คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชัช ชลวร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 134 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4182/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์รวมให้บุตรโดยไม่มีค่าตอบแทน ไม่ถือเป็นการขายเพื่อค้าหรือหากำไร จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์แบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของตนอันถือได้ว่าเป็นการขายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (4) และได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ แต่เมื่อผู้ที่โจทก์โอนกรรมสิทธิ์รวมให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ และเป็นการโอนโดยไม่มีค่าตอบแทน จึงไม่ถือว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมตรา 91/2 (6) โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการกระทำชำเราต่อเนื่อง โดยไม่มีการหน่วงเหนี่ยวหรือกักขัง
การที่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายทั้งสองในแต่ละครั้งที่จำเลยมาพักที่บ้านของ ป. เป็นการกระทำต่อผู้เสียหายทั้งสองคนละวันเวลาต่างวาระกัน และมิได้กระทำต่อเนื่องกันโดยหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหายทั้งสองไว้จนไม่สามารถไปไหนได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำต่างวาระกัน เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91
โจทก์บรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำชำเราผู้เสียหายทั้งสองวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 10 วัน รวม 10 ครั้ง อันเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ซึ่งศาลสามารถลงโทษจำเลยได้ มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3126/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานสัญญาเช่าซื้อเพื่อพิสูจน์กรรมสิทธิ์ในของกลางที่ถูกริบ การไม่เคร่งครัดบทบัญญัติมาตรา 238 ป.วิ.อ.
บทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 238 วรรคหนึ่งที่ว่า ต้นฉบับเอกสารเท่านั้นที่อ้างเป็นพยานได้ เป็นบทบัญญัติในภาค 5 ของ ป.วิ.อ. ซึ่งมุ่งหมายที่จะใช้บังคับแก่พยานหลักฐานซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ตามมาตรา 226 ผู้ร้องเพียงนำสืบว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เครื่องถ่ายเอกสารของกลางที่ศาลสั่งริบแล้วเพื่อขอให้ศาลสั่งคืนแก่ผู้ร้องตาม ป.อ. มาตรา 36 กรณีจึงไม่จำต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้โดยเคร่งครัด เมื่อผู้ร้องแนบสำเนาสัญญาเช่าซื้อซึ่งผู้รับมอบอำนาจจากผู้ร้องรับรองว่าถูกต้องและมีจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อเครื่องถ่ายเอกสารของกลางและลงชื่อในสำเนาสัญญาเช่าซื้อมาเบิกความยืนยัน ซึ่งโจทก์ยื่นคำคัดค้านเพียงว่าโจทก์ไม่รับรองสัญญาเช่าซื้อที่ผู้ร้องอ้าง โดยมิได้คัดค้านว่าสำเนาสัญญาเช่าซื้อมีข้อความไม่ตรงกับต้นฉบับและไม่ถูกต้องอย่างไร สำเนาสัญญาเช่าซื้อจึงรับฟังได้ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานมานำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่น ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าผู้ร้องให้จำเลยเช่าซื้อเครื่องถ่ายเอกสารของกลาง เมื่อจำเลยยังชำระค่าเช่าซื้อให้ผู้ร้องไม่ครบถ้วนตามสัญญาเช่าซื้อ ผู้ร้องจึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เครื่องถ่ายเอกสารของกลางและมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนเครื่องถ่ายเอกสารของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2820/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำเลยในคดีอนาจารและการพรากเด็ก: ศาลฎีกาพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายของการเพิ่มโทษซ้ำซ้อน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 278 วรรคแรก, 310 วรรคแรก, 317 วรรคสาม ประกอบมาตรา 92 ฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี จำคุก 1 ปี 4 เดือน ฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร จำคุก 8 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 4 ปี 8 เดือน การที่ศาลชั้นต้นอ้างบทเพิ่มโทษตาม ป.อ. มาตรา 92 ในคำพิพากษาจึงเป็นกรณีศาลชั้นต้นได้เพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามแล้ว เพียงแต่ศาลชั้นต้นไม่ได้ระบุข้อความว่าให้เพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามซึ่งเป็นเพียงการไม่สมบูรณ์ชัดเจนเท่านั้น หาทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยเหตุที่ยังมิได้เพิ่มโทษจำเลยดังที่โจทก์ขอมาแต่อย่างใดไม่ ที่ศาลอุทธรณ์เพิ่มโทษจำเลยอีกจึงเป็นการไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ดีที่ถูกศาลชั้นต้นต้องกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยในแต่ละฐานความผิดเสียก่อน แล้วจึงเพิ่มโทษจำเลยแต่ละฐานความผิดหนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 54
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยให้เพิ่มเติมโทษจำเลยอีกหนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 92 เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และยังคงลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษอันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2738/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการฉ้อฉลต้องฟ้องคู่กรณีทั้งสอง การจำหน่ายคดีออกจากสารบบความมีผลทำให้ศาลฎีกาไม่สามารถพิจารณาได้
การเพิกถอนการฉ้อฉลนั้น โจทก์จะต้องฟ้องคู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่ทำนิติกรรมดังกล่าว ศาลจึงจะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้ เพราะผลของคำพิพากษาไม่อาจบังคับแก่บุคคลนอกคดีได้ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองแล้วศาลอุทธรณ์ภาค 7 สั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ออกเสียจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีผลให้จำเลยที่ 1 พ้นจากการที่ต้องถูกบังคับตามคำพิพากษา ศาลฎีกาไม่อาจพิจารณาพิพากษาตามคำขอของโจทก์เพราะจะมีผลกระทำไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดีได้ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2738/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการฉ้อฉลต้องฟ้องคู่กรณีทั้งสอง การจำหน่ายคดีออกจากสารบบมีผลทางกฎหมาย
การฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามป.พ.พ. มาตรา 237 โจทก์จะต้องฟ้องคู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่ทำนิติกรรมดังกล่าว ศาลจึงจะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้ เพราะผลของคำพิพากษาไม่อาจบังคับตามคำขอของโจทก์ได้ เพราะผลของคำพิพากษาไม่อาจบังคับกับบุคคลนอกคดีได้ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองแล้วศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 สั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ออกเสียจากสารบบความ เพราะโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 1 มีผลให้จำเลยที่ 1 พ้นจากการที่ต้องถูกบังคับตามคำพิพากษา ศาลฎีกาไม่อาจพิจารณาพิพากษาตามคำขอของโจทก์เพราะจะมีผลกระทบไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ ศาลฎีกาจึงพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ที่พิพากษายืนให้ยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายไม่ถือเป็นการยอมความ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตาม สิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ
ตามรายงานประจำวันธุรการไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าฝ่ายผู้เสียหายตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในทันที แต่กลับมีเงื่อนไขที่จำเลยจะต้องปฏิบัติต่อฝ่ายผู้เสียหายก่อน โดยต้องชำระเงินค่าเสียหายตามข้อตกลง เมื่อครบกำหนดสัญญาที่จำเลยตกลงชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยไม่ชดใช้ค่าเสียหายให้ ผู้เสียหายจึงไปร้องทุกข์ ย่อมแสดงให้เห็นชัดว่า ถ้าจำเลยไม่ชำระเงินให้ตามที่ตกลง ฝ่ายผู้เสียหายก็ยังติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยอยู่ แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยจะนำเงินจำนวนดังกล่าวมาวางศาลและฝ่ายผู้เสียหายรับไปแล้ว ก็ไม่มีผลผูกพันฝ่ายผู้เสียหายให้เลิกคดีอาญากัน กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ที่จะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป
การที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยนั้น แม้ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยฎีกาปัญหาข้อกฎหมายมาด้วย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยกำหนดโทษจำเลยให้เหมาะสมกับความผิดได้ เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดี ประกอบกับจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายที่ 1 แล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน เห็นสมควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยสักครั้งหนึ่งเพื่อให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดี ซึ่งน่าจะเป็นผลดีแก่จำเลยและสังคมโดยส่วนรวมมากกว่าที่จะจำคุกจำเลยไปเสียทีเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2617/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากจำเลยยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกา และฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ในชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงว่า แม้คำให้การของจำเลยที่ให้ไว้แก่คณะกรรมการสอบสวนทางวินัยร้อยตำรวจตรี ส. จะขัดแย้งกับคำให้การที่เคยให้ไว้แก่คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง แต่ก็ตรงกับคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยในคดีที่จำเลยถูกจับกุมดำเนินคดีในความผิดต่อ พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ จึงไม่เป็นการให้การเท็จ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัย จำเลยก็ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่าการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่ได้วินิจฉัยนั้นไม่ชอบแต่อย่างใด แต่กลับยกข้อเท็จจริงทำนองเดียวกับที่เคยยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ขึ้นฎีกาซ้ำอีก ถือได้ว่าข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นฎีกาดังกล่าวข้างต้น เป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกา และถือไม่ได้ว่าฎีกาดังกล่าวเป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคแรก ทั้งมิได้เป็นข้อความที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้ตัดสินไว้ จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวมาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ฟ้องโจทก์บรรยายแยกออกได้เป็นสองตอน ตอนแรกบรรยายข้อเท็จจริงการกระทำของจำเลยว่า จำเลยเคยให้การต่อพันตำรวจโท จ. และร้อยตำรวจเอก ย. คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงว่าร้อยตำรวจตรี ส. นำเลื่อยยนต์ให้จำเลยกับผู้มีชื่อไปรับจ้างตัดเลื่อยไม้ ส่วนในตอนที่สองบรรยายฟ้องว่า จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่ร้อยตำรวจเอก บ. กับพวกคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยข้าราชการว่าร้อยตำรวจตรี ส. มิได้นำเลื่อยยนต์ให้กับจำเลยและผู้มีชื่อไปรับจ้างตัดเลื่อยไม้ซึ่งไม่ตรงกัน แม้คำฟ้องโจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องว่าความจริงเป็นอย่างไร แต่ปรากฏตามคำฟ้องโจทก์ว่าจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่ร้อยตำรวจเอก บ. กับพวก ดังนั้น จึงเป็นอันเข้าใจว่าโจทก์ถือว่าความจริงเป็นไปตามข้อความที่จำเลยแจ้งแก่พันตำรวจโท จ. และร้อยตำรวจเอก ย. คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงว่าร้อยตำรวจตรี ส. นำเลื่อยยนต์ให้จำเลยกับผู้มีชื่อไปรับจ้างตัดเลื่อยไม้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่พอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2426/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องปลอมและใช้เอกสารปลอมร่วมกับเจ้าพนักงาน มีอำนาจแก้โทษจำเลยที่ไม่ฎีกาได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำหนังสือมอบอำนาจ ซึ่งยังไม่ได้กรอกข้อความใด ๆ และไม่มีบุคคลใดลงลายมือชื่อเป็นพยาน ให้โจทก์ลงลายมือชื่อในช่องผู้มอบอำนาจ แล้วจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ปลอมหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว โดยจำเลยที่ 1 กรอกข้อความอันเป็นเท็จว่า จำเลยที่ 1 มีอำนาจจำนองที่ดินตลอดจนให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยมีจำเลยที่ 3 และที่ 4 ลงลายมือชื่อเป็นพยานและรับรองว่าโจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว ต่อมาจำเลยทั้งหกร่วมกันใช้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนจำนองที่ดินแทน เจ้าพนักงานที่ดินหลงเชื่อ จึงจดข้อความอันเป็นเท็จตามคำบอกกล่าวของจำเลยทั้งหกลงในสัญญาจำนองอันเป็นเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการ ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้ระบุชัดแล้วว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยอื่นปลอมหนังสือมอบอำนาจและใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมดังกล่าว กับแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการแล้ว จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องให้ละเอียดว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนรู้เห็นและหรือกระทำการใด ๆ ร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วยวิธีใด อย่างใด ก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้
จำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้รอการลงโทษจำคุก แม้ฎีกาของจำเลยที่ 2 จะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาปัญหาข้อกฎหมายมาด้วย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยกำหนดโทษจำเลยที่ 2 ให้เหมาะสมกับความผิดได้ โดยเห็นว่าจำเลยที่ 2 ได้บรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้นจนโจทก์ไม่ติดใจดำเนินคดีกับจำเลยที่ 2 อีก เห็นสมควรรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยที่ 2 เพื่อให้โอกาสจำเลยที่ 2 กลับตัวเป็นพลเมืองดีต่อไป เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกา ส่วนจำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาแต่การกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นตัวการร่วมกันเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้โทษตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2331/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนของกลางพ้นกำหนด 1 ปีนับจากคำพิพากษาถึงที่สุด ศาลยกคำร้องตามกฎหมาย
การขอคืนของกลางตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 36 ซึ่งเจ้าของมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ย่อมมีสิทธิขอคืนต่อศาลได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด คำว่า "วันคำพิพากษาถึงที่สุด" ย่อมหมายความถึงคำพิพากษาในคดีที่ศาลมีคำสั่งให้ริบทรัพย์ คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4338/2546 ของศาลชั้นต้นกับคดีนี้เป็นกรณีเดียวกัน แต่ฟ้องคดีคนละคราวกัน ทรัพย์สินที่ยึดได้ก็เป็นทรัพย์สินรายเดียวกัน ทรัพย์สินต่าง ๆ รวมทั้งรถยนต์กระบะของกลางจึงเป็นของกลางที่ศาลพิพากษาให้ริบไปแล้วในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4338/2546 ของศาลชั้นต้นก่อนคดีนี้ แม้โจทก์จะมีคำขอให้ริบรถยนต์กระบะของกลางในคดีนี้และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ริบรถยนต์กระบะของกลาง ก็ไม่อยู่ในอำนาจของศาลในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีหลังที่จะสั่งให้ริบรถยนต์กระบะของกลางซ้ำอีก รถยนต์กระบะของกลางจึงมิใช่ของกลางในคดีนี้ที่ศาลจะพึงวินิจฉัยสั่งด้วย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาและมีคำสั่งให้ริบรถยนต์กระบะของกลางแล้วในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4338/2546 และคดีดังกล่าวถึงที่สุดเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2546 ผู้ร้องมายื่นคำร้องในคดีนี้ขอคืนรถยนต์กระบะของกลางเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2547 จึงเป็นการยื่นคำร้องภายหลังวันที่คำพิพากษาในคดีที่ศาลมีคำสั่งให้ริบรถยนต์กระบะของกลางถึงที่สุดแล้วเกิน 1 ปี คำร้องของผู้ร้องจึงต้องห้ามตาม ป.อ. มาตรา 36
of 14