พบผลลัพธ์ทั้งหมด 547 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2546/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบริษัทจากกรรมการกระทำการแทน แม้ไม่เป็นไปตามข้อบังคับ
บริษัทจำกัดกู้เงิน ทำหนังสือรับสภาพหนี้และประนีประนอมยอมความนอกศาลและในศาล ใช้หนี้จำนวนหนึ่งตามเช็คไปแล้ว โจทก์มาฟ้องเรียกจำนวนที่เหลือ การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการทำแทนจำเลยที่ 1 ตลอดมา ถือว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับการกระทำของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในการที่จำเลยที่ 2 กู้เงินและรับสภาพหนี้เดิมแม้ตามข้อบังคับต้องมีกรรมการ 2 คนลงชื่อและประทับตราของบริษัทก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1448/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายสุรา, การบอกเลิกสัญญา, เบี้ยปรับ, การค้ำประกัน, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญากันว่าจำเลยที่ 1 ต้องทำสุราออกขายไม่น้อยกว่าเดือนละ 9,192 เท และยอมเสียภาษีสุราไม่น้อยกว่าเดือนละ 9,192 เท เดือนใดเสียภาษีสุราต่ำกว่าจำนวนดังกล่าวนี้ จำเลยที่ 1 ยอมเสียค่าปรับเท่ากับภาษีสุรา ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาทันที และจำเลยที่ 1 ยินยอมชดใช้เงินค่าภาษีหรือเงินอื่นใดที่ค้างชำระให้แก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถทำสุราออกขายได้ตามจำนวนดังกล่าว และค้างชำระเงินค่าปรับเป็นจำนวนนับล้านบาท โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยผลแห่งข้อสัญญา หาใช่ว่าจะต้องเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับ หรือคำสั่งซึ่งออกตามกฎหมายเฉพาะกฎหมายสุราจึงจะบอกเลิกสัญญาได้ไม่
เบี้ยปรับตามสัญญาก็คือ ค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้าเพื่อชดใช้แก่กันหากอีกฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้
กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในสัญญาเป็นผู้ค้ำประกันและประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 2 เห็นได้ชัดว่ากระทำในฐานะกรรมการผู้จัดการซึ่งเป็นตัวแทนหรือตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 มิใช่กระทำในฐานะส่วนตัวและยังปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับรองการทำสัญญาดังกล่าวของกรรมการผู้จัดการ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญา แม้ข้อบังคับของจำเลยที่ 2 จะมีว่ากรรมการจะต้องลงนามร่วมกัน 2 คนจึงจะทำการแทนบริษัทได้ ก็เป็นเรื่องการจำกัดอำนาจกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนของบริษัทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 อันเป็นคนละกรณีกับการกระทำโดยทางตัวแทน
ในกรณีที่การบอกเลิกสัญญาไม่ทำให้หนี้ที่เกิดขึ้นอยู่ก่อนแล้วระงับสิ้นลง จนกว่าลูกหนี้จะชำระหนี้นั้น แม้เจ้าหนี้ได้บอกเลิกสัญญากับลูกหนี้ก็หาทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดไม่
เบี้ยปรับตามสัญญาก็คือ ค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้าเพื่อชดใช้แก่กันหากอีกฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้
กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในสัญญาเป็นผู้ค้ำประกันและประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 2 เห็นได้ชัดว่ากระทำในฐานะกรรมการผู้จัดการซึ่งเป็นตัวแทนหรือตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 มิใช่กระทำในฐานะส่วนตัวและยังปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับรองการทำสัญญาดังกล่าวของกรรมการผู้จัดการ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญา แม้ข้อบังคับของจำเลยที่ 2 จะมีว่ากรรมการจะต้องลงนามร่วมกัน 2 คนจึงจะทำการแทนบริษัทได้ ก็เป็นเรื่องการจำกัดอำนาจกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนของบริษัทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 อันเป็นคนละกรณีกับการกระทำโดยทางตัวแทน
ในกรณีที่การบอกเลิกสัญญาไม่ทำให้หนี้ที่เกิดขึ้นอยู่ก่อนแล้วระงับสิ้นลง จนกว่าลูกหนี้จะชำระหนี้นั้น แม้เจ้าหนี้ได้บอกเลิกสัญญากับลูกหนี้ก็หาทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1448/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายสุราและผลผูกพันของสัญญาค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดสัญญา
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญากันว่าจำเลยที่ 1 ต้องทำสุราออกขายไม่น้อยกว่าเดือนละ 9,192 เท และยอมเสียภาษีสุราไม่น้อยกว่าเดือนละ 9,192 เท เดือนใดเสียภาษีสุราต่ำกว่าจำนวนดังกล่าวนี้ จำเลยที่ 1 ยอมเสียค่าปรับเท่ากับสุรา ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาทันที และจำเลยที่ 1 ยินยอมชดใช้เงินค่าภาษีหรือเงินอื่นใดที่ค้างชำระให้แก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถทำสุราออกขายได้ตามจำนวนดังกล่าว และค้างชำระเงินค่าปรับเป็นจำนวนนับล้านบาท โจทก์ยอมได้รับความเสียหาย จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยผลแห่งข้อสัญญา หาใช่ว่าจะต้องเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับ หรือคำสั่งซึ่งออกตามกฎหมายเฉพาะกฎหมายสุราจึงจะบอกเลิกสัญญาได้ไม่
เบี้ยปรับตามสัญญาก็คือ ค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้าเพื่อชดใช้แก่กันหากอีกฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้
กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในสัญญาเป็นผู้ค้ำประกันและประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 2 เห็นได้ชัดว่ากระทำในฐานะกรรมการผู้จัดการซึ่งเป็นตัวแทนหรือตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 มิใช่กระทำในฐานะส่วนตัว และยังปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับรองการทำสัญญาดังกล่าวของกรรมการผู้จัดการ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญา แม้ข้อบังคับของจำเลยที่ 2 จะมีว่ากรรมการจะต้องลงนามร่วมกัน 2 คน จึงจะทำการแทนบริษัทได้ ก็เป็นเรื่องการจำกัดอำนาจกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนของบริษัทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 อันเป็นคนละกรณีกับการกระทำโดยทางตัวแทน
ในกรณีที่การบอกเลิกสัญญาไม่ทำให้หนี้ที่เกิดขึ้นอยู่ก่อนแล้วระงับสิ้นลง จนกว่าลูกหนี้จะชำระหนี้นั้น แม้เจ้าหนี้ได้บอกเลิกสัญญากับลูกหนี้ก็หาทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดไม่
เบี้ยปรับตามสัญญาก็คือ ค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้าเพื่อชดใช้แก่กันหากอีกฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้
กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในสัญญาเป็นผู้ค้ำประกันและประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 2 เห็นได้ชัดว่ากระทำในฐานะกรรมการผู้จัดการซึ่งเป็นตัวแทนหรือตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 มิใช่กระทำในฐานะส่วนตัว และยังปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับรองการทำสัญญาดังกล่าวของกรรมการผู้จัดการ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญา แม้ข้อบังคับของจำเลยที่ 2 จะมีว่ากรรมการจะต้องลงนามร่วมกัน 2 คน จึงจะทำการแทนบริษัทได้ ก็เป็นเรื่องการจำกัดอำนาจกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนของบริษัทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 อันเป็นคนละกรณีกับการกระทำโดยทางตัวแทน
ในกรณีที่การบอกเลิกสัญญาไม่ทำให้หนี้ที่เกิดขึ้นอยู่ก่อนแล้วระงับสิ้นลง จนกว่าลูกหนี้จะชำระหนี้นั้น แม้เจ้าหนี้ได้บอกเลิกสัญญากับลูกหนี้ก็หาทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ การผิดสัญญา การยึดทรัพย์ และดอกเบี้ย ค่าเสียหาย การมอบอำนาจกรรมการบริษัท
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 และมาตรา 1144กรรมการบริษัทจำกัดเป็นผู้แทนของบริษัท มีอำนาจดำเนินกิจการทุกอย่างภายในขอบข่ายแห่งวัตถุประสงค์และข้อบังคับของบริษัทได้ หาได้มีอำนาจจำกัดเพียงเท่าที่ตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจทั่วไปมีอยู่ไม่ มาตรา 1167 เป็นเรื่องความเกี่ยวพันกันในระหว่างกรรมการและบริษัทและบุคคลภายนอก เป็นต้นมา กรรมการบริษัทจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเป็นส่วนตัวหรือไม่ ดังนี้ จึงจะบังคับตามกฎหมายว่าด้วยตัวแทน หาได้หมายความว่ากรรมการบริษัทเป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปของบริษัทไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 560 ที่บัญญัติให้ผู้ให้เช่าบอกกล่าวให้ผู้เช่าชำระค่าเช่าก่อนบอกเลิกสัญญาก็ดี มาตรา 574ที่บัญญัติว่าเมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองคราวติด ๆ กัน ผู้ให้เช่าซื้อจึงจะบอกเลิกสัญญาได้ก็ดี ไม่ใช่บทบัญญัติเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
จำเลยฎีกาว่า โจทก์บอกเลิกสัญญาโดยไม่สุจริต นั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัย
สัญญาเช่าซื้อ ข้อ 8 ที่ว่า ถ้าผู้เช่าซื้อจะต้องชำระเงินใด ๆ แก่เจ้าของตามข้อสัญญาประการหนึ่งประการใด ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินที่ค้างชำระในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นั้น สำหรับค่าติดตามเอาทรัพย์คืนก็ดี ค่าซ่อมแซมรถก็ดี เป็นเงินที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญา ข้อ 9 อยู่ในความหมายของคำว่าเงินใด ๆ ตามสัญญาข้อ 8 จึงต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15ต่อปี แต่เงินค่าขาดประโยชน์จากใช้รถนั้น เป็นค่าเสียหายที่ไม่ได้กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อ ไม่อยู่ในความหมายของคำว่าเงินใด ๆ ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 8จึงคิดดอกเบี้ยได้เพียงร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
การที่โจทก์ขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานที่เป็นลูกจ้างของโจทก์นั้น เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายวิธีพิจารณาความโดยถูกต้องเท่าที่จำเป็น หาเป็นการฟุ่มเฟือยไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 560 ที่บัญญัติให้ผู้ให้เช่าบอกกล่าวให้ผู้เช่าชำระค่าเช่าก่อนบอกเลิกสัญญาก็ดี มาตรา 574ที่บัญญัติว่าเมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองคราวติด ๆ กัน ผู้ให้เช่าซื้อจึงจะบอกเลิกสัญญาได้ก็ดี ไม่ใช่บทบัญญัติเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
จำเลยฎีกาว่า โจทก์บอกเลิกสัญญาโดยไม่สุจริต นั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัย
สัญญาเช่าซื้อ ข้อ 8 ที่ว่า ถ้าผู้เช่าซื้อจะต้องชำระเงินใด ๆ แก่เจ้าของตามข้อสัญญาประการหนึ่งประการใด ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินที่ค้างชำระในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นั้น สำหรับค่าติดตามเอาทรัพย์คืนก็ดี ค่าซ่อมแซมรถก็ดี เป็นเงินที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญา ข้อ 9 อยู่ในความหมายของคำว่าเงินใด ๆ ตามสัญญาข้อ 8 จึงต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15ต่อปี แต่เงินค่าขาดประโยชน์จากใช้รถนั้น เป็นค่าเสียหายที่ไม่ได้กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อ ไม่อยู่ในความหมายของคำว่าเงินใด ๆ ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 8จึงคิดดอกเบี้ยได้เพียงร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
การที่โจทก์ขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานที่เป็นลูกจ้างของโจทก์นั้น เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายวิธีพิจารณาความโดยถูกต้องเท่าที่จำเป็น หาเป็นการฟุ่มเฟือยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการบริษัทในการลงนามสัญญาเช่าซื้อ, ความถูกต้องของสัญญา, และการคิดดอกเบี้ยค่าเสียหาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 และมาตรา 1144 กรรมการบริษัทจำกัดเป็นผู้แทนของบริษัท มีอำนาจดำเนินกิจการทุกอย่างภายในขอบข่ายแห่งวัตถุประสงค์และข้อบังคับของบริษัทได้ หาได้มีอำนาจจำกัดเพียงเท่าที่ตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจทั่วไปมีอยู่ไม่ มาตรา 1167 เป็นเรื่องความเกี่ยวพันกันในระหว่างกรรมการและบริษัทและบุคคลภายนอก เป็นต้นว่า กรรมการบริษัทจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเป็นส่วนตัวหรือไม่ ดังนี้ จึงจะบังคับตามกฎหมายว่าด้วยตัวแทน หาได้หมายความว่ากรรมการบริษัทเป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปของบริษัทไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 560 ที่บัญญัติให้ผู้ให้เช่าบอกกล่าวให้ผู้เช่าชำระค่าเช่าก่อนบอกเลิกสัญญาก็ดี มาตรา 574 ที่บัญญัติว่าเมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองคราวติดๆ กัน ผู้ให้เช่าซื้อจึงจะบอกเลิกสัญญาได้ก็ดี ไม่ใช่บทบัญญัติเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
จำเลยฎีกาว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาโดยไม่สุจริต นั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัย
สัญญาเช่าซื้อ ข้อ 8 ที่ว่า ถ้าผู้เช่าซื้อจะต้องชำระเงินใดๆ แก่เจ้าของตามข้อสัญญาประการหนึ่งประการใด ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินที่ค้างชำระในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นั้น สำหรับค่าติดตามเอาทรัพย์คืนก็ดี ค่าซ่อมแซมรถก็ดี เป็นเงินที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญา ข้อ 9 อยู่ในความหมายของคำว่าเงินใดๆ ตามสัญญา ข้อ 8 จึงต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แต่เงินค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถนั้น เป็นค่าเสียหายที่ไม่ได้กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อ ไม่อยู่ในความหมายของคำว่าเงินใดๆ ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 8 จึงคิดดอกเบี้ยได้เพียงร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
การที่โจทก์ขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานที่เป็นลูกจ้างของโจทก์นั้น เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายวิธีพิจารณาความโดยถูกต้องเท่าที่จำเป็น หาเป็นการฟุ่มเฟือยไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 560 ที่บัญญัติให้ผู้ให้เช่าบอกกล่าวให้ผู้เช่าชำระค่าเช่าก่อนบอกเลิกสัญญาก็ดี มาตรา 574 ที่บัญญัติว่าเมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองคราวติดๆ กัน ผู้ให้เช่าซื้อจึงจะบอกเลิกสัญญาได้ก็ดี ไม่ใช่บทบัญญัติเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
จำเลยฎีกาว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาโดยไม่สุจริต นั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัย
สัญญาเช่าซื้อ ข้อ 8 ที่ว่า ถ้าผู้เช่าซื้อจะต้องชำระเงินใดๆ แก่เจ้าของตามข้อสัญญาประการหนึ่งประการใด ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินที่ค้างชำระในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นั้น สำหรับค่าติดตามเอาทรัพย์คืนก็ดี ค่าซ่อมแซมรถก็ดี เป็นเงินที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญา ข้อ 9 อยู่ในความหมายของคำว่าเงินใดๆ ตามสัญญา ข้อ 8 จึงต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แต่เงินค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถนั้น เป็นค่าเสียหายที่ไม่ได้กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อ ไม่อยู่ในความหมายของคำว่าเงินใดๆ ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 8 จึงคิดดอกเบี้ยได้เพียงร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
การที่โจทก์ขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานที่เป็นลูกจ้างของโจทก์นั้น เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายวิธีพิจารณาความโดยถูกต้องเท่าที่จำเป็น หาเป็นการฟุ่มเฟือยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1235/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาผูกพันแม้ขาดตราบริษัท หากมีการปฏิบัติตามสัญญา และไม่ต้องทำเป็นหนังสือ
กรรมการบริษัทลงลายมือชื่อในสัญญาจ้างทำของโดยมิได้ประทับตราของบริษัทตามข้อบังคับ แต่ได้ปฏิบัติตามสัญญาตลอดมา สัญญานั้นผูกพันบริษัท ถึงแม้จะมิได้ปิดอากรแสตมป์เพราะสัญญาจ้างทำของไม่ต้องทำเป็นหนังสือดุจสัญญาเช่าซื้อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 304/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องบังคับตามสัญญาขายฝาก แม้ใช้ตราตำแหน่งที่ไม่จดทะเบียน แต่เป็นตราที่ใช้ทั่วไป
แม้ว่าข้อบังคับของบริษัทโจทก์ที่จดทะเบียนไว้มีว่ากรรมการคนใดคนหนึ่งลำพังคนเดียวมีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัท แต่ต้องประทับตราสำคัญของบริษัท เมื่อสัญญาขายฝากที่บริษัทโจทก์ทำกับจำเลยกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ลงชื่อ ประทับตราตำแหน่งผู้จัดการแม้ตราที่ประทับนี้จะมิได้เป็นตราที่บริษัทโจทก์จดทะเบียนไว้ แต่เป็นตราที่มีตัวอักษรชื่อบริษัทโจทก์ และเป็นตราที่บริษัทโจทก์ใช้กับลูกค้าทั่วไปแล้ว ก็มีผลผูกพันบริษัทโจทก์ บริษัทโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับตามสัญญานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 304/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องบังคับตามสัญญาขายฝาก แม้ใช้ตราตำแหน่งแทนตราจดทะเบียน หากเป็นตราที่บริษัทใช้ทั่วไป
แม้ว่าข้อบังคับของบริษัทโจทก์ที่จดทะเบียนไว้มีว่ากรรมการคนใดคนหนึ่งลำพังคนเดียวมีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัท แต่ต้องประทับตราสำคัญของบริษัท เมื่อสัญญาขายฝากที่บริษัทโจทก์ทำกับจำเลยกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ลงชื่อประทับตราตำแหน่งผู้จัดการแม้ตราที่ประทับนี้จะมิได้เป็นตราที่บริษัทโจทก์จดทะเบียนไว้ แต่เป็นตราที่มีตัวอักษรชื่อบริษัทโจทก์ และเป็นตราที่บริษัทโจทก์ใช้กับลูกค้าทั่วไปแล้วก็มีผลผูกพันบริษัทโจทก์ บริษัทโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับตามสัญญานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131-146/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจทำสัญญาเช่าซื้อและการให้สัตยาบันของตัวการต่อการกระทำของตัวแทน แม้จะผิดระเบียบ
กรรมการบริษัทโจทก์สองนายได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ย. ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์เป็นตัวแทน มีอำนาจกระทำการในนามบริษัทโจทก์และลงนามในหนังสือสัญญาขายสินค้าแทนบริษัทโจทก์ได้ ฉะนั้นที่ ย.ได้ทำสัญญาให้เช่าซื้อในนามบริษัทโจทก์ลงลายมือชื่อ ย.คนเดียวและประทับตราสำคัญของบริษัทโจทก์จึงเป็นการกระทำแทนบริษัทโจทก์โดยได้รับมอบอำนาจจากบริษัทโจทก์โดยชอบ
บริษัทจำเลยที่ 1 เคยให้ ท.แต่ผู้เดียวลงลายมือชื่อประทับตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่ 1 ในหนังสือสัญญาเช่าซื้อจากบริษัทมิตซูบิซิและบริษัทโตโยต้า แล้วนำรถนั้นมาใช้ในกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 แม้ ท.จะได้กระทำไปโดยผิดระเบียบ บริษัทจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับ และในขณะที่ ท.ทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถจากบริษัทโจทก์ในนามบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าซื้อ ได้ลงลายมือชื่อประทับตราดุน ซึ่งเป็นตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่ 1 แทนบริษัทจำเลยที่ 1 ก็แสดงให้เห็นว่า ท.ได้เช่าซื้อรถจากบริษัทโจทก์มาใช้ในกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่าเป็นการเช่าซื้อรถเป็นส่วนตัวของ ท. กับจำเลยที่ 2 เมื่อได้ส่งมอบรถกันแล้วมีหลักฐานทะเบียนรถว่าบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถทั้ง 16 คัน และมีการต่อตัวถังทำเป็นรถยนต์รับส่งคนโดยสาร ทาสีรถเป็นสีเขียวเหลืองและตราของบริษัทจำเลยที่ 1 บริษัทจำเลยที่ 1 ได้ขออนุญาตต่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง แล้วนำรถทั้งหมดไปใช้แล่นรับส่งคนโดยสารหาประโยชน์ในเส้นทางสัมปทานของบริษัทจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่า ท.กับ ข.ได้ใช้รถแล่นหาผลประโยชน์เป็นส่วนตัว เห็นได้ว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ได้เข้าถือเอาประโยชน์ตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถที่บริษัทโจทก์ได้นำมาฟ้อง แม้ ท.จะได้กระทำผิดข้อระเบียบข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ถือว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการ ได้ให้สัตยาบันต่อการกระทำของ ท.ซึ่งเป็นตัวแทนในการทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถจากบริษัทโจทก์ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 823 บริษัทจำเลยที่ 1 จึงมีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ตอบแทนแก่บริษัทโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 บริษัทโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุผิดสัญญาจากบริษัทจำเลยที่ 1 ได้
บริษัทจำเลยที่ 1 เคยให้ ท.แต่ผู้เดียวลงลายมือชื่อประทับตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่ 1 ในหนังสือสัญญาเช่าซื้อจากบริษัทมิตซูบิซิและบริษัทโตโยต้า แล้วนำรถนั้นมาใช้ในกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 แม้ ท.จะได้กระทำไปโดยผิดระเบียบ บริษัทจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับ และในขณะที่ ท.ทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถจากบริษัทโจทก์ในนามบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าซื้อ ได้ลงลายมือชื่อประทับตราดุน ซึ่งเป็นตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่ 1 แทนบริษัทจำเลยที่ 1 ก็แสดงให้เห็นว่า ท.ได้เช่าซื้อรถจากบริษัทโจทก์มาใช้ในกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่าเป็นการเช่าซื้อรถเป็นส่วนตัวของ ท. กับจำเลยที่ 2 เมื่อได้ส่งมอบรถกันแล้วมีหลักฐานทะเบียนรถว่าบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถทั้ง 16 คัน และมีการต่อตัวถังทำเป็นรถยนต์รับส่งคนโดยสาร ทาสีรถเป็นสีเขียวเหลืองและตราของบริษัทจำเลยที่ 1 บริษัทจำเลยที่ 1 ได้ขออนุญาตต่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง แล้วนำรถทั้งหมดไปใช้แล่นรับส่งคนโดยสารหาประโยชน์ในเส้นทางสัมปทานของบริษัทจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่า ท.กับ ข.ได้ใช้รถแล่นหาผลประโยชน์เป็นส่วนตัว เห็นได้ว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ได้เข้าถือเอาประโยชน์ตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถที่บริษัทโจทก์ได้นำมาฟ้อง แม้ ท.จะได้กระทำผิดข้อระเบียบข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ถือว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการ ได้ให้สัตยาบันต่อการกระทำของ ท.ซึ่งเป็นตัวแทนในการทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถจากบริษัทโจทก์ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 823 บริษัทจำเลยที่ 1 จึงมีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ตอบแทนแก่บริษัทโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 บริษัทโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุผิดสัญญาจากบริษัทจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131-146/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำของตัวแทนที่เกินอำนาจ และการให้สัตยาบันของตัวการทำให้เกิดผลผูกพันตามสัญญา
กรรมการบริษัทโจทก์สองนายได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ย. ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์เป็นตัวแทน มีอำนาจกระทำการในนามบริษัทโจทก์ และลงนามในหนังสือสัญญาขายสินค้าแทนบริษัทโจทก์ได้ฉะนั้น ที่ ย. ได้ทำสัญญาให้เช่าซื้อในนามบริษัทโจทก์ลงลายมือชื่อ ย. คนเดียวและประทับตราสำคัญของบริษัทโจทก์ จึงเป็นการกระทำแทนบริษัทโจทก์โดยได้รับมอบอำนาจจากบริษัทโจทก์โดยชอบ
บริษัทจำเลยที่ 1 เคยให้ ท. แต่ผู้เดียวลงลายมือชื่อประทับตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่ 1 ในหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถจากบริษัทมิตซูบิชิและบริษัทโตโยต้า แล้วนำรถนั้นมาใช้ในกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 แม้ ท. จะได้กระทำไปโดยผิดระเบียบ บริษัทจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับและในขณะที่ ท.ทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถจากบริษัทโจทก์ในนามบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าซื้อ ได้ลงลายมือชื่อประทับตราดุน ซึ่งเป็นตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่ 1 แทนบริษัทจำเลยที่ 1 ก็แสดงให้เห็นว่า ท. ได้เช่าซื้อรถจากบริษัทโจทก์มาใช้ในกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่าเป็นเช่าซื้อรถเป็นส่วนตัวของ ท. กับจำเลยที่ 2 เมื่อได้ส่งมอบรถกันแล้วมีหลักฐานทะเบียนรถว่าบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถทั้ง 16 คัน และมีการต่อตัวถังทำเป็นรถยนต์รับส่งคนโดยสาร ทาสีรถเป็นสีเขียวเหลือง และตราของบริษัทจำเลยที่ 1 บริษัทจำเลยที่ 1 ได้ขออนุญาตต่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง แล้วนำรถทั้งหมดไปใช้แล่นรับส่งคนโดยสารหาประโยชน์ในเส้นทางสัมปทานของบริษัทจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่า ท. กับ ช. ได้ใช้รถแล่นหาผลประโยชน์เป็นส่วนตัวเห็นได้ว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ได้เข้าถือเอาประโยชน์ตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถที่บริษัทโจทก์ได้นำมาฟ้อง แม้ ท. จะได้กระทำผิดข้อระเบียบข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ถือว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันต่อการกระทำของ ท. ซึ่งเป็นตัวแทนในการทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถจากบริษัทโจทก์ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 บริษัทจำเลยที่1 จึงมีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ตอบแทนแก่บริษัทโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 บริษัทโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุผิดสัญญาจากบริษัทจำเลยที่ 1 ได้
บริษัทจำเลยที่ 1 เคยให้ ท. แต่ผู้เดียวลงลายมือชื่อประทับตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่ 1 ในหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถจากบริษัทมิตซูบิชิและบริษัทโตโยต้า แล้วนำรถนั้นมาใช้ในกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 แม้ ท. จะได้กระทำไปโดยผิดระเบียบ บริษัทจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับและในขณะที่ ท.ทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถจากบริษัทโจทก์ในนามบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าซื้อ ได้ลงลายมือชื่อประทับตราดุน ซึ่งเป็นตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่ 1 แทนบริษัทจำเลยที่ 1 ก็แสดงให้เห็นว่า ท. ได้เช่าซื้อรถจากบริษัทโจทก์มาใช้ในกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่าเป็นเช่าซื้อรถเป็นส่วนตัวของ ท. กับจำเลยที่ 2 เมื่อได้ส่งมอบรถกันแล้วมีหลักฐานทะเบียนรถว่าบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถทั้ง 16 คัน และมีการต่อตัวถังทำเป็นรถยนต์รับส่งคนโดยสาร ทาสีรถเป็นสีเขียวเหลือง และตราของบริษัทจำเลยที่ 1 บริษัทจำเลยที่ 1 ได้ขออนุญาตต่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง แล้วนำรถทั้งหมดไปใช้แล่นรับส่งคนโดยสารหาประโยชน์ในเส้นทางสัมปทานของบริษัทจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่า ท. กับ ช. ได้ใช้รถแล่นหาผลประโยชน์เป็นส่วนตัวเห็นได้ว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ได้เข้าถือเอาประโยชน์ตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถที่บริษัทโจทก์ได้นำมาฟ้อง แม้ ท. จะได้กระทำผิดข้อระเบียบข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ถือว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันต่อการกระทำของ ท. ซึ่งเป็นตัวแทนในการทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถจากบริษัทโจทก์ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 บริษัทจำเลยที่1 จึงมีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ตอบแทนแก่บริษัทโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 บริษัทโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุผิดสัญญาจากบริษัทจำเลยที่ 1 ได้