คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ เนตรมัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 841 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8501/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ด้อยคุณภาพให้ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ทำให้ผู้ฟ้องเดิมขาดอำนาจฟ้อง
หนี้คดีนี้เป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่โจทก์ได้โอนให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ผู้เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ และต่อมาก่อนที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะมีคำพิพากษา บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ได้โอนสินทรัพย์รายนี้ให้แก่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยไปแล้ว สิทธิเรียกร้องที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ในฐานะผู้เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์มีต่อจำเลยทั้งสี่จึงโอนไปเป็นของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2540 มาตรา 30 บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ผู้เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์จึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีนี้อีกต่อไป
ตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง และวรรคหกนั้น เมื่อได้มีการโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพรายนี้ให้แก่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยไปแล้วก่อนที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะได้มีคำพิพากษา และบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยมิได้ยื่นคำร้องขอเป็นอย่างอื่น ชอบที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะต้องสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวเพิ่งปรากฏในชั้นพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ว่าบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยมิได้ร้องขอเป็นอย่างอื่น แม้ข้อเท็จจริงดังกล่าวคู่ความจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน และพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้จำเลยทั้งสี่ยกปัญหาขึ้นกล่าวในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้ จำเลยทั้งสี่จึงมีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นนี้ได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6789/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย และการแบ่งบรรจุยาเสพติดไม่ถึงขั้นผลิต
การมีไว้ในครอบครองซึ่งเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษ คำว่า มีไว้ในครอบครองนั้น พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มิได้บัญญัติให้มีความหมายพิเศษจึงต้องถือว่ามีความหมายทั่วไปว่า คือการมีเมทแอมเฟตามีนอยู่ในความยึดถือหรือปกครองดูแล โดยรู้ว่าเป็นยาเสพติดให้โทษเท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนของกลาง แม้เมทแอมเฟตามีนของกลางจะไม่ใช่ของจำเลยที่ 1 ก็ถือได้แล้วว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีเมทแอมเฟตามีนของกลางมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 2.25 กรัม ไว้ในครอบครองจึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคสาม (2) ให้ถือว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 4 บัญญัติว่า "ผลิต" หมายความว่า เพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ และให้หมายความรวมตลอดถึงการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุด้วย แต่เมื่อกฎหมายกำหนดโทษในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตามความร้ายแรงของอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่สังคมอันเนื่องมาจากการกระทำความผิด โดยการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไม่ว่าด้วยการเพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป หรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการกระทำที่จะเกิดอันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงเพราะเป็นการเพิ่มความรุนแรงของยาเสพติดให้โทษหรือเป็นการทำให้ยาเสพติดให้โทษนั้นแพร่ระบาดได้ง่ายขึ้น กฎหมายจึงต้องกำหนดโทษสูง เมื่อความมุ่งหมายของกฎหมายเป็นเช่นนี้ คำว่า การแบ่งบรรจุหรือการรวมบรรจุในมาตรา 4 ดังกล่าวจึงต้องหมายถึงการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุที่เป็นอันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงทำนองเดียวกับการเพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป หรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์แต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฏว่าเป็นการบรรจุเมทแอมเฟตามีนใส่หลอดพลาสติกซึ่งเป็นเพียงวัตถุห่อหุ้มโดยไม่ได้มีการกระทำใดแก่สภาพของเมทแอมเฟตามีนนั้นจึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทำความผิดฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนตามบทกฎหมายดังกล่าว เหตุดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5792/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผ่านที่ดินของผู้อื่นเมื่อที่ดินถูกล้อมรอบ: ทางสาธารณะรวมถึงทางน้ำ แม้จะไม่สะดวก
ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้" ทางสาธารณะมิได้จำกัดเฉพาะทางบกเท่านั้นทางน้ำเช่นแม่น้ำนครชัยศรี ซึ่งเป็นที่ดินของรัฐก็เป็นทางสาธารณะ แม้การสัญจรทางแม่น้ำนครชัยศรีจะไม่สะดวกไม่สอดคล้องกับความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองเท่าการสัญจรทางบกดังที่โจทก์ทั้งสองอ้าง ก็หาทำให้แม่น้ำนครชัยศรีสิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะไปไม่ ทั้งที่ดินของโจทก์ทั้งสองตลอดแนวด้านทิศตะวันออกติดแม่น้ำนครชัยศรี โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการเข้าออกจากที่ดินของโจทก์ทั้งสองสู่แม่น้ำนครชัยศรี ต้องข้ามสระ บึง หรือมีที่ชันอันมีระดับที่ดินกับแม่น้ำนครชัยศรีซึ่งเป็นทางสาธารณะสูงกว่ากันมาก อันจะถือเป็นเหตุอนุโลมเสมือนว่าที่ดินของโจทก์ทั้งสองไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3924/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาการจัดการและข้อกำหนดการขยายสัญญา รวมถึงข้อผูกพันตามข้อบังคับบริษัทและสัญญาผู้ถือหุ้น
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างถึงสิทธิของตนตามสัญญาและได้แนบสัญญาการจัดการฉบับภาษาอังกฤษพร้อมคำแปลมาท้ายฟ้อง ทั้งตามบัญชีระบุพยานของโจทก์ก็อ้างเอกสารดังกล่าวทั้ง 2 ฉบับไว้ และเมื่อโจทก์นำสืบก็อ้างเอกสารดังกล่าวทั้ง 2 ฉบับ ซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้หมายเอกสารไว้แล้วในส่วนของคำแปลโจทก์จัดให้มีการรับรองว่าแปลถูกต้องตรงกับสัญญา ดังนั้นสัญญาการจัดการฉบับภาษาอังกฤษและคำแปลจึงเป็นพยานหลักฐานที่เข้าสู่สำนวนความโดยชอบ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารดังกล่าวฉบับใดฉบับหนึ่งหรือทั้งสองฉบับได้ บทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 46 หรือข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ ข้อ 23 ไม่ได้มีความหมายว่า หากในคดีนั้นคู่ความอ้างเอกสารภาษาต่างประเทศมาพร้อมกับคำแปลแล้ว ศาลต้องรับฟังแต่คำแปลเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3924/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างบริหารจัดการ: การขยายสัญญาต้องมีเจตนาตรงกันของทั้งสองฝ่าย มิใช่สิทธิโดยอัตโนมัติ
จำเลยทำสัญญาการจัดการว่าจ้างโจทก์ให้เป็นผู้จัดการและบริหารกิจการโรงแรมของจำเลย สัญญาการจัดการดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลานับแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2538 ครบกำหนดวันที่ 31 ธันวาคม 2548 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2548 โจทก์มีหนังสือแจ้งความประสงค์ที่จะขยายระยะเวลาการบริหารโรงแรมไปอีก 10 ปี จำเลยปฏิเสธการขยายระยะเวลาโดยอ้างว่าผู้ถือหุ้นของจำเลยไม่ได้ตกลงไว้ ข้อสัญญาดังกล่าวทั้งหมดหาได้มีความหมายว่าจำเลยจะต้องยินยอมให้โจทก์ต่ออายุสัญญาการจัดการทันทีไม่ เพราะไม่มีข้อความใดที่ชัดเจนพอที่จะแสดงได้ว่าการขยายอายุสัญญาหรือไม่ขึ้นอยู่กับการแสดงเจตนาหรือความประสงค์ของโจทก์แต่เพียงฝ่ายเดียว ทั้งๆ ที่ไม่เป็นการยากที่คู่สัญญาจะเขียนสัญญาให้ชัดเจนเช่นนั้น หรืออาจจะเขียนไปในสัญญาเสียเลยก็ได้ว่าให้สัญญานี้มีอายุ 20 ปี แต่ให้สิทธิโจทก์บอกกล่าวให้สัญญาสิ้นสุดลงได้เมื่อสัญญาครบ 10 ปี ดังนั้น การแปลความว่าจำเลยจำต้องยอมให้โจทก์ต่ออายุสัญญาออกไปตามที่โจทก์แจ้งความประสงค์ต่อจำเลยโดยจำเลยไม่มีสิทธิใช้ดุลพินิจพิจารณาความน่าพึงพอใจของโจทก์ในการบริหารงานหรือพิจารณาถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อกันในระยะเวลาที่ผ่านมาเสียก่อน จึงน่าจะไม่สอดคล้องกับลักษณะของสัญญาจ้างบริหารจัดการที่ต้องอาศัยความพึงพอใจและการไว้วางใจต่อกันเป็นส่วนสำคัญในการตกลงทำสัญญาด้วย อีกทั้งเมื่อพิเคราะห์ถึงการที่ข้อสัญญาดังกล่าวตอนต้นมีข้อความว่า "Subject to mutual agreement" ซึ่งหมายความว่า ข้อสัญญาข้อนี้อยู่ภายใต้บังคับแห่งข้อตกลงของทั้งสองฝ่าย ก็ย่อมแสดงความหมายชัดเจนอยู่ในตัวว่าหากมีการต่ออายุสัญญาออกไป คู่สัญญายึดถือเจตนาที่ต้องตรงกันของทั้งสองฝ่ายเป็นสำคัญมากกว่าลำพังเจตนาของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่เพียงฝ่ายเดียว ส่วนข้อบังคับของบริษัทจำเลยและสัญญาผู้ถือหุ้นก็เป็นข้อกำหนดในการบริหารกิจการตามวัตถุประสงค์ของบริษัทจำเลย โดยกำหนดประเภทและจำนวนกรรมการที่จะมีอำนาจดำเนินการให้มีผลผูกพันบริษัทจำเลยในกิจการแต่ละเรื่อง มิได้มีข้อความหรือความหมายเป็นข้อผูกพันจำเลยและบุคคลที่เกี่ยวข้องว่าจำเลยจะต้องว่าจ้างโจทก์ให้เป็นผู้บริหารจัดการโรงแรมของจำเลยต่อไปอีก ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่มีความประสงค์จะให้สัญญาการจัดการขยายออกอีก 10 ปี ตามที่โจทก์แจ้งความประสงค์ฝ่ายเดียว การขยายอายุสัญญาการจัดการจึงไม่เกิดขึ้น
การที่โจทก์ฟ้องโดยกล่าวอ้างถึงสิทธิของตนตามสัญญาการจัดการและได้แนบสัญญาการจัดการฉบับภาษาอังกฤษพร้อมคำแปลมาท้ายฟ้อง รวมทั้งอ้างเอกสารดังกล่าวในบัญชีระบุพยาน ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้หมายเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน ในส่วนของคำแปลโจทก์จัดให้มีการรับรองว่าแปลถูกต้องกับสัญญาการจัดการ สัญญาการจัดการฉบับภาษาอังกฤษและคำแปลจึงเป็นพยานหลักฐานที่เข้าสู่สำนวนความโดยชอบ ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารดังกล่าวฉบับใดฉบับหนึ่งหรือทั้งสองฉบับได้ ส่วนบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 46 หรือข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 ข้อ 23 ไม่ได้มีความหมายว่า หากในคดีนั้นคู่ความอ้างเอกสารภาษาต่างประเทศมาพร้อมกับคำแปลแล้ว ศาลต้องรับฟังแต่คำแปลเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1535/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองติดไป-อายุความดอกเบี้ย: ศาลฎีกาชี้มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ อายุความที่จำเลยผู้รับโอนยกขึ้นมีผลถึงจำเลยที่ 1
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้กู้เบิกเงินเกินบัญชีและบังคับจำนองและขอให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 รับผิดในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนองซึ่งผู้ร้บจำนองยังมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองโดยการบังคับจำนองเอาแก่ผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 735 แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การแต่เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันรับผิดชำระหนี้ให้โจทก์ กรณีมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) การที่จำเลยที่ 2 ยกอายุความเรื่องสิทธิเรียกดอกเบี้ยค้างชำระเกิน 5 ปี ขึ้นต่อสู้จึงมีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วย
ป.พ.พ. มาตรา 745 บัญญัติว่า "ผู้รับจำนองจะบังคับจำนอง แม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้" ซึ่งหมายความว่าผู้รับจำนองสามารถบังคับจำนองได้ไม่ว่าหนี้ที่ประกันขาดอายุความแล้วหรือไม่ก็ตาม แต่ห้ามมิให้บังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีเท่านั้น หาใช่บังคับจำนองได้แต่เฉพาะหนี้ที่ขาดอายุความดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ที่ค้างชำระไม่เกิน 5 ปี ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1535/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองติดไป-อายุความดอกเบี้ย: ผลกระทบต่อผู้กู้และผู้รับโอนทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้กู้เบิกเงินเกินบัญชีและบังคับจำนอง และขอให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 รับผิดในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินโดยจำนองติดไปซึ่งผู้รับจำนองยังมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองโดยการบังคับจำนองเอาแก่ผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 735 มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้ ต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) เมื่อจำเลยที่ 2 ยกอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระเกินห้าปีขึ้นต่อสู้ จึงมีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วย
ป.พ.พ. มาตรา 745 บัญญัติว่า "ผู้รับจำนองจะบังคับจำนอง แม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้" ซึ่งหมายความว่า ผู้รับจำนองสามารถบังคับจำนองได้ไม่ว่าหนี้ที่ประกันจะขาดอายุความแล้วหรือไม่ แต่ห้ามมิให้บังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีเท่านั้น ดังนั้น แม้หนี้ประธานยังไม่ขาดอายุความ โจทก์ก็คงมีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ที่ค้างชำระได้ไม่เกินห้าปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1481/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องแย้ง: การยื่นอุทธรณ์ต้องภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง หากเกินกำหนด ศาลไม่รับอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย ชอบที่จำเลยจะยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันทราบคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 ประกอบมาตรา 229 แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การเกี่ยวกับฟ้องแย้งเดิมซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับไปแล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งสืบเนื่องมาจากคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งเดิมของจำเลยนั่นเอง เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยพ้นกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องแย้งเดิม และศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์แล้ว เช่นนี้ การที่จำเลยยังคงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่ายื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลา 1 เดือน ให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย ย่อมมีผลเท่ากับไม่รับอุทธรณ์ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามมาตรา 236 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389-1393/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนสามัญโดยไม่จดทะเบียน: สิทธิเรียกร้องเงินฝากและเงินปันผลต้องรอการชำระบัญชี
การร่วมกันก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อกู้ของโจทก์ทั้งห้าสิบสอง จำเลยทั้งห้ากับราษฎรในท้องที่เป็นการตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำ จึงมีลักษณะเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญโดยไม่จดทะเบียนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 มาตรา 1025 และมาตรา 1026 เมื่อโจทก์ทั้งห้าสิบสองอ้างว่าไม่ได้รับเงินฝากสะสมและเงินปันผลที่ครบกำหนดจ่ายและสมาชิกบางคนได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ในความผิดฐานปลอมเอกสาร ย่อมถือได้ว่าเป็นการประพฤติผิดสัญญาหุ้นส่วนในสาระสำคัญจนไม่อาจดำรงการเป็นหุ้นส่วนต่อไปได้ กับเป็นเหตุที่จะเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (1) มาตรา 1061 และมาตรา 1062 แต่การที่โจทก์ทั้งห้าสิบสองฟ้องเรียกเอาเงินฝากสะสมและเงินปันผล อันมีลักษณะเป็นการคืนทุนโดยยังมิได้มีการชำระบัญชีหรือข้อตกลงให้จัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนด้วยวิธีอื่นระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โจทก์ทั้งห้าสิบสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแม้จำเลยทั้งห้ามิได้ให้การต่อสู้และไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1363/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับชำระราคาแทนการคืนรถเช่าซื้อ ถือเป็นการโอนกรรมสิทธิ์และสร้างภาระผูกพันในการโอนทะเบียน
คดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลย (โจทก์คดีนี้) คืนรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่จำเลย (โจทก์คดีนี้) หากคืนไม่ได้ให้ชดใช้ราคากับโจทก์ต้องชำระค่าเสียหายจำนวนหนึ่ง จำเลยไม่สามารถนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ เพราะโจทก์มีเจตนานำเอารถหลบหนี การที่จำเลยยอมรับเงินค่ารถยนต์ ค่าขาดประโยชน์ และค่าเสียหายจากโจทก์โดยที่จำเลยมิได้บอกปัดหรือทักท้วงให้โจทก์นำรถยนต์ที่เช่าซื้อมาคืนก่อน จึงหาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของโจทก์ตามที่จำเลยฎีกาไม่ และแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยว่า การที่จำเลยเลือกบังคับคดีโดยรับชำระราคาแทนการบังคับให้โจทก์ส่งมอบรถยนต์ เป็นการสละสิทธิในการบังคับให้โจทก์ส่งมอบรถยนต์คืนตามคำพิพากษา แม้สัญญาเช่าซื้อจะเลิกกันไปแล้วก็ตาม แต่การที่จำเลยยอมรับชำระราคารถยนต์ดังกล่าว ถือได้โดยปริยายว่า จำเลยตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์ รถยนต์คันพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยจึงมีหน้าที่โอนทะเบียนและส่งมอบสมุดคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์คันพิพาทให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
of 85