พบผลลัพธ์ทั้งหมด 841 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างสัญญาประกันชีวิตเนื่องจากผู้เอาประกันปกปิดเจ็บป่วย และขอบเขตตัวแทนประกันชีวิต
ตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิตฯ มาตรา 5 ได้ให้คำจำกัดความของตัวแทนประกันชีวิตว่าหมายความว่า ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ทำการชักชวนให้บุคคลทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท และมาตรา 71 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ตัวแทนประกันชีวิตอาจทำสัญญาประกันชีวิตในนามของบริษัทได้เมื่อได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากบริษัท แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบว่า ช. เป็นตัวแทนประกันชีวิตผู้ได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากจำเลยให้ทำสัญญาประกันชีวิตในนามของจำเลยได้ เช่นนี้ ช. จึงเป็นเพียงตัวแทนในการหาผู้เอาประกันมีหน้าที่ชักชวนให้ผู้อื่นมาทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยเท่านั้นไม่ใช่ตัวแทนในการทำสัญญาประกันชีวิตของจำเลย จึงไม่ใช่ตัวแทนของจำเลยตาม ป.พ.พ. การที่ ช. ได้ทราบหรือควรทราบข้อเท็จจริงขณะทำหนังสือรับรองสุขภาพว่า ส. เคยป่วยเป็นโรคตับอักเสบและมีอาการแน่นหน้าอกเนื่องจากดื่มสุรามากได้รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล อ. จะถือว่าจำเลยได้ทราบความจริงดังกล่าวด้วยหาได้ไม่ นอกจากนี้จำเลยยังนำสืบว่าหลังจาก ส. เสียชีวิตจำเลยได้ตรวจสอบหลักฐานและประวัติเกี่ยวกับสุขภาพของ ส. ทราบผลการตรวจสอบเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2540 ว่า ส. ปกปิดข้อความจริงว่าเคยป่วยเป็นโรคตับอักเสบ หากจำเลยทราบความจริงจำเลยจะไม่ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตกับ ส. โดยโจทก์ไม่นำสืบหักล้าง ดังนั้น การที่ ส. รู้อยู่ว่าตนเป็นโรคตับอักเสบแต่ละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงที่อาจจูงใจให้จำเลยปฏิเสธไม่ทำสัญญาหรือเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้น ย่อมทำให้สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ส. กับจำเลยเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคหนึ่ง จำเลยบอกล้างสัญญาประกันชีวิตเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2540 จึงเป็นการบอกล้างภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่จำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างได้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างสัญญาประกันชีวิตเนื่องจากผู้เอาประกันปกปิดข้อมูลสุขภาพ และการเป็นตัวแทนประกันชีวิต
ช. เป็นตัวแทนในการหาผู้เอาประกันมีหน้าที่ชักชวนให้ผู้อื่นมาทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลย ไม่ใช่ตัวแทนในการทำสัญญาประกันชีวิตของจำเลยตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 5 และมาตรา 71 จึงไม่ใช่ตัวแทนของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การที่ ช. ได้ทราบหรือควรจะทราบข้อความจริงขณะทำหนังสือรับรองสุขภาพว่า ส. เคยป่วยเป็นโรคตับอักเสบและมีอาการแน่นหน้าอกเนื่องจากดื่มสุรามากได้รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล จะถือว่าจำเลยได้ทราบความจริงดังกล่าวด้วยหาได้ไม่
ส. รู้อยู่ว่าตนเป็นโรคตับอักเสบแต่ละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงที่อาจจูงใจให้จำเลยปฏิเสธไม่ทำสัญญาหรือเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นย่อมทำให้สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ส. กับจำเลยเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคหนึ่ง
ส. รู้อยู่ว่าตนเป็นโรคตับอักเสบแต่ละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงที่อาจจูงใจให้จำเลยปฏิเสธไม่ทำสัญญาหรือเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นย่อมทำให้สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ส. กับจำเลยเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 632/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยาย การอนุมัติโอนสิทธิฯ และผลผูกพันสัญญา
แม้ตามคำขอโอนสิทธิการเช่าซื้อจะระบุว่า คำขอยังไม่มีผลผูกพันโจทก์จนกว่าจะทำการตรวจสอบหลักฐานของผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันรายใหม่และอนุมัติให้มีการโอนสิทธิการเช่าซื้อ แต่พฤติการณ์ที่โจทก์คืนเช็คที่จำเลยที่ 1 ชำระเป็นค่าเช่าซื้อล่วงหน้าให้แก่จำเลยที่ 1 และให้ ข. ผู้เช่าซื้อรายใหม่กับผู้ค้ำประกันลงลายมือชื่อในแบบพิมพ์สัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกัน และยอมให้ ศ. มอบรถยนต์คันพิพาทให้แก่ ข. ผู้เช่าซื้อรายใหม่ รวมทั้งรับเงินค่าเช่าซื้อจาก ข. ต่อมาถึงสี่งวด และงวดที่ 5 บางส่วนแสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ตกลงเลิกสัญญาเช่าซื้อกันโดยปริยายแล้ว โดยถือว่า ข. ผู้เช่าซื้อรายใหม่รับรถคันที่เช่าซื้อไปแทนโจทก์ สัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงสิ้นผลผูกพัน จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 614/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์คำสั่งตามมาตรา 234 ป.วิ.พ. กรณีไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียมหรือวางประกัน
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือหาประกันให้ไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ศาลชั้นต้นส่งศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณา ดังนั้น เมื่อมีการอุทธรณ์ไม่ว่าจะเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะตรวจสำนวนและถ้าเห็นว่าอุทธรณ์นั้นต้องห้ามตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกอุทธรณ์นั้นเสียได้โดยไม่ต้องวินิจฉัยในประเด็นแห่งอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 242 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาล: ศาลมีดุลพินิจในการพิจารณาความเพียงพอของเหตุผลและระยะเวลาที่ขยาย
จำเลยที่ 1 ประกอบกิจการค้าได้รับสินเชื่อในการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศตามสัญญาคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทจากโจทก์เป็นวงเงินสูงถึง 850,000,000 บาท จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันและนำหลักทรัพย์มาจำนองเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 คนละหลายร้อยล้านบาท เงินค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามีจำนวนรวมกัน 400,000 บาทเศษ จึงถือว่าไม่ใช่เงินจำนวนมากสำหรับจำเลยทั้งสาม ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้จำเลยทั้งสามประมาณ 20 วัน นับว่าเป็นระยะเวลาที่เพียงพอแล้ว การอ้างเหตุว่าจำเลยทั้งสามไม่มีเงินชำระค่าธรรมเนียม เพราะไม่สามารถหาเงินค่าธรรมเนียมได้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่ศาลอนุญาตให้ขยายยังไม่ถือเป็นเหตุจำเป็น ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 37
จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ว่า เมื่อจำเลยทั้งสามวางเงินค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา ศาลต้องสั่งรับเงินค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ไว้ และหากศาลไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมส่วนที่เหลือ ศาลต้องกำหนดระยะเวลาให้จำเลยทั้งสามวางเงินค่าธรรมเนียมเสียก่อน เพื่อให้โอกาสจำเลยทั้งสามปฏิบัติตามคำสั่งศาล การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสาม จึงเป็นการไม่ชอบนั้น เป็นการอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 234 เมื่อจำเลยทั้งสามมิได้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย
จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ว่า เมื่อจำเลยทั้งสามวางเงินค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา ศาลต้องสั่งรับเงินค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ไว้ และหากศาลไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมส่วนที่เหลือ ศาลต้องกำหนดระยะเวลาให้จำเลยทั้งสามวางเงินค่าธรรมเนียมเสียก่อน เพื่อให้โอกาสจำเลยทั้งสามปฏิบัติตามคำสั่งศาล การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสาม จึงเป็นการไม่ชอบนั้น เป็นการอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 234 เมื่อจำเลยทั้งสามมิได้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าสูญหาย กรณีสินค้ามีค่า และการจำกัดความรับผิด
สินค้าที่ขนส่งเป็นของมีค่า และโจทก์ผู้ส่งได้บอกสภาพแห่งของว่าเป็นนาฬิกาและบอกราคาของไว้ในขณะที่ส่งมอบแก่จำเลยผู้ขนส่งแล้ว จำเลยจึงต้องใช้ความระมัดระวังดูแลสินค้าเป็นพิเศษในการขนส่ง เมื่อสินค้าสูญหาย จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเท่าราคาสินค้าซึ่งเป็นราคาที่บอกแก่ตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 616, 620 ทั้งโจทก์ไม่ได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของจำเลยตามข้อความที่ปรากฏด้านหลังของใบรับขนทางอากาศ ข้อความจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตามมาตรา 625 โจทก์จึงไม่จำต้องเพิ่มส่วนความรับผิดของจำเลยโดยเลือกชำระค่าบริการเพิ่มแทนการยอมรับการจำกัดความรับผิด อีกทั้งการที่โจทก์ไม่เสียค่าบริการเพิ่มจะถือว่าโจทก์มีส่วนทำความผิดก่อให้เกิดความเสียหายด้วยและอาศัยเป็นพฤติการณ์ในการลดค่าเสียหายของโจทก์หาได้ไม่ จำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดขอใช้ค่าเสียหายเท่าราคาสินค้าที่ขนส่งตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้ากรณีของสูญหาย และการจำกัดความรับผิดที่ไม่เป็นผลผูกพัน
เมื่อสินค้าที่ขนส่งเป็นของมีค่า และโจทก์ผู้ส่งได้บอกสภาพแห่งของว่าเป็นนาฬิกาและบอกราคาของไว้ในขณะที่ส่งมอบแก่จำเลยผู้ขนส่งแล้ว จำเลยก็ต้องใช้ความระมัดระวังดูแลสินค้าเป็นพิเศษในการขนส่ง เมื่อสินค้าสูญหาย จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเท่าราคาสินค้าซึ่งเป็นราคาที่บอกแก่ตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 616, 620 และโจทก์ไม่ได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของจำเลยตามข้อความที่ปรากฏด้านหลังของใบรับขนทางอากาศ ข้อความจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตามมาตรา 625 โจทก์จึงไม่จำต้องเลือกชำระค่าบริการเพิ่มแทนการยอมรับการจำกัดความรับผิดของจำเลย ทั้งการที่โจทก์ไม่เสียค่าบริการเพิ่มจะถือว่าโจทก์มีส่วนทำความผิดก่อให้เกิดความเสียหายด้วย และอาศัยเป็นพฤติการณ์ในการลดค่าเสียหายของโจทก์หาได้ไม่ จำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเท่าราคาสินค้าที่ขนส่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10711/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาใช้ลิขสิทธิ์: การเสนอและสนองรับข้อเสนอเพื่อต่ออายุสัญญาโดยไม่ต้องทำสัญญาเป็นหนังสือ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน ข้อพิพาทตามฟ้องสืบเนื่องจากโจทก์ทำสัญญาอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้ลิขสิทธิ์เพลงของโจทก์โดยกำหนดชำระค่าตอบแทน ต่อมาโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองว่าผิดสัญญาดังกล่าวเป็นคดีแพ่งที่ศาลแพ่งธนบุรีจนกระทั่งมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โจทก์ยืนยันข้อเท็จจริงมาในอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่สัญญา จำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระค่าตอบแทนให้แก่โจทก์ตามสัญญาเท่านั้น จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 จึงอยู่ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 ประกอบด้วยมาตรา 820 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 กระทำนอกขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทน และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ประกอบการใช้ลิขสิทธิ์ของโจทก์ในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 2 จึงหาต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วยไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง กับไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางขอให้บังคับตามฟ้องแย้งแก่จำเลยที่ 2 ด้วย
จำเลยที่ 1 ส่งหนังสือเรื่องแจ้งต่อสัญญาอนุญาตใช้ลิขสิทธิ์เพลงให้แก่โจทก์ทางโทรสารโดยมีข้อความแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 ว่า "...เนื่องจากขณะนี้เหลือเวลาอีกไม่ถึง 2 ปี ก็จะหมดอายุสัญญาให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงตามสัญญาประนีประนอมฯ ดังกล่าว โดยหนังสือฉบับนี้ข้าพเจ้าฯ ขอแจ้งให้ท่านทราบว่าข้าพเจ้าประสงค์จะใช้ลิขสิทธิ์เพลงทำเพลงเพื่อผลิตและจำหน่ายต่อไปอีก 11 ปี ตามสัญญาประนีประนอมฯ ในข้อ 7..." และสัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่า "โจทก์ยินยอมให้ยืดระยะเวลาตามสัญญาให้จำเลยใช้ลิขสิทธิ์ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 13 ตุลาคม 2543 และก่อนหมดระยะเวลา 6 เดือน หากจำเลยประสงค์จะใช้ลิขสิทธิ์ทำเพลงต่อไป จำเลยจะต้องไปติดต่อโจทก์เพื่อทำสัญญาใช้ลิขสิทธิ์ต่อไปอีก 11 ปี เป็นเงิน 22,000,000 บาท โดยในการจ่ายเงินให้ถือตามสัดส่วนของสัญญาฉบับเดิม หากจำเลยไม่ติดต่อถือว่าจำเลยไม่ประสงค์จะทำสัญญาใช้ลิขสิทธิ์กับโจทก์อีกต่อไป" มิได้มีข้อความที่เป็นการแสดงความประสงค์ของคู่สัญญาว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ติดต่อโจทก์เพื่อทำสัญญาแล้วให้เป็นดุลพินิจของโจทก์ที่จะต่ออายุสัญญาให้อีกหรือไม่ก็ได้ แต่เป็นคำเสนอของโจทก์จะต่ออายุสัญญาให้ใช้ลิขสิทธิ์แก่จำเลยที่ 1 อันบ่งระยะเวลาให้ทำคำสนองซึ่งโจทก์ไม่อาจถอนได้ภายในระยะเวลาที่บ่งไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งโทรสารถึงโจทก์ก่อนหมดระยะเวลา 6 เดือน ว่าประสงค์จะใช้ลิขสิทธิ์เพลงต่อไปอีก 11 ปี จึงเป็นการสนองรับคำเสนอของโจทก์ภายในกำหนดแล้ว เมื่อมิได้มีเงื่อนไขว่าการต่ออายุสัญญานั้นจะต้องทำสัญญากันเป็นหนังสือด้วย สัญญาให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเกิดขึ้นใหม่ตามเงื่อนไขและวิธีการที่ระบุในสัญญาให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงฉบับเดิม โดยไม่จำต้องทำสัญญาให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงกันใหม่เป็นหนังสืออีก
จำเลยที่ 1 ส่งหนังสือเรื่องแจ้งต่อสัญญาอนุญาตใช้ลิขสิทธิ์เพลงให้แก่โจทก์ทางโทรสารโดยมีข้อความแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 ว่า "...เนื่องจากขณะนี้เหลือเวลาอีกไม่ถึง 2 ปี ก็จะหมดอายุสัญญาให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงตามสัญญาประนีประนอมฯ ดังกล่าว โดยหนังสือฉบับนี้ข้าพเจ้าฯ ขอแจ้งให้ท่านทราบว่าข้าพเจ้าประสงค์จะใช้ลิขสิทธิ์เพลงทำเพลงเพื่อผลิตและจำหน่ายต่อไปอีก 11 ปี ตามสัญญาประนีประนอมฯ ในข้อ 7..." และสัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่า "โจทก์ยินยอมให้ยืดระยะเวลาตามสัญญาให้จำเลยใช้ลิขสิทธิ์ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 13 ตุลาคม 2543 และก่อนหมดระยะเวลา 6 เดือน หากจำเลยประสงค์จะใช้ลิขสิทธิ์ทำเพลงต่อไป จำเลยจะต้องไปติดต่อโจทก์เพื่อทำสัญญาใช้ลิขสิทธิ์ต่อไปอีก 11 ปี เป็นเงิน 22,000,000 บาท โดยในการจ่ายเงินให้ถือตามสัดส่วนของสัญญาฉบับเดิม หากจำเลยไม่ติดต่อถือว่าจำเลยไม่ประสงค์จะทำสัญญาใช้ลิขสิทธิ์กับโจทก์อีกต่อไป" มิได้มีข้อความที่เป็นการแสดงความประสงค์ของคู่สัญญาว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ติดต่อโจทก์เพื่อทำสัญญาแล้วให้เป็นดุลพินิจของโจทก์ที่จะต่ออายุสัญญาให้อีกหรือไม่ก็ได้ แต่เป็นคำเสนอของโจทก์จะต่ออายุสัญญาให้ใช้ลิขสิทธิ์แก่จำเลยที่ 1 อันบ่งระยะเวลาให้ทำคำสนองซึ่งโจทก์ไม่อาจถอนได้ภายในระยะเวลาที่บ่งไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งโทรสารถึงโจทก์ก่อนหมดระยะเวลา 6 เดือน ว่าประสงค์จะใช้ลิขสิทธิ์เพลงต่อไปอีก 11 ปี จึงเป็นการสนองรับคำเสนอของโจทก์ภายในกำหนดแล้ว เมื่อมิได้มีเงื่อนไขว่าการต่ออายุสัญญานั้นจะต้องทำสัญญากันเป็นหนังสือด้วย สัญญาให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเกิดขึ้นใหม่ตามเงื่อนไขและวิธีการที่ระบุในสัญญาให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงฉบับเดิม โดยไม่จำต้องทำสัญญาให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงกันใหม่เป็นหนังสืออีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10683/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัย: ความรับผิดของผู้รับประกันภัย กรณีผู้เอาประกันภัยเจรจาตกลงค่าเสียหายเอง และการแจ้งความเสียหาย
ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง บัญญัติว่า "ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนรวมทั้งเหตุการนั้น" ซึ่งหมายความว่า จำเลยจะต้องแสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน และต้องแสดงโดยชัดแจ้งถึงเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นด้วย เมื่อจำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ 2 ปี จำเลยต้องแสดงโดยชัดแจ้งด้วยว่าอายุความ 2 ปี นับแต่วันใดและโจทก์ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดอายุความนั้นแล้ว การที่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เนื่องจากโจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัย โดยมิได้ระบุว่าวันเกิดเหตุวินาศภัยซึ่งเป็นวันเริ่มต้นนับอายุความเป็นวันที่เท่าใด จึงไม่แจ้งชัดว่าอายุความเริ่มนับเมื่อวันที่เท่าใดและโจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดอายุความแล้วจริงหรือไม่ จะอนุมานเอาจากคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งนั้นว่าความเสียหายเกิดวันเดือนปีใดไม่ได้ และจะถือว่าคู่ความอีกฝ่ายรู้แล้วก็ไม่ได้ ทั้งมิใช่ข้อเท็จจริงที่เป็นเพียงรายละเอียดที่คู่ความสามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ แต่เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยจะต้องแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การ มิฉะนั้นจะเป็นคำให้การที่ไม่ชอบและไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ข้อที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่นี้จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยในประเด็นนี้ให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8911/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลคือสัญญาประกันชีวิต ผู้รับประกันภัยไม่มีสิทธิไล่เบี้ย
โจทก์รับประกันภัยรถยนต์พิพาทแบบประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล รถยนต์พิพาทถูกรถคันที่จำเลยที่ 1 ขับชนทำให้คนบนรถยนต์พิพาทรวม 4 คนเสียชีวิต โจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทายาทผู้เสียชีวิตรวม 4 คน ๆ ละ 50,000 บาท เป็นเงิน 200,000 บาท ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ ข้อสัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ในส่วนที่เป็นการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับการเสี่ยงภัยถึงชีวิตเป็นสัญญาประกันชีวิตอย่างหนึ่งเพราะอาศัยความมรณะของบุคคลเป็นเงื่อนไขแห่งการใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 889 หาใช่การประกันวินาศภัยแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งบทบัญญัติว่าด้วยการประกันชีวิตไม่ได้ให้สิทธิแก่ผู้รับประกันภัยที่จะเข้ารับช่วงสิทธิได้อย่างกรณีการประกันวินาศภัย ดังนั้น แม้โจทก์จะได้จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทน 200,000 บาท ให้แก่ทายาทผู้เสียชีวิตไป โจทก์ก็หามีสิทธิเข้ารับช่วงสิทธิเพื่อฟ้องร้องเรียกเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 กับพวกได้ไม่