พบผลลัพธ์ทั้งหมด 841 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4856/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายสินค้าเกิดจากจัดเรียงไม่เหมาะสม ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิด
การขนส่งสินค้าพิพาทนี้เป็นการขนส่งแบบ CY/CY คือ ผู้ส่งรับตู้สินค้าจากผู้ขนส่งนำไปบรรจุสินค้าเข้าตู้สินค้าเอง แล้วผู้ส่งนำตู้สินค้าที่บรรจุสินค้าและปิดผนึกตู้สินค้าแล้วมาส่งมอบแก่ผู้ขนส่ง ผู้ขนส่งได้รับตู้สินค้าในสภาพเรียบร้อยบรรทุกลงเรือเดินทะเล เจ้าหน้าที่ท่าเรือรับมอบตู้สินค้าที่บรรจุสินค้าพิพาทจากผู้ขนส่งหรือตัวแทนของผู้รับตราส่งมิได้บันทึกว่าตู้สินค้าดังกล่าวมีความเสียหายหรือผิดปกติแต่อย่างใด แสดงว่าตู้สินค้ามีสภาพปกติตั้งแต่ส่งมอบให้แก่ผู้ขนส่งจนถึงส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่งที่ปลายทาง สินค้าพิพาททั้งหมดมีอยู่จำนวน 44 แผ่นไม้รองสินค้า สินค้าพิพาทแต่ละแผ่นไม้รองสินค้ามีน้ำหนักมากกว่า 300 กิโลกรัม มีเพียง 3 แผ่นไม้รองสินค้าเท่านั้น ที่มีน้ำหนัก 136.5 กิโลกรัม และ 241.5 กิโลกรัม สินค้าพิพาททั้งหมดผู้ส่งเป็นผู้จัดเรียงไว้ในตู้สินค้า โดยวางซ้อนกัน 2 ชั้นได้หมดทั้ง 44 แผ่นไม้รองสินค้า แต่โครงสร้างการหีบห่อสินค้าพิพาทมิได้จัดไว้เพื่อรองรับการกดทับวัตถุที่มีน้ำหนักมากๆ จากด้านบนได้อย่างปลอดภัยและมั่นคงแข็งแรงเพียงพอ โดยเฉพาะวัตถุที่มีน้ำหนักมากกว่า 300 กิโลกรัม การที่ผู้ส่งจัดวางสินค้าพิพาทซ้อนกัน 2 ชั้น ในลักษณะ 1 แผ่นไม้รองสินค้า ต่อ 1 แผ่นไม้รองสินค้า ในตู้สินค้าจึงมีความเสี่ยงสูงในการที่แผ่นไม้ 2 ท่อน ที่วางเป็นรูปกากบาทด้านบนของสินค้าพิพาทชั้นล่างจะไม่สามารถรับน้ำหนักของสินค้าพิพาทแต่ละแผ่นไม้รองสินค้าที่อยู่ด้านบนได้ หากมีการโยกเอียงให้ไม้ประกบด้านข้างของสินค้าพิพาทที่อยู่บนแผ่นไม้รองสินค้าพิพาทชั้นล่างเคลื่อนไปจากแนวตั้งตรงที่ 90 องศา ข้อเท็จจริงจากรายงานการสำรวจภัยพบว่าการจัดวางสินค้าพิพาทมิได้มีลักษณะ 1 แผ่นไม้รองสินค้าต่อ 1 แผ่นไม้รองสินค้า แต่มีการจัดวางสินค้าพิพาทชั้นล่างเพียง 21 แผ่นไม้รองสินค้า แต่ในชั้นที่ 2 หรือชั้นบนมีสินค้าพิพาทจัดวางไว้ถึง 23 แผ่นไม้รองสินค้า แสดงให้เห็นว่า สินค้าพิพาท 1 แผ่นไม้รองสินค้า ที่วางอยู่ชั้นล่างบางส่วน ต้องรองรับน้ำหนักของสินค้าพิพาทด้านบนมากกว่า 1 แผ่นไม้รองสินค้า ดังนั้น โอกาสที่สินค้าพิพาทที่อยู่ด้านล่างจะไม่สามารถรับน้ำหนักของสินค้าพิพาทที่อยู่ด้านบนมีอยู่มากขึ้นอีก เมื่อตู้สินค้ามีการถูกยกเคลื่อนย้ายแต่ละครั้ง อาจทำให้สินค้าพิพาทด้านบนเคลื่อนไหว ทำให้ไม้ประกบด้านข้างของสินค้าพิพาทที่อยู่ด้านล่างเคลื่อนที่ และไม่อาจรับน้ำหนักของสินค้าพิพาทด้านบนได้จึงมีการยุบหักของไม้ประกบกันกระแทกด้านข้างและด้านบนของสินค้าพิพาทชั้นล่าง ทำให้แผ่นไม้รองสินค้าของสินค้าด้านบนยุบตัวลงกระแทกกับสินค้าพิพาทที่อยู่ด้านล่าง ทำให้สินค้าพิพาทด้านล่างเสียหาย ทำให้แผ่นไม้รองสินค้าดังกล่าวถูกแรงกดทับของตัวสินค้าแตกหักเสียหายไปพร้อมกับตัวสินค้าด้วย ความเสียหายของสินค้าพิพาทจึงมิได้เกิดจากกระบวนการขนส่งหรือการเคลื่อนย้ายตู้สินค้าที่ไม่ระมัดระวัง แต่เกิดจากความผิดของผู้ส่งของที่บรรจุสินค้าพิพาทเข้าตู้สินค้าโดยจัดเรียงสินค้าไม่เหมาะสม ทำให้สินค้าพิพาทกดทับกันเกิดความเสียหาย ความเสียหายของสินค้าพิพาทตามฟ้องจึงเกิดจากความผิดของผู้ส่ง ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าพิพาทตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 52 (9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2083/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแทน, ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล, การส่งมอบสินค้า, ความเสียหายสินค้า
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความที่เป็นสาระสำคัญระบุว่า บริษัทโจทก์โดยกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนขอแต่งตั้งและมอบอำนาจให้ ถ. และหรือ ส. เป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจของบริษัทในกิจการต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้รวม 9 ข้อ โดยในข้อ 2 ระบุให้มีอำนาจฟ้องร้องดำเนินคดีทั้งในคดีแพ่ง คดีอาญาหรือคดีอื่นใดทุกประเภทต่อศาลที่มีเขตอำนาจได้ทุกศาลทั่วราชอาณาจักร เป็นการมอบอำนาจให้ ถ. และหรือ ส. มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้หลายประการ ทั้งได้ระบุให้มีอำนาจที่จะฟ้องคดีและดำเนินคดีทุกประเภทต่อศาลทุกศาลไว้โดยชัดแจ้งโดยไม่จำกัดตัวบุคคลที่จะต้องถูกฟ้อง การมอบอำนาจดังกล่าวเป็นการมอบอำนาจทั่วไป ที่รวมถึงให้ยื่นฟ้องต่อศาลตาม ป.พ.พ. มาตรา 801 (5) ด้วย ทั้งการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเช่นนี้ไม่จำต้องระบุบุคคลที่จะต้องถูกฟ้องไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าเป็นผู้ใด ถ. และหรือ ส. จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามแทนโจทก์
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดฐานะที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 โดยไม่ได้อ้างว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 หรือจำเลยที่ 2 เชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทน คดีไม่มีประเด็นเรื่องตัวการตัวแทน การที่โจทก์อุทธรณ์ในเรื่องดังกล่าวเป็นอุทธรณ์นอกเหนือประเด็นข้อพิพาท ถือเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ผู้ขนส่งต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันเป็นผลจากการที่ของซึ่งได้รับมอบจากผู้ส่งของเสียหาย ถ้าเหตุแห่งการเสียหายนั้นเกิดขึ้นระหว่างที่ของดังกล่าวอยู่ในความดูแลของตน และวรรคสองบัญญัติให้ถือว่าของอยู่ในความดูแลของผู้ขนส่งนับตั้งแต่เวลาที่ผู้ขนส่งได้รับของนั้นไว้จากผู้ส่งของจนถึงเวลาที่ผู้ขนส่งส่งมอบของนั้น ณ ท่าปลายทางหรือที่หมายปลายทางตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 40 ดังนั้น ตราบใดที่สินค้าพิพาทยังมิได้ส่งมอบแก่บุคคลตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งหรือส่งมอบให้แก่เจ้าหน้าที่หรือบุคคลใด ๆ ตามกฎหมายหรือกฏข้อบังคับที่ใช้ ณ ท่าเรือกรุงเทพอันเป็นท่าปลายทาง ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งจึงยังไม่สิ้นสุดลง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดฐานะที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 โดยไม่ได้อ้างว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 หรือจำเลยที่ 2 เชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทน คดีไม่มีประเด็นเรื่องตัวการตัวแทน การที่โจทก์อุทธรณ์ในเรื่องดังกล่าวเป็นอุทธรณ์นอกเหนือประเด็นข้อพิพาท ถือเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ผู้ขนส่งต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันเป็นผลจากการที่ของซึ่งได้รับมอบจากผู้ส่งของเสียหาย ถ้าเหตุแห่งการเสียหายนั้นเกิดขึ้นระหว่างที่ของดังกล่าวอยู่ในความดูแลของตน และวรรคสองบัญญัติให้ถือว่าของอยู่ในความดูแลของผู้ขนส่งนับตั้งแต่เวลาที่ผู้ขนส่งได้รับของนั้นไว้จากผู้ส่งของจนถึงเวลาที่ผู้ขนส่งส่งมอบของนั้น ณ ท่าปลายทางหรือที่หมายปลายทางตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 40 ดังนั้น ตราบใดที่สินค้าพิพาทยังมิได้ส่งมอบแก่บุคคลตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งหรือส่งมอบให้แก่เจ้าหน้าที่หรือบุคคลใด ๆ ตามกฎหมายหรือกฏข้อบังคับที่ใช้ ณ ท่าเรือกรุงเทพอันเป็นท่าปลายทาง ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งจึงยังไม่สิ้นสุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์นอกกรอบคำฟ้อง และการแก้ไขคำพิพากษาด้านดอกเบี้ย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์โดยกำหนด ให้โจทก์ส่งสินค้าไปยังห้างหุ้นส่วนจำกัดเชียงใหม่ปากบาราซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ดังนั้น ปัญหาที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การกระทำของจำเลยที่ 2 เข้าลักษณะเป็นการแสดงตนเป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ จึงเป็นอุทธรณ์เกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่โจทก์ได้บรรยายในฟ้องและเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
โจทก์อุทธรณ์เพียงแต่ยกเอาบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงและคำเบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านของจำเลยที่ 2 บางตอนเฉพาะที่เป็นคุณแก่โจทก์มากล่าวไว้ในอุทธรณ์แล้วสรุปเอาเองว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
โจทก์มีคำขอให้จำเลยทั้งสองชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 25 ธันวาคม 2549 แล้วศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยนับถัดจากวันที่ 26 กันยายน 2549 ซึ่งเป็นวันผิดนัด เป็นการเกินคำขอ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
โจทก์อุทธรณ์เพียงแต่ยกเอาบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงและคำเบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านของจำเลยที่ 2 บางตอนเฉพาะที่เป็นคุณแก่โจทก์มากล่าวไว้ในอุทธรณ์แล้วสรุปเอาเองว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
โจทก์มีคำขอให้จำเลยทั้งสองชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 25 ธันวาคม 2549 แล้วศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยนับถัดจากวันที่ 26 กันยายน 2549 ซึ่งเป็นวันผิดนัด เป็นการเกินคำขอ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลกรณีสินค้าเสียหายจากตู้สินค้าชำรุด ผู้ขนส่งไม่อาจอ้างข้อจำกัดความรับผิดได้
การขนส่งสินค้าแบบ ซีเอฟเอส/ซีเอฟเอส ซึ่งผู้ขนส่งเป็นผู้รับสินค้าจากผู้ส่งทำการตรวจนับและบรรจุสินค้าเข้าตู้ที่ท่าเรือต้นทาง ผู้ขนส่งต้องตรวจสอบตู้สินค้าว่าอยู่ในสภาพเรียบร้อยเหมาะสมกับสินค้าที่ใช้บรรจุแล้ว และเมื่อขนส่งสินค้าไปถึงท่าเรือปลายทางผู้ขนส่งจะเป็นผู้เปิดตู้เพื่อขนถ่ายสินค้าออกจากตู้เพื่อเตรียมส่งมอบแก่ผู้รับตราส่ง เมื่อความเสียหายของสินค้าเกิดขึ้นจากการที่หลังคาตู้ที่ใช้บรรจุสินค้าพิพาทมีรูรั่ว ซึ่งเป็นความบกพร่องของผู้ขนส่งที่ละเลยไม่จัดเตรียมตู้สินค้าให้ดีเหมาะสมกับสภาพสินค้าที่ตนรับขน แต่กลับนำตู้สินค้าที่ชำรุดมีรูรั่วมาใช้บรรจุสินค้าพิพาท ทั้งที่รู้ว่าอาจเกิดความเสียหายกับสินค้าที่บรรจุภายในตู้นั้นได้ จำเลยทั้งสองในฐานะผู้ขนส่งจึงไม่อาจอ้างข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 60 (1) ประกอบ มาตรา 58 มาเป็นประโยชน์แก่ตนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 720/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงสินค้าจากการขนส่งทางทะเลเมื่อลูกหนี้มีสถานะเป็นคนสินล้นพ้นตัว
โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการขนส่งมีหน้าที่ตามสัญญารับขนของทางทะเลที่จะต้องดำเนินการให้มีการส่งมอบสินค้าที่ท่าปลายทางแก่ผู้รับตราส่ง การที่โจทก์มีคำสั่งให้ระงับการส่งมอบใบตราส่งแก่ผู้รับตราส่งมีผลให้สินค้ายังคงอยู่ในความครอบครอบของโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 15 ที่จะยึดหน่วงสินค้าไว้จนกว่าจะได้รับชำระค่าระวางและอุปกรณ์แห่งค่าระวางหรือจนกว่าผู้รับตราส่งจะได้จัดให้มีประกันตามสมควร โดยการใช้สิทธิยึดหน่วงนี้จะกระทำได้สำหรับหนี้ที่เป็นคุณประโยชน์แก่โจทก์เกี่ยวด้วยสินค้าที่โจทก์ครอบครองอยู่ อันได้แก่หนี้ค่าระวางและค่าบริการการขนส่งสินค้าครั้งที่ 19 เท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 241 วรรคหนึ่ง และแม้โจทก์จะไม่มีสิทธิยึดหน่วงสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าระวางและค่าบริการการขนส่งครั้งก่อน ๆ แต่พฤติการณ์ที่จำเลยค้างชำระค่าระวาง ค่าขนส่ง ค่าบริการ และค่าดำเนินการการขนส่งสินค้าก่อนหน้านั้นอีก 18 ครั้ง เพราะจำเลยประสบปัญหาทางธุรกิจนั้น นับได้ว่าจำเลยเป็นคนสินล้นพ้นตัวไม่สามารถใช้หนี้แก่โจทก์ได้ตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 243 แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าวที่จะยึดหน่วงสินค้าที่ขนส่งไว้ได้ แม้ในขณะนั้นหนี้ค่าระวางและค่าบริการการขนส่งครั้งที่ 19 จะยังไม่ถึงกำหนดชำระก็ตาม การที่โจทก์ใช้สิทธิยึดหน่วงสินค้าด้วยการไม่ส่งมอบใบตราส่งให้แก่ลูกค้าของจำเลยที่ท่าปลายทาง จึงเป็นการใช้สิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าโจทก์ผิดสัญญารับขนของทางทะเล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15235/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าที่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ข้อจำกัดความรับผิดใช้ไม่ได้
แม้การขนส่งสินค้าตามฟ้องผู้ขายหรือผู้เอาประกันภัยตกลงว่าจ้างจำเลยให้ทำการขนส่งแบบสินค้าทั่วไป โดยมีเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งในความเสียหายหรือสูญหายของสินค้าที่ขนส่งก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยปล่อยปละละเลยไม่ดูแลรักษาสินค้าตามฟ้องอันเป็นการผิดวิสัยผู้ประกอบวิชาชีพขนส่งทำให้สินค้าตามฟ้องสูญหาย ถือเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง สัญญาขนส่งทางอากาศตามฟ้องมีข้อตกลงจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งไม่เกิน 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อการขนส่งสินค้าครั้งนี้ แต่สัญญาขนส่งทางอากาศเป็นลักษณะของสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง ย่อมตกอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 373 ดังนั้น ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามสัญญาขนส่งทางอากาศตามฟ้อง ย่อมไม่อาจใช้บังคับได้ในกรณีที่ผู้ขนส่งกระทำการโดยฉ้อฉลหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ข้อจำกัดดังกล่าวจึงไม่อาจใช้บังคับแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15233/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ทรัพย์สินในสถานีบริการน้ำมัน: ส่วนควบ vs. ทรัพย์ที่เคลื่อนย้ายได้ และการบังคับคดี
ข้อสัญญาที่โจทก์ตกลงให้สิทธิจำเลยที่ 1 ดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันของโจทก์ภายใต้ชื่อทางการค้าว่า "เอสโซ่" นั้น ผลิตภัณฑ์น้ำมันที่จำเลยที่ 1 จำหน่ายในสถานีบริการน้ำมันเป็นสินค้าของโจทก์ แม้จะมีการใช้เครื่องหมายการค้า "เอสโซ่" ก็เป็นการใช้เครื่องหมายการค้าโดยโจทก์เอง มิใช่กรณีที่จำเลยที่ 1 จัดหาสินค้าเองแล้วนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้กับสินค้าของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด สัญญาให้ใช้สิทธิดำเนินการสถานีบริการน้ำมันดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า แม้จะไม่จดทะเบียนต่อนายทะเบียนก็หาตกเป็นโมฆะไม่
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินเพื่อปลูกสร้างสถานีบริการน้ำมัน โดยมีข้อตกลงว่า เมื่อครบอายุสัญญาเช่าที่ดินแล้ว ยอมให้สิ่งปลูกสร้างบนที่ดินตกเป็นเจ้าของที่ดิน ดังนั้นเมื่อครบอายุสัญญาเช่าที่ดิน สถานีบริการน้ำมันรวมทั้งส่วนควบ ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่เจ้าของที่ดิน เมื่อถังน้ำมัน 9 ถัง ฝังอยู่ใต้พื้นดินและป้ายโฆษณาใหญ่ที่ปักยึดติดลงไปในดินอย่างมั่นคง ซึ่งตามสภาพจึงเป็นสาระสำคัญของการประกอบกิจการจำหน่ายน้ำมันไม่อาจแยกออกจากสถานีบริการน้ำมันได้ นอกจากการขุดทำลายพื้นผิวของสถานีบริการน้ำมัน จึงถือว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นส่วนควบของสถานีบริการน้ำมันย่อมตกเป็นของเจ้าของสถานีบริการน้ำมัน โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสองส่งคืนได้ ส่วนถังน้ำมันสำหรับใส่น้ำมันเสีย ฮ้อยท์ยกเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ปั๊มลม ถือไม่ได้ว่าเป็นสาระสำคัญของสถานีบริการน้ำมันและตู้จ่ายน้ำมัน แม้จะเป็นส่วนสาระสำคัญในการให้บริการจำหน่ายน้ำมัน แต่มีลักษณะที่มิได้ยึดติดแน่นกับที่ดินหรือสถานีบริการน้ำมันเป็นการถาวร สามารถยกเคลื่อนย้ายโดยไม่ต้องทุบทำลาย จึงไม่ถือเป็นส่วนควบของสถานีบริการน้ำมัน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสองส่งคืนแก่โจทก์ได้
ส่วนที่ศาลล่างพิพากษาว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา ให้โจทก์เข้าไปรื้อถอนขนย้ายเครื่องบริภัณฑ์ซึ่งติดตั้งอยู่ที่สถานีบริการน้ำมันนั้น เห็นว่า ไม่มีกฎหมายให้อำนาจโจทก์เข้าไปดำเนินการบังคับคดีเองได้ คำพิพากษาส่วนนี้จึงไม่ชอบ
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินเพื่อปลูกสร้างสถานีบริการน้ำมัน โดยมีข้อตกลงว่า เมื่อครบอายุสัญญาเช่าที่ดินแล้ว ยอมให้สิ่งปลูกสร้างบนที่ดินตกเป็นเจ้าของที่ดิน ดังนั้นเมื่อครบอายุสัญญาเช่าที่ดิน สถานีบริการน้ำมันรวมทั้งส่วนควบ ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่เจ้าของที่ดิน เมื่อถังน้ำมัน 9 ถัง ฝังอยู่ใต้พื้นดินและป้ายโฆษณาใหญ่ที่ปักยึดติดลงไปในดินอย่างมั่นคง ซึ่งตามสภาพจึงเป็นสาระสำคัญของการประกอบกิจการจำหน่ายน้ำมันไม่อาจแยกออกจากสถานีบริการน้ำมันได้ นอกจากการขุดทำลายพื้นผิวของสถานีบริการน้ำมัน จึงถือว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นส่วนควบของสถานีบริการน้ำมันย่อมตกเป็นของเจ้าของสถานีบริการน้ำมัน โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสองส่งคืนได้ ส่วนถังน้ำมันสำหรับใส่น้ำมันเสีย ฮ้อยท์ยกเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ปั๊มลม ถือไม่ได้ว่าเป็นสาระสำคัญของสถานีบริการน้ำมันและตู้จ่ายน้ำมัน แม้จะเป็นส่วนสาระสำคัญในการให้บริการจำหน่ายน้ำมัน แต่มีลักษณะที่มิได้ยึดติดแน่นกับที่ดินหรือสถานีบริการน้ำมันเป็นการถาวร สามารถยกเคลื่อนย้ายโดยไม่ต้องทุบทำลาย จึงไม่ถือเป็นส่วนควบของสถานีบริการน้ำมัน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสองส่งคืนแก่โจทก์ได้
ส่วนที่ศาลล่างพิพากษาว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา ให้โจทก์เข้าไปรื้อถอนขนย้ายเครื่องบริภัณฑ์ซึ่งติดตั้งอยู่ที่สถานีบริการน้ำมันนั้น เห็นว่า ไม่มีกฎหมายให้อำนาจโจทก์เข้าไปดำเนินการบังคับคดีเองได้ คำพิพากษาส่วนนี้จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13225/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดขัดเจตนารมณ์ พ.ร.บ.อาคารชุด: เจ้าของโครงการต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลาง
การที่ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 18 (เดิม) บัญญัติให้เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกค่าใช้จ่ายที่เกิดจากบริการส่วนรวม และที่เกิดจากเครื่องมือ เครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุด กับต้องร่วมกันออกค่าภาษีอากรและค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดูแลรักษา และการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 14 นั้น ก็เพื่อจะได้นำเงินดังกล่าวไปเป็นค่าใช้จ่ายในกิจกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางซึ่งเป็นทรัพย์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของร่วม ซึ่งเจ้าของร่วมผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการบำรุงรักษาทรัพย์ส่วนกลางย่อมรวมถึงบริษัท ว. ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการอาคารชุดและเจ้าของห้องชุดพิพาทในขณะจดทะเบียนอาคารชุดและยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่บุคคลอื่นด้วย การที่จำเลยออกข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดยกเว้นให้เจ้าของโครงการอาคารชุดซึ่งมีห้องชุดไว้เพื่อขาย ไม่ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายตามข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุด จึงเป็นการออกข้อบังคับที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 ข้อบังคับในส่วนดังกล่าวใช้บังคับไม่ได้ บริษัท ว. ต้องรับผิดชอบชำระค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11572/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการขนส่งสินค้าชำรุด และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทเรื่องค่าเสียหายโดยศาล
ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง บัญญัติว่า ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น การที่จำเลยให้การในตอนต้นว่า จำเลยไม่เคยรับขนส่งสินค้าที่พิพาท และชื่อผู้ขนส่งตามที่ระบุไว้ในใบรับขนของทางอากาศก็ไม่ใช่ชื่อของจำเลย ส่วนตอนท้ายจำเลยให้การว่า หากศาลฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าแล้ว จำเลยสามารถจำกัดความรับผิดได้ไม่เกิน 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อน้ำหนักสินค้า 1 กิโลกรัม คำให้การดังกล่าวเมื่ออ่านโดยรวมแล้วสามารถเข้าใจได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องของโจทก์ และยังให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่จำต้องรับผิดตามจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมา คำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงหลายทางไม่ชัดแจ้งว่าข้อเท็จจริงที่ให้การนั้นเป็นไปในทางหนึ่งทางใด อันจะถือเป็นคำให้การที่ขัดกันดังที่โจทก์อุทธรณ์ คำให้การของจำเลยชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสองแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11317/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การและการฟ้องแย้งในคดีทรัพย์สินทางปัญญา: การยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การและการรับฟ้องแย้ง
การขอแก้ไขคำให้การต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนวันนัดชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 180 เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางนัดชี้สองสถานหรือนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 8 มีนาคม 2553 แต่เมื่อถึงวันนัด ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งงดชี้สองสถานและให้เลื่อนคดีไปนัดสืบพยานโจทก์ในวันอื่น วันที่ 8 มีนาคม 2553 ย่อมมิใช่วันชี้สองสถานหรือวันสืบพยาน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 จำเลยจึงยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในวันดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยและห้ามจำเลยใช้ ยื่นคำขอจดทะเบียน หรือเกี่ยวข้องในทางใดๆ กับเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ การที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยโดยอ้างว่า โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตทำให้จำเลยสูญเสียรายได้ เนื่องจากต้องเก็บสินค้าที่วางจำหน่ายในท้องตลาดระหว่างรอฟังผลของคดี เป็นฟ้องแย้งโดยอาศัยเหตุที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เป็นข้ออ้าง ฟ้องแย้งจึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรท้าย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยและห้ามจำเลยใช้ ยื่นคำขอจดทะเบียน หรือเกี่ยวข้องในทางใดๆ กับเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ การที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยโดยอ้างว่า โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตทำให้จำเลยสูญเสียรายได้ เนื่องจากต้องเก็บสินค้าที่วางจำหน่ายในท้องตลาดระหว่างรอฟังผลของคดี เป็นฟ้องแย้งโดยอาศัยเหตุที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เป็นข้ออ้าง ฟ้องแย้งจึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรท้าย