พบผลลัพธ์ทั้งหมด 547 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1630/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการในการทำสัญญาและการกระทำแทนบริษัท: แม้ลงชื่อคนเดียวแต่ทำหน้าที่กรรมการผู้จัดการและเป็นประโยชน์ต่อบริษัท ถือว่าบริษัทผูกพันตามสัญญา
บริษัทจำเลยมีกรรมการ 3 คน ตามข้อบังคับต้องมีกรรมการ 2 คนลงชื่อเป็นสำคัญจึงจะผูกพันบริษัท แต่สัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องมีกรรมการคนเดียว ลงชื่อ ตั้งแต่ตั้งบริษัทมากรรมการอีก 2 คนไม่เคยเข้าจัดการ ได้มอบอำนาจให้กรรมการจัดการลงชื่อเป็นผู้จัดการ จึงเป็นการเชิดกรรมการผู้นั้นเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ทำการในฐานะตัวแทน ดังนั้น สัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญากู้ที่กรรมการที่ลงชื่อได้กระทำไปในหน้าที่กรรมการผู้จัดการ และเป็นตัวแทนบริษัทจำเลยและได้ประทับตราบริษัทไว้ด้วย ถือได้ว่าบริษัทจำเลยได้กระทำนิติกรรมและกิจการกับโจทก์เอง บริษัทจำเลยจะกลับปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่
กรรมการบริษัทคนที่ลงชื่อในสัญญากู้ เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับโจทก์เพื่อสั่งสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในนามของบริษัทจำเลย บริษัทจำเลยรับไว้แล้ว ถือว่ากรรมการผู้จัดการกระทำไปในนามบริษัทจำเลยทั้งสิ้น มิใช่กระทำการในฐานะส่วนตัว และบริษัทจำเลยได้รับประโยชน์จากการสั่งสินค้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตเข้ามาจำหน่ายโดยตรง บริษัทจำเลยจะปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่
กรรมการบริษัทคนที่ลงชื่อในสัญญากู้ เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับโจทก์เพื่อสั่งสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในนามของบริษัทจำเลย บริษัทจำเลยรับไว้แล้ว ถือว่ากรรมการผู้จัดการกระทำไปในนามบริษัทจำเลยทั้งสิ้น มิใช่กระทำการในฐานะส่วนตัว และบริษัทจำเลยได้รับประโยชน์จากการสั่งสินค้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตเข้ามาจำหน่ายโดยตรง บริษัทจำเลยจะปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1630/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการลงนามสัญญา แม้ข้อบังคับกำหนด 2 คน แต่การยินยอมมอบอำนาจให้กรรมการคนเดียวดำเนินการได้ ถือผูกพันบริษัท
บริษัทจำเลยมีกรรมการ 3 คน ตามข้อบังคับต้องมีกรรมการ2 คน ลงชื่อเป็นสำคัญจึงจะผูกพันบริษัท แต่สัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องมีกรรมการคนเดียวลงชื่อ ตั้งแต่ตั้งบริษัทมากรรมการอีก 2 คนไม่เคยเข้าจัดการ ได้มอบอำนาจให้กรรมการจัดการลงชื่อเป็นผู้จัดการจึงเป็นการเชิดกรรมการผู้นั้นเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ทำการในฐานะตัวแทน ดังนั้น สัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญากู้ที่กรรมการที่ลงชื่อได้กระทำไปในหน้าที่กรรมการผู้จัดการ และเป็นตัวแทนบริษัทจำเลยและได้ประทับตราบริษัทไว้ด้วย ถือได้ว่าบริษัทจำเลยได้กระทำนิติกรรมและกิจการกับโจทก์เอง บริษัทจำเลยจะกลับปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่
กรรมการบริษัทคนที่ลงชื่อในสัญญากู้ เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับโจทก์เพื่อสั่งสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในนามของบริษัทจำเลย บริษัทจำเลยรับไว้แล้ว ถือว่ากรรมการผู้จัดการกระทำไปในนามบริษัทจำเลยทั้งสิ้น มิใช่กระทำการในฐานะส่วนตัว และบริษัทจำเลยได้รับประโยชน์จากการสั่งสินค้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตเข้ามาจำหน่ายโดยตรงบริษัทจำเลยจะปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่
กรรมการบริษัทคนที่ลงชื่อในสัญญากู้ เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับโจทก์เพื่อสั่งสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในนามของบริษัทจำเลย บริษัทจำเลยรับไว้แล้ว ถือว่ากรรมการผู้จัดการกระทำไปในนามบริษัทจำเลยทั้งสิ้น มิใช่กระทำการในฐานะส่วนตัว และบริษัทจำเลยได้รับประโยชน์จากการสั่งสินค้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตเข้ามาจำหน่ายโดยตรงบริษัทจำเลยจะปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัตยาบันสัญญาโดยบริษัท แม้ไม่มีตราบริษัท หากบริษัทได้รับประโยชน์และถือเอาสัญญาไปใช้
ประธานกรรมการบริษัทจำกัด ไปทำสัญญาแทนบริษัทโดยมิได้ประทับตราตามข้อบังคับ ถ้าบริษัทได้นำเอาสัญญานั้นมาใช้เป็นประโยชน์ในการดำเนินกิจการของตน ย่อมถือว่าบริษัทได้ให้สัตยาบันและมีผลผูกพันบริษัทแล้ว บริษัทจะปฏิเสธไม่รับผิดและขอให้เพิกถอนสัญญาดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัตยาบันสัญญาโดยบริษัท แม้ไม่มีตราบริษัท สัญญาผูกพันเมื่อบริษัทได้รับประโยชน์และใช้สัญญานั้น
ประธานกรรมการบริษัทจำกัด ไปทำสัญญาแทนบริษัทโดยมิได้ประทับตราตามข้อบังคับ ถ้าบริษัทได้นำเอาสัญญานั้นมาใช้เป็นประโยชน์ในการดำเนินกิจการของตน ย่อมถือว่าบริษัทได้ให้สัตยาบันและมีผลผูกพันบริษัทแล้ว บริษัทจะปฏิเสธไม่รับผิด และขอให้เพิกถอนสัญญาดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการบริษัทมีหน้าที่ใช้ความระมัดระวัง ปกปิดข้อมูลทำให้บริษัทเสียหาย ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายไม่ได้
โจทก์เป็นประธานกรรมการบริษัทจำเลยและเป็นเจ้าของที่ดินและตึกซึ่งบริษัทจำเลยเช่าอยู่ โจทก์ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกให้แก่ผู้ซื้อ โดยมีเงื่อนไขเป็นสาระสำคัญว่า โจทก์รับรองจะให้บริษัทจำเลยออกจากตึกและให้ผู้ซื้อเข้าครอบครองที่ดินและตึกภายใน 3 เดือน นับแต่วันทำสัญญา ถ้าโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติได้ โจทก์ยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นเงิน 160,000 บาท โจทก์ได้แจ้งให้บริษัทจำเลยออกจากที่ดินและตึกภายใน 3 เดือน ก่อนครบกำหนด 3 เดือน เพียง 1 วัน โจทก์จึงได้แจ้งให้บริษัทจำเลยทราบว่า ถ้าโจทก์ส่งมอบที่ดินและตึกให้แก่ผู้ซื้อไม่ได้ตามกำหนด โจทก์จะถูกผู้ซื้อเรียกค่าเสียหาย ดังนี้ถือว่าโจทก์เป็นประธานกรรมการบริษัทจำเลยมีหน้าที่จะต้องใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวัง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 โจทก์กลับปกปิดความจริงเรื่องที่จะต้องถูกผู้ซื้อที่ดินและตึกเรียกค่าเสียหาย เพิ่งแจ้งให้บริษัททราบต่อเมื่ออีก 1 วันจะต้องถูกผู้ซื้อปรับ การกระทำของโจทก์เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ผิดวิสัยบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวังจะพึงปฏิบัติ ทำให้บริษัทจำเลยและผู้ถือหุ้นทั้งหลายต้องเสียหาย
โจทก์จะนำผลแห่งความละเมิดของตนมาฟ้องร้องเรียกเบี้ยปรับที่โจทก์ต้องเสียแก่ผู้ซื้อไปและค่าเสียหายอื่น ๆ จากบริษัทจำเลยหาได้ไม่
ค่าสินไหมทดแทนในการที่ผู้เช่าออกจากสถานที่เช่าเนิ่นช้า นั้น ตามธรรมดาควรจะเป็นจำนวนเท่ากับค่าเช่าเป็นรายวัน ส่วนค่าเสียหายอื่นนอกจากนี้ นับว่าเป็นค่าเสียหายในพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งผู้เช่าจะต้องรู้ถึงความเสียหายพิเศษนี้ในระยะเวลาอันสมควรก่อนที่ตกลงไว้ว่าจะออกจากสถานที่เช่า ผู้ให้เช่าจึงเรียกร้องค่าเสียหายในพฤติการณ์พิเศษนี้จากผู้เช่าได้
โจทก์จะนำผลแห่งความละเมิดของตนมาฟ้องร้องเรียกเบี้ยปรับที่โจทก์ต้องเสียแก่ผู้ซื้อไปและค่าเสียหายอื่น ๆ จากบริษัทจำเลยหาได้ไม่
ค่าสินไหมทดแทนในการที่ผู้เช่าออกจากสถานที่เช่าเนิ่นช้า นั้น ตามธรรมดาควรจะเป็นจำนวนเท่ากับค่าเช่าเป็นรายวัน ส่วนค่าเสียหายอื่นนอกจากนี้ นับว่าเป็นค่าเสียหายในพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งผู้เช่าจะต้องรู้ถึงความเสียหายพิเศษนี้ในระยะเวลาอันสมควรก่อนที่ตกลงไว้ว่าจะออกจากสถานที่เช่า ผู้ให้เช่าจึงเรียกร้องค่าเสียหายในพฤติการณ์พิเศษนี้จากผู้เช่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการบริษัทละเลยหน้าที่ ปกปิดความเสียหาย ทำให้บริษัทต้องเสียค่าปรับ ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากบริษัทไม่ได้
โจทก์เป็นประธานกรรมการบริษัทจำเลยและเป็นเจ้าของที่ดินและตึกซึ่งบริษัทจำเลยเช่าอยู่ โจทก์ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกให้แก่ผู้ซื้อ โดยมีเงื่อนไขเป็นสาระสำคัญว่า โจทก์รับรองจะให้บริษัทจำเลยออกจากตึกและให้ผู้ซื้อเข้าครอบครองที่ดินและตึกภายใน 3 เดือน นับแต่วันทำสัญญา ถ้าโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติได้ โจทก์ยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นเงิน 160,000 บาท โจทก์ได้แจ้งให้บริษัทจำเลยออกจากที่ดินและตึกภายใน 3 เดือน ก่อนครบกำหนด 3 เดือนเพียง 1 วันโจทก์จึงได้แจ้งให้บริษัทจำเลยทราบว่า ถ้าโจทก์ส่งมอบที่ดินและตึกให้แก่ผู้ซื้อไม่ได้ตามกำหนด โจทก์จะถูกผู้ซื้อเรียกค่าเสียหายดังนี้ถือว่าโจทก์เป็นประธานกรรมการบริษัทจำเลยมีหน้าที่จะต้องใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวังตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1167 โจทก์กลับปกปิดความจริงเรื่องที่จะต้องถูกผู้ซื้อที่ดินและตึกเรียกค่าเสียหาย เพิ่งแจ้งให้บริษัททราบต่อเมื่ออีก 1 วัน จะต้องถูกผู้ซื้อปรับการกระทำของโจทก์เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ผิดวิสัยบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวังจะพึงปฏิบัติ ทำให้บริษัทจำเลยและผู้ถือหุ้นทั้งหลายต้องเสียหาย โจทก์จะนำผลแห่งความละเมิดของตนมาฟ้องร้องเรียกเบี้ยปรับที่โจทก์ต้องเสียแก่ผู้ซื้อไปและค่าเสียหายอื่นๆ จากบริษัทจำเลยหาได้ไม่
ค่าสินไหมทดแทนในการที่ผู้เช่าออกจากสถานที่เช่าเนิ่นช้า นั้น ตามธรรมดาควรจะเป็นจำนวนเงินเท่ากับค่าเช่าเป็นรายวัน ส่วนค่าเสียหายอื่นนอกจากนี้นับว่าเป็นค่าเสียหายในพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งผู้เช่าจะต้องรู้ถึงความเสียหายพิเศษนี้ในระยะเวลาอันสมควรก่อนที่ตกลงไว้ว่าจะออกจากสถานที่เช่า ผู้ให้เช่าจึงจะเรียกร้องค่าเสียหายในพฤติการณ์พิเศษนี้จากผู้เช่าได้
ค่าสินไหมทดแทนในการที่ผู้เช่าออกจากสถานที่เช่าเนิ่นช้า นั้น ตามธรรมดาควรจะเป็นจำนวนเงินเท่ากับค่าเช่าเป็นรายวัน ส่วนค่าเสียหายอื่นนอกจากนี้นับว่าเป็นค่าเสียหายในพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งผู้เช่าจะต้องรู้ถึงความเสียหายพิเศษนี้ในระยะเวลาอันสมควรก่อนที่ตกลงไว้ว่าจะออกจากสถานที่เช่า ผู้ให้เช่าจึงจะเรียกร้องค่าเสียหายในพฤติการณ์พิเศษนี้จากผู้เช่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกู้ยืมเงินของบริษัท: การสัตยาบันโดยปริยายและการรับผิด
ผู้จัดการของบริษัทจะมีอำนาจที่จะกู้ยืมเงินได้โดยสมบูรณ์หรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อบริษัทได้รับประโยชน์จากการยืมเงินรายนี้โดยตรงก็ย่อมถือได้ว่าบริษัทได้ให้สัตยาบันแก่การกู้ยืมเงินรายนี้โดยปริยายแล้วบริษัทต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกู้ยืมเงินบริษัท: การสัตยาบันโดยปริยายจากประโยชน์ที่ได้รับ
ผู้จัดการของบริษัทจะมีอำนาจที่จะกู้ยืมเงินได้โดยสมบูรณ์หรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อบริษัทได้รับประโยชน์จากการยืมเงินรายนี้โดยตรง ก็ย่อมถือได้ว่าบริษัทได้ให้สัตยาบันแก่การกู้ยืมเงินรายนี้โดยปริยายแล้ว บริษัทต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาโดยกรรมการบริษัทคนเดียวมีผลผูกพันบริษัท แม้ข้อบังคับกำหนดกรรมการ 2 คนลงนาม
การที่กรรมการบริษัทจำกัดนายเดียวลงนามในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างในฐานผู้จัดการบริษัทจำกัด และหลังจากนั้นบริษัทก็ได้ถือเอาผลงานซึ่งผู้รับเหมาก่อสร้างคู่สัญญาได้ดำเนินการตามสัญญาจ้างเหมาเป็นลำดับมานั้น ถือได้ว่าเป็นการทำแทนบริษัทแล้ว แม้ตามข้อบังคับของบริษัทซึ่งจดทะเบียนไว้จะต้องมีกรรมการ 2 นายลงนามแทนบริษัทจึงจะมีผลผูกพันก็ดี
พฤติการณ์เช่นนี้บริษัทจะยกขึ้นเป็นข้ออ้างปฏิเสธต่อบุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่คู่สัญญานั้น ย่อมไม่ชอบ
(อ้างฎีกา 1525/2494)
พฤติการณ์เช่นนี้บริษัทจะยกขึ้นเป็นข้ออ้างปฏิเสธต่อบุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่คู่สัญญานั้น ย่อมไม่ชอบ
(อ้างฎีกา 1525/2494)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันสัญญาจากผู้จัดการบริษัท แม้ข้อบังคับกำหนดกรรมการ 2 นายลงนาม ย่อมต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก
การที่กรรมการบริษัทจำกัดนายเดียวลงนามในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างในฐานผู้จัดการบริษัทจำกัด และหลังจากนั้นบริษัทก็ได้ถือเอาผลงานซึ่งผู้รับเหมาก่อสร้างคู่สัญญาได้ดำเนินการตามสัญญาจ้างเหมาเป็นลำดับมานั้นถือได้ว่าเป็นการทำแทนบริษัทแล้ว แม้ตามข้อบังคับของบริษัทซึ่งจดทะเบียนไว้จะต้อง มีกรรมการ 2 นายลงนามแทนบริษัทจึงจะมีผลผูกพันก็ดี
พฤติการณ์เช่นนี้บริษัทจะยกขึ้นเป็นข้ออ้างปฏิเสธต่อบุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่คู่สัญญานั้น ย่อมไม่ชอบ(อ้างฎีกาที่ 1525/2494)
พฤติการณ์เช่นนี้บริษัทจะยกขึ้นเป็นข้ออ้างปฏิเสธต่อบุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่คู่สัญญานั้น ย่อมไม่ชอบ(อ้างฎีกาที่ 1525/2494)