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย ศาลชั้นต้นต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะในการสั่งคำร้องดังกล่าวตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยผู้พิพากษาคนเดียวเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดีนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยมาตรา 24 (2) และมาตรา 26 เนื่องจากเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวที่จะออกคำสั่งได้ตาม มาตรา 25

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8332/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาในศาลแขวง: การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งตัวผู้ต้องหาและการผัดฟ้องตามกฎหมาย
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 296 อยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา เมื่อท้องที่ศาลจังหวัดหลังสวนยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการและมีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 บังคับสำหรับคดีที่เกิดขึ้นในบางท้องที่ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2532 ลงวันที่ 17 เมษายน 2532 ระบุไว้ในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บังคับแก่คดีที่เกิดขึ้นในท้องที่อำเภอทุกอำเภอของจังหวัดชุมพร คดีนี้จึงอยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 7
พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ให้จำเลยทราบวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2543 ย่อมถือว่าจำเลยถูกจับตั้งแต่วันดังกล่าว พนักงานสอบสวนต้องส่งตัวจำเลยพร้อมสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้ฟ้องภายในกำหนด 48 ชั่วโมง โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2543 โดยไม่ได้ขอผัดฟ้องและพ้นกำหนดเวลาตามบทบัญญัติดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตให้ฟ้องจากอัยการสูงสุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 9 จึงไม่ชอบ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8332/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาที่ศาลแขวง: การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งตัวผู้ต้องหาและระยะเวลาการฟ้องทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2543 พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่าทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ จำเลยให้การปฏิเสธ ความผิดฐานดังกล่าวมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม ป.อ. มาตรา 296 ซึ่งเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา เมื่อท้องที่ศาลจังหวัดหลังสวนยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการ ซึ่งตาม พ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 2 และมาตรา 3 บัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดในท้องที่ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการ สำหรับคดีอาญาที่อัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนการที่จะให้ใช้บังคับสำหรับคดีที่เกิดขึ้นในท้องที่ใดเมื่อใดให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ซึ่งมีการตราพระราชกฤษฎีกาแล้วและมีผลตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2532 คดีนี้จึงอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาฐานทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ให้จำเลยทราบวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2543 กรณีย่อมถือว่าจำเลยถูกจับในข้อหาคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงตั้งแต่วันดังกล่าว พนักงานสอบสวนต้องส่งตัวจำเลยพร้อมสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้ฟ้องภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมง ถ้าไม่สามารถฟ้องได้ทันภายในกำหนด พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการต้องขอผัดฟ้อง คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2543 โดยไม่ได้ขอผัดฟ้องและพ้นกำหนดเวลาตามบทบัญญัติดังกล่าว โดยไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตให้ฟ้องจากอัยการสูงสุดตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 9 จึงไม่ชอบ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7577/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินต้องมีคำขอในฟ้อง ศาลสั่งริบโดยโจทก์มิได้ขอเป็นคำพิพากษาเกินคำขอ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1) เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจแก่ศาลในการลงโทษริบทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้ใช้ในการกระทำความผิด แต่ศาลจะพิพากษาหรือสั่งเองโดยโจทก์มิได้ฟ้องหรือมีคำขอมาในฟ้องหาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7566/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำท้าพิสูจน์ลายมือชื่อเป็นผลผูกพันคู่ความ หากผลการตรวจพิสูจน์เป็นไปตามที่ตกลงไว้ การอ้างเหตุผลเรื่องการเปิดเผยผลก่อนวันนัดฟังไม่ขึ้น
โจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงท้ากันให้กองพิสูจน์หลักฐาน พิสูจน์ลายมือชื่อในช่องผู้ค้ำประกัน หากกองพิสูจน์หลักฐานมีความเห็นว่าใช่หรือน่าจะใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองยอมแพ้ แต่หากไม่ใช่หรือน่าจะไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 โจทก์ยอมแพ้ ข้อแพ้ชนะตามคำท้าจึงขึ้นอยู่กับผลการตรวจพิสูจน์ของกองพิสูจน์หลักฐานว่าจะสมคำท้าของฝ่ายใด เมื่อผลการตรวจพิสูจน์มีความเห็นว่าลายมือชื่อผู้ค้ำประกันกับตัวอย่างลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่ลายมือชื่อของบุคคลเดียวกันซึ่งสมคำท้าของฝ่ายจำเลย โจทก์จึงเป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้า โจทก์จะอ้างว่า ผลการตรวจพิสูจน์ได้ถูกเปิดเผยก่อนวันนัดพร้อมและจำเลยทั้งสองทราบผลการตรวจพิสูจน์ก่อนชำระเงินค่าตรวจพิสูจน์เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบและไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังจากมีการดำเนินกระบวนพิจารณาตามคำท้าแล้ว จึงเป็นเรื่องนอกเหนือคำท้าไม่เกี่ยวกับกระบวนพิจารณาที่คู่ความตกลงท้ากัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7565/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลบังคับคดี: คำร้องรับชำระหนี้ต้องยื่นต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี
ป.วิ.พ. มาตรา 7 (2) อันเป็นบทบัญญัติในเรื่องเขตอำนาจศาลบัญญัติให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีตามมาตรา 302 และศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีโดยมีอำนาจออกหมายบังคับคดีและทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษานั้น มาตรา 302 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าคือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น ดังนั้น ศาลที่ออกหมายบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 289 ย่อมหมายถึงศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น สำหรับคดีนี้จึงได้แก่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนมาตรา 15 วรรคสอง ที่ผู้ร้องอ้างเพียงแต่บัญญัติให้ศาลที่จะมีการบังคับคดีนอกเขตศาลที่ออกหมายบังคับคดีดำเนินการไปเสมือนหนึ่งเป็นศาลที่บังคับคดีแทนตามมาตรา 302 วรรคสาม บทกฎหมายดังกล่าวหาได้บัญญัติให้ถือเสมือนหนึ่งว่าศาลที่บังคับคดีแทนเป็นศาลที่ออกหมายบังคับคดีแต่อย่างใดไม่ ผู้ร้องจึงต้องยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นศาลที่ออกหมายบังคับคดีให้ไต่สวนและมีคำสั่ง การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ชอบ
ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องและให้ผู้ร้องไปดำเนินการที่ศาลที่มีอำนาจต่อไปนั้น มีผลเท่ากับเป็นการสั่งไม่รับหรือคืนคำร้องนั้นไปเพื่อยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจคือศาลจังหวัดเชียงใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7565/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลบังคับคดี: คำร้องรับชำระหนี้ต้องยื่นต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี (ศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดี)
คำร้องของผู้ร้องที่ขอรับชำระหนี้จำนองจากเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 เป็นคำร้องที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษา ซึ่งจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้อง คำร้องเช่นนี้ มาตรา 7 (2) บัญญัติให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีตามมาตรา 302 และศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีโดยมีอำนาจในการออกหมายบังคับคดีและทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใดๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษานั้น มาตรา 302 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น ดังนั้น ศาลที่ออกหมายบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 289 ย่อมหมายถึงศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น และแม้มาตรา 15 วรรคสอง จะบัญญัติให้ศาลที่มีการบังคับคดีนอกเขตศาลที่ออกหมายบังคับคดีดำเนินไปเสมือนหนึ่งเป็นศาลที่บังคับคดีแทนตามมาตรา 32 วรรคสาม แต่ก็หาได้บัญญัติให้ถือเสมือนหนึ่งว่า ศาลที่บังคับคดีแทนเป็นศาลที่ออกหมายบังคับคดีแต่อย่างใดไม่ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลที่บังคับคดีแทนจึงเป็นการไม่ชอบ
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 และให้ผู้ร้องไปดำเนินการที่ศาลที่มีอำนาจต่อไป มีผลเท่ากับเป็นการสั่งไม่รับหรือคืนคำร้องไปเพื่อยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ จึงต้องคืนค่าคำร้องแก่ผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7386/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและการเปลี่ยนแปลงสัญญา: หลักฐานการทำสัญญาใหม่ และข้อยกเว้นการฟ้องร้อง
จำเลยมิได้ให้การว่า สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา การที่จำเลยเพิ่งหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อันเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำมั่นที่โจทก์จะให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทภายหลังสัญญาเช่าครบกำหนดเวลาแล้วเป็นเพียงคำมั่นด้วยวาจาและอยู่นอกเหนือจากข้อตกลงตามสัญญาเช่าเดิมซึ่งโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ในตึกแถวพิพาทอันเป็นทรัพย์สินที่เช่ามาจากมารดาโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่า แม้จำเลยจะสนองรับคำมั่นนั้นก่อนครบกำหนดสัญญาเช่าเดิมและเกิดเป็นสัญญาเช่าใหม่ แต่คราบใดที่โจทก์ยังมิได้ทำหลักฐานการเช่าตึกแถวพิพาทใหม่เป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ จำเลยย่อมไม่อาจขอให้บังคับโจทก์ต้องยอมให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยเมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดเวลาเช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7368/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและการโอนคดี: คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 แสนบาท ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณา
แม้คำฟ้องของโจทก์จะอ้างว่าจำเลยได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วก็ตาม แต่ก็ปรากฏตามคำฟ้องว่า จำเลยยังโต้แย้งอยู่ว่าไม่ได้ขายที่ดินพิพาทให้โจทก์และที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย คำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท และให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้ขายให้โจทก์มาเป็นของโจทก์ ซึ่งหากโจทก์ชนะคดี โจทก์ย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เมื่อที่ดินพิพาทมีราคาไม่เกิน 300,000 บาท จึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ศาลจังหวัดชอบที่จะมีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลแขวงตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคสี่ การที่ศาลจังหวัดมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องและจำหน่ายคดีของโจทก์เป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
of 85