คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ เนตรมัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 841 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2067/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับตราส่งในการชำระค่าหน่วงเหนี่ยวตู้สินค้าเมื่อไม่รับมอบและส่งคืนตู้
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 26 บัญญัติให้สิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ขนส่งกับผู้รับตราส่งในเรื่องทั้งหลายเกี่ยวกับการขนส่งของที่ระบุไว้ในใบตราส่งนั้น ให้เป็นไปตามข้อกำหนดในใบตราส่ง จำเลยยอมรับเอาหน้าที่ที่จะต้องรับมอบตู้สินค้าจากโจทก์ตามข้อกำหนดในใบตราส่ง โดยเงื่อนไขการขนส่งของซีวาย ตัวหลัง และโจทก์ได้ขนส่งตู้สินค้าพิพาทถึงท่าปลายทางทั้งได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้ดำเนินการใดๆ ปล่อยให้สินค้าตกค้างอยู่ในตู้จนกระทั่งตู้สินค้าถูกอายัดไว้ดำเนินคดีเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากตู้สินค้าได้ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ชำระค่าหน่วงเหนี่ยวตู้สินค้าจนกว่าจะส่งมอบตู้สินค้าดังกล่าวคืนโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2067/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ผู้รับตราส่งรับมอบสินค้าและชำระค่าหน่วงเหนี่ยวตู้สินค้าตามใบตราส่งและเงื่อนไขการขนส่ง
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 26 บัญญัติให้สิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ขนส่งกับผู้รับตราส่งในเรื่องทั้งหลายเกี่ยวกับการขนส่งของที่ระบุไว้ในใบตราส่งนั้นให้เป็นไปตามข้อกำหนดในใบตราส่ง ซึ่งแม้ใบตราส่งไม่ปราฏข้อกำหนดหน้าที่ให้จำเลยต้องดำเนินพิธีการศุลกากร ขนถ่ายสินค้าออกจากตู้และส่งมอบตู้สินค้าคืนแก่โจทก์ภายใน 7 วัน แต่ใบตราส่งระบุว่าจำเลยเป็นผู้รับตราส่งและเป็นผู้ที่ต้องได้รับแจ้งการมาถึงของสินค้า และการขนส่งรายนี้มีเงื่อนไขการขนส่งแบบ เอฟ.ซี.แอล ซีวาย/ซีวาย ข้อความดังกล่าวเป็นการกำหนดหน้าที่ให้โจทก์ต้องแจ้งการมาถึงของสินค้าให้จำเลยทราบและส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลย และเมื่อตู้สินค้าถูกขนส่งถึงท่าปลายทาง โจทก์ในฐานะผู้ขนส่งต้องส่งมอบตู้สินค้าทั้งตู้แก่จำเลยในฐานะผู้รับตราส่งเพื่อนำไปเปิดที่โกดังของตนเอง เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบว่าสินค้ามาถึงแล้ว ทั้งการที่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ขอเปลี่ยนสถานที่ส่งมอบโดยตกลงที่จะชำระค่าบริการที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นประกันในการดำเนินการ และตกลงจะรับผิดในความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับโจทก์ พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยยอมรับเอาหน้าที่จะต้องรับมอบตู้สินค้าจากโจทก์ตามข้อกำหนดของใบตราส่ง โดยเงื่อนไขการขนส่งของ ซีวาย ตัวหลังแล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้ดำเนินการเพื่อรับมอบสินค้าในเวลาอันสมควร และโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวและทวงถาม จำเลยได้ชำระค่าหน่วงเหนี่ยวตู้บางส่วนถึง 2 ครั้ง แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะปฏิบัติตามข้อกำหนดในใบตราส่งเพื่อที่จะเข้าครอบครองถือประโยชน์ในสินค้า โดยตกลงที่จะรับผิดชอบในความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ขนส่งตู้สินค้าพิพาทถึงท่าปลายทาง และพร้อมที่จะส่งมอบทั้งได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้ดำเนินการใดๆ ปล่อยให้สินค้าตกค้างจนกระทั่งตู้สินค้าถูกอายัดไว้ดำเนินคดี เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ตู้สินค้าได้ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ชำระค่าหน่วงเหนี่ยวตู้สินค้าจนกว่าจะส่งมอบตู้สินค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 863/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดความรับผิดในการขนส่งทางอากาศ: เจตนาผู้ส่งสินค้าสำคัญกว่าค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
ด้านหลังของใบตราส่งทางอากาศมีข้อจำกัดความรับผิดไว้ไม่เกิน 100 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อการขนส่ง 1 เที่ยว หรือ 20 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อสินค้าน้ำหนัก 1 กิโลกรัมแล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า การที่ผู้เอาประกันภัยจงใจกรอกข้อความด้านหน้าใบตราส่งทางอากาศระหว่างประเทศ ข้อ 3 ว่าขอแจ้งมูลค่าสินค้าเป็นเงิน 5,430 ดอลลาร์สหรัฐไว้เฉพาะในช่อง "Value for Customs" หรือมูลค่าเพื่อการศุลกากร ส่วนในช่อง "Total Declared Value for Carriage" หรือมูลค่าที่แจ้งทั้งหมดเพื่อการขนส่งไม่ขอแจ้งโดยขีดฆ่าออก เพราะทราบดีกว่า "Value for Customs" มีความหมายแตกต่างกับ "Total Declared Value for Carriage" แต่ผู้เอาประกันภัยก็ยังคงเลือกแสดงเจตนาที่จะไม่ระบุแจ้งมูลค่าเพื่อการขนส่งเพื่อที่จะได้เสียค่าระวางต่ำโดยยอมตกลงให้ผู้ขนส่งจำกัดความรับผิดตามเนื้อความด้านหลังใบตราส่งทางอากาศระหว่างประเทศได้ ประกอบกับในขณะเดียวกันผู้เอาประกันภัยก็ได้ทำสัญญาประกันภัยกับโจทก์ก่อนส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ขนส่งในวงเงินประกันที่คุ้มมูลค่าของสินค้าไว้ก่อนจึงไม่มีความจำเป็นต้องเสียค่าระวางเพิ่มเพื่อให้ผู้ขนส่งต้องรับผิดเพิ่มขึ้นอีกอันเป็นการลดต้นทุนของผู้เอาประกันภัย จึงเชื่อได้ว่าผู้เอาประกันภัยในฐานะผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น อันเป็นเหตุให้ข้อตกลงจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งด้านหลังใบตราส่งทางอากาศระหว่างประเทศมีผลใช้บังคับได้ เมื่อสินค้าพิพาทมีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ขนส่งจึงรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยที่เป็นผู้ส่ง 100 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงกว่าการคำนวณน้ำหนักของสินค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9860/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องในคดีอาญา: การเปลี่ยนแปลงวันเวลาที่กระทำผิดโดยไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องจากข้อความว่า "เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2546 เวลากลางวัน" เป็น "เมื่อระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2546 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 16 เมษายน 2546 เวลากลางวันต่อเนื่องกันวันเวลาใดไม่ปรากฏชัด" เป็นการแก้ฟ้องเฉพาะวันและเวลาที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิด อันเป็นรายละเอียดซึ่งต้องแถลงในฟ้อง โดยวันและเวลาที่ขอแก้ใหม่ยังครอบคลุมถึงวันและเวลาตามฟ้องเดิมด้วย ทั้งโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องเมื่อสืบพยานโจทก์และโจทก์ร่วมไปเพียง 2 ปาก ย่อมไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดีหรือหลงต่อสู้ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 163 และ 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7002/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นอุทธรณ์ภายในเวลา แม้จะใกล้หมดเวลาทำการ ศาลรับคำฟ้องตามเวลาที่เจ้าหน้าที่รับไว้
ทนายจำเลยยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ในวันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยาย เมื่อเวลา 16.46 นาฬิกา ซึ่งเจ้าหน้าที่งานรับฟ้องอุทธรณ์-ฎีกาของศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยไว้โดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องต่อทนายจำเลยว่าพ้นเวลาราชการแล้ว แต่ได้ทำบันทึกเสนอศาลถึงเวลาที่ทนายจำเลยยื่นอุทธรณ์ ในวันรุ่งขึ้นศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับเป็นอุทธรณ์ของจำเลยโดยมิได้มีข้อขัดแย้งแต่ประการใด แสดงว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาบันทึกของเจ้าหน้าที่ศาลแล้วว่า ขณะที่ทนายจำเลยนำคำฟ้องอุทธรณ์ยื่นนั้นศาลชั้นต้นยังไม่ปิดทำการ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว จึงถือว่าจำเลยยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5738/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยในการขนส่งสินค้า: การโจรกรรมบนทางหลวงเป็นเหตุที่ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 2 รับมอบสินค้าพิพาทซึ่งบรรจุอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์เมื่อเวลา 23 นาฬิกา การที่จำเลยที่ 2 ให้รถยนต์บรรทุกสินค้าพิพาทออกเดินทางในเวลากลางคืนต่อเนื่องจากเวลาที่รับมอบสินค้าพิพาท โดยพนักงานขับรถของจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์บรรทุกสินค้าพิพาทไปตามทางหลวงซึ่งจัดไว้เป็นทางสัญจรสาธารณะ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ประกอบการขนส่งด้วยความระมัดระวังตามสมควรแล้ว การที่สินค้าพิพาทสูญหายเพราะถูกโจรกรรมในระหว่างสัญจรบนทางหลวงจึงเป็นเหตุสุดวิสัยที่จำเลยที่ 2 จะป้องกันขัดขวางได้ และกรณีเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4686/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากเป็นหลักฐานการกู้ยืม ศาลบังคับตามจำนวนเงินกู้จริง
เมื่อสัญญาขายฝากที่ดินเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลย สัญญาขายฝากที่ดินจึงเป็นนิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง จำเลยจะขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองชำระเงินตามราคาขายฝากที่ดินเป็นต้นเงินกู้ไม่ได้ ต้องบังคับตามที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยมีเจตนาจะผูกพันในนิติกรรมการกู้ยืมเงินที่ถูกอำพรางไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง โดยถือเพียงว่าสัญญาขายฝากที่ดินเป็นหลักฐานว่าโจทก์ทั้งสองได้กู้ยืมเงินจากจำเลยและโจทก์ทั้งสองได้มอบโฉนดที่ดินของตนให้จำเลยยึดถือไว้เป็นหลักประกันเงินกู้เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4686/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน สัญญาขายฝากเป็นหลักฐาน แต่บังคับตามจำนวนเงินกู้จริง
เมื่อสัญญาขายฝากที่ดินเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมการกู้ยืมเงินจึงเป็นนิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง จำเลยจะขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองชำระเงินตามราคาขายฝากที่ดินเป็นต้น เงินกู้ไม่ได้ แต่ต้องบังคับตามนิติกรรมการกู้ยืมเงินที่ถูกอำพรางไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง โดยถือเพียงว่าสัญญาขายฝากที่ดินเป็นหลักฐานว่าโจทก์ทั้งสองได้กู้ยืมเงินจากจำเลย และโจทก์ทั้งสองได้มอบโฉนดที่ดินของตนให้จำเลยยึดถือไว้เป็นหลักประกันเงินกู้เท่านั้น สำหรับการขายฝากที่ดินระหว่างโจทก์ทั้งสองและจำเลยเมื่อตกเป็นโมฆะดังวินิจฉัยแล้ว ศาลชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนเสียได้โดยจำเลยยังคงยึดถือโฉนดที่ดินของโจทก์ทั้งสองไว้ได้จนกว่าโจทก์ทั้งสองจะชำระเงินกู้และดอกเบี้ยแก่จำเลยครบถ้วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4595/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น และผลของการมิได้แจ้งการมอบอำนาจในคำร้องคัดค้าน
ตามคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาด ผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องเป็นผู้เข้าประมูลซื้อทรัพย์จึงเป็นผู้มีสิทธิตามระเบียบการประมูลซื้อทรัพย์ โดยไม่ได้กล่าวอ้างเรื่องที่ผู้ร้องมอบอำนาจให้ ท. เข้าเป็นผู้ประมูลซื้อทรัพย์แทนผู้ร้องไว้ในคำร้องแต่อย่างใด ผู้ร้องเพิ่งยกเรื่องการมอบอำนาจดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ กรณีจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4586/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมขนส่งสินค้าและการรับฟังพยานหลักฐานจากสำเนาเอกสารที่ไม่มีการโต้แย้ง
ในขณะที่โจทก์นำสืบอ้างสำเนากรมธรรม์ประกันภัยและสำเนาหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงของบริษัท พ. เป็นพยาน จำเลยที่ 1 มิได้ดำเนินการโต้แย้งหรือคัดค้านการนำสืบสำเนาเอกสารว่าไม่มีต้นฉบับ หรือต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือแต่บางส่วนหรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องตรงกับต้นฉบับ ศาลไม่ควรรับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 125 จำเลยที่ 1 เพียงแต่ถามค้าน ป. พยานโจทก์เกี่ยวกับสำเนากรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวว่า ข้อความเกี่ยวกับรถยนต์คันดังกล่าวปรากฏตามเอกสารดังกล่าว ซึ่งเป็นเพียงสำเนาไม่ใช่ต้นฉบับเท่านั้น ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าสำเนาเอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าวนั้น ถูกต้องตรงกับต้นฉบับแล้ว ศาลจึงรับฟังเอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าวเป็นพยานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (1)
of 85