คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1167

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 547 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองหนี้ส่วนบุคคลของกรรมการบริษัท ทำให้ต้องรับผิดร่วมกับบริษัท
จำเลยที่ 2 เป็นประธานกรรมการของบริษัทจำกัด จำเลยที่3 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการเป็นคนไม่มีหลักฐานอย่างใด การดำเนินการขอใช้กระแสไฟฟ้าของโจทก์ในกิจการของบริษัทจำเลยที่ 3 นั้น จำเลยที่ 2 เป็นผู้ไปติดต่อ เมื่อโจทก์ทวงถามค่ากระแสไฟฟ้าที่ค้างชำระจำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้แล้วหลบหนีไปเสีย จำเลยที่2 ไปติดต่อกับโจทก์ว่าทรัพย์สินของบริษัทไม่มีอะไร จำเลยที่ 2 รับรองว่าจะชดใช้ค่ากระแสไฟฟ้าที่ติดค้างให้โจทก์ขอให้โจทก์จ่ายกระแสไฟฟ้าให้ต่อไป และให้ถือเป็นเรื่องส่วนตัวของจำเลยที่ 2 หากไม่รับรองดังนี้ โจทก์ก็คงไม่จ่ายกระแสไฟฟ้าให้ต่อไป แต่แล้วจำเลยที่ 2ก็ไม่ชำระค่ากระแสไฟฟ้าให้โจทก์ความผูกพันของจำเลยที่ 2ที่เข้ารับจะชำระหนี้แทนบริษัทจำเลยที่ 3 ดังกล่าวเป็นไปในลักษณะอันเป็นการส่วนตัวอีก ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมชำระหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าแก่โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองหนี้แทนบริษัท: ความรับผิดส่วนตัวของกรรมการ
จำเลยที่ 2 เป็นประธานกรรมการของบริษัทจำกัด จำเลยที่3จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการเป็นคนไม่มีหลักฐานอย่างใดการดำเนินการขอใช้กระแสไฟฟ้าของโจทก์ในกิจการของบริษัทจำเลยที่ 3 นั้น จำเลยที่ 2 เป็นผู้ไปติดต่อเมื่อโจทก์ทวงถามค่ากระแสไฟฟ้าที่ค้างชำระจำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้แล้วหลบหนีไปเสีย จำเลยที่ 2 ไปติดต่อกับโจทก์ว่าทรัพย์สินของบริษัทไม่มีอะไร จำเลยที่ 2 รับรองว่าจะชดใช้ค่ากระแสไฟฟ้าที่ติดค้างให้โจทก์ขอให้โจทก์จ่ายกระแสไฟฟ้าให้ต่อไป และให้ถือเป็นเรื่องส่วนตัวของจำเลยที่ 2 หากไม่รับรองดังนี้โจทก์ก็คงไม่จ่ายกระแสไฟฟ้าให้ต่อไป แต่แล้วจำเลยที่ 2ก็ไม่ชำระค่ากระแสไฟฟ้าให้โจทก์ความผูกพันของจำเลยที่ 2 ที่เข้ารับจะชำระหนี้แทนบริษัทจำเลยที่ 3 ดังกล่าวเป็นไปในลักษณะอันเป็นการส่วนตัวอีก ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมชำระหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าแก่โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1950/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมเปลี่ยนแปลงสิทธิสัญญาเช่าและการคิดดอกเบี้ยค่าเสียหาย
จำเลยทำสัญญากับโจทก์ ให้โจทก์เช่าห้องในโรงแรมจำเลยตามสัญญากำหนดว่าโจทก์จะต้องเสนอแบบแปลนการตบแต่งห้องให้จำเลยอนุญาตและทำตามที่จำเลยอนุมัติ หาไม่ให้จำเลยเลิกสัญญาและริบเงินประกันการเช่าได้ แม้จะปรากฏว่าโจทก์เข้าไปจัดการตบแต่งห้อง โดยไม่ได้เสนอแบบแปลนต่อจำเลยเสียก่อน แต่การที่จำเลยมอบกุญแจห้องให้โจทก์เข้าไปตบแต่งห้องและมีคนของจำเลยเข้าไปบงการดูแลในการตบแต่งทั้งจำเลยก็กระทำกิจการอยู่ในที่แห่งเดียวกัน ปล่อยให้โจทก์ตบแต่งห้องได้ โดยไม่คัดค้านประการใด พฤติการณ์แวดล้อมดังนี้เป็นปริยายว่าจำเลยได้อนุญาตให้โจทก์เข้าตบแต่งห้องเช่าได้ โดยไม่ต้องยื่นแบบแปลนแล้ว จำเลยจะกลับมาอ้างว่าโจทก์ทำผิดสัญญา ไม่เสนอแบบแปลนก่อนตบแต่งหาได้ไม่
จำเลยขัดขวางไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญาให้เช่าและเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจนโจทก์ต้องมาฟ้องเรียกเงินประกันการเช่าคืนและเรียกค่าเสียหาย ถือได้ว่าโจทก์ยินยอมเลิกการเช่ากับจำเลยแล้วโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในเงินประกันการเช่าที่จะได้คืนจากจำเลยนับตั้งแต่วันที่จำเลยได้รับเงินนั้นไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 เมื่อโจทก์ขอเพียงนับตั้งแต่วันที่จำเลยบอกเลิกสัญญาศาลย่อมพิพากษาให้เพียงเท่าที่โจทก์ขอส่วนดอกเบี้ยในเงินค่าเสียหายโจทก์เรียกได้นับแต่วันที่จำเลยผิดนัด เมื่อไม่ปรากฏวันผิดนัดแน่นอนศาลย่อมคิดให้นับแต่วันฟ้อง
กรรมการทำสัญญาในฐานะผู้แทนของบริษัทจำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคลไม่ต้องรับผิดชอบเป็นส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1950/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมเปลี่ยนแปลงสิทธิในสัญญาเช่า และการผิดสัญญาทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
จำเลยทำสัญญากับโจทก์ ให้โจทก์เช่าห้องในโรงแรมจำเลยตามสัญญากำหนดว่าโจทก์จะต้องเสนอแบบแปลนการตบแต่งห้องให้จำเลยอนุญาตและทำตามที่จำเลยอนุมัติ หาไม่ให้จำเลยเลิกสัญญาและริบเงินประกันการเช่าได้ แม้จะปรากฏว่าโจทก์เข้าไปจัดการตบแต่งห้อง โดยไม่ได้เสนอแบบแปลนต่อจำเลยเสียก่อน แต่การที่จำเลยมอบกุญแจห้องให้โจทก์เข้าไปตบแต่งห้องและมีคนของจำเลยเข้าไปบงการดูแลในการตบแต่ง ทั้งจำเลยก็กระทำกิจการอยู่ในที่แห่งเดียวกัน ปล่อยให้โจทก์ตบแต่งห้องได้ โดยไม่คัดค้านประการใด พฤติการณ์แวดล้อมดังนี้เป็นปริยายว่าจำเลยได้อนุญาตให้โจทก์เข้าตบแต่งห้องเช่าได้ โดยไม่ต้องยื่นแบบแปลนแล้ว จำเลยจะกลับมาอ้างว่าโจทก์ทำผิดสัญญา ไม่เสนอแบบแปลนก่อนตบแต่งหาได้ไม่
จำเลยขัดขวางไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญาให้เช่าและเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจนโจทก์ต้องมาฟ้องเรียกเงินประกันการเช่าคืนและเรียกค่าเสียหาย ถือได้ว่าโจทก์ยินยอมเลิกการเช่ากับจำเลยแล้ว โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในเงินประกันการเช่าที่จะได้คืนจากจำเลยนับตั้งแต่วันที่จำเลยได้รับเงินนั้นไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 เมื่อโจทก์ขอเพียงนับตั้งแต่วันที่จำเลยบอกเลิกสัญญา ศาลย่อมพิพากษาให้เพียงเท่าที่โจทก์ขอส่วนดอกเบี้ยในเงินค่าเสียหายโจทก์เรียกได้นับแต่วันที่จำเลยผิดนัด เมื่อไม่ปรากฏวันผิดนัดแน่นอน ศาลย่อมคิดให้นับแต่วันฟ้อง
กรรมการทำสัญญาในฐานะผู้แทนของบริษัทจำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคล ไม่ต้องรับผิดชอบเป็นส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1309/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างผูกพันแม้ไม่มีตราบริษัท หากยอมรับผลงานและชำระเงินเป็นงวด
ข้อบังคับของบริษัทจำเลยกำหนดว่ากรรมการผู้จัดการมีอำนาจลงนามแทนบริษัทแต่ต้องประทับตราบริษัท การที่บริษัทจำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์โดยในสัญญาไม่ได้ประทับตราบริษัทจำเลยแต่เมื่อบริษัทจำเลยยอมรับเอาผลงานที่โจทก์ทำให้ จนมีการชำระเงินค่าจ้างเรียบร้อยไปงวดหนึ่งแล้ว บริษัทจำเลยจะ ปฏิเสธว่าสัญญาจ้างดังกล่าวไม่ผูกพันบริษัทจำเลยหาได้ไม่ (อ้างฎีกาที่ 1525/2494)
สัญญาจ้างซึ่งระบุว่าผู้จ้างจะจ่ายเงินค่าแรงงานในการก่อสร้างให้แก่ผู้รับจ้างเป็นงวด ๆ นั้น เมื่อผู้รับจ้างทำงานเสร็จตามงวดแล้ว ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ว่าจ้างจ่ายเงินตามงวดที่เสร็จไปแล้วได้ ไม่ต้องรอให้งานเสร็จครบถ้วนตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1309/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงานผูกพันแม้ไม่มีตราบริษัท หากยอมรับผลงานและชำระเงินเป็นงวด
ข้อบังคับของบริษัทจำเลยกำหนดว่ากรรมการผู้จัดการมีอำนาจลงนามแทนบริษัทแต่ต้องประทับตราบริษัท การที่บริษัทจำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์โดยในสัญญาไม่ได้ประทับตราบริษัทจำเลยแต่เมื่อบริษัทจำเลยยอมรับเอาผลงานที่โจทก์ทำให้ จนมีการชำระเงินค่าจ้างเรียบร้อยไปงวดหนึ่งแล้ว บริษัทจำเลยจะปฏิเสธว่าสัญญาจ้างดังกล่าวไม่ผูกพันบริษัทจำเลยหาได้ไม่ (อ้างฎีกาที่ 1525/2494)
สัญญาจ้างซึ่งระบุว่าผู้จ้างจะจ่ายเงินค่าแรงงานในการก่อสร้างให้แก่ผู้รับจ้างเป็นงวด ๆ นั้น เมื่อผู้รับจ้างทำงานเสร็จตามงวดแล้ว ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ว่าจ้างจ่ายเงินตามงวดที่เสร็จไปแล้วได้ ไม่ต้องรอให้งานเสร็จครบถ้วนตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1539/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันกรรมการชุดใหม่ย่อมผูกพันบริษัท แม้มติเดิมจะผิดระเบียบ
ที่ประชุมใหญ่สามัญของบริษัทได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เป็นกรรมการและลงมติให้คณะกรรมการชุดใหม่ให้สัตยาบันการกระทำของคณะกรรมการชุดเก่าได้ ดังนี้ แม้มติที่ประชุมใหญ่วิสามัญซึ่งเรียกประชุมโดยคณะกรรมการชุดเก่าจะผิดระเบียบก็ตาม มติดังกล่าวก็ไม่เสียไปเพราะคณะกรรมการชุดใหม่ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทย่อมมีอำนาจให้สัตยาบันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1539/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันการกระทำของกรรมการชุดเก่าโดยกรรมการชุดใหม่ ย่อมทำให้มติเดิมมีผลใช้ได้ แม้จะผิดระเบียบ
ที่ประชุมใหญ่สามัญของบริษัทได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เป็นกรรมการและลงมติให้คณะกรรมการชุดใหม่ให้สัตยาบันการกระทำของคณะกรรมการชุดเก่าได้ ดังนี้แม้มติที่ประชุมใหญ่วิสามัญซึ่งเรียกประชุมโดยคณะกรรมการชุดเก่าจะผิดระเบียบก็ตาม มติดังกล่าวก็ไม่เสียไปเพราะคณะกรรมการชุดใหม่ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทย่อมมีอำนาจให้สัตยาบันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายหุ้นและกิจการเดินรถโดยกรรมการผู้มีอำนาจกระทำโดยไม่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น สัญญาเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจซึ่งเป็นผู้แทนของบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ต้องกระทำการไปตามวัตถุประสงค์และข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 และอยู่ในครอบงำของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 75 และ 1144 เมื่อจำเลยที่ 2 ไปทำสัญญาโอนขายกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 อันเป็นการกระทำที่อยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของบริษัทจำเลยที่ 1 และบรรดาผู้ถือหุ้นก็ไม่เคยประชุมใหญ่อนุมัติให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาโอนขายได้ และสัญญานั้นจะโอนขายหุ้นทั้งหมดให้แก่โจทก์โดยมิได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ตามข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 ดังนี้ สัญญาโอนหุ้นและกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1ที่จำเลยที่ 2 กระทำไปนั้นจึงไม่ผูกพันบริษัทจำเลยที่ 1 และเมื่อจำเลยที่ 2 ทำสัญญาในฐานะผู้แทนของบริษัทจำเลยที่ 1 มิได้เป็นคู่สัญญาในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 2 จึงไม่ถูกผูกพันที่จะโอนหุ้นและส่งมอบกิจการของบริษัทให้แก่โจทก์ด้วย
สัญญามีใจความเพียงว่า บริษัทจำเลยที่ 1 ตกลงโอนขายหุ้นของผู้ถือหุ้นทั้งหมดและรับรองว่าจะจัดให้ผู้ถือหุ้นเดิมลงชื่อโอนให้แก่โจทก์ภายใน 15 วัน การทำสัญญาดังนี้ ยังมิใช่การดำเนินการโอนหุ้นจะนำมาตรา 1129 มาบังคับหาได้ไม่ จึงไม่อาจถือว่าข้อตกลงนี้เป็นโมฆะตามมาตราดังกล่าว
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาขายหุ้นและกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1แก่โจทก์โดยปราศจากอำนาจที่จะกระทำแทนบริษัทจำเลยที่ 1เมื่อบริษัทจำเลยที่ 1 มิได้ให้สัตยาบันแก่การที่จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาและตามข้อเท็จจริงก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รู้อยู่ว่าจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาโดยปราศจากอำนาจ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์โดยลำพังตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823, 1167
ตามคำบรรยายฟ้องและสำเนาหนังสือสัญญาท้ายฟ้อง โจทก์กล่าวว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ทำสัญญากับโจทก์ และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงนามแทนบริษัทจำเลยที่ 1 โดยแสดงให้ปรากฏในสัญญาว่าจำเลยที่ 2เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามแทนบริษัทและได้รับมอบอำนาจจากที่ประชุมของผู้ถือหุ้นแล้ว ต่อมาจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสองที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยด้วยกันกับจำเลยที่ 1เช่นนี้ พอให้ถือได้ว่าโจทก์ขอให้บังคับเอาแก่จำเลยที่ 2 ด้วยในเมื่อไม่อาจบังคับเอาแก่จำเลยที่ 1 ได้
โจทก์รับซื้อกิจการเดินรถของจำเลยเพื่อดำเนินการเดินรถรับส่งคนโดยสาร เมื่อจำเลยไม่มอบกิจการให้ โจทก์ย่อมไม่ได้รับผลประโยชน์อันควรจะได้ นับว่าเป็นความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญา แม้โจทก์จะนำสืบแสดงจำนวนค่าเสียหายในส่วนนี้ไม่ได้แน่นอนว่าเป็นจำนวนเท่าใด ศาลย่อมกำหนดจำนวนเงินให้จำเลยชดใช้โจทก์ตามที่เห็นสมควรตามพฤติการณ์แห่งคดี
จำเลยที่ 2 ผิดสัญญาไม่อาจโอนหุ้นและกิจการเดินรถให้แก่โจทก์ได้จึงต้องคืนเงินที่รับไว้จากโจทก์ และจะต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่จำเลยผิดสัญญา เพราะไม่มีสิทธิจะเอาเงินไว้ และถือว่าผิดนัดมาตั้งแต่นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายหุ้นและกิจการโดยผู้ไม่มีอำนาจ ผลผูกพันของผู้ทำสัญญา และการชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจซึ่งเป็นผู้แทนของบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ต้องกระทำการไปตามวัตถุประสงค์และข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 และอยู่ในครอบงำของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 และ 1144 เมื่อจำเลยที่ 2 ไปทำสัญญาโอนขายกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 อันเป็นการกระทำที่อยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของบริษัทจำเลยที่ 1 และบรรดาผู้ถือหุ้นก็ไม่เคยประชุมใหญ่อนุมัติให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาโอนขายได้ และสัญญานั้นจะโอนขายหุ้นทั้งหมดให้แก่โจทก์โดยมิได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ตามข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 ดังนี้สัญญาโอนหุ้นและกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1ที่จำเลยที่ 2 กระทำไปนั้นจึงไม่ผูกพันบริษัทจำเลยที่ 1 และเมื่อจำเลยที่ 2 ทำสัญญาในฐานะผู้แทนของบริษัทจำเลยที่ 1 มิได้เป็นคู่สัญญาในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 2 จึงไม่ถูกผูกพันที่จะโอนหุ้นและส่งมอบกิจการของบริษัทให้แก่โจทก์ด้วย
สัญญามีใจความเพียงว่า บริษัทจำเลยที่ 1 ตกลงโอนขายหุ้นของผู้ถือหุ้นทั้งหมดและรับรองว่าจะจัดให้ผู้ถือหุ้นเดิมลงชื่อโอนให้แก่โจทก์ภายใน 15 วัน การทำสัญญาดังนี้ ยังมิใช่การดำเนินการโอนหุ้นจะนำมาตรา 1129 มาบังคับหาได้ไม่ จึงไม่อาจถือว่าข้อตกลงนี้เป็นโมฆะตามมาตราดังกล่าว
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาขายหุ้นและกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 แก่โจทก์โดยปราศจากอำนาจที่จะกระทำแทนบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อบริษัทจำเลยที่ 1 มิได้ให้สัตยาบันแก่การที่จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาและตามข้อเท็จจริงก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รู้อยู่ว่าจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาโดยปราศจากอำนาจ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์โดยลำพังตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823, 1167
ตามคำบรรยายฟ้องและสำเนาหนังสือสัญญาท้ายฟ้อง โจทก์กล่าวว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ทำสัญญากับโจทก์ และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงนามแทนบริษัทจำเลยที่ 1 โดยแสดงให้ปรากฏในสัญญาว่าจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามแทนบริษัทและได้รับมอบอำนาจจากที่ประชุมของผู้ถือหุ้นแล้ว ต่อมาจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสองที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยด้วยกันกับจำเลยที่ 1เช่นนี้ พอให้ถือได้ว่าโจทก์ขอให้บังคับเอาแก่จำเลยที่ 2 ด้วย ในเมื่อไม่อาจบังคับเอาแก่จำเลยที่ 1 ได้
โจทก์รับซื้อกิจการเดินรถของจำเลยเพื่อดำเนินการเดินรถรับส่งคนโดยสาร เมื่อจำเลยไม่มอบกิจการให้ โจทก์ย่อมไม่ได้รับผลประโยชน์อันควรจะได้ นับว่าเป็นความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญา แม้โจทก์จะนำสืบแสดงจำนวนค่าเสียหายในส่วนนี้ไม่ได้แน่นอนว่าเป็นจำนวนเท่าใด ศาลย่อมกำหนดจำนวนเงินให้จำเลยชดใช้โจทก์ตามที่เห็นสมควรตามพฤติการณ์แห่งคดี
จำเลยที่ 2 ผิดสัญญาไม่อาจโอนหุ้นและกิจการเดินรถให้แก่โจทก์ได้จึงต้องคืนเงินที่รับไว้จากโจทก์ และจะต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่จำเลยผิดสัญญา เพราะไม่มีสิทธิจะเอาเงินไว้ และถือว่าผิดนัดมาตั้งแต่นั้น
of 55