พบผลลัพธ์ทั้งหมด 547 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5202/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงิน: การลงนามในนามบริษัท และการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญา
ข้อความของสัญญาระบุไว้ชัดแจ้งว่า หนังสือสัญญากู้ยืมเงินฉบับนี้ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผู้กู้ ส่วนโจทก์เป็นฝ่ายผู้ให้กู้ อีกทั้งมีข้อความระบุย้ำอีกว่า สัญญากู้ยืมเงินฉบับนี้ทำในนามของจำเลยที่ 1แสดงให้เห็นเจตนารมณ์อันชัดแจ้งของคู่สัญญาว่ามุ่งเน้นให้จำเลยที่ 1 เท่านั้นที่เป็นคู่สัญญากับโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ลงชื่อในสัญญาก็เป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล โดยจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลยที่ 1หาใช่จำเลยที่ 2 กระทำในฐานะส่วนตัวไม่ แม้มิได้ประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1ไว้ จำเลยที่ 2 ก็ไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญากู้ยืมเงิน การที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกู้ยืมเงินโจทก์ด้วยถือเป็นเรื่องนอกเหนือจากข้อความในสัญญากู้ยืมเงิน เป็นการนำสืบเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบุคคล ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของกรรมการ ผู้ถือหุ้น และผู้สั่งการในสัญญาจัดอบรมสัมมนา
เมื่อฝ่ายจำเลยกับโจทก์ทำสัญญากันให้โจทก์จัดสถานที่ อบรมสัมมนาที่พักพร้อมอาหารเครื่องดื่มให้แก่ฝ่ายจำเลยซึ่งวัตถุประสงค์แห่งสัญญาดังกล่าวไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาตามฟ้องจึงไม่เป็นโมฆะ ส่วนโจทก์แม้จะยังไม่ได้ รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการโรงแรมก็เป็นการไม่ปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2478 ซึ่งเป็นคนละเรื่องกันไม่มีผลกระทบสัญญา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้มาติดต่อใช้โรงแรม ของโจทก์จัดอบรมสัมมนา และตกลงชำระค่าจัดอบรมสัมมนา เป็นเช็คโดยมีข้อตกลงกันว่า หากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยทั้งห้าจะร่วมกันชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ซึ่งต่อมาธนาคารได้ ปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 ก็ออกเช็คชำระหนี้ บางส่วนให้แก่โจทก์ทั้งจำเลยที่ 5 ชำระหนี้บางส่วนเป็นเงิน 50,000 บาท ให้แก่โจทก์ด้วย ย่อมเป็นการบ่งชี้ว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 มีส่วนร่วมในการจัดอบรมสัมมนา นอกจากนี้ยังปรากฏว่า การดำเนินกิจการและการจ่ายเงินของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 เป็นผู้สั่งและตัดสินใจคนเดียว ดังนั้นแม้จำเลยที่ 4 จะเป็น ข้าราชการแต่ก็ได้ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นกรรมการ ของจำเลยที่ 1แทน แสดงว่าจำเลยที่ 4 ร่วมดำเนินกิจการกับ จำเลยที่ 1 ด้วย ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 4 และ ที่ 5 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ดำเนินกิจการ อบรมสัมมนาและทำสัญญาตามฟ้องกับโจทก์ จำเลยที่ 4 และ ที่ 5 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 รับผิดชำระหนี้ ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการเปลี่ยนแปลง, การกระทำเกินอำนาจ, ความรับผิดของบริษัทต่อเช็ค, ความเชื่อโดยสุจริตของบุคคลภายนอก
อ.เดิมเป็นกรรมการผู้เดียวที่มีอำนาจลงนามและประทับตราบริษัทค.กระทำการแทนบริษัทได้ ต่อมาที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทลงมติเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการเป็นว่า จำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งจะลงชื่อเป็นสำคัญผูกพันบริษัทได้ คือ อ.ลงลายมือชื่อร่วมกับว.หรือส.และประทับตราของบริษัทหรือว.ลงชื่อร่วมกับท.และประทับตราบริษัทและที่ประชุมยังได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ใช้ตราประทับใหม่ ดังนี้ แม้ขณะที่มีการกู้ยืมและสั่งจ่ายเช็คพิพาท อ.จะลงชื่อในเช็คพิพาทเพียงคนเดียวและยังใช้รอยตราเดิมของบริษัท ซึ่งเป็นการกระทำนอกเหนืออำนาจก็ตาม แต่การที่อ.จะต้องรับผิดต่อบริษัทและบุคคลภายนอกเพียงใดย่อมเป็นไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1167 เมื่ออ.เคยเป็นผู้มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวลงนามกระทำการแทนบริษัทค. และกิจการคอนโดมิเนียมก็เป็นกิจการของบริษัทดังกล่าวและโจทก์เข้าใจมาแต่ต้นว่าโจทก์ให้บริษัทค.กู้เงินไปลงทุนย่อมเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้บุคคลภายนอกเชื่อว่าการกระทำของอ.อยู่ภายใต้ขอบอำนาจของบริษัทค.ทั้งบริษัทค. ก็ยอมรับผลจากการกระทำเช่นนั้น ดังนั้น ความรับผิดตามเช็คพิพาท จึงตกอยู่แก่บริษัทค.มิใช่อ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการและการผูกพันบริษัทต่อเช็ค แม้การลงนามไม่ถูกต้อง
อ.เดิมเป็นกรรมการผู้เดียวที่มีอำนาจลงนามและประทับตราบริษัท ค. กระทำการแทนบริษัทได้ ต่อมาที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทลงมติเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการเป็นว่าจำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งจะลงชื่อเป็นสำคัญผูกพันบริษัทได้คือ อ.ลงลายมือชื่อร่วมกับ ว.หรือ ส. และประทับตราของบริษัท หรือว.ลงชื่อร่วมกับ ท. และประทับตราบริษัท และที่ประชุมยังได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ใช้ตราประทับใหม่ ดังนี้ แม้ขณะที่มีการกู้ยืมและสั่งจ่ายเช็คพิพาท อ.จะลงชื่อในเช็คพิพาทเพียงคนเดียวและยังใช้รอยตราเดิมของบริษัท ซึ่งเป็นการกระทำนอกเหนืออำนาจก็ตาม แต่การที่ อ.จะต้องรับผิดต่อบริษัทและบุคคลภายนอกเพียงใดย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1167 เมื่อ อ.เคยเป็นผู้มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวลงนามกระทำการแทนบริษัท ค. และกิจการคอนโดมิเนียมก็เป็นกิจการของบริษัทดังกล่าว และโจทก์เข้าใจมาแต่ต้นว่าโจทก์ให้บริษัท ค.กู้เงินไปลงทุน ย่อมเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้บุคคลภายนอกเชื่อว่าการกระทำของ อ.อยู่ภายใต้ขอบอำนาจของบริษัท ค. ทั้งบริษัท ค.ก็ยอมรับผลจากการกระทำเช่นนั้น ดังนั้น ความรับผิดตามเช็คพิพาทจึงตกอยู่แก่บริษัท ค. มิใช่ อ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1680/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาซื้อขายที่ดินโดยไม่มีอำนาจจากจำเลย สัญญาเป็นโมฆะ
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดไม่มีความประสงค์จะขายที่พิพาทให้โจทก์หรือผู้ใด การที่โจทก์ สมคบกับ ป. และ ห. ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้ ป. ขายที่ดินให้โจทก์โดยทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะขายที่ดินพิพาท จึงเป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 ประกอบ มาตรา 1167 สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิด, ความรับผิดร่วม, คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา, ค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์, การจดทะเบียนซ้ำ, การยุยงพนักงาน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายในส่วนที่ยุยงพนักงานโจทก์ให้ทำงานกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเงิน 1,000,000 บาท และให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์จากการจำหน่ายยาปีละ 500,000 บาท นับแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2534 จนกว่าจำเลยที่ 3 จะส่งยาให้โจทก์จำหน่าย โจทก์มิได้อุทธรณ์ คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่เกี่ยวกับจำนวนค่าเสียหายในส่วนนี้จึงถึงที่สุด โจทก์จะฎีกาขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 และจำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายเพิ่มขึ้นอีกไม่ได้ แต่ในส่วนค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์จากการจำหน่ายยาปีละ 500,000 บาท ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้นับจนถึงวันที่ 1 มกราคม 2539 โจทก์มีสิทธิฎีกาได้
จำเลยที่ 3 ไม่ส่งยาให้โจทก์จำหน่ายตามสัญญาตั้งแต่ประมาณเดือนมิถุนายน 2534 และตามสัญญาตั้งโจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายยาของจำเลยที่ 3 แต่ผู้เดียวในประเทศไทยจะสิ้นสุดสัญญาอีกครั้งในวันที่ 1 มกราคม 2539 ประกอบกับตามคำขอท้ายฟ้อง โจทก์ขอให้จำเลยที่ 3 ส่งยาให้แก่โจทก์ตามปกติ นับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่ 1 มกราคม 2539 อันตรงกับวันสิ้นสุดของสัญญาดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าสัญญาสิ้นสุดลงแล้ว โจทก์ย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 3 ส่งยาให้โจทก์จำหน่ายได้อีก และจำเลยที่ 3 มีสิทธิส่งยาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จำหน่ายได้ คำขอโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด กรรมการโจทก์มี 6 คน คือ ว. ส. และ พ. กับกรรมการอื่นอีก 3 คน กรรมการ 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์มีผลผูกพันโจทก์ได้ เมื่อคำฟ้องโจทก์ในช่องคู่ความระบุว่าโจทก์โดย ส. และ พ. กรรมการผู้มีอำนาจ แม้จะแตกต่างจากที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า กรรมการผู้มีอำนาจโจทก์คือ ว. และ พ. ก็ตาม แต่บุคคลทั้งสามตามที่ระบุชื่อต่างก็เป็นกรรมการโจทก์มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์มีผลผูกพันโจทก์ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้สัญญาตั้งโจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายยาแต่ผู้เดียวในประเทศไทยของจำเลยที่ 3 จะมิได้มีกรรมการ 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของโจทก์ตามข้อบังคับของโจทก์ก็ตาม แต่ก็มีข้อความระบุชื่อคู่สัญญาไว้ชัดเจนว่าเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 3 กับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 1 ทำสัญญาในนามโจทก์ จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นคู่สัญญา ทั้งภายหลังทำสัญญาโจทก์และจำเลยที่ 3 ต่างถือเอาสัญญานั้นมาใช้เป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจของตน ย่อมถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันและมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 3 แล้ว
ปัญหาว่า จำเลยทั้งสามได้ร่วมทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 และที่ 2 และมีสิทธิขอให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์จากการจำหน่ายยาโดยนับแต่ปี 2532 จนกว่าจำเลยที่ 3 จะหยุดส่งยาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จำหน่ายหรือไม่นั้น เป็นมูลคดีเดียวกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอกและความผิดต่อ พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจะต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 46
ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ร่วมก่อการตั้งจำเลยที่ 2 ในขณะที่จำเลยที่ 1 ยังเป็นกรรมการโจทก์อยู่ แต่จำเลยที่ 2 ยังมิได้ประกอบกิจการอันใด จึงไม่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ และระหว่างที่จำเลยที่ 1 เป็นกรรมการโจทก์อยู่ จำเลยที่ 1 ไม่ได้จัดให้จำเลยที่ 3 ยกเลิกไม่ส่งยาให้โจทก์จำหน่ายหรือชักนำให้จำเลยที่ 3 แต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายยาแต่ผู้เดียวในประเทศไทยแทนโจทก์ และการที่จำเลยที่ 1 นำยาของจำเลยที่ 3 ที่โจทก์จำหน่ายอยู่ก่อนไปจดทะเบียนซ้ำต่อคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข หรือเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2534 จำเลยที่ 1 ได้สั่งยาหรือนำเข้ายาชนิดเดียวกันกับยาที่จำเลยที่ 3 ส่งให้โจทก์จำหน่ายอยู่ก่อนมาจำหน่ายแทนโจทก์ ทำให้โจทก์ขาดรายได้ปกติและไม่มียาดังกล่าวจำหน่าย ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 พ้นจากการเป็นกรรมการโจทก์ทั้งสิ้น ดังนี้ ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง จึงต้องถือข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่ฟังยุติดังกล่าวว่า จำเลยที่ 1 ร่วมก่อการตั้งจำเลยที่ 2 ในขณะที่จำเลยที่ 1 ยังเป็นกรรมการโจทก์อยู่ แต่จำเลยที่ 2 ยังมิได้ประกอบกิจการอันใด ไม่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 และที่ 2 สั่งหรือนำเข้ายาชนิดเดียวกันกับที่จำเลยที่ 3 ส่งให้โจทก์จำหน่ายอยู่ก่อนมาจำหน่ายแทนโจทก์ เป็นการกระทำภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 พ้นจากการเป็นกรรมการโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีอำนาจกระทำได้ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์จากการจำหน่ายยา
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 แม้จำเลยที่ 3 มิได้ฎีกาก็ตาม แต่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิด กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันมิอาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
จำเลยที่ 3 ไม่ส่งยาให้โจทก์จำหน่ายตามสัญญาตั้งแต่ประมาณเดือนมิถุนายน 2534 และตามสัญญาตั้งโจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายยาของจำเลยที่ 3 แต่ผู้เดียวในประเทศไทยจะสิ้นสุดสัญญาอีกครั้งในวันที่ 1 มกราคม 2539 ประกอบกับตามคำขอท้ายฟ้อง โจทก์ขอให้จำเลยที่ 3 ส่งยาให้แก่โจทก์ตามปกติ นับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่ 1 มกราคม 2539 อันตรงกับวันสิ้นสุดของสัญญาดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าสัญญาสิ้นสุดลงแล้ว โจทก์ย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 3 ส่งยาให้โจทก์จำหน่ายได้อีก และจำเลยที่ 3 มีสิทธิส่งยาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จำหน่ายได้ คำขอโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด กรรมการโจทก์มี 6 คน คือ ว. ส. และ พ. กับกรรมการอื่นอีก 3 คน กรรมการ 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์มีผลผูกพันโจทก์ได้ เมื่อคำฟ้องโจทก์ในช่องคู่ความระบุว่าโจทก์โดย ส. และ พ. กรรมการผู้มีอำนาจ แม้จะแตกต่างจากที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า กรรมการผู้มีอำนาจโจทก์คือ ว. และ พ. ก็ตาม แต่บุคคลทั้งสามตามที่ระบุชื่อต่างก็เป็นกรรมการโจทก์มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์มีผลผูกพันโจทก์ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้สัญญาตั้งโจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายยาแต่ผู้เดียวในประเทศไทยของจำเลยที่ 3 จะมิได้มีกรรมการ 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของโจทก์ตามข้อบังคับของโจทก์ก็ตาม แต่ก็มีข้อความระบุชื่อคู่สัญญาไว้ชัดเจนว่าเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 3 กับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 1 ทำสัญญาในนามโจทก์ จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นคู่สัญญา ทั้งภายหลังทำสัญญาโจทก์และจำเลยที่ 3 ต่างถือเอาสัญญานั้นมาใช้เป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจของตน ย่อมถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันและมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 3 แล้ว
ปัญหาว่า จำเลยทั้งสามได้ร่วมทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 และที่ 2 และมีสิทธิขอให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์จากการจำหน่ายยาโดยนับแต่ปี 2532 จนกว่าจำเลยที่ 3 จะหยุดส่งยาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จำหน่ายหรือไม่นั้น เป็นมูลคดีเดียวกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอกและความผิดต่อ พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจะต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 46
ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ร่วมก่อการตั้งจำเลยที่ 2 ในขณะที่จำเลยที่ 1 ยังเป็นกรรมการโจทก์อยู่ แต่จำเลยที่ 2 ยังมิได้ประกอบกิจการอันใด จึงไม่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ และระหว่างที่จำเลยที่ 1 เป็นกรรมการโจทก์อยู่ จำเลยที่ 1 ไม่ได้จัดให้จำเลยที่ 3 ยกเลิกไม่ส่งยาให้โจทก์จำหน่ายหรือชักนำให้จำเลยที่ 3 แต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายยาแต่ผู้เดียวในประเทศไทยแทนโจทก์ และการที่จำเลยที่ 1 นำยาของจำเลยที่ 3 ที่โจทก์จำหน่ายอยู่ก่อนไปจดทะเบียนซ้ำต่อคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข หรือเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2534 จำเลยที่ 1 ได้สั่งยาหรือนำเข้ายาชนิดเดียวกันกับยาที่จำเลยที่ 3 ส่งให้โจทก์จำหน่ายอยู่ก่อนมาจำหน่ายแทนโจทก์ ทำให้โจทก์ขาดรายได้ปกติและไม่มียาดังกล่าวจำหน่าย ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 พ้นจากการเป็นกรรมการโจทก์ทั้งสิ้น ดังนี้ ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง จึงต้องถือข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่ฟังยุติดังกล่าวว่า จำเลยที่ 1 ร่วมก่อการตั้งจำเลยที่ 2 ในขณะที่จำเลยที่ 1 ยังเป็นกรรมการโจทก์อยู่ แต่จำเลยที่ 2 ยังมิได้ประกอบกิจการอันใด ไม่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 และที่ 2 สั่งหรือนำเข้ายาชนิดเดียวกันกับที่จำเลยที่ 3 ส่งให้โจทก์จำหน่ายอยู่ก่อนมาจำหน่ายแทนโจทก์ เป็นการกระทำภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 พ้นจากการเป็นกรรมการโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีอำนาจกระทำได้ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์จากการจำหน่ายยา
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 แม้จำเลยที่ 3 มิได้ฎีกาก็ตาม แต่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิด กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันมิอาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทน, การบอกเลิกสัญญา, ความรับผิดร่วมของกรรมการบริษัท
โจทก์ฟ้องระบุค่าเสียหายไว้ตามรายละเอียดปรากฏตามเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยให้การว่าเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวไม่ใช่หลักฐานแห่งการเป็นหนี้แต่อย่างใด แสดงว่าจำเลยเข้าใจฟ้องโจทก์เป็นอย่างดี ส่วนค่าเสียหายดังกล่าวกระทำขึ้นเมื่อใด วันเดือนปีใด จำนวนกี่ครั้งครั้งละเท่าใดนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ เมื่อฟ้องโจทก์บรรยายชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับครบถ้วนแล้ว จึงไม่เคลือบคลุม สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยไม่มีข้อความตอนใดที่ให้สิทธิแก่จำเลยในอันที่จะบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์ กรณีจึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญา การที่จำเลยเป็นผู้บอกเลิกสัญญาแต่ฝ่ายเดียวจึงไม่ชอบ สัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสองมีข้อความชัดแจ้งว่าสัญญานี้ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลยที่ 1 ผู้ให้สัญญาฝ่ายหนึ่ง และโจทก์ที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะห้างหุ้นส่วนจำกัด โจทก์ที่ 1 อีกฝ่ายหนึ่ง เช่นนี้ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญา และความรับผิดของกรรมการผู้จัดการ
โจทก์ฟ้องระบุค่าเสียหายไว้ตามรายละเอียดปรากฏตามเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยให้การว่าเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวไม่ใช่หลักฐานแห่งการเป็นหนี้แต่อย่างใด แสดงว่าจำเลยเข้าใจฟ้องโจทก์เป็นอย่างดี ส่วนค่าเสียหายดังกล่าวกระทำขึ้นเมื่อใด วันเดือนปีใด จำนวนกี่ครั้ง ครั้งละเท่าใดนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ เมื่อฟ้องโจทก์บรรยายชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับครบถ้วนแล้ว จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยไม่มีข้อความตอนใดที่ให้สิทธิแก่จำเลยในอันที่จะบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์ กรณีจึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญา การที่จำเลยเป็นผู้บอกเลิกสัญญาแต่ฝ่ายเดียวจึงไม่ชอบ
สัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสองมีข้อความชัดแจ้งว่าสัญญานี้ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลยที่ 1 ผู้ให้สัญญา ฝ่ายหนึ่ง และโจทก์ที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะห้างหุ้นส่วนจำกัด โจทก์ที่ 1 อีกฝ่ายหนึ่ง เช่นนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย จึงชอบแล้ว
สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยไม่มีข้อความตอนใดที่ให้สิทธิแก่จำเลยในอันที่จะบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์ กรณีจึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญา การที่จำเลยเป็นผู้บอกเลิกสัญญาแต่ฝ่ายเดียวจึงไม่ชอบ
สัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสองมีข้อความชัดแจ้งว่าสัญญานี้ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลยที่ 1 ผู้ให้สัญญา ฝ่ายหนึ่ง และโจทก์ที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะห้างหุ้นส่วนจำกัด โจทก์ที่ 1 อีกฝ่ายหนึ่ง เช่นนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดส่วนบุคคลจากการสลักหลังเช็ค: ประเด็นนอกคำฟ้องสัญญาซื้อขาย
โจทก์ประสงค์จะติดต่อค้าขายกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปจดทะเบียนตั้งบริษัท เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 จัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 3 ขึ้น จำเลยที่ 2 ก็ได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ให้โจทก์โดยประทับตราจำเลยที่ 3 แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท จำเลยที่ 1 และที่ 2ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 3 ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัว
ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทจึงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวนั้น คดีนี้โจทก์ตั้งรูปเรื่องในฟ้องว่า จำเลยทั้งสามรับสินค้าของโจทก์ไปจำหน่ายโดยจำเลยทั้งสามจะต้องชำระค่าสินค้าตามราคาและเวลาที่ตกลงกันไว้ ส่วนการจำหน่ายสินค้าจำเลยทั้งสามจะจำหน่ายในราคาเท่าใดก็ได้ เป็นเรื่องของจำเลยทั้งสาม โจทก์มิได้เกี่ยวข้องด้วย รูปเรื่องตามฟ้องโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นเรื่องของสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ส่วนที่ฟ้องโจทก์บรรยายถึงเช็คพิพาทมาด้วยก็เพื่อแสดงให้เห็นพฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสามนำเช็คพิพาทมาชำระหนี้ค่าสินค้าแล้วโจทก์ยังไม่ได้รับเงินเท่านั้น ไม่มีผลทำให้ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องตั๋วเงินไปด้วย แม้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่โจทก์นำสืบว่า เช็คมีจำเลยที่ 1 ลงชื่อสลักหลังก็ไม่ปรากฏลายมือชื่อจำเลยที่ 1 ตามที่พยานโจทก์อ้าง โจทก์ก็อุทธรณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้เพียงว่าเป็นการวินิจฉัยที่ฝ่าฝืนต่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ทั้ง ๆ ที่โจทก์ได้ชี้ตำแหน่งที่จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คให้ศาลทราบแล้ว จำเลยไม่สืบพยาน จึงต้องฟังตามที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ค้ากับโจทก์ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นเพียงเครื่องมือที่เชิดออกมาให้เป็นผู้เสียภาษี กำไรที่ได้เป็นของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ได้ตรวจดูเช็คทั้ง 7 ฉบับแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้สลักหลัง ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาในทำนองขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวในฐานะผู้สลักหลังเช็คพิพาทนั้นจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทจึงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวนั้น คดีนี้โจทก์ตั้งรูปเรื่องในฟ้องว่า จำเลยทั้งสามรับสินค้าของโจทก์ไปจำหน่ายโดยจำเลยทั้งสามจะต้องชำระค่าสินค้าตามราคาและเวลาที่ตกลงกันไว้ ส่วนการจำหน่ายสินค้าจำเลยทั้งสามจะจำหน่ายในราคาเท่าใดก็ได้ เป็นเรื่องของจำเลยทั้งสาม โจทก์มิได้เกี่ยวข้องด้วย รูปเรื่องตามฟ้องโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นเรื่องของสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ส่วนที่ฟ้องโจทก์บรรยายถึงเช็คพิพาทมาด้วยก็เพื่อแสดงให้เห็นพฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสามนำเช็คพิพาทมาชำระหนี้ค่าสินค้าแล้วโจทก์ยังไม่ได้รับเงินเท่านั้น ไม่มีผลทำให้ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องตั๋วเงินไปด้วย แม้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่โจทก์นำสืบว่า เช็คมีจำเลยที่ 1 ลงชื่อสลักหลังก็ไม่ปรากฏลายมือชื่อจำเลยที่ 1 ตามที่พยานโจทก์อ้าง โจทก์ก็อุทธรณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้เพียงว่าเป็นการวินิจฉัยที่ฝ่าฝืนต่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ทั้ง ๆ ที่โจทก์ได้ชี้ตำแหน่งที่จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คให้ศาลทราบแล้ว จำเลยไม่สืบพยาน จึงต้องฟังตามที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ค้ากับโจทก์ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นเพียงเครื่องมือที่เชิดออกมาให้เป็นผู้เสียภาษี กำไรที่ได้เป็นของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ได้ตรวจดูเช็คทั้ง 7 ฉบับแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้สลักหลัง ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาในทำนองขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวในฐานะผู้สลักหลังเช็คพิพาทนั้นจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการบริษัทจำกัดต่อหนี้ของบริษัท: สัญญาซื้อขายและเช็คพิพาท
โจทก์ประสงค์จะติดต่อค้าขายกับจำเลยที่1และที่2โดยให้จำเลยที่1และที่2ไปจดทะเบียนตั้งบริษัทเมื่อจำเลยที่1และที่2จัดตั้งบริษัทจำเลยที่3ขึ้นจำเลยที่2ก็ได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ให้โจทก์โดยประทับตราจำเลยที่3แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทจำเลยที่1และที่2ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่3ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัว ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่1ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทจึงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวนั้นคดีนี้โจทก์ตั้งรูปเรื่องในฟ้องว่าจำเลยทั้งสามรับสินค้าของโจทก์ไปจำหน่ายโดยจำเลยทั้งสามจะต้องชำระค่าสินค้าตามราคาและเวลาที่ตกลงกันไว้ส่วนการจำหน่ายสินค้าจำเลยทั้งสามจะจำหน่ายในราคาเท่าใดก็ได้เป็นเรื่องของจำเลยทั้งสามโจทก์มิได้เกี่ยวข้องด้วยรูปเรื่องตามฟ้องโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นเรื่องของสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดส่วนที่ฟ้องโจทก์บรรยายถึงเช็คพิพาทมาด้วยก็เพื่อแสดงให้เห็นพฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสามนำเช็คพิพาทมาชำระหนี้ค่าสินค้าแล้วโจทก์ยังไม่ได้รับเงินเท่านั้นไม่มีผลทำให้ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องตั๋วเงินไปด้วยแม้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่โจทก์นำสืบว่าเช็คมีจำเลยที่1ลงชื่อสลักหลังก็ไม่ปรากฎลายมือชื่อจำเลยที่1ตามที่พยานโจทก์อ้างโจทก์ก็อุทธรณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้เพียงว่าเป็นการวินิจฉัยที่ฝ่าฝืนต่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบทั้งๆที่โจทก์ได้ชี้ตำแหน่งที่จำเลยที่1ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คให้ศาลทราบแล้วจำเลยไม่สืบพยานจึงต้องฟังตามที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่1และที่2เป็นผู้ค้ากับโจทก์ส่วนจำเลยที่3เป็นเพียงเครื่องมือที่เชิดออกมาให้เป็นผู้เสียภาษีกำไรที่ได้เป็นของจำเลยที่1และที่2เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าได้ตรวจดูเช็คทั้ง7ฉบับแล้วไม่ปรากฎว่ามีชื่อจำเลยที่1เป็นผู้สลักหลังดังนั้นที่โจทก์ฎีกาในทำนองขอให้จำเลยที่1รับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวในฐานะผู้สลักหลังเช็คพิพาทนั้นจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำฟ้องศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย