คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1167

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 547 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันคำให้การของตัวแทน และการรับพยานหลักฐานที่มิได้ส่งสำเนาตามอำนาจศาลแรงงาน
หนังสือมอบอำนาจของจำเลยที่มอบอำนาจให้ ช.ต่อสู้คดีไม่ได้ประทับตราสำคัญของจำเลย แต่การที่ ช. ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้แล้วจำเลยได้แต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีต่อมาโดยนำสืบพยานไปตามคำให้การนั้น ถือได้ว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันยอมรับคำให้การดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำสืบพยานไปตามคำให้การนั้นได้โดยชอบ.
จำเลยนำสืบเอกสารหมาย ล.1 ถึงล.15 โดยมิได้ส่งสำเนาให้แก่โจทก์ แต่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับคดีและจำเลยได้ยื่นบัญชีระบุอ้างเป็นพยานแล้ว เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมถือว่าเป็นพยานที่ศาลเรียกมา ดังนี้ เมื่อศาลแรงงานได้ใช้อำนาจตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 แล้ว เอกสารดังกล่าวย่อมรับฟังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการ, การผูกพันสัญญา, การปฏิเสธสิทธิ, และการสละเงื่อนเวลาในการบังคับตามสัญญา
การเป็นหม้ายเป็นเพียงรายละเอียดข้อเท็จจริง มิใช่สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับหรือข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่ง ข้อหา แม้โจทก์จะมิได้ระบุไว้ในคำฟ้องและหนังสือมอบอำนาจ โจทก์นำสืบได้ว่าโจทก์เป็นหม้าย หาเป็นการนำสืบนอกฟ้อง แต่อย่างใดไม่
ฎีกาของจำเลยที่มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัย
สัญญามัดจำก่อสร้างมีข้อความระบุว่า ป. ทำสัญญาในฐานะที่เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลย มิใช่ทำในนามของตนเองแม้อำนาจกรรมการของบริษัทจำเลยที่จดทะเบียนไว้จะต้องมีกรรมการสองคนร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทเมื่อ ป. เป็นกรรมการและคณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งให้ ป. เป็นผู้จัดการบริษัทจำเลย ป. แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจ ทำสัญญาแทนจำเลย ทั้งบริษัทจำเลยก็ยอมรับเอาผลแห่งการกระทำของ ป. ตลอดมาเพื่อจะอ้างว่า ป. ไม่มีอำนาจ หลังจากที่มีการเปลี่ยนกรรมการใหม่ จึงไม่มีผลลบล้างสัญญาที่ทำไว้แล้ว สัญญาดังกล่าวจึงผูกพันจำเลย
จำเลยปฏิเสธสิทธิของโจทก์ซึ่งมีอยู่ตามสัญญาตลอดมาตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้องและเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยแล้ว จำเลยก็ยังคงให้การปฏิเสธสิทธิของโจทก์อยู่เช่นเดิม ดังนั้น ไม่ว่าตามสัญญาจะมีเงื่อนเวลาอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็น ประโยชน์แก่จำเลยถือได้ว่าจำเลยสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลา นั้นแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการ, สัญญา, การปฏิเสธสิทธิ, การสละประโยชน์, การบังคับตามสัญญา
การเป็นหม้ายเป็นเพียงรายละเอียดข้อเท็จจริง มิใช่สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับหรือข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่ง ข้อหา แม้โจทก์จะมิได้ระบุไว้ในคำฟ้องและหนังสือมอบอำนาจ โจทก์นำสืบได้ว่าโจทก์เป็นหม้าย หาเป็นการนำสืบนอกฟ้องแต่อย่างใดไม่
ฎีกาของจำเลยที่มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สัญญามัดจำก่อสร้างมีข้อความระบุว่า ป. ทำสัญญาในฐานะที่เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลย มิใช่ทำในนามของตนเอง แม้อำนาจกรรมการของบริษัทจำเลยที่จดทะเบียนไว้จะต้องมีกรรมการสองคนร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท เมื่อ ป. เป็นกรรมการและคณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งให้ ป. เป็นผู้จัดการบริษัทจำเลย ป. แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจ ทำสัญญาแทนจำเลย ทั้งบริษัทจำเลยก็ยอมรับเอาผลแห่งการกระทำของ ป. ตลอดมาเพื่อจะอ้างว่า ป. ไม่มีอำนาจ หลังจากที่มีการเปลี่ยนกรรมการใหม่จึงไม่มีผลลบล้างสัญญาที่ทำไว้แล้ว สัญญาดังกล่าวจึงผูกพันจำเลย
จำเลยปฏิเสธสิทธิของโจทก์ซึ่งมีอยู่ตามสัญญาตลอดมา ตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้องและเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยแล้ว จำเลยก็ยังคงให้การปฏิเสธสิทธิของโจทก์อยู่เช่นเดิม ดังนั้น ไม่ว่าตามสัญญาจะมีเงื่อนเวลาอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นประโยชน์แก่จำเลยถือได้ว่าจำเลยสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นบริษัทกับสถานะนายจ้าง-ลูกจ้างต่อเนื่อง อายุงานนับต่อเนื่อง
การที่จำเลยที่ 2 ซื้อหุ้นบริษัทจำเลยที่ 1 นั้น มีผลเพียงเปลี่ยนตัวผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 เข้าดำเนินกิจการโรงแรมซึ่งบริษัทจำเลยที่ 1 เช่ามาจากผู้อื่น จึงเป็นการดำเนินกิจการโรงแรมในฐานะผู้ซื้อหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 เท่ากับบริษัทจำเลยที่1 ยังเป็นผู้ดำเนินกิจการโรงแรมอยู่นั่นเอง บริษัทจำเลยที่ 1 ยังคงมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานโรงแรมนี้อยู่ จำเลยที่ 2 ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหุ้นให้ดำเนินกิจการโรงแรมแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของโจทก์ตามบทนิยามคำว่า 'นายจ้าง' ในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน แม้จำเลยที่ 2 จะเข้ามาดำเนินกิจการโรงแรมเมื่อจำเลยที่ 2 ซื้อหุ้น จากบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ทำงานต่อเนื่องกันมา จึงต้อง นับอายุงานของโจทก์ที่ทำงานอยู่กับบริษัทจำเลยที่ 1 ต่อเนื่องกันมาด้วย จะนับอายุงานของโจทก์เพียงเท่าที่จำเลยที่ 2 เข้าดำเนินกิจการโรงแรมหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นและการสืบตำแหน่งนายจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน
การที่จำเลยที่ 2 ซื้อหุ้นบริษัทจำเลยที่ 1 นั้นมีผลเพียงเปลี่ยนตัวผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1. เมื่อจำเลยที่ 2 เข้าดำเนินกิจการโรงแรมซึ่งบริษัทจำเลยที่ 1เช่ามาจากผู้อื่น. จึงเป็นการดำเนินกิจการโรงแรมในฐานะผู้ซื้อหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1. เท่ากับบริษัทจำเลยที่1 ยังเป็นผู้ดำเนินกิจการโรงแรมอยู่นั่นเอง. บริษัทจำเลยที่ 1 ยังคงมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานโรงแรมนี้อยู่. จำเลยที่ 2 ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหุ้นให้ดำเนินกิจการโรงแรมแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล. ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของโจทก์ตามบทนิยามคำว่า'นายจ้าง' ในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน. แม้จำเลยที่ 2 จะเข้ามาดำเนินกิจการโรงแรมเมื่อจำเลยที่2 ซื้อหุ้นจากบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ตาม. แต่โจทก์ก็ได้ทำงานต่อเนื่องกันมา. จึงต้องนับอายุงานของโจทก์ที่ทำงานอยู่กับบริษัทจำเลยที่ 1 ต่อเนื่องกันมาด้วย.จะนับอายุงานของโจทก์เพียงเท่าที่จำเลยที่ 2 เข้าดำเนินกิจการโรงแรมหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2527 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงตัวผู้ถือหุ้นและการดำเนินกิจการต่อเนื่อง: สถานะนายจ้าง-ลูกจ้างยังคงเดิม
การที่จำเลยที่ 2 ซื้อหุ้นบริษัทจำเลยที่ 1 นั้นมีผลเพียงเปลี่ยนตัวผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 เข้าดำเนินกิจการโรงแรมซึ่งบริษัทจำเลยที่ 1 เช่ามาจากผู้อื่น จึงเป็นการดำเนินกิจการโรงแรมในฐานะผู้ซื้อหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 เท่ากับบริษัทจำเลยที่1 ยังเป็นผู้ดำเนินกิจการโรงแรมอยู่นั่นเอง บริษัทจำเลยที่ 1 ยังคงมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานโรงแรมนี้อยู่
จำเลยที่ 2 ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหุ้นให้ดำเนินกิจการโรงแรมแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของโจทก์ตามบทนิยามคำว่า'นายจ้าง' ในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน
แม้จำเลยที่ 2 จะเข้ามาดำเนินกิจการโรงแรมเมื่อจำเลยที่ 2 ซื้อหุ้นจากบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ทำงานต่อเนื่องกันมา จึงต้องนับอายุงานของโจทก์ที่ทำงานอยู่กับบริษัทจำเลยที่ 1 ต่อเนื่องกันมาด้วย จะนับอายุงานของโจทก์เพียงเท่าที่จำเลยที่ 2 เข้าดำเนินกิจการโรงแรมหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท แม้ลงชื่อไม่ถูกต้องตามข้อบังคับ และขอบเขตความรับผิดของกรรมการ
แม้จำเลยที่ 2 ลงชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ผู้เดียวและประทับตราบริษัทอันเป็นการไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของบริษัทซึ่งจะต้องมีกรรมการ 2 คนลงชื่อร่วมกันพร้อมกับประทับตราบริษัทก็ตามแต่บริษัทจำเลยที่ 1 ก็ให้การยอมรับว่าบริษัทจำเลยที่ 1เป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์จึงเท่ากับเป็นการให้สัตยาบันบริษัทจำเลยที่ 1 ต้องผูกพันรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นเป็นการส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันตั๋วสัญญาใช้เงิน แม้ลงชื่อไม่ถูกต้องตามข้อบังคับบริษัท
แม้จำเลยที่ 2 ลงชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ผู้เดียวและประทับตราบริษัทอันเป็นการไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของบริษัทซึ่งจะต้องมีกรรมการ 2 คนลงชื่อร่วมกันพร้อมกับประทับตราบริษัทก็ตาม แต่บริษัทจำเลยที่ 1 ก็ให้การยอมรับว่าบริษัทจำเลยที่ 1เป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์ จึงเท่ากับเป็นการให้สัตยาบัน บริษัทจำเลยที่ 1 ต้องผูกพันรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำเลยที่ 2ไม่ต้องรับผิดในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นเป็นการส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3324/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผูกพันตามหนังสือรับสภาพหนี้ แม้ไม่มีตราบริษัท โดยพิจารณาจากพฤติการณ์การทำสัญญาและการกระทำของกรรมการผู้จัดการ
ในการติดต่อกับบุคคลธรรมดาอื่น ๆ บริษัทจำเลยที่ 1 มักจะไม่ประทับตราของบริษัท แต่เมื่อติดต่อกับหน่วยราชการจึงจะใช้ตราประทับ และเมื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ทำสัญญาให้โจทก์รับเหมาช่วงขุดคลองส่งน้ำของกรมชลประทานกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1ได้ลงลายมือชื่อ แต่ไม่ได้ประทับตราบริษัท บริษัทจำเลยที่ 1 ก็ผูกพันตามสัญญา ดังนั้นการที่กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์เนื่องจากโจทก์หาเงินมาให้บริษัทจำเลยที่ 1 ใช้จ่ายในงานก่อสร้างที่รับเหมาจากกรมชลประทานแม้จะมิได้ประทับตราบริษัทจำเลยที่ 1 ก็เป็นการทำแทนบริษัทหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวจึงผูกพันบริษัทจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3324/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผูกพันตามสัญญาของบริษัท เมื่อกรรมการผู้จัดการลงนามโดยไม่ประทับตราบริษัท
ในการติดต่อกับบุคคลธรรมดาอื่น ๆ บริษัทจำเลยที่ 1 มักจะไม่ประทับตราของบริษัท แต่เมื่อติดต่อกับหน่วยราชการจึงจะใช้ตราประทับ และเมื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ทำสัญญาให้โจทก์รับเหมาช่วงขุดคลองส่งน้ำของกรมชลประทานกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อ แต่ไม่ได้ประทับตราบริษัท บริษัทจำเลยที่ 1 ก็ผูกพันตามสัญญา ดังนั้นการที่กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์เนื่องจากโจทก์หาเงินมาให้บริษัทจำเลยที่ 1 ใช้จ่ายในงานก่อสร้างที่รับเหมาจากกรมชลประทานแม้จะมิได้ประทับตราบริษัทจำเลยที่ 1 ก็เป็นการทำแทนบริษัทหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวจึงผูกพันบริษัทจำเลยที่ 1
of 55