พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,138 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1266/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทซื้อขายสินค้าเงินเชื่อ: ศาลฎีกาพิพากษายืนยกฟ้องโจทก์ เหตุพยานหลักฐานโจทก์ไม่น่าเชื่อถือ
แม้จําเลยยกข้อต่อสู้ในคำให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัย โดยวินิจฉัยประเด็นอื่นและพิพากษาให้จําเลยที่ 1 เป็นฝ่ายแพ้คดี จําเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคําพิพากษาศาลชั้นต้นที่ไม่วินิจฉัยประเด็นฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมมาด้วยนั้น ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คดีไม่มีประเด็นฟ้องโจทก์เคลือบคลุมในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246 ปัญหาการวินิจฉัยนอกประเด็นดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์ไม่ยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คดีก่อนจําเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้กับพวกรวม 9 คน เป็นจําเลย เรียกเงินตามสัญญาซื้อขายส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจําเลยทั้งสองเรียกเงินที่ได้ชําระแก่จําเลยที่ 1 ก่อนมีการทำสัญญาซื้อขายฉบับที่มี การฟ้องร้องกันในคดีก่อน ทั้งจําเลยทั้งสองให้การในคดีนี้ว่าโจทก์ไม่จ่ายเงินตามสัญญา ดังนี้ ประเด็นในคดีนี้กับคดีก่อนเป็นคนละประเด็น จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนจําเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้กับพวกรวม 9 คน เป็นจําเลย เรียกเงินตามสัญญาซื้อขายส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจําเลยทั้งสองเรียกเงินที่ได้ชําระแก่จําเลยที่ 1 ก่อนมีการทำสัญญาซื้อขายฉบับที่มี การฟ้องร้องกันในคดีก่อน ทั้งจําเลยทั้งสองให้การในคดีนี้ว่าโจทก์ไม่จ่ายเงินตามสัญญา ดังนี้ ประเด็นในคดีนี้กับคดีก่อนเป็นคนละประเด็น จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1148/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีใหม่หลังมีสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม ศาลต้องพิจารณาในคดีเดิม
สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมคดีก่อนถือว่าโจทก์ทั้งสองเป็นบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้จากจำเลยโดยอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ส่วนจำเลยถือได้ว่าเป็นบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองโดยอยู่ในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 274 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมเข้าไปในคดีเดิมตาม มาตรา 7 (2) โจทก์ทั้งสองไม่อาจนำข้อพิพาทในชั้นบังคับคดีดังกล่าวมาฟ้องร้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งได้มีคำพิพากษาตามยอมเป็นคดีใหม่ได้ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสองได้ตาม มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 655/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกัน - ศาลอุทธรณ์ชี้ว่าแม้แจ้งหลังกำหนด แต่การตีความสัญญาต้องคำนึงถึงเหตุผลทางธุรกิจและการขัดแย้งของกฎหมาย
หนังสือค้ำประกันทั้งสี่ฉบับ ข้อ 2 มีข้อความเช่นเดียวกันว่า เมื่อจำเลยได้รับหนังสือแจ้งจากโจทก์ว่าผู้ร้องสอดปฏิบัติผิดสัญญาและไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ไม่ว่าทั้งหมดหรือเฉพาะส่วน จำเลยยอมชำระเงินแทนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความดังกล่าว ย่อมแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าหนังสือค้ำประกันทุกฉบับที่จำเลยมอบแก่โจทก์ก็เพื่อค้ำประกันการทำงานของผู้ร้องสอดในช่วงระยะเวลาที่หนังสือค้ำประกันแต่ละฉบับกำหนดไว้ เพราะหากพ้นจากช่วงระยะเวลาดังกล่าวของหนังสือค้ำประกันฉบับใดฉบับหนึ่ง ก็ไม่อาจถือได้ว่าผู้ร้องสอดปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแก่โจทก์ในฉบับนั้น อันมีผลให้โจทก์ไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันต้องรับผิดแทนผู้ร้องสอดได้ และหากตีความว่าเมื่อผู้ร้องสอดปฏิบัติผิดสัญญาต่อโจทก์ในช่วงเวลาตามที่กำหนดไว้ในหนังสือค้ำประกันก็ตาม โจทก์ยังต้องมีหนังสือแจ้งให้จำเลยชำระหนี้ตามหนังสือค้ำประกันภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละฉบับ ย่อมขัดต่อความประสงค์และมุ่งหมายที่โจทก์ให้จำเลยค้ำประกันการทำงานของผู้ร้องสอดอย่างแท้จริง ทั้งจำเลยประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ โดยได้รับผลประโยชน์ในรูปค่าธรรมเนียมในการออกหนังสือค้ำประกันหนี้ของลูกค้า เช่นผู้ร้องสอด จากผู้ร้องสอดเป็นเงินตอบแทนในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี ของยอดวงเงินค้ำประกัน ซึ่งคิดเป็นรายปี จำเลยย่อมทราบดีว่าในกรณีที่มีการกล่าวอ้างว่า ลูกหนี้ที่ตนค้ำประกันประพฤติผิดสัญญา ย่อมมีข้อโต้แย้งทำให้ไม่อาจแจ้งเหตุให้จำเลยทราบได้ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ดังเช่นคดีนี้ โจทก์อ้างว่าผู้ร้องสอดผิดสัญญาตั้งแต่การส่งมอบงานชุดแรกในวันที่ 30 มิถุนายน 2554 และมีหนังสือแจ้งให้จำเลยชำระหนี้ตามหนังสือค้ำประกันเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2554 ภายหลังจากโจทก์แจ้งถึงการผิดสัญญาให้ผู้ร้องสอดทราบและบอกเลิกสัญญาแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยต้องรับผิดตามหนังสือค้ำประกัน โดยถือเอาวันที่ผู้ร้องสอดปฏิบัติผิดสัญญาในระหว่างช่วงเวลาที่หนังสือค้ำประกันการทำงานของผู้ร้องสอดกำหนดไว้ แม้จะมีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวก็หามีผลให้จำเลยหลุดพ้นความรับผิดไม่ จึงชอบด้วยหลักการตีความสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 368 เมื่อคำนึงประกอบกับสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างอาคารเรือนแถวและสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ซึ่งระบุข้อความในข้อ 16.3 เช่นเดียวกันว่า "ในกรณีข้อพิพาท เพื่อระงับข้อพิพาท คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงนำข้อพิพาทดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม ผลของการพิจารณาจากอนุญาโตตุลาการ ถือว่าเป็นที่สิ้นสุดในข้อพิพาทนั้น" ย่อมมีผลให้โจทก์ต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการว่าผู้ร้องสอดผิดสัญญาและต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จำนวนเท่าใด ซึ่งตามสภาพการณ์ดังกล่าวจะต้องใช้เวลาพิจารณาเนิ่นนานพอสมควร โจทก์ย่อมไม่อาจแจ้งถึงความรับผิดของผู้ร้องสอดให้จำเลยทราบภายในกำหนดเวลาของหนังสือค้ำประกันแต่ละฉบับได้ ซึ่งจะมีผลให้หนังสือค้ำประกันสิ้นผลไปโดยปริยายและไม่มีประโยชน์อันใดที่โจทก์ต้องให้จำเลยทำหนังสือค้ำประกันการทำงานของผู้ร้องสอดแก่โจทก์ อันจะเป็นการขัดแย้งกับหลักการตีความตาม ป.พ.พ. มาตรา 10 เช่นนี้ การตีความสัญญาของศาลอุทธรณ์ที่ให้จำเลยต้องรับผิดในการผิดสัญญาของผู้ร้องสอดแก่โจทก์ แม้โจทก์จะมีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบภายหลังกำหนดเวลาดังกล่าวผ่านพ้นไปแล้วจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยมิได้ยกข้อที่ว่า การที่โจทก์มิได้ทวงถามให้ผู้ร้องสอดชำระหนี้แก่โจทก์ก่อน ผู้ร้องสอดจึงยังมิได้ผิดนัด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้รับผิดตามหนังสือค้ำประกันทั้งสี่ฉบับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 ขึ้นเป็นข้อต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้อง ทั้งผู้ร้องสอดก็กล่าวอ้างเพียงว่าแม้คณะอนุญาโตตุลาการจะได้มีคำชี้ขาดให้ผู้ร้องสอดรับผิดต่อโจทก์ แต่ผู้ร้องสอดได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลแพ่งเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าว และคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล อันเป็นเหตุเพียงพอให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ซึ่งหากคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการถูกศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนแล้ว ผู้ร้องสอดไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์และโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยจ่ายเงินตามหนังสือค้ำประกันได้อีกต่อไป โดยไม่มีประเด็นข้อพิพาทให้โจทก์ต้องนำสืบว่า โจทก์ได้เรียกร้องให้ผู้ร้องสอดรับผิดเพราะเหตุผิดสัญญา และผู้ร้องสอดผิดนัดแล้วจึงมีหนังสือแจ้งให้จำเลยต้องรับผิดตามหนังสือค้ำประกัน ดังนั้น อุทธรณ์ของผู้ร้องสอดในข้อนี้จึงเป็นข้อที่ผู้ร้องสอดมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย แม้ผู้ร้องสอดฎีกาปัญหาข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่อาจรับวินิจฉัยให้เช่นเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 252
อนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยและผู้ร้องสอดร่วมกันชดใช้เงิน 9,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์นั้น ปรากฎว่าระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มีประกาศใช้ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2564 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 อันมีสาระสำคัญเกี่ยวกับมาตรา 7 และมาตรา 224 ว่าให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละสามต่อปีบวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี รวมเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละห้าต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาบวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี แต่ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้น โดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงคิดดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น เมื่อปรากฏว่าสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างอาคารเรือนแถวและสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างอาคารพาณิชย์ มิได้กำหนดดอกเบี้ยไว้ ผู้ร้องสอดและจำเลยจึงต้องรับผิดโดยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องตามที่โจทก์ขอ จนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ เมื่อปัญหาเรื่องอัตราดอกเบี้ยขัดต่อกฎหมายหรือไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและกำหนดดอกเบี้ยให้ถูกต้องตามพระราชกำหนดดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252
จำเลยมิได้ยกข้อที่ว่า การที่โจทก์มิได้ทวงถามให้ผู้ร้องสอดชำระหนี้แก่โจทก์ก่อน ผู้ร้องสอดจึงยังมิได้ผิดนัด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้รับผิดตามหนังสือค้ำประกันทั้งสี่ฉบับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 ขึ้นเป็นข้อต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้อง ทั้งผู้ร้องสอดก็กล่าวอ้างเพียงว่าแม้คณะอนุญาโตตุลาการจะได้มีคำชี้ขาดให้ผู้ร้องสอดรับผิดต่อโจทก์ แต่ผู้ร้องสอดได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลแพ่งเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าว และคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล อันเป็นเหตุเพียงพอให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ซึ่งหากคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการถูกศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนแล้ว ผู้ร้องสอดไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์และโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยจ่ายเงินตามหนังสือค้ำประกันได้อีกต่อไป โดยไม่มีประเด็นข้อพิพาทให้โจทก์ต้องนำสืบว่า โจทก์ได้เรียกร้องให้ผู้ร้องสอดรับผิดเพราะเหตุผิดสัญญา และผู้ร้องสอดผิดนัดแล้วจึงมีหนังสือแจ้งให้จำเลยต้องรับผิดตามหนังสือค้ำประกัน ดังนั้น อุทธรณ์ของผู้ร้องสอดในข้อนี้จึงเป็นข้อที่ผู้ร้องสอดมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย แม้ผู้ร้องสอดฎีกาปัญหาข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่อาจรับวินิจฉัยให้เช่นเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 252
อนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยและผู้ร้องสอดร่วมกันชดใช้เงิน 9,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์นั้น ปรากฎว่าระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มีประกาศใช้ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2564 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 อันมีสาระสำคัญเกี่ยวกับมาตรา 7 และมาตรา 224 ว่าให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละสามต่อปีบวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี รวมเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละห้าต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาบวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี แต่ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้น โดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงคิดดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น เมื่อปรากฏว่าสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างอาคารเรือนแถวและสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างอาคารพาณิชย์ มิได้กำหนดดอกเบี้ยไว้ ผู้ร้องสอดและจำเลยจึงต้องรับผิดโดยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องตามที่โจทก์ขอ จนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ เมื่อปัญหาเรื่องอัตราดอกเบี้ยขัดต่อกฎหมายหรือไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและกำหนดดอกเบี้ยให้ถูกต้องตามพระราชกำหนดดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 547/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การร่วมรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งและผู้รับประกันภัย รวมถึงดอกเบี้ยผิดนัด
คดีนี้จำเลยทั้งสามให้การว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความละเมิดเพราะฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่วันเกิดเหตุละเมิด แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง จำเลยทั้งสามหาจำต้องอุทธรณ์ในประเด็นนี้ไม่ แต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ในประเด็นอื่น จำเลยทั้งสามได้กล่าวคำแก้อุทธรณ์ว่าคำให้การของจำเลยทั้งสามชัดแจ้งและฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว คดีจึงมีประเด็นตามคำแก้อุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่วินิจฉัยให้ เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยก่อน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะผู้กระทำละเมิด ให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะนายจ้างซึ่งต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ที่กระทำละเมิดในทางการที่จ้าง และให้จำเลยที่ 3 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัย จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การชัดแจ้งว่าโจทก์รู้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เมื่อไร จำเลยที่ 3 ก็ไม่ได้ให้การชัดแจ้งเรื่องอายุความตามสัญญาประกันภัย ดังนี้ ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่า ตามคำให้การจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความนั้น ชอบแล้ว สำหรับจำเลยที่ 1 ที่เป็นผู้กระทำละเมิดตามคำให้การย่อมเป็นการแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้เป็นที่เข้าใจแล้วว่า นับแต่วันเกิดเหตุละเมิดถึงวันฟ้องคดีโจทก์ขาดอายุความ 1 ปีแล้ว เฉพาะคำให้การของจำเลยที่ 1 จึงชัดแจ้งชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง แล้ว ปัญหาเรื่องอายุความจึงเป็นประเด็นในคดี โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญา ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ. 4677/2560 ของศาลชั้นต้น กรณีจึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อปรากฏตามคำฟ้องว่า คดีอาญาถึงที่สุดก่อนโจทก์ฟ้องคดีแพ่ง การฟ้องคดีแพ่งย่อมมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา193/32 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายภายในกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสาม ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสอง เมื่อโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2559 อันเป็นวันเกิดเหตุละเมิด โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงยังไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุน ไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันที่ทำละเมิด ประกอบกับหนี้หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินและโจทก์ไม่ได้ทวงถามจำเลยที่ 3 ให้ชำระหนี้ก่อน ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ตกเป็นผู้ผิดนัดมาก่อนที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้อง จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นตันไป ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2559 ซึ่งเป็นวันทำละเมิด จึงไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะผู้กระทำละเมิด ให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะนายจ้างซึ่งต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ที่กระทำละเมิดในทางการที่จ้าง และให้จำเลยที่ 3 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัย จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การชัดแจ้งว่าโจทก์รู้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เมื่อไร จำเลยที่ 3 ก็ไม่ได้ให้การชัดแจ้งเรื่องอายุความตามสัญญาประกันภัย ดังนี้ ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่า ตามคำให้การจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความนั้น ชอบแล้ว สำหรับจำเลยที่ 1 ที่เป็นผู้กระทำละเมิดตามคำให้การย่อมเป็นการแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้เป็นที่เข้าใจแล้วว่า นับแต่วันเกิดเหตุละเมิดถึงวันฟ้องคดีโจทก์ขาดอายุความ 1 ปีแล้ว เฉพาะคำให้การของจำเลยที่ 1 จึงชัดแจ้งชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง แล้ว ปัญหาเรื่องอายุความจึงเป็นประเด็นในคดี โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญา ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ. 4677/2560 ของศาลชั้นต้น กรณีจึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อปรากฏตามคำฟ้องว่า คดีอาญาถึงที่สุดก่อนโจทก์ฟ้องคดีแพ่ง การฟ้องคดีแพ่งย่อมมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา193/32 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายภายในกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสาม ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสอง เมื่อโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2559 อันเป็นวันเกิดเหตุละเมิด โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงยังไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุน ไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันที่ทำละเมิด ประกอบกับหนี้หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินและโจทก์ไม่ได้ทวงถามจำเลยที่ 3 ให้ชำระหนี้ก่อน ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ตกเป็นผู้ผิดนัดมาก่อนที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้อง จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นตันไป ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2559 ซึ่งเป็นวันทำละเมิด จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 139/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขับรถเมาแล้วชนคนตาย ศาลลงโทษฐานขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และปรับดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทน
ความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 โจทก์ร่วมทั้งสามไม่ใช่ผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานนี้โดยตรงจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยหนักกว่าโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมทั้งสามและศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับพิจารณาในข้อหานี้โดยกำหนดโทษใหม่เป็นจำคุก 4 ปี จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวแม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ออกมาจากค่ายสุรธรรมพิทักษ์ แล้วเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางขวาที่มีรถยนต์กระบะของจำเลยแล่นอยู่ โดยผู้ตายไม่ตรวจตรารถที่วิ่งมาในทางตรงให้ปลอดภัยทำให้รถทั้งสองคันเฉี่ยวชนกัน ผู้ตายมิได้ใช้ความระมัดระวังในการเปลี่ยนช่องเดินรถถือว่าผู้ตายมีส่วนประมาทอยู่ด้วย ส่วนจำเลยขับรถยนต์ในขณะมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 182 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ตามที่กฎหมายกำหนด อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (2) ซึ่งเป็นกฎหมายที่มุ่งประสงค์จะเอาผิดและลงโทษผู้ขับขี่ที่เมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น เนื่องจากสุราหรือของมึนเมาทำให้สมรรถภาพในการควบคุมยานพาหนะด้อยประสิทธิภาพลง อันอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลอื่นได้โดยง่าย จำเลยขับรถผ่านที่เกิดเหตุซึ่งเป็นทางตรงและเป็นช่วงเวลากลางวัน หากจำเลยไม่อยู่ในอาการมึนเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น จำเลยก็น่าจะหักรถหลบหรือหยุดรถได้ทันก่อนที่จะเกิดการเฉี่ยวชนกันขึ้น เหตุเฉี่ยวชนจึงเกิดจากความประมาทของจำเลยด้วยเช่นกัน เมื่อจำเลยมีส่วนประมาท จำเลยจึงไม่หลุดพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด
เมื่อจำเลยและผู้ตายต่างเป็นฝ่ายประมาทก่อให้เกิดมูลหนี้ขึ้น กรณีจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ที่บัญญัติว่า ถ้าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดของผู้ต้องเสียหายประกอบด้วยไซร้ ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 223 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และมาตรา 223 บัญญัติว่า ถ้าฝ่ายผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วยไซร้ ท่านว่าหนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญก็คือว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ได้ความว่า จำเลยขับรถยนต์ในขณะมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 182 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ค่อนข้างมาก บ่งชี้ว่าจำเลยไม่แยแสต่อผลร้ายที่จะเกิดขึ้นจากการขับรถในขณะที่ตนเมาสุรา ทั้งจุดชนอยู่ในช่องเดินรถที่สองนับจากซ้ายมือแสดงว่าก่อนเกิดเหตุจำเลยไม่ได้ขับรถในช่องเดินรถซ้ายสุดตามที่กฎหมายกำหนด บนพื้นถนนก็ไม่ปรากฏว่ามีรอยเบรคของรถยนต์คันที่จำเลยขับ ทั้งที่สถาพบริเวณถนนที่เกิดเหตุจำเลยสามารถมองเห็นรถที่แล่นอยู่ในทิศทางเดียวกับรถของตนได้โดยง่าย ตามพฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่า จำเลยมีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่าผู้ตาย จำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชำระแก่โจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดนั้น เป็นจำนวนที่เหมาะสมแล้ว จึงกำหนดให้จำเลยรับผิดชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 เท่ากับจำนวนที่ศาลชั้นต้นกำหนด
เมื่อลงโทษจำเลยฐานขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 160 ตรี วรรคสี่แล้ว ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยฐานขับรถในขณะเมาสุราตามมาตรา 160 ตรี วรรคหนึ่งได้อีก และจำเลยยังมีความผิดฐานขับรถโดยประมาทอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุรา และมิได้พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานขับรถโดยประมาทอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
สำหรับอัตราดอกเบี้ยของค่าสินไหมทดแทน ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามีการประกาศใช้ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 โดยพระราชกำหนดดังกล่าวได้แก้ไข ป.พ.พ. มาตรา 7 และมาตรา 224 เป็นผลให้ดอกเบี้ยผิดนัดปรับเปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาบวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้เป็นไปตามพระราชกำหนดดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252
ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ออกมาจากค่ายสุรธรรมพิทักษ์ แล้วเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางขวาที่มีรถยนต์กระบะของจำเลยแล่นอยู่ โดยผู้ตายไม่ตรวจตรารถที่วิ่งมาในทางตรงให้ปลอดภัยทำให้รถทั้งสองคันเฉี่ยวชนกัน ผู้ตายมิได้ใช้ความระมัดระวังในการเปลี่ยนช่องเดินรถถือว่าผู้ตายมีส่วนประมาทอยู่ด้วย ส่วนจำเลยขับรถยนต์ในขณะมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 182 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ตามที่กฎหมายกำหนด อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (2) ซึ่งเป็นกฎหมายที่มุ่งประสงค์จะเอาผิดและลงโทษผู้ขับขี่ที่เมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น เนื่องจากสุราหรือของมึนเมาทำให้สมรรถภาพในการควบคุมยานพาหนะด้อยประสิทธิภาพลง อันอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลอื่นได้โดยง่าย จำเลยขับรถผ่านที่เกิดเหตุซึ่งเป็นทางตรงและเป็นช่วงเวลากลางวัน หากจำเลยไม่อยู่ในอาการมึนเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น จำเลยก็น่าจะหักรถหลบหรือหยุดรถได้ทันก่อนที่จะเกิดการเฉี่ยวชนกันขึ้น เหตุเฉี่ยวชนจึงเกิดจากความประมาทของจำเลยด้วยเช่นกัน เมื่อจำเลยมีส่วนประมาท จำเลยจึงไม่หลุดพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด
เมื่อจำเลยและผู้ตายต่างเป็นฝ่ายประมาทก่อให้เกิดมูลหนี้ขึ้น กรณีจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ที่บัญญัติว่า ถ้าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดของผู้ต้องเสียหายประกอบด้วยไซร้ ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 223 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และมาตรา 223 บัญญัติว่า ถ้าฝ่ายผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วยไซร้ ท่านว่าหนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญก็คือว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ได้ความว่า จำเลยขับรถยนต์ในขณะมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 182 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ค่อนข้างมาก บ่งชี้ว่าจำเลยไม่แยแสต่อผลร้ายที่จะเกิดขึ้นจากการขับรถในขณะที่ตนเมาสุรา ทั้งจุดชนอยู่ในช่องเดินรถที่สองนับจากซ้ายมือแสดงว่าก่อนเกิดเหตุจำเลยไม่ได้ขับรถในช่องเดินรถซ้ายสุดตามที่กฎหมายกำหนด บนพื้นถนนก็ไม่ปรากฏว่ามีรอยเบรคของรถยนต์คันที่จำเลยขับ ทั้งที่สถาพบริเวณถนนที่เกิดเหตุจำเลยสามารถมองเห็นรถที่แล่นอยู่ในทิศทางเดียวกับรถของตนได้โดยง่าย ตามพฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่า จำเลยมีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่าผู้ตาย จำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชำระแก่โจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดนั้น เป็นจำนวนที่เหมาะสมแล้ว จึงกำหนดให้จำเลยรับผิดชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 เท่ากับจำนวนที่ศาลชั้นต้นกำหนด
เมื่อลงโทษจำเลยฐานขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 160 ตรี วรรคสี่แล้ว ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยฐานขับรถในขณะเมาสุราตามมาตรา 160 ตรี วรรคหนึ่งได้อีก และจำเลยยังมีความผิดฐานขับรถโดยประมาทอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุรา และมิได้พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานขับรถโดยประมาทอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
สำหรับอัตราดอกเบี้ยของค่าสินไหมทดแทน ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามีการประกาศใช้ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 โดยพระราชกำหนดดังกล่าวได้แก้ไข ป.พ.พ. มาตรา 7 และมาตรา 224 เป็นผลให้ดอกเบี้ยผิดนัดปรับเปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาบวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้เป็นไปตามพระราชกำหนดดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4210/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าโมฆะเนื่องจากมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามตามกฎหมาย (โรงแรมในที่ธรณีสงฆ์) คู่กรณีไม่ต้องรับผิดซึ่งกันและกัน
เมื่อโจทก์กับจำเลยทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทกันโดยมีมูลเหตุชักจูงใจเพื่อจะประกอบธุรกิจโรงแรมในอาคารพิพาททั้ง ๆ ที่มีกฎหมายห้ามไว้เช่นนี้จึงเป็นการที่จำเลยทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทกับโจทก์โดยมีวัตถุประสงค์ในมูลเหตุชักจูงใจเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย สัญญาเช่าจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 252
เมื่อสัญญาเช่าเป็นโมฆะโจทก์จะมาเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ และเรียกร้องค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจากจำเลยไม่ได้ ส่วนการคืนทรัพย์สินอันเกิดจากสัญญาเช่าที่เป็นโมฆะจะต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แต่เมื่อโจทก์กับจำเลยทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทโดยมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันเป็นการผิดกฎหมาย จึงถือว่าการที่โจทก์จำเลยกระทำการชำระหนี้ตามสัญญาเช่าเป็นการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย ทั้งโจทก์และจำเลยหาอาจจะเรียกร้องคืนทรัพย์ได้ไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 411 และเมื่อโจทก์กับจำเลยต่างก็กระทำการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายด้วยกันทั้งสองฝ่าย จำเลยจะมาฟ้องแย้งว่าโจทก์กระทำละเมิดหลอกลวงจำเลยด้วยการปกปิดความจริงในเหตุทั้งสาม ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างที่จำเลยนำสืบไม่ได้ ถือว่าเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต
เมื่อสัญญาเช่าเป็นโมฆะโจทก์จะมาเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ และเรียกร้องค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจากจำเลยไม่ได้ ส่วนการคืนทรัพย์สินอันเกิดจากสัญญาเช่าที่เป็นโมฆะจะต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แต่เมื่อโจทก์กับจำเลยทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทโดยมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันเป็นการผิดกฎหมาย จึงถือว่าการที่โจทก์จำเลยกระทำการชำระหนี้ตามสัญญาเช่าเป็นการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย ทั้งโจทก์และจำเลยหาอาจจะเรียกร้องคืนทรัพย์ได้ไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 411 และเมื่อโจทก์กับจำเลยต่างก็กระทำการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายด้วยกันทั้งสองฝ่าย จำเลยจะมาฟ้องแย้งว่าโจทก์กระทำละเมิดหลอกลวงจำเลยด้วยการปกปิดความจริงในเหตุทั้งสาม ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างที่จำเลยนำสืบไม่ได้ ถือว่าเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4028/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันภัยเช่าซื้อ: การคุ้มครองทั้งรถยนต์และสิทธิของเจ้าหนี้เช่าซื้อ, การรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิด
เหตุแห่งการทำสัญญาประกันภัยเป็นผลสืบเนื่องมาจากที่ ว. เช่าซื้อรถจักรยานยนต์จากบริษัท ก. ซึ่งตามกรมธรรม์ประกันภัยแนบท้าย หมวด 2 ข้อตกลงคุ้มครอง และหมวด 4 เงื่อนไขทั่วไป ข้อ 9 ระบุว่า หากทรัพย์สินที่เอาประกันภัยสูญหายจากการลักทรัพย์ โจทก์จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อไม่เกินมูลค่าหนี้ค่าเช่าซื้อที่เหลืออยู่ตามสัญญา ณ วันที่เกิดความสูญหาย ส่วนที่เหลือ (ถ้ามี) โจทก์จะจ่ายให้แก่ผู้เอาประกันภัย ทั้งนี้ สูงสุดไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย แสดงให้เห็นว่าภัยที่ผู้เอาประกันภัยยกขึ้นเอาประกันกับโจทก์คือสิทธิและความรับผิดที่เกิดมีขึ้นตามสัญญาเช่าซื้อ และตามข้อตกลงแห่งกรมธรรม์ยังชี้ให้เห็นถึงภัยซึ่งโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรับเสี่ยงมีลักษณะเป็นการคุ้มครองสิทธิและความรับผิดที่เกิดมีขึ้นตามสัญญาเช่าซื้อเช่นกัน เพราะนำมูลค่าหนี้ค่าเช่าซื้อที่เหลืออยู่ตามสัญญามาเป็นเงื่อนไขแห่งความรับผิดในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนของโจทก์ผู้รับประกันภัยโดยมีบริษัท ก. ผู้ให้เช่าซื้อเป็นผู้รับประโยชน์ แต่ตามตารางกรมธรรม์ประกันภัยนอกจากจะระบุรายละเอียดสัญญาเช่าซื้อไว้ยังได้ระบุถึงทรัพย์สินที่เอาประกันภัยและระบุความคุ้มครองถึงการสูญหายหรือเสียหายโดยสิ้นเชิงของรถจักรยานยนต์ อันเป็นการกำหนดรายการวัตถุที่เอาประกันภัย ถือได้ว่าเป็นการประกันภัยตัวรถจักรยานยนต์คันที่เช่าซื้อ อีกประการหนึ่งด้วย และเงื่อนไขแห่งความรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนของโจทก์ตามสัญญาประกันภัยรวมถึง ภัยที่จะเกิดแก่รถจักรยานยนต์ด้วย หาใช่เพียงสิทธิหรือความรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อเท่านั้นไม่ บริษัท ก. ในฐานะผู้ถือกรรมสิทธิ์และ ว. ในฐานะผู้ครอบครองจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวัตถุที่เอาประกันภัย กรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมีผลผูกพันคู่สัญญา เมื่อรถจักรยานยนต์ถูกโจรกรรมสูญหายไปโดยความประมาทของจำเลย และโจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยแล้ว โจทก์ย่อม เข้ารับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยเรียกให้จำเลยผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้ได้
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกามีการประกาศใช้ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2564 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 โดยพระราชกำหนดดังกล่าวได้แก้ไข ป.พ.พ. มาตรา 7 และมาตรา 224 วรรคหนึ่ง เป็นผลให้ดอกเบี้ยผิดนัดปรับเปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการคิดดอกเบี้ยผิดนัดในระหว่างช่วงเวลาก่อนที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ ปัญหาการกำหนดดอกเบี้ยให้เป็นไปตามกฎหมายเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและกำหนดดอกเบี้ยให้เป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกามีการประกาศใช้ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2564 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 โดยพระราชกำหนดดังกล่าวได้แก้ไข ป.พ.พ. มาตรา 7 และมาตรา 224 วรรคหนึ่ง เป็นผลให้ดอกเบี้ยผิดนัดปรับเปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการคิดดอกเบี้ยผิดนัดในระหว่างช่วงเวลาก่อนที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ ปัญหาการกำหนดดอกเบี้ยให้เป็นไปตามกฎหมายเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและกำหนดดอกเบี้ยให้เป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3332/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกผลทรัพย์สินจากความผิดมูลฐานเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ทรัพย์สินตามรายการที่ 4 ที่ 11 ถึงที่ 14 ที่ 16 และที่ 17 ตกเป็นของแผ่นดิน และให้ดอกผลของทรัพย์สินตามรายการที่ 9 และที่ 10 ตกเป็นของแผ่นดิน โดยมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่ผู้ร้องอุทธรณ์ขอให้ดอกผลของทรัพย์สินตามรายการที่ 1 ถึงที่ 8 ที่ 11 ถึงที่ 18 ตกเป็นของแผ่นดินด้วย จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบมาตรา 246 เมื่อผู้ร้องฎีกาในประเด็นข้อนี้ ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยให้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 240 (3) ประกอบมาตรา 252
ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำซึ่งเป็นความผิดมูลฐานหรือจากการสนับสนุนหรือช่วยเหลือการกระทำซึ่งเป็นความผิดมูลฐาน เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดด้วย เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ทรัพย์สินตามรายการที่ 1 ถึงที่ 8 และที่ 11 ถึงที่ 18 เป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดมูลฐาน ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด และศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์มีคำสั่งและคำพิพากษาให้ตกเป็นของแผ่นดินแล้ว ดอกผลของทรัพย์สินดังกล่าวซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด จึงต้องตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ด้วย
ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำซึ่งเป็นความผิดมูลฐานหรือจากการสนับสนุนหรือช่วยเหลือการกระทำซึ่งเป็นความผิดมูลฐาน เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดด้วย เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ทรัพย์สินตามรายการที่ 1 ถึงที่ 8 และที่ 11 ถึงที่ 18 เป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดมูลฐาน ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด และศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์มีคำสั่งและคำพิพากษาให้ตกเป็นของแผ่นดินแล้ว ดอกผลของทรัพย์สินดังกล่าวซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด จึงต้องตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2582/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าโดยเจตนา แต่มีเหตุบรรเทาโทษทางอาญาจากบันดาลโทสะ และประเด็นดอกเบี้ยผิดนัดตามกฎหมาย
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มีการประกาศใช้ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2564 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 โดยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวให้ยกเลิกความในมาตรา 7 และมาตรา 224 แห่ง ป.พ.พ. และให้ใช้ความใหม่แทน เป็นผลให้ดอกเบี้ยผิดนัดปรับเปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาบวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี ทำให้ดอกเบี้ยผิดนัดของค่าสินไหมทดแทนซึ่งเป็นหนี้เงินที่ถึงกำหนดชำระตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 ต้องปรับเปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ดังนี้ เมื่อปัญหาเรื่องอัตราดอกเบี้ยขัดต่อกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและกำหนดดอกเบี้ยให้ถูกต้องตามพระราชกำหนดดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252 และ ป.วิ.อ. มาตรา 40
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทซื้อขายที่ดินพร้อมบ้าน และการแก้ไขอัตราดอกเบี้ยผิดนัดตามกฎหมาย
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 310,870 บาท พร้อมดอกเบี้ยผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ก็ปรากฏว่ามีประกาศใช้พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2564 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 โดยพระราชกำหนดดังกล่าวได้แก้ไข ป.พ.พ. มาตรา 7 และมาตรา 224 วรรคแรก เป็นผลให้ดอกเบี้ยผิดนัดปรับเปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการคิดดอกเบี้ยผิดนัดในระหว่างก่อนที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ปัญหาการกำหนดดอกเบี้ยตามกฎหมายเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองและกำหนดดอกเบี้ยให้เป็นไปตามพระราชกำหนดดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252