คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1167

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 547 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4214/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบังคับห้างหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด และผลผูกพันจากการลงลายมือชื่อในเช็ค
ข้อบังคับของจำเลยที่1กำหนดว่าการทำนิติกรรมใดๆต้องมีหุ้นส่วนผู้จัดการสองคนลงลายมือชื่อและประทับตราของจำเลยที่1การที่จำเลยที่2ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทแต่ผู้เดียวจึงไม่ถูกต้องถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทอันจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา900แม้จำเลยที่2จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1ด้วยคนหนึ่งแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่1ได้เชิดจำเลยที่2ออกเป็นตัวแทนทั้งมิได้มีการนำเงินที่ได้จากการสั่งจ่ายเช็คพิพาทมาใช้ในกิจการของจำเลยที่1อันจะถือได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันแก่การกระทำของจำเลยที่2และมีผลผูกพันจำเลยที่1ดังนี้จำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4214/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการและการผูกพันของห้างหุ้นส่วนจำกัดต่อเช็ค
ข้อบังคับของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 กำหนดว่า การทำนิติกรรมใด ๆต้องมีหุ้นส่วนผู้จัดการสองคนลงลายมือชื่อและประทับตราของจำเลยที่ 1การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทแต่ผู้เดียวจึงไม่ถูกต้อง ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทอันจะต้องรับผิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 900 แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ด้วยคนหนึ่งแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้เชิดจำเลยที่ 2 ออกเป็นตัวแทน ทั้งมิได้มีการนำเงินที่ได้จากการสั่งจ่ายเช็คพิพาทมาใช้ในกิจการของจำเลยที่ 1 อันจะถือได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันแก่การกระทำของจำเลยที่ 2 และมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ดังนี้ จำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3121-3461/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและสิทธิลูกจ้าง: การหยุดงานตามคำสั่งนายจ้าง ค่าชดเชย และความรับผิดของกรรมการ
ก่อนเลิกจ้างจำเลยที่1มีคำสั่งให้โจทก์ทั้งหมดไม่ต้องมาทำงานโดยจะจ่ายค่าจ้างให้โจทก์กึ่งหนึ่งแต่โจทก์ไม่พอใจจึงไปร้องเรียนต่อกระทรวงแรงงานฯต่อมาจำเลยที่1มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์การที่โจทก์ทั้งหมดหยุดงานจึงเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่1ไม่ใช่เป็นการนัดหยุดงานเมื่อมีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้การกระทำของโจทก์ดังกล่าวไม่เป็นการละทิ้งหน้าที่หรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแต่อย่างใด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ2นิยามคำว่านายจ้างว่ากรณีนายจ้างเป็นนิติบุคคลให้หมายถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลจำเลยที่2และที่3เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่1จึงเป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งหมดแต่กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1167เมื่อจำเลยที่2และที่3เลิกจ้างโจทก์โดยกระทำในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, การรุกล้ำที่ดิน, และความรับผิดของกรรมการบริษัท
คดีนี้จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.พ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อกำแพงของจำเลยที่ปิดกั้นที่ดินโจทก์และให้รื้อหลังคาที่คร่อมที่ดินโจทก์ออกไป เป็นคดีที่โจทก์ใช้สิทธิการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เรียกร้องให้ขจัดความเดือดร้อนรำคาญให้สิ้นไป ตราบใดที่จำเลยที่ 1 ยังก่อความเดือดร้อนรำคาญอยู่โจทก์ย่อมฟ้องร้องขอให้บังคับได้ มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายในทางละเมิด จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งอายุความ 1 ปี
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดซึ่งการแสดงออกย่อมกระทำโดยทางกรรมการ ความเกี่ยวพันระหว่างกรรมการและบริษัทและบุคคลภายนอกให้บังคับตาม ป.พ.พ.ว่าด้วยตัวแทน เมื่อหลังคาโรงงานของจำเลยที่ 1รุกล้ำเป็นละเมิดต่อที่ดินของโจทก์ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจจึงต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของตัวแทนที่ลาออก: การกระทำของกรรมการที่พ้นสภาพแล้วย่อมไม่มีผลผูกพันบริษัท
ตามข้อบังคับของบริษัทโจทก์กำหนดให้กรรมการคือ ส.ช.และจ. มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยกรรมการสองในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราบริษัทจึงจะผูกพันโจทก์แต่การที่ ส.ซึ่งได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์แล้วยังมาร่วมลงลายมือชื่อกับ ช. ในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอีก เป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ ความเกี่ยวพันกันในระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส.ผู้เป็นกรรมการนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1167 กำหนดให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826,827,386หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023นั้น เป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการลาออก, ตัวแทน, ผลการเปลี่ยนแปลงกรรมการต่อบุคคลภายนอก
ตามข้อบังคับของบริษัทโจทก์กำหนดให้กรรมการคือ ส. ช. และจ. มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยกรรมการสองในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราบริษัทจึงจะผูกพันโจทก์ แต่การที่ ส.ซึ่งได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์แล้วยังมาร่วมลงลายมือชื่อกับ ช.ในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอีก เป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์
ความเกี่ยวพันกันในระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส.ผู้เป็นกรรมการนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1167 กำหนดให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826, 827, 386 หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้น เป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของตัวแทนบริษัทเมื่อกรรมการลาออก การกระทำของตัวแทนที่ปราศจากอำนาจผูกพันบริษัทไม่ได้
ความเกี่ยวพันระหว่างบริษัทกับกรรมการนั้น ป.พ.พ มาตรา 1167ให้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยตัวแทน ดังนั้น ส. ในฐานะกรรมการย่อมบอกเลิกการเป็นผู้แทนโจทก์ในเวลาใด ๆ ก็ได้ และมีผลทันทีเมื่อแสดงเจตนาแก่โจทก์ตามมาตรา 826,827,386 หาใช่มีผลเมื่อโจทก์นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้น เป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้จนกว่าจะได้พิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้ โจทก์มอบอำนาจให้ จ. ฟ้องคดีโดยมี ส. ร่วมลงลายมือชื่อกับกรรมการอื่นของโจทก์กระทำการแทนโจทก์ แต่ ส. ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการของโจทก์ไปก่อนหน้านี้แล้ว การกระทำของ ส.จึงเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจ จ. ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4949/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจฟ้องคดีหลังพ้นจากตำแหน่งกรรมการ: อำนาจฟ้องเป็นโมฆะ
การที่ ส.ลงลายมือชื่อร่วมกับ ช. มอบอำนาจให้ จ.ฟ้องจำเลยเป็นการกระทำภายหลังจาก ส.ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดแล้ว จึงไม่ต้องด้วยข้อบังคับของโจทก์ตามหนังสือรับรองที่กำหนดให้กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ คือ ส. ช. และ จ. สองในสามคนนี้ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของบริษัทจึงจะกระทำการผูกพันโจทก์ การกระทำของ ส.เป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ จ.ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์
ความเกี่ยวพันระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส.ผู้เป็นกรรมการนั้นป.พ.พ. มาตรา 1167 บัญญัติให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826,827, 386 หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้นเป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่คดีนี้จำเลยถูกฟ้องในฐานะผู้กู้ยืมเงินจากโจทก์ มิใช่ในฐานะผู้ถือหุ้นของโจทก์ จึงนับว่าเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4949/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีและการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัท: ผลของการลาออกและการมอบอำนาจ
การที่ ส.ลงลายมือชื่อร่วมกับช.มอบอำนาจให้ จ.ฟ้องจำเลยเป็นการกระทำภายหลังจาก ส.ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดแล้ว จึงไม่ต้องด้วยข้อบังคับของโจทก์ตามหนังสือรับรองที่กำหนด ให้กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ คือ ส.ช. และ จ. สองในสามคนนี้ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของบริษัทจึงจะกระทำการผูกพันโจทก์ การกระทำของ ส. เป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ จ. ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ ความเกี่ยวพันระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส. ผู้เป็นกรรมการนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1167 บัญญัติให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียในเวลาใด ๆก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826,827,386 หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้นเป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการ เปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือ ราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่คดีนี้จำเลยถูกฟ้องในฐานะ ผู้กู้ยืมเงินจากโจทก์ มิใช่ในฐานะผู้ถือหุ้นของโจทก์จึงนับว่าเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4949/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีต้องเป็นไปตามข้อบังคับบริษัท การลาออกกรรมการมีผลทันทีตามหลักตัวแทน
การที่ ส.ลงลายมือชื่อร่วมกับช. มอบอำนาจให้จ. ฟ้องจำเลยเป็นการกระทำภายหลังจาก ส. ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดแล้วจึงไม่ต้องด้วยข้อบังคับของโจทก์ตามหนังสือรับรองที่กำหนดให้กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ คือ ส.ช. และ จ.สองในสามคนนี้ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของบริษัทจึงจะกระทำการผูกพันโจทก์ การกระทำของจำเลย ส.จึงเป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ จ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ การลาออกของ ส. ยังไม่มีผลตามกฎหมายเพราะยังไม่ได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง แต่ความเกี่ยวพันกันในระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส. ผู้เป็นกรรมการนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1167 กำหนดให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียในเวลาใด ๆก็ได้ทุกเมื่อและย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826,827,386 หาใช่มีผลต่อเมื่อ โจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้น เป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่จำเลยถูกฟ้องในฐานะผู้กู้ยืมเงินจากโจทก์มิใช่ในฐานะผู้ถือหุ้นของโจทก์ จึงนับว่าเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้
of 55