คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชัช ชลวร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 134 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3488/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาที่มิชอบ กรณีภูมิลำเนาเปลี่ยนแปลงและสถานที่ถูกทำลาย
โจทก์ยื่นคำฟ้องโดยระบุว่าโจทก์มีภูมิลำเนาที่บ้านเลขที่ 1125-1127 ถนนเพชรบุรีซึ่งบ้านเลขที่ดังกล่าวโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าถูกไฟไหม้จากการทำละเมิดของลูกจ้างจำเลยดังนั้น ในขณะยื่นคำฟ้องโจทก์ไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ดังกล่าว ส่วนทนายโจทก์ก็ระบุที่อยู่ไว้ท้ายคำฟ้องเพียงแห่งเดียวว่าอยู่บ้านเลขที่ 26 อาคาร 5 ถนนราชดำเนินกลางแต่ภายหลังจากยื่นคำฟ้องแล้ว ทนายโจทก์ได้ดำเนินคดีต่อมา โดยยื่นคำร้อง คำขอ และคำแถลงต่อศาลชั้นต้น ระบุว่าทนายโจทก์อยู่บ้านเลขที่ 1895/87 ถนนพหลโยธินและบ้านเลขที่ 387/368 ถนนเตชะวณิชย์ สลับกันไปมา จึงเชื่อว่าทนายโจทก์ได้ย้ายจากภูมิลำเนาเดิมตามคำฟ้องไปแล้วก่อนวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่ทนายโจทก์ตามภูมิลำเนาเดิมของทนายโจทก์โดยวิธีปิดหมาย จึงเป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยชอบแล้ว การที่ศาลชั้นต้นสั่งเลื่อนวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไป วันที่ 18 สิงหาคม 2541 โดยให้ประกาศแจ้งวันนัดแก่ทนายโจทก์ทราบโดยปิดประกาศที่หน้าศาลนั้น เป็นการไม่ชอบและถือว่าทนายโจทก์ยังไม่ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แม้โจทก์จะยื่นคำร้องขอตรวจสำนวนและขอถ่ายสำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 28ตุลาคม 2541 แต่โจทก์ก็ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังใหม่ และศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งอนุญาตตามคำร้อง จึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยชอบในวันที่ 28 ตุลาคม 2541 แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังใหม่เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2542 การอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ครั้งใหม่จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3127/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยตามสัญญา แม้ผิดนัดชำระ ก็เป็นดอกผลนิตินัย โจทก์มีสิทธิเรียกได้ตามสัญญา
หนังสือสัญญากู้เงินมีใจความว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีและในกรณีมีเหตุจำเป็นยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กำหนดเมื่อใดก็ได้แต่ไม่เกินอัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ แสดงว่าตามหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ผิดนัดชำระหนี้ การคิดดอกเบี้ยดังกล่าวเข้าลักษณะดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 วรรคสาม แม้ในช่วงแรกโจทก์จะคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองไม่ถึงร้อยละ 19 ต่อปี ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ให้ประโยชน์แก่จำเลยทั้งสองนอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญา ซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะไม่ยอมให้ประโยชน์แก่จำเลยทั้งสองอีกต่อไปโดยกลับไปคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามข้อตกลงในสัญญาได้ หาใช่เป็นเรื่องลูกหนี้สัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้เป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้อง อันจะถือว่าเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ไม่ โจทก์ชอบที่จะคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามสัญญากู้เงินได้
ข้อตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองตามหนังสือสัญญากู้เงินไม่ใช่การแสดงเจตนาเพื่อลวงบุคคลอื่น และไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองมีเจตนาทำสัญญาฉบับนี้อำพรางสัญญาฉบับอื่นแต่อย่างใด จึงไม่เข้าลักษณะนิติกรรมอำพรางที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองลดลงเหลืออัตราร้อยละ 16 ต่อปีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2974/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครอง vs. กรรมสิทธิ์: โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องสิทธิครอบครองเหนือที่ดินมีโฉนด
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ผู้ที่จะยื่นฟ้องคดีต่อศาลจะต้องถูกโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมาย หรือจะต้องใช้สิทธิทางศาล คือต้องมีกฎหมายรองรับว่ามีสิทธิหรือหน้าที่หรือจะต้องใช้สิทธิทางศาลแต่ตามคำฟ้องที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีโฉนดมีชื่อจำเลย จำเลยจึงเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โจทก์อ้างว่าตนมีเพียงสิทธิครอบครอง จึงไม่มีกฎหมายรองรับให้โจทก์อ้างสิทธิครอบครองเหนือกรรมสิทธิ์ได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าตามคำฟ้องจำเลยเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แต่อย่างใด ส่วนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1369 ที่โจทก์อ้างก็เป็นข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าผู้ยึดถือทรัพย์สินเพื่อตนเป็นผู้ได้สิทธิครอบครองเท่านั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายกำหนดหน้าที่ของผู้มีกรรมสิทธิ์หรือใช้สิทธิแก่ผู้ครอบครอง จึงเป็นกรณีที่ไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่หรือมีเหตุที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2958/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเช็คของบุคคลอื่น และผลกระทบต่ออายุความทางแพ่ง
สำเนาบันทึกการรับเช็คซึ่งมีข้อความว่า โจทก์ได้รับเช็คของบริษัท พ. จากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการนำมามอบชำระค่าสินค้าให้แก่โจทก์นั้นเป็นการชำระหนี้โดยจำเลยที่ 1 แม้จะชำระด้วยเช็คของบริษัท พ. ก็ไม่ถือว่าบริษัทดังกล่าวเป็นผู้ชำระหนี้ กรณีต้องฟังว่าจำเลยทั้งสองรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องโดยทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ให้เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2539 อายุความจึงสะดุดหยุดลง ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ จึงเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น ตามป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และ 193 (15) เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2541 ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2539 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2958/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความและการรับสภาพหนี้: เช็คจากบริษัทอื่นชำระหนี้ไม่ทำให้บริษัทนั้นเป็นผู้ชำระหนี้จริง และการรับสภาพหนี้ทำให้เริ่มนับอายุความใหม่
สำเนาบันทึกการรับเช็คซึ่งทำขึ้นเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2539 มีข้อความว่าโจทก์ได้รับเช็คของบริษัท พ. จากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการนำมามอบชำระค่าสินค้าให้แก่โจทก์นั้นถือเป็นการชำระหนี้โดยจำเลยที่ 1 แม้จะชำระด้วยเช็คของบริษัท พ. ก็ไม่ถือว่าบริษัทดังกล่าวเป็นผู้ชำระหนี้ กรณีถือได้ว่าจำเลยทั้งสองรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องโดยทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ให้เมื่อวันที่ 29พฤษภาคม 2539 อายุความจึงสะดุดหยุดลง ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ ต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) และ 193/15 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เรียกค่าซื้อสินค้าจากจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2541 ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่29 พฤษภาคม 2539 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2958/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้โดยการชำระด้วยเช็คของผู้อื่น ทำให้ระยะเวลาอายุความสะดุดหยุดลง
ตามสำเนาบันทึกที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ทำขึ้นมีข้อความว่า โจทก์ได้รับเช็คของบริษัท พ. จากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 นำมามอบชำระค่าสินค้าให้แก่โจทก์จึงเป็นการชำระหนี้โดยจำเลยที่ 1 แม้จะชำระด้วยเช็คของบริษัท พ. ก็ไม่ถือว่าบริษัทดังกล่าวเป็นผู้ชำระหนี้ กรณีถือได้ว่าจำเลยทั้งสองรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องโดยทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ อายุความจึงสะดุดหยุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845-2847/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานจำกัดเฉพาะกรณีนายจ้างใช้ดุลพินิจลงโทษลูกจ้างไม่ชอบด้วยกฎหมาย
นายจ้างลงโทษทางวินัยแก่ลูกจ้างที่มิได้เป็นกรรมการลูกจ้างและการลงโทษนั้นไม่เป็นการกระทำอัน ไม่เป็นธรรม ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้นายจ้างต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานก่อนตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 52 หรือให้ความคุ้มครองตามมาตรา 121 ถึงมาตรา 123 ดังนั้นศาลแรงงานจะเข้าไปตรวจสอบ ดุลพินิจการลงโทษของนายจ้างในกรณีนี้ได้ก็ต่อเมื่อนายจ้างใช้ดุลพินิจลงโทษไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ทั้งสามทำผิดวินัยจริง จำเลยลงโทษตัดเงินเดือนโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นโทษที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของจำเลยโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยใช้ดุลพินิจลงโทษไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลแรงงานกลางจึงไม่มีอำนาจลดโทษโจทก์ ทั้งสามเป็นภาคทัณฑ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942-1943/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดจัดหางานเถื่อนหลอกลวงผู้เสียหายจำนวนมาก ศาลยืนโทษจำคุกและชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 และที่ 4 มีความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี โดยความผิดที่จำเลยที่ 1 และที่ 4 ร่วมกระทำนั้น เป็นการกระทำต่อผู้เสียหายจำนวนมากถึง 64 คน เป็นการสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนผู้ต้องการหางานทำเพื่อหาเงินมาใช้เลี้ยงชีพ นับเป็นภัยต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างยิ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 2 ปี และลงโทษปรับจำเลยที่ 4 โดยไม่รอการลงโทษจำเลยที่ 1 นั้น นับว่าเหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1673-1674/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบุคคลภายนอกผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากการอายัดเงินชั่วคราว: ศาลเพิกถอนคำสั่งอายัดได้ตามกฎหมาย
ผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกได้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากจำเลยเกี่ยวกับเงินค่าก่อสร้างที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับจากการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยโดยชอบก่อนศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอายัดเงินดังกล่าวไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา ย่อมถือว่าผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกผู้จะต้องเสียหายเพราะคำสั่งอายัดนั้น ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 261 วรรคหนึ่ง และเป็นกรณีโต้แย้งระหว่างโจทก์กับผู้ร้องในปัญหาที่ว่าจะอายัดเงินดังกล่าวได้หรือไม่ เพียงใด เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1575/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมต้องรับผิดชำระหนี้ทั้งหมด แม้จะชำระบางส่วนและตกลงให้ผู้เสียหายไปเรียกร้องจากลูกหนี้อื่น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ตาม ป.อ. มาตรา 341 พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี และให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดรวม 810,000 บาท ระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 1 หลบหนี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีจำเลยที่ 1 ชั่วคราว ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ขอถอนคำให้การปฏิเสธ และให้การใหม่เป็นรับสารภาพ แต่ขอเลื่อนการฟังคำพิพากษาเพื่อนำเงินมาชำระให้แก่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดคนละ 20,000 บาท ส่วนที่เหลือผู้เสียหายทั้งเจ็ดจะไปเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 สอบโจทก์ ผู้เสียหายที่ 2 ถึงที่ 7 แล้วรับว่าเป็นจริง และต่อมาปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ได้ชำระเงินให้ผู้เสียหายทั้งเจ็ดคนละ 20,000 บาทแล้ว ดังนี้ การที่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดยอมรับตามคำแถลงของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ว่า เงินส่วนที่เหลือผู้เสียหายจะไปเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1 แต่ก็ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายทั้งเจ็ดจะไม่ติดใจเรียกร้องเงินส่วนที่เหลือจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 อีก จึงถือไม่ได้ว่าคู่กรณีมีเจตนาระงับข้อพิพาทโดยไม่ติดใจเรียกร้องสิ่งใดต่อกันอีก จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงต้องร่วมกันชำระหนี้ส่วนที่เหลือให้แก่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดจนสิ้นเชิงในฐานะลูกหนี้ร่วม ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมกันคืนหรือใช้เงินส่วนที่เหลือให้แก่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดจึงชอบแล้ว
of 14