พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6034/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจำคุกเดิมของผู้ต้องหา และการใช้กฎหมายยาเสพติดที่แก้ไขใหม่ในการลงโทษ
โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องหรือกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน เพื่อประกอบดุลพินิจในการลงโทษของศาล การที่เจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่าจำเลยที่ 1 เคยต้องโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 726/2541 จำคุก 1 เดือน และศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยที่ 1 ว่า เคยมีประวัติต้องโทษเมื่อปี 2541 เรื่องอาวุธปืนตามรายงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวหรือไม่ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วและจำเลยที่ 1 ได้รับโทษจำคุกจริงหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่ฟังว่าจำเลยที่ 1 เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนจึงชอบด้วยกฎหมาย
ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)ฯ มาตรา 8 และ 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และ 67 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และให้ใช้ข้อความใหม่แทนโดยในบทความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง ทั้งกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่ คงใช้ข้อความทำนองเดียวกัน จึงต้องใช้กฎหมายเดิมบังคับแก่จำเลยที่ 1 ในส่วนนี้ ส่วนบทกำหนดโทษนั้น มาตรา 67 กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิด และกฎหมายที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่าในส่วนที่เกี่ยวกับโทษซึ่งมีหลายสภาพที่จะลงได้ ส่วนโทษปรับตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่าจึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)ฯ มาตรา 8 และ 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และ 67 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และให้ใช้ข้อความใหม่แทนโดยในบทความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง ทั้งกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่ คงใช้ข้อความทำนองเดียวกัน จึงต้องใช้กฎหมายเดิมบังคับแก่จำเลยที่ 1 ในส่วนนี้ ส่วนบทกำหนดโทษนั้น มาตรา 67 กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิด และกฎหมายที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่าในส่วนที่เกี่ยวกับโทษซึ่งมีหลายสภาพที่จะลงได้ ส่วนโทษปรับตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่าจึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6025/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันเกินสมควรแก่เหตุและการรับผิดในความเสียหายจากการกระทำละเมิด แม้ผู้ถูกกระทำมีส่วนก่อเหตุ
แม้โจทก์จะมีส่วนก่อเหตุ โดยเฉพาะกับจำเลยที่เป็นพ่อตาโจทก์ที่ถูกโจทก์กระทำไม่สมควรอย่างยิ่ง แต่การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงโจทก์อันถือว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ร้ายแรงมากกว่าการกระทำของโจทก์ที่เป็นผู้ก่อเหตุคดีนี้ ตามข้อเท็จจริงที่รับฟังมาได้แล้วว่า การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ จึงเป็นการที่จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์แล้ว กรณีหาใช่ว่าเป็นความยินยอมของโจทก์ไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบด้วยมาตรา 223
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5994/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งอนุญาตให้ดูแลรักษารถของกลางระหว่างพิจารณาคดี ไม่ใช่คำสั่งสิ้นสุด คดีจึงยังไม่ถึงที่สุด และไม่อุทธรณ์ได้
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องนำรถยนต์บรรทุกของกลางไปดูแลรักษาไว้ชั่วคราวในระหว่างพิจารณาคดีเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีของผู้ร้องเสร็จสิ้นไป เพราะจะต้องมีการไต่สวนคำร้องขอคืนของกลางของผู้ร้องอีก กรณีต้องด้วยบทบัญญัติของ ป.วิ.อ. มาตรา 196 ที่ห้ามผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นจนกว่าจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญแก่คดี ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 รับอุทธรณ์ของผู้ร้องไว้วินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีผลให้ผู้ร้องมีสิทธิฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5994/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งอนุญาตให้ดูแลรักษารถของกลางระหว่างพิจารณาคดี ไม่ใช่คำสั่งถึงที่สุด จึงไม่อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลคืนรถยนต์บรรทุกของกลางและขอให้ผู้ร้องนำรถยนต์บรรทุกของกลางไปเก็บรักษาไว้ชั่วคราวในระหว่างพิจารณาคดี ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องนำรถยนต์บรรทุกของกลางไปดูแลรักษาไว้ชั่วคราว และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีที่ร้องขอคืนของกลางออกจากสารบบความโดยให้รอไว้พิจารณาเมื่อคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสิบสี่และขอริบรถยนต์บรรทุกของกลางถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องนำรถยนต์บรรทุกของกลางไปดูแลรักษาไว้ชั่วคราวในระหว่างพิจารณาคดีเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีของผู้ร้องเสร็จสิ้นไป เพราะต้องมีการไต่สวนคำร้องขอคืนของกลางของผู้ร้องอีก กรณีต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 196 ที่ห้ามผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นจนกว่าจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญแก่คดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5938/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรถยนต์ยินยอมให้บุตรใช้รถกระทำผิด ย่อมไม่มีสิทธิขอคืนรถ แม้ศาลริบ
คดีอาญา ผู้ร้องไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 252 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ค่าคำร้องเป็นพับจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องโดยให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ค่าคำร้องเป็นพับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5419/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: การเจ็บป่วยและการดำเนินการโดยผู้อื่น
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์หลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว จึงเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ก่อนสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์ โจทก์จะยื่นคำร้องดังกล่าวได้ต้องเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ซึ่งเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 นั้น หมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือคู่ความไม่สามารถมีคำขอเช่นนั้นขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่จะกระทำได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้
หากโจทก์เจ็บป่วยจนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้จริง โจทก์อาจให้ภริยาของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ดูแลโจทก์ในขณะเจ็บป่วยตามที่โจทก์อ้างในฎีกาเป็นผู้ติดต่อทนายความของโจทก์ซึ่งมีอำนาจอุทธรณ์เพื่อยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนสิ้นระยะเวลายื่นอุทธรณ์หรือยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์ได้ เพราะระยะเวลาดังกล่าวมีเวลาถึง 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้โจทก์ฟัง ซึ่งเป็นระยะเวลานานพอสมควรที่โจทก์จะดำเนินการได้ทันทีตามกำหนด ข้ออ้างในฎีกาของโจทก์จึงมิใช่เหตุสุดวิสัย ส่วนข้ออ้างตามคำร้องของโจทก์ที่ว่าโจทก์ถูกฟ้องขับไล่และทนายความของโจทก์อยู่ต่างจังหวัดก็มิใช่เหตุสุดวิสัยเช่นกัน
หากโจทก์เจ็บป่วยจนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้จริง โจทก์อาจให้ภริยาของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ดูแลโจทก์ในขณะเจ็บป่วยตามที่โจทก์อ้างในฎีกาเป็นผู้ติดต่อทนายความของโจทก์ซึ่งมีอำนาจอุทธรณ์เพื่อยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนสิ้นระยะเวลายื่นอุทธรณ์หรือยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์ได้ เพราะระยะเวลาดังกล่าวมีเวลาถึง 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้โจทก์ฟัง ซึ่งเป็นระยะเวลานานพอสมควรที่โจทก์จะดำเนินการได้ทันทีตามกำหนด ข้ออ้างในฎีกาของโจทก์จึงมิใช่เหตุสุดวิสัย ส่วนข้ออ้างตามคำร้องของโจทก์ที่ว่าโจทก์ถูกฟ้องขับไล่และทนายความของโจทก์อยู่ต่างจังหวัดก็มิใช่เหตุสุดวิสัยเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5416/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องขอรวมโทษจำคุกซ้ำ ศาลฎีกายกคำร้องตามหลักการห้ามร้องซ้ำ
เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2544 จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นรวมโทษจำคุกของจำเลยรวม 16 คดีมิให้เกินกว่า 20 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) ศาลชั้นต้นยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน คดีถึงที่สุด จำเลยยื่นคำร้องครั้งใหม่อ้างเหตุอย่างเดียวกันกับในประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ได้วินิจฉัยและคดีถึงที่สุดแล้ว จึงเป็นการร้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5416/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องซ้ำต้องห้ามตามกฎหมาย – การรวมโทษจำคุกเกิน 20 ปี
จำเลยเคยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นรวมโทษจำคุกของจำเลยทุกคดีมิให้เกินกว่า 20 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) ศาลชั้นต้นยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค ๕ พิพากษายืน คดีถึงที่สุด จำเลยมายื่นคำร้องครั้งใหม่โดยอ้างเหตุอย่างเดียวกันกับในประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ได้วินิจฉัยชี้ขาดและคดีถึงที่สุดแล้ว จึงเป็นการร้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5347/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำคุกตามจำนวนเดือนและการคำนวณโทษรวมที่ถูกต้องตามกฎหมายอาญา
ป.อ. มาตรา 21 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าระยะเวลาที่คำนวณนั้นกำหนดเป็นเดือนให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือน ถ้ากำหนดเป็นปี ให้คำนวณตามปีปฏิทินในราชการ" ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 6 เดือน รวม 18 กระทง เป็นโทษจำคุก 9 ปี นั้น ไม่ถูกต้อง เพราะการวางโทษเป็นปีทำให้จำเลยต้องรับโทษมากกว่าการวางโทษจำคุกเป็นเดือนตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้บัตรเครดิตปลอม ชดใช้ความเสียหายต่อสถาบันการเงินและสังคม ศาลไม่รอการลงโทษ
ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 17)ฯ กำหนดความผิดอาญาและอัตราโทษสำหรับการกระทำผิดเกี่ยวกับบัตรและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยกำหนดให้การกระทำตามฟ้องเป็นความผิดและต้องระวางโทษตาม ป.อ. มาตรา 269/4 วรรคแรก ประกอบมาตรา 267/7 แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย