คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชัช ชลวร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 134 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3378/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการปล้นทรัพย์: พยานหลักฐานจากคำซัดทอดผู้ร่วมกระทำผิดและการรับสารภาพของผู้ต้องหา
แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานเห็นจำเลยที่ 5 จัดหามีดของกลางมาใช้ปล้นทรัพย์แต่โจทก์มีคำให้การซัดทอดของจำเลยที่ 4 ที่ให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยที่ 5เป็นผู้จัดหาอาวุธมีดมาใช้ในการปล้นทรัพย์ ซึ่งแม้คำให้การซัดทอดของจำเลยที่ 4 จะเป็นคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำผิด แต่คำซัดทอดดังกล่าวมิได้เป็นเรื่องการปัดความผิดของจำเลยที่ 4 ไปยังผู้อื่น แต่เป็นการให้การถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 5 นั้นก็เป็นถ้อยคำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง โดยให้การในรายละเอียดถึงเหตุการณ์การกระทำผิดตั้งแต่วางแผนกระทำผิดจนกระทั่งหลังกระทำผิดแล้วตกลงแบ่งปันทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิด เชื่อว่าจำเลยที่ 5 ให้การตามความจริงด้วยความสมัครใจจึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 ได้จัดหามีดมาใช้ในการปล้นทรัพย์คดีนี้อันเป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกในการกระทำความผิด จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845-2847/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานในการตรวจสอบการลงโทษทางวินัยของนายจ้าง: ต้องเป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่นายจ้างลงโทษทางวินัยแก่ลูกจ้างที่มิได้เป็นกรรมการลูกจ้างและการลงโทษนั้นไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ หมวด 9 นั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติให้นายจ้างต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานก่อนตามมาตรา 52หรือให้ความคุ้มครองตามมาตรา 121 ถึงมาตรา 123 ดังนั้น ศาลแรงงานจะเข้าไปตรวจสอบดุลพินิจการลงโทษของนายจ้างได้ต่อเมื่อเป็นการใช้ดุลพินิจลงโทษที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นต้นว่าขัดต่อระเบียบข้อบังคับอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง ไม่สุจริตกลั่นแกล้งหรือไม่สมเหตุสมผลอย่างชัดแจ้ง เมื่อโจทก์ทั้งสามทำผิดวินัยจริง จำเลยลงโทษตัดเงินเดือนร้อยละ 10 คนละ 1 เดือน ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของจำเลย โดยไม่ปรากฏว่ามีการใช้ดุลพินิจลงโทษที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการปฏิบัติถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลยแล้ว มิใช่กรณีที่ศาลแรงงานกลางจะเข้าไปตรวจสอบดุลพินิจการลงโทษของจำเลยหรือลดโทษโจทก์ทั้งสามให้เป็นภาคทัณฑ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการซื้อขายสินค้าลักษณะทางการค้า, ค่าฤชาธรรมเนียม, ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจ
บริษัทโจทก์ประกอบการค้าด้วยการผลิตและจำหน่ายเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรจำเลยประกอบพาณิชยกิจโดยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์นำไปจำหน่ายต่อให้ลูกค้าอีกต่อหนึ่งซึ่งต่อมาจำเลยค้างชำระค่าสินค้าแก่โจทก์ การซื้อขายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(1) ตอนท้าย จึงมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33(5)
ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 กำหนดให้ตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี แต่บทบัญญัติมาตราดังกล่าวก็ให้อำนาจศาลที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมก็ได้ตามที่ศาลจะใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้โจทก์แพ้คดีเป็นให้โจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ มีผลเท่ากับโจทก์ชนะคดีทั้งสองศาล ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ได้ด้วย ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและไม่เป็นการเกินคำขอ เพราะโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์อยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการซื้อขายสินค้าและการบังคับค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ประกอบการค้าด้วยการผลิตและจำหน่ายเคมีภัณฑ์ทางการเกษตร จำเลยประกอบพาณิชยกิจโดยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์นำไปจำหน่ายต่อให้ลูกค้าอีกต่อหนึ่งการซื้อขายจึงมีลักษณะเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) ตอนท้าย จึงมีอายุความ5 ปี ตามมาตรา 193/33(5)
ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 กำหนดให้ตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็ให้อำนาจศาลที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมได้ ตามที่ศาลจะใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้โจทก์แพ้คดีเป็นให้โจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ มีผลเท่ากับโจทก์ชนะคดีทั้งสองศาลศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ได้ด้วย และไม่เป็นการเกินคำขอ เพราะโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์อยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาใช้ยานพาหนะเพื่อลักทรัพย์สำคัญกว่าการพาทรัพย์นั้นไป หากไม่มีเจตนาใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด ไม่ถือเป็นความผิดตามมาตรา 336 ทวิ
การกระทำที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ ต้องดูที่เจตนาของผู้กระทำผิดเป็นสำคัญ เมื่อจำเลยมีเจตนาจะลักเงินสดที่อยู่ในกระเป๋าสะพายของผู้เสียหายที่วางอยู่ในรถที่จำเลยขับอยู่ก่อนแล้ว โดยใช้อุบายหลอกผู้เสียหายให้ลงจากรถไปซื้อน้ำอัดลม แล้วถือโอกาสขับรถซึ่งมีกระเป๋าสะพายใส่เงินและกระเป๋าเสื้อผ้าของผู้เสียหายหนีไป จำเลยมิได้มีเจตนาที่จะใช้รถเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาเอาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นการจับกุม จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะตามมาตรา 336 ทวิ คงผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์โดยมีเจตนาใช้ยานพาหนะเพื่อหลบหนี ศาลฎีกาพิจารณาเจตนาของผู้กระทำผิด
แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานมาเบิกความถึงการกระทำผิดของจำเลยเนื่องจากผู้เสียหายถึงแก่ความตายไปเสียก่อน แต่โจทก์มีคำให้การของผู้เสียหายที่ได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนทันทีหลังเกิดเหตุ และได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนในวันรุ่งขึ้นซึ่งคำให้การของผู้เสียหายเป็นเรื่องราวต่อเนื่องสอดคล้องกับหลักฐานการเบิกเงินจากธนาคาร และยังสอดคล้องกับคำเบิกความของ พ. ซึ่งเป็นเพื่อนจำเลยและไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลย ทั้งผู้เสียหายเคยรักใคร่มีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับจำเลย ไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน ไม่มีเหตุที่ผู้เสียหายจะปรักปรำจำเลย พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักน่าเชื่อว่าจำเลยลักทรัพย์ของผู้เสียหาย
การกระทำที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ นั้น ต้องดูที่เจตนาของผู้กระทำผิดเป็นส่วนสำคัญว่าต้องการใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุมหรือไม่ เมื่อจำเลยมีเจตนาจะลักเงินสดที่อยู่ในกระเป๋าสะพายของผู้เสียหายที่วางอยู่ในรถที่จำเลยขับอยู่ก่อนแล้วโดยใช้อุบายหลอกผู้เสียหายให้ลงจากรถไปซื้อน้ำอัดลม แล้วถือโอกาสขับรถซึ่งมีกระเป๋าสะพายใส่เงินและกระเป๋าเสื้อผ้าของผู้เสียหายหนีไป จำเลยไม่ได้มีเจตนาที่จะใช้รถเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาเอาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นจากการจับกุม จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิคงผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ตามคำพิพากษาให้บริษัทบริหารสินทรัพย์โดยไม่ต้องบอกกล่าวลูกหนี้ตาม พ.ร.ก.บริหารสินทรัพย์
หนี้ตามคำพิพากษาที่เป็นสินทรัพย์ด้วยคุณภาพของธนาคารโจทก์ ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน โจทก์ย่อมสามารถโอนสินทรัพย์ดังกล่าวที่เป็นสิทธิเรียกร้องของโจทก์ไปให้ผู้ร้องซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ได้ และผู้ร้องได้มอบหมายให้โจทก์ผู้รับชำระหนี้เดิมเป็นตัวแทนเรียกเก็บเงินและรับชำระหนี้ที่เกิดขึ้น การโอนสิทธิเรียกร้อง จึงเป็นอันชอบด้วยพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 6 และมาตรา 9 โดยไม่จำต้องบอกกล่าวการโอนไปยัง จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามมาตรา 306 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ร้องจึงเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ได้ ทั้งการโอนสินทรัพย์ระหว่างโจทก์กับผู้ร้องมิใช่การซื้อขายความจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541
พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 6 บัญญัติว่า ในการโอนสินทรัพย์ของสถาบันการเงินไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ถ้าเป็นสินทรัพย์ที่มีหลักประกันอย่างอื่นที่มิใช่สิทธิจำนอง สิทธิจำนำ หรือสิทธิอันเกิดแต่การค้ำประกันให้หลักประกันนั้นตกแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ด้วย มาตรา 9 บัญญัติว่า ในการโอนสินทรัพย์ที่เป็นสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ หากบริษัทบริหารสินทรัพย์มอบหมายให้ผู้รับชำระหนี้เดิมเป็นตัวแทนเรียกเก็บและรับชำระหนี้ที่เกิดขึ้น การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเป็นอันชอบด้วยกฎหมายโดยไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ ตามมาตรา 306 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์? เมื่อหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้เป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของโจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน โจทก์ย่อมสามารถโอนสินทรัพย์ที่เป็นสิทธิเรียกร้องของโจทก์ไปให้ผู้ร้องซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ได้ และผู้ร้องได้มอบหมายให้โจทก์ผู้รับชำระหนี้เดิมเป็นตัวแทนเรียกเก็บเงินและรับชำระหนี้ที่เกิดขึ้น การโอนสิทธิเรียกร้องรายนี้จึงเป็นอันชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่จำต้องบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ ตามมาตรา 306 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แต่อย่างใด ผู้ร้องย่อมเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ได้ ตามบทกฎหมายดังกล่าวซึ่งประกาศใช้โดยชอบแล้ว การโอนสินทรัพย์ระหว่างโจทก์กับผู้ร้องหาใช่การซื้อขายความกันดังที่จำเลยทั้งสองอ้างไม่ กรณีจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยายามฆ่า, หน่วงเหนี่ยว, ชิงทรัพย์, อนาจาร: การกระทำผิดหลายกรรมต่างกันและเจตนาต่อเนื่อง
จำเลยใช้แขนล็อกคอผู้เสียหายด้านหลังแล้วลากผู้เสียหายไปที่คูน้ำข้างถนนกดตัวผู้เสียหายลงไปในน้ำจนมิดศีรษะทำให้ผู้เสียหายหมดสติ ซึ่งจากการตรวจร่างกายผู้เสียหาย ปรากฏว่าปอดอักเสบเนื่องจากสำลักน้ำ โดยแพทย์ให้ความเห็นว่าคนที่สำลักน้ำหายใจเอาอากาศเข้าไปไม่ได้ หากไม่ได้หายใจภายใน 5 นาที จะถึงแก่ความตาย ถ้าถูกกดน้ำหายใจไม่ออกไม่ถึง 5 นาที จะมีผลต่อปอดและขาดโลหิตไปหล่อเลี้ยงสมองทำให้ไม่รู้สึกตัว และทำให้ถุงลมเสียสมรรถภาพในการแลกเปลี่ยนอากาศ ซึ่งกรณีของผู้เสียหายมีผลทางสมองเล็กน้อย แต่ปอดนั้นสูญเสียสมรรถภาพของถุงลมไม่สามารถแลกเปลี่ยนอากาศได้เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจประมาณ 1 สัปดาห์ ดังนั้น การที่จำเลยกดหน้าผู้เสียหายลงไปในคูน้ำเป็นเวลานานจำเลยย่อมเล็งเห็นผลว่าอาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ ถือว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย เมื่อจำเลยลงมือกระทำความผิดไปโดยตลอดแล้ว แต่การกระทำไม่บรรลุผล เนื่องจากผู้เสียหายเพียงแต่หมดสติไปชั่วขณะไม่ถึงแก่ความตายสมดังเจตนาของจำเลย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
การที่จำเลยจับผู้เสียหายกดน้ำจนหมดสติ อันเป็นการกระทำผิดฐานพยายามฆ่าสำเร็จขาดตอนไปแล้ว จำเลยจึงอุ้มผู้เสียหายขึ้นรถยนต์ของจำเลย ซึ่ง ก. ได้ตามมาพูดขอตัวผู้เสียหายเพื่อนำไปส่งโรงพยาบาล แต่จำเลยไม่ยอมคืนให้ จึงเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหาย ซึ่งมีเจตนาต่างหากอีกกรรมหนึ่ง หลังจากผู้เสียหายรู้สึกตัวแล้วเปิดประตูรถยนต์ที่จำเลยกำลังขับทิ้งตัวลงบนถนนเพื่อหลบหนี จำเลยจอดรถวิ่งไล่ตามแล้วกระชากผมผู้เสียหายลากเข้าไปที่พงหญ้าแล้วกระชากเสื้อผู้เสียหายหลุดออก เห็นสร้อยคอพร้อมพระเลี่ยมทองจึงกระชากมาเป็นของตน อันเป็นการกระทำผิดฐานชิงทรัพย์อีกกรรมหนึ่ง ต่อจากนั้นจำเลยดึงกางเกงของผู้เสียหายหลุดออกผู้เสียหายบอกจำเลยว่าเป็นโรคเอดส์ จำเลยมีอาการลังเล ผู้เสียหายจึงลุกขึ้นวิ่งหนีไปอันเป็นการกระทำฐานอนาจารผู้เสียหายอีกกรรมหนึ่ง เมื่อการกระทำผิดของจำเลยดังกล่าวกระทำด้วยเจตนาต่างกันในช่วงเวลาที่ต่างกัน แม้จะกระทำต่อเนื่องกันแต่ได้กระทำความผิดแต่ละฐานหลังจากกระทำความผิดฐานหนึ่งเสร็จสิ้นแล้ว จึงเป็นการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่า พยายามฆ่า หน่วงเหนี่ยวกักขัง ชิงทรัพย์ อนาจาร: การกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน
จำเลยใช้แขนล็อกคอผู้เสียหายแล้วลากไปที่คูน้ำข้างถนนกดตัวผู้เสียหายลงไปในน้ำจนมิดศีรษะหมดสติและปอดอักเสบเนื่องจากสำลักน้ำ ทำให้ปอดสูญเสียสมรรถภาพของถุงลมไม่สามารถแลกเปลี่ยนอากาศได้เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจประมาณ 1 สัปดาห์ จำเลยย่อมเล็งเห็นผลว่าอาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ ถือว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย เมื่อจำเลยลงมือกระทำความผิดไปโดยตลอดแล้ว แต่ไม่บรรลุผล จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
จำเลยจับผู้เสียหายกดน้ำจนหมดสติ เป็นการกระทำผิดฐานพยายามฆ่าสำเร็จขาดตอนไปแล้ว จำเลยจึงอุ้มผู้เสียหายขึ้นรถยนต์ของจำเลย เมื่อ ก. ตามมาพูดขอตัวผู้เสียหายเพื่อนำไปส่งโรงพยาบาลจำเลยไม่ยอมคืนให้ จึงเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหาย ซึ่งมีเจตนาต่างหากอีกกรรมหนึ่ง หลังจากผู้เสียหายรู้สึกตัวแล้วเปิดประตู รถยนต์ที่จำเลยขับทิ้งตัวลงบนถนนหลบหนี จำเลยจอดรถวิ่งไล่ตามแล้วกระชากผมผู้เสียหายลากเข้าไปที่พงหญ้าแล้วกระชากเสื้อผู้เสียหายหลุดออก เห็นสร้อยคอพร้อมพระเลี่ยมทองจึงกระชากมาเป็นของตนอันเป็นการกระทำผิดฐานชิงทรัพย์อีกกรรมหนึ่งต่อจากนั้นจำเลยดึงกางเกงของผู้เสียหายหลุดออกอันเป็นการกระทำผิดฐานอนาจารผู้เสียหายอีกกรรมหนึ่ง เมื่อการกระทำผิดของจำเลยกระทำด้วยเจตนาต่างกันในช่วงเวลาที่ต่างกันแม้จะกระทำต่อเนื่องกันแต่ได้กระทำความผิดแต่ละฐานหลังจากกระทำความผิดฐานหนึ่งเสร็จสิ้นแล้ว จึงเป็นการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน
of 14