คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ เนตรมัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 841 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8812/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาเช่าซื้อ ยึดรถยนต์ก่อนบอกเลิกสัญญา จำเลยต้องคืนเงินดาวน์และค่าเช่าซื้อ
จำเลยยึดรถยนต์พิพาทจากบ้านของโจทก์ไปไว้ที่บริษัทจำเลย ไม่ได้ความว่าจำเลยบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อก่อน กลับได้ความว่าในวันดังกล่าวฝ่ายโจทก์นำค่าเช่าซื้อไปชำระให้แก่จำเลยจำนวนหนึ่ง จำเลยก็รับไว้ การที่จำเลยยึดรถยนต์พิพาทจากโจทก์ในระหว่างการเช่าซื้อถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อจำเลยย่อมไม่มีสิทธิริบเงินดาวน์และค่าเช่าซื้อที่โจทก์ได้ชำระไปตามสัญญาเช่าซื้อ
หลังจากที่จำเลยยึดรถยนต์พิพาทคืนไปจากโจทก์แล้ว โจทก์มีหนังสือให้จำเลยคืนเงินดาวน์และค่าเช่าซื้อทั้งหมดให้แก่โจทก์ จึงถือว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาต่อจำเลย สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นอันเลิกกัน ผลแห่งการเลิกสัญญาดังกล่าวคู่สัญญาจะต้องกลับสู่ฐานะเดิม จำเลยต้องคืนเงินที่ได้รับตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่โจทก์ และโจทก์ต้องรับผิดในค่าขาดประโยชน์ของจำเลยในระหว่างที่โจทก์ครอบครองและใช้ประโยชน์ในรถยนต์พิพาทของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8612/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างโมฆียะกรรมสัญญาประกันชีวิตต้องแจ้งให้ผู้รับประโยชน์ทราบภายในกำหนดเวลา
แม้ ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคสอง จะให้สิทธิผู้รับประกันภัยบอกล้างโมฆียะกรรมได้แต่สัญญาประกันชีวิตเป็นนิติกรรมสองฝ่าย การบอกล้างโมฆียะกรรมต้องแสดงเจตนาแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นบุคคลที่มีตัวกำหนดได้แน่นอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 178 เมื่อจำเลยต้องการบอกล้างโมฆียะกรรมสัญญาประกันชีวิตย่อมต้องแสดงเจตนาแก่โจทก์ทั้งสามผู้รับประโยชน์ซึ่งเป็นคู่กรณีอีกฝ่าย มิใช่เพียงแสดงหลักฐานฝ่ายเดียวว่าตนได้ใช้สิทธิบอกล้างแล้ว การแสดงเจตนาที่กระทำต่อบุคคลซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้าให้ถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่การแสดงเจตนานั้นไปถึงผู้รับการแสดงเจตนาตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๖๙ คดีนี้จำเลยมีหนังสือบอกล้างโมฆียะกรรมไปถึงโจทก์ทั้งสามที่จังหวัดพิจิตรทางไปรษณีย์ อันเป็นการแสดงเจตนาแก่บุคคลผู้อยู่ห่างโดยระยะทาง การบอกล้างโมฆียะกรรมย่อมมีผลนับแต่เวลาที่หนังสือไปถึงโจทก์ทั้งสาม เมื่อนับจากวันที่จำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ ในวันที่ 6 สิงหาคม 2540 ถึงวันที่การแสดงเจตนาบอกล้างโมฆียะกรรมมีผลในวันที่ 7 หรือ 8 กันยายน 2540 จึงพ้นกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่จำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างโมฆียะกรรมนั้น การบอกล้างโมฆียะกรรมของจำเลยจึงไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าจำเลยใช้สิทธิบอกล้างสัญญาประกันชีวิตดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคสอง จำเลยต้องรับผิดใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิตให้โจทก์ทั้งสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7457/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทลิขสิทธิ์อุลตร้าแมน: ศาลพิพากษาจำเลยชดใช้ค่าเสียหายจากการละเมิดลิขสิทธิ์และเรียกร้องค่าเสียหายที่ไม่สมเหตุสมผล
เมื่อข้อเท็จจริงตามสำนวนปรากฏว่า ผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์ลงลายมือชื่อเป็นผู้แต่งทนายความ โดยระบุในใบแต่งทนายความให้ ม. เป็นทนายความ และให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์รวมถึงการใช้สิทธิในการอุทธรณ์ ซึ่งใบแต่งทนายความของโจทก์ดังกล่าวมีเจ้าพนักงานโนตารีปับลิกแห่งกรุงโตเกียวรับรองลายมือชื่อผู้แต่งทนายความ และมีหนังสือรับรองเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ ประเทศญี่ปุ่น และหนังสือรับรองของสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว รับรองต่อกันมาตามลำดับ อันเป็นการดำเนินการตามพิธีการแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเกี่ยวกับเอกสารที่ทำในต่างประเทศครบถ้วนแล้ว โดยจำเลยทั้งสี่มิได้โต้แย้งเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่าโจทก์แต่งตั้ง ม. ให้มีอำนาจตามที่ระบุในใบแต่งทนายความจริง เมื่อใบแต่งทนายความระบุให้ ม. มีอำนาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์แทนโจทก์ ม. จึงมีอำนาจลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ ผู้เรียงและผู้พิมพ์ได้
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยที่ 3 และมีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งคดีอาญาและคดีแพ่ง จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นฝ่ายชนะคดี และไม่มีส่วนได้เสียในฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีส่วนได้เสียอันจะอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ประกอบกับคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 มิได้มีคำขอให้บังคับโจทก์ต้องรับผิดแก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 นอกเหนือไปจากที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษา คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงไม่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง และเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 มาตรา 4 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่บริษัทโจทก์สร้างสรรค์ผลงานอุลตร้าแมน บัญญัติว่า "ผู้ประพันธ์ ให้กินความถึงผู้แต่งเพลงดนตรี ผู้ทำหรือก่อให้เกิดซึ่งศิลปกรรม เช่น ช่างเขียน ช่างภาพหุ่น สถาปนิก ฯลฯ ด้วย" และมาตรา 10 บัญญัติว่า ผู้ประพันธ์มีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำวรรกรรม วิทยาศาสตรกรรมหรือศิลปกรรมของตนเป็นภาพยนตร์แสดงให้ประชาชนดู ดังนั้นในการสร้างงานศิลปกรรมหรืองานภาพยนตร์ การมีส่วนร่วมทำหรือร่วมก่อให้เกิดงานศิลปกรรมหรืองานภาพยนตร์จึงเป็นสาระสำคัญของการที่จะได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองการแสดงออกซึ่งความคิดในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แต่มิได้ให้ความคุ้มครองสิ่งที่เป็นเพียงความคิด เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ร่วมสร้างสรรค์ผลงานอุลตร้าแมนพิพาท เพียงการที่จำเลยที่ 2 อ้างว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ผลงานอุลตร้าแมน โดยเสนอความคิดในการสร้างสรรค์ผลงานอุลตร้าแมน อันเป็นการให้ความช่วยเหลือเสนอความคิดในฐานะที่เป็นคนรู้จักสนิทสนมกัน โดยไม่ปรากฏแน่ชัดว่าได้มีการนำแนวความคิดตามที่จำเลยที่ 2 เสนอไปใช้ในการสร้างผลงานอุลตร้าแมนจริงหรือไม่ ยังรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ได้ลงทุนลงแรงหรือมีส่วนร่วมทำหรือร่วมก่อให้เกิดผลงานอุลตร้าแมน และฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับโจทก์สร้างสรรค์ผลงานอุลตร้าแมนตั้งแต่เริ่มแรก
การพิจารณาว่าสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในลิขสิทธิ์ผลงานอุลตร้าแมนระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ลงวันที่ 4 มีนาคม 2519 เป็นเอกสารปลอมหรือไม่นั้น ต้องนำประเพณีและวิธีการปฏิบัติในการทำธุรกิจเพื่อหาผลประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์หรือเครื่องหมายการค้าอุลตร้าแมน และผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อโดยผู้เชี่ยวชาญ และการหาข้อพิรุธจากข้อความที่ปรากฏในสัญญาดังกล่าว กับพยานแวดล้อมอื่นๆ มาพิจารณาประกอบกัน เช่น การที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ใช้สิทธิตามสัญญาพิพาทแสวงหาประโยชน์จากผลงานอุลตร้าแมนในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์หรือผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธินับจากวันทำสัญญาพิพาทล่วงพ้นไปถึง 20 ปี แต่กลับเพิ่งกล่าวอ้างถึงสัญญาพิพาทต่อโจทก์หลังจากที่ น. ซึ่งจำเลยที่ 2 อ้างว่าลงลายมือชื่อในสัญญาดังกล่าวถึงแก่ความตายไปแล้วประมาณ 1 ปี ในขณะที่ฝ่ายโจทก์ดำเนินการใช้สิทธิและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามาโดยตลอดโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 นำสัญญาพิพาทมากล่าวอ้างโต้แย้ง การที่จำเลยที่ 2 ขออนุญาตใช้สิทธิในผลงานอุลตร้าแมนที่ระบุไว้ในสัญญาพิพาทต่อโจทก์อีกหลังจากทำสัญญาพิพาทแล้ว การที่จำเลยที่ 2 ไปจดแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ในผลงานอุลตร้าแมนต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาหลังจากที่ น. ถึงแก่ความตายไม่กี่วัน โดยไม่ได้ระบุถึงลิขสิทธิ์ในผลงานอุลตร้าแมนตามสัญญาพิพาท การที่ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญาพิพาทเปรียบเทียบกับเอกสารที่มีลายมือชื่อของ น. แล้วมีความเห็นว่า มิใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกัน ข้อพิรุธเกี่ยวกับข้อความในสัญญาพิพาท ทั้งชื่อสัญญา ชื่อผลงานอุลตร้าแมนและรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนตอนที่ไม่ถูกต้อง การไม่กำหนดเวลาและค่าตอบแทนในการโอนลิขสิทธิ์หรืออนุญาตให้ใช้สิทธิซึ่งผิดปกติวิสัยของการทำธุรกิจ และการทำสัญญาโอนลิขสิทธิ์หรืออนุญาตให้ใช้สิทธิย้อนหลังอันจะมีผลกระทบต่อบุคคลภายนอก และผิดปกติวิสัยของการทำสัญญาโอนลิขสิทธิ์หรือสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในลิขสิทธิ์ เป็นต้น จึงมีเหตุผลเชื่อได้ว่าสัญญาพิพาทเป็นเอกสารที่ถูกทำปลอมขึ้นทั้งฉบับ จำเลยที่ 1 และที่ 2 หาอาจมีสิทธิที่จะแสวงหาประโยชน์ใดๆ จากผลงานอุลตร้าแมนตามสัญญาพิพาทไม่
แม้โจทก์ฟ้องทั้งคดีอาญาและคดีแพ่งมาในคดีเดียวกัน แต่ในคดีส่วนอาญาโจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ให้ศาลเห็นได้โดยปราศจากความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยทั้งสี่กระทำความผิดตามฟ้อง เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 1 พิมพ์เผยแพร่สมุดภาพระบายสีภาพอุลตร้าแมนหลังจากวันที่โจทก์ทำหนังสือเอกสารหมาย ล.12 หรือ จ.25 ได้ไม่นาน ซึ่งเนื้อความในเอกสารดังกล่าวระบุเกี่ยวกับการอนุญาตให้จำเลยที่ 2 มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินรวมทั้งอุลตร้าแมนพิพาทด้วย แม้หนังสือดังกล่าวไม่มีผลเป็นการรับรองสิทธิของจำเลยที่ 2 แต่การทำหนังสือดังกล่าวในระหว่างที่ยังพิพาทกันเรื่องลิขสิทธิ์ในผลงานอุลตร้าแมนและยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลชี้ขาด อาจทำให้จำเลยที่ 2 และจำเลยอื่นเข้าใจได้ว่ามีสิทธิทำซ้ำและดัดแปลงรูปภาพผลงานอุลตร้าแมน ทั้งจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาอนุญาตให้จำเลยที่ 4 ใช้สิทธิอย่างเปิดเผยเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยทั้งสี่ เมื่อข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสี่กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27 (1) ประกอบมาตรา 69 วรรคสอง และมาตรา 31 (1) ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง ตามฟ้อง จึงไม่มีค่าปรับที่จำเลยทั้งสี่ต้องชำระตามคำพิพากษา และกรณีไม่อาจสั่งให้ของกลางตกเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75 ได้
เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานอุลตร้าแมนโดยเป็นผู้สร้างสรรค์แต่เพียงผู้เดียว จำเลยที่ 2 มิได้เป็นผู้สร้างสรรค์ร่วม และสัญญาพิพาทเป็นเอกสารปลอม จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะแสวงหาประโยชน์ใดๆ จากผลงานอุลตร้าแมนโดยมิได้รับอนุญาตจากโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องแย้งเรียกร้องค่าเสียหายจากโจทก์ได้
จำเลยที่ 4 เป็นเพียงผู้จัดพิมพ์สมุดภาพระบายสีหาใช่ผู้โอนขายหรือผู้อนุญาตให้ผู้อื่นใช้ลิขสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดรายได้หรือผลประโยชน์จากค่าตอบแทนการโอนขายลิขสิทธิ์หรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้ลิขสิทธิ์และทำให้งานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ด้อยคุณค่าลงจากจำเลยที่ 4 แต่จำเลยที่ 2 เป็นผู้อนุญาตให้จำเลยที่ 4 ใช้สิทธิในผลงานอุลตร้าแมนโดยการจัดพิมพ์สมุดภาพระบายสี ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้แก่โจทก์ตามสมควรแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดี
จำเลยที่ 4 จัดพิมพ์สมุดภาพระบายสีโดยเข้าใจและเชื่อโดยสุจริตว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานอุลตร้าแมน และไม่ได้ความว่าความเข้าใจว่าตนมีสิทธิจัดพิมพ์สมุดภาพระบายสีของจำเลยที่ 4 เป็นไปโดยประมาทเลินเล่อ กับไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 ได้รับผลกำไรจากการนี้หรือไม่ เพียงใด จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดในทางแพ่งฐานกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องค่าขาดประโยชน์อันพึงได้รับจากการจัดพิมพ์สมุดภาพระบายสีออกจำหน่ายเพื่อประโยชน์ทางการค้าจากจำเลยที่ 4 ได้อีก
ค่าใช้จ่ายในการชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานอุลตร้าแมนที่โจทก์เสียไป เป็นผลสืบเนื่องจากการที่จำเลยที่ 2 กล่าวอ้างความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานอุลตร้าแมนต่อลูกค้าของโจทก์และบุคคลทั่วไป จึงถือได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการบังคับตามสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ทำละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์ได้ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 64
สำหรับค่าเสียหายจากการที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้วเรียกเก็บเงินจากผู้ขายหรือจำหน่ายสินค้าที่มีตัวอุลตร้าแมนนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 เป็นเพียงผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 2 ให้ร้องทุกข์ดำเนินคดี จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว และผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำดังกล่าวคือผู้ที่ถูกจำเลยที่ 2 แจ้งความร้องทุกข์และเรียกเก็บเงินหาใช่โจทก์ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายนี้
การขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสี่ละเว้นการกระทำต่างๆ เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ในผลงานอุลตร้าแมนพิพาทหลังจากวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นต้นไป เป็นเรื่องการกระทำในอนาคตซึ่งยังมิได้มีการโต้แย้งสิทธิของโจทก์อยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้อง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับเช่นนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6732/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่วางค่าธรรมเนียมอุทธรณ์ ศาลชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ทันที หรือยกอุทธรณ์มากกว่าสั่งทิ้งอุทธรณ์
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นอุทธรณ์โดยมิได้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลพร้อมอุทธรณ์นั้นด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ศาลชั้นต้นไม่จำต้องมีคำสั่งให้ปฏิบัติก่อน ดังนั้นในชั้นตรวจอุทธรณ์ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์เสียทันที แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์เพื่อสั่งเกี่ยวกับการทิ้งอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์นั้นเสียโดยไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นเกี่ยวกับการทิ้งอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทิ้งอุทธรณ์โดยมิได้สั่งยกอุทธรณ์ จึงมิชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาจึงต้องยกเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6454/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักหนี้ค่าเสียหายที่จำเลยชำระให้โจทก์แล้วออกจากจำนวนที่ต้องชำระตามคำพิพากษา เพื่อความเป็นธรรม
ปัญหาว่า จำเลยที่ 4 ได้วางเงินจำนวน 150,000 บาท ในนามของจำเลยที่ 1 ต่อศาลแขวงพระนครเหนือ ในคดีที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นคดีอาญา เพื่อชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสอง และโจทก์ทั้งสองได้รับเงินจำนวนดังกล่าวไปแล้วจะต้องหักเงินจำนวนดังกล่าวจากจำนวนที่ฝ่ายจำเลยจะต้องชำระให้แก่โจทก์ทั้งสองตามคำพิพากษาหรือไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมาย และเมื่อโจทก์ทั้งสองได้รับเงินค่าเสียหายจำนวนนี้ไปแล้ว จึงต้องหักเงินจำนวนดังกล่าวจากจำนวนเงินที่จำเลยทั้ง 4 ต้องชำระให้แก่โจทก์ทั้งสองตามคำพิพากษา จะพิพากษาให้จำเลยรับผิดเต็มจำนวนค่าเสียหายไปก่อน โดยให้เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะไปพิสูจน์ขอหักหนี้ในชั้นบังคับคดีหาได้ไม่ เพราะจะเป็นการพิพากษาให้จำเลยรับผิดเกินกว่าที่จะต้องรับผิดตามกฎหมายและไม่เป็นธรรมแก่จำเลย เมื่อจำเลยที่ 4 วางเงินต่อศาลโดยไม่ได้ระบุว่าให้ชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองคนใดและจำนวนคนละเท่าใด จึงต้องถือว่าให้ชำระแก่โจทก์ทั้งสองคนละ 75,000 บาท เท่าๆ กัน เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่มิได้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6277/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนประกันภัยรถยนต์ กรณีผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับเอง และการกำหนดดอกเบี้ยที่เหมาะสม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยตามสัญญาประกันภัยในกรณีที่โจทก์ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของ ม. และ ส. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการที่โจทก์กระทำละเมิดขับรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยเฉี่ยวชนรถยนต์ของ ม. และ ส. ได้รับความเสียหาย ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ในนามของโจทก์จากจำเลยผู้รับประกันภัยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 ส่วนที่โจทก์จะได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ ม. และ ส. บุคคลภายนอกแล้วหรือไม่นั้น ไม่ใช่สาระสำคัญเพราะมิใช่กรณีรับช่วงสิทธิ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แต่การที่จำเลยปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ เนื่องจากมีหลักฐานในเบื้องต้นว่าโจทก์ไม่ได้เป็นผู้ขับรถยนต์ในขณะเกิดเหตุ และคนขับรถของโจทก์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์อันเป็นเงื่อนไขที่จำเลยจะไม่ต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย จึงเป็นการสู้ความโดยมีเหตุสมควร สมควรกำหนดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6220/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคำพิพากษาผูกพันคู่ความในคดีก่อนหน้าย่อมมีผลผูกพันในคดีต่อมา แม้ผู้ค้ำประกันไม่ได้เป็นคู่ความ
โจทก์และจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ต่างเป็นคู่ความในคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่ง ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวได้วินิจฉัยแล้วว่าจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อและพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ (จำเลยที่ 1 ในคดีนี้) โดยรับรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนไปในสภาพปัจจุบัน คดีถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาของศาลในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสามในคดีนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โจทก์จะกล่าวอ้างหรือโต้เถียงให้ศาลวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้แตกต่างไปจากเดิมไม่ได้ แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะไม่ได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวด้วย เมื่อเป็นกรณีคำพิพากษาผูกพันคู่ความแล้วก็ต้องฟังว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้เพื่อให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้ออีก
โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่กำหนดให้จำเลยทั้งสามรับผิดชำระค่าเสียหาย 1,090,000 บาท แต่มาฎีกาโต้แย้งเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง การคำนวณทุนทรัพย์เพื่อเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาจึงต้องคำนวณจากทุนทรัพย์ 1,090,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่คู่ความยังโต้แย้งกันอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6220/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาถึงที่สุด: ผูกพันคู่ความในคดีต่อมา แม้ผู้ค้ำประกันไม่ได้เป็นคู่ความ
โจทก์และจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ต่างกันเป็นคู่ความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 28326/2541 ของศาลชั้นต้น ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวได้วินิจฉัยแล้วว่าจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อและพิพากษาให้จำเลย (โจทก์ในคดีนี้) ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ (จำเลยที่ 1 ในคดีนี้) โดยรับรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนไปในสภาพปัจจุบัน ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืน คดีถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาของศาลในคดีดังกล่าวจึงย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสามในคดีนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โจทก์จะกล่าวอ้างหรือโต้เถียงให้ศาลวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้แตกต่างไปจากเดิมไม่ได้ แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะไม่ได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวด้วยก็ตาม เมื่อเป็นกรณีคำพิพากษาผูกพันคู่ความแล้วก็ต้องฟังว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้เพื่อให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้ออีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6175/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อค้างชำระ & การเลิกสัญญาโดยปริยาย: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการใช้ทรัพย์
โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์คันพิพาทต่อจำเลยที่ 1 เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถส่งมอบแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีรถยนต์ให้แก่จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อ จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิเลิกสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์และเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 386, 387 และ 391 วรรคสี่ แต่จำเลยที่ 1 หาได้ใช้สิทธิดังกล่าวไม่ ยังคงครอบครองและใช้รถยนต์คันพิพาทต่อไป สัญญาเช่าซื้อรถยนต์คันพิพาทจึงยังไม่ระงับ แม้การที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 5 เป็นต้นไป จะถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อยังไม่ได้ แต่การที่โจทก์ได้เข้าครอบครองรถยนต์คันพิพาทเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2543 โดยจำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้ง ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 สมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันตั้งแต่วันดังกล่าว แม้โจทก์ไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากการที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการนำรถยนต์คันพิพาทออกให้บุคคลภายนอกเช่า โดยอ้างเหตุว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อก็ตาม แต่เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันโจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์คันพิพาทให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6145/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังสืบพยาน: ต้องยื่นก่อนกำหนด และไม่ใช่การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย
ข้อความที่จำเลยขอแก้ไขเป็นการสละข้อต่อสู้เดิมที่ปฏิเสธว่าไม่เคยทำสัญญาค้ำประกัน แล้วยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ยอมรับว่าทำสัญญาค้ำประกันแต่ไม่ต้องรับผิดเนื่องจากคดีขาดอายุความ เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทราบอยู่แล้ว จึงเป็นเรื่องที่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การได้ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เนื่องจากไม่มีการชี้สองสถานและกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ทั้งข้อความที่ขอแก้ไขว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความนั้นไม่ใช่เป็นปัญหาในเรื่องอำนาจฟ้อง จึงมิใช่เป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่อำนาจฟ้อง จึงมิใช่เป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การภายหลังที่โจทก์ได้สืบพยานไปบางส่วนแล้วจึงเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 180
of 85